US FDA จะห้ามใช้สาร Bisphenol A (BPA) กับบรรจุภัณฑ์นมเด็ก
Bisphenol A (BPA) เป็น สารเคมีที่ใช้มากในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ได้แก่ พวกขวด กระป๋องโลหะบรรจุอาหาร รวมไปถึงขวดนมพลาสติกใส หรือ กระป๋องนม ที่เด็กทารกใช้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ นักโภชนาการ และ กลุ่มผู้บริโภคต่อต้านสารพิษ รายงานว่า สารBPA จะแทรกซึมลงในของเหลว/อาหารที่บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์ พิษจากสารเคมีที่เป็นภัยต่อสุขภาพ สารพิษ BPA จำนวนเพียงเล็กน้อย มีผลทำให้ก่อมะเร็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ฮอร์โมนการเจริญเติบโตระบบสืบพันธุ์ โรคอ้วน โรคเบาหวาน และ ไฮเปอร์ (Hyperactivity) เป็นต้น
ในระยะเวลาที่ผ่าน การรณรงค์ในการห้ามใช้สาร BPA ได้แก่ องค์กร The Natural Resources Defense Council ยื่นฟ้องต่อศาลกล่าวหา US FDA ไม่ดำเนินการ เกี่ยวกับการห้ามใช้สาร BPA ในเดือนมิถุนายน หรือ วุฒิสมาชิก Dianne Feinstein (D-California) เสนอพระราชบัญญัติ Banning BPA ทั่วประเทศต่อสินค้า Baby bottles, Sippy Cups, Baby Food & Infant Formula Containers หรือ สมาชิกสภาผู้แทน Ed Markey (D-Massachusetts) เสนอพระราชบัญญัติ Banning BPA in all Food and Beverage Containers เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับยังไม่มีความคืบหน้า และ US FDA ยังคงเมินเฉยต่อปัญหา BPA
1. ปัจจุบัน รัฐบาลระดับมลรัฐในสหรัฐฯ จำนวน 11 มลรัฐ ได้แก่ California, Delaware, Maine, Maryland, Massachusetts, Minnesota, New York, Vermont, Washington Wisconsin และ City of Chicago ออกกฎหมายควบคุมการใช้สาร BPA
มลรัฐ ประเภทสินค้าห้ามใช้ BPA ผลบังคับใช้ 1. California - ขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยดื่มน้ำเด็ก 1 กรกฎาคม 2556 2. Connecticut - ภาชนะใส่อาหารและเครื่องดื่มที่ใช้เป็นประจำ 1 ตุลาคม 2553 (Reusable) รวมไปถึงขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยดื่ม น้ำเด็ก ภาชนะใส่นมเด็กอ่อน และ อาหารเด็กอ่อน - ใบเสร็จรับเงินที่พิมพ์ออกจากเครื่องรับ-ทอนเงิน 1 ตุลาคม 2556 3. Delaware - ขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยดื่มน้ำ 1 มกราคม 2555 4. Maine - ภาชนะใส่อาหารและเครื่องดื่ม 1 มกราคม 2555 5. Maryland - ขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยดื่มน้ำ 1 มกราคม 2555 - ภาชนะใส่นมผงเด็กอ่อน 1 กรกฎาคม 2557 6. Massachusetts - ขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยดื่มน้ำ 1 กรกฎาคม 2554 7. Minnesota - ขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยดื่มน้ำ 1 มกราคม 2554 8. New York - ขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยดื่มน้ำ และ จุกนม 1 ธันวาคม 2553 9. Washington - รวมไปถึงขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยดื่มน้ำเด็ก ภาชนะ 1 กรกฎาคม 2554 ใส่อาหารและเครื่องดื่มที่ใช้เป็นประจำ (Reusable) ของเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ภาชนะใส่นมเด็กอ่อน และ อาหารเด็กอ่อน 1 กรกฎาคม 2555 10. Wisconsin - ขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยดื่มน้ำ 1 มิถุนายน 2553 11. Vermont - ภาชนะใส่อาหารและเครื่องดื่มที่ใช้เป็นประจำ 1 กรกฎาคม 2555 (Reusable) รวมไปถึงขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยดื่ม น้ำเด็ก ภาชนะใส่นมเด็กอ่อน และ อาหารเด็กอ่อน 1 กรกฎาคม 2557. 12. City of Chicago - ถ้วยน้ำดื่มของทารก Baby Bottle) 31 มกราคม 2553 (Illinois)
2.ผู้ประกอบการในสหรัฐฯ ที่จัดจำหน่ายสินค้าภาชนะและของใช้สำหรับเด็กเล็ก/ เด็กอ่อน สนองตอบความต้องการผู้บริโภค โดยนำเสนอสินค้าภาชนะไร้สาร BPA
3.เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2555 สำนักงาน US FDA ตอบรับคำร้องขอจาก สมาชิกสภาผู้แทน Ed Markey (D-Massachusetts) โดยจะดำเนินการออกระเบียบการห้ามใช้สาร BPA เฉพาะภาชนะบรรจุนมเด็กอ่อน (Infant Formula Containers) เท่านั้น และจะดำเนินตามขั้นตอนการออกระเบียบและประกาศลงใน Federal Register ต่อไป แต่ปฏิเสธคำร้องขอจาก The National Resources Defense Council's ซึ่งต้องการให้ FDA ออกระเบียบห้ามใช้สาร BPA กับภาชนะอาหารที่ผลิตในสหรัฐฯ
สำนักงาน US FDA ยังคงยืนกรานว่า ปัจจุบัน ยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยและข้อเท็จจริง เพียงพอว่า สาร BPA มีอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อนำไปประกอบในการออกระเบียบ แต่แจ้งว่าปัจจบัน US FDA อยู่ในระหว่างการศึกษาร่วมกับ The National Institute of Environmental Health Sciences การห้ามใช้สาร BPA โดยชิ้นเชิงกับภาชนะและบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม คงไม่เกิดขึ้นได้ในระยะสั้น และต้องใช้เวลาอีกนาน ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ผลิตสินค้าในสหรัฐฯ และ ในต่างประเทศ
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก
26 มิถุนายน 2555