รายงานสถานการณ์การส่งออกสินค้าไทยไปอิตาลีประจำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๕

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 29, 2012 11:51 —กรมส่งเสริมการส่งออก

รายงานสถานการณ์การส่งออกสินค้าไทยไปอิตาลีประจำเดือนมิถุนายน ๒๕๕๕

๑. สถานการณ์เศรษฐกิจอิตาลี

๑) ภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศยังคงถดถอยอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้สำนักสถิติแห่งชาติอิตาลีได้คาดการณ์ว่าในปีนี้ GDP จะหดตัวลง ๑.๕% และจะดีขึ้น ๐.๕% ในปี ๒๕๕๖ ส่วนการบริโภคและการลงทุนจะหดตัวลง ๒.๑% และ ๕.๗% ตามลำดับ สำหรับการส่งออกจาะเพิ่มขึ้น ๑.๒% ซึ่งต่างจาก IMF รายงานว่าในปี ๒๕๕๖ GDP จะหดตัว ๐.๓% ส่วน OECD เห็นว่า เศรษฐกิจอิตาลีจะยังคงชะลอตัวไปจนถึงสิ้นปี ๒๕๕๖

๒) จากที่รัฐบาลได้อนุมัติการขึ้นภาษีต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการรัดเข็มขัดในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ขณะนี้รัฐบาลยังคงออกมาตรการใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยฟื้นฟูสุขภาพทางการคลังสาธารณะของประเทศและดึงประเทศให้ออกจากศูนย์กลางของวิกฤติหนี้ยุโรปให้ได้ ยกตัวอย่างเช่น

  • ผ่านมาตรการใหม่เพื่อการกระตุ้นการเจริญเติบโตและเปิดประตูให้สามารถขายทรัพย์สินของรัฐได้ เพื่อเพิ่มทุน ๑๐ พันล้านยูโร มาตรการขายสินทรัพย์ดังกล่าวจะช่วยให้ Cassa Depoist e Prestiti (CDP) สถาบันด้านทรัพย์สินเพื่อการออมและเงินกู้จะสามารถซื้อหุ้นบริษัท Fintecna (บริษัทอุตสาหกรรมแห่งชาติ) องค์กร SACE (หน่วยงานประกันการลงทุนต่างชาติ) และ SIMEST (หน่วยงานที่ให้เงินช่วยเหลือการร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติ) ได้ภายใน ๔ เดือนข้างหน้า และ CDP ก็สามารถขายสินทรัพย์ที่เป็นของหน่วยงานได้อย่างเสรีขึ้นด้วยเช่นกัน รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจกล่าวว่า การเคลื่อนไหวนี้จะทำให้มีเงินทุนประมาณ ๑๐ พันล้านยูโรและจะช่วยให้เกิดผลกระทบที่สำคัญต่อเงินรายได้ โดยในขั้นแรกจะเสร็จสิ้นใน ๑ เดือน ซึ่งจะนำไปใช้ในการลดหนี้สินต่างๆ
  • การออกมาตรการเพื่อต่อสู้กับอัตราการจ้างงานที่ย่ำแย่ โดยมุ่งไปที่การให้แรงจูงใจในการจ้างงานใหม่ รัฐมนตรีอุตสาหกรรม Corrado Passera ได้เรียกร้องให้ออกร่างพรบ. "จุดเริ่มต้นที่เป็นรูปธรรมเพื่อกระตุ้นให้มีการจ้างงานผู้มีความสามารถสูง" ตามร่างพรบ. บริษัทที่จ้างงานคนงานใหม่จะได้รับโบนัสด้านภาษีซึ่งคล้ายคลึงกับกฎหมายเดิมที่สนับสนุนให้ธุรกิจได้รับแรงจูงใจจากการจ้างงานคนอายุต่ากว่า ๓๕ ปี ขณะนี้อัตราการว่างงานในอิตาลีประมาณ ๑๐% ขณะที่อัตราว่างงานของคนอายุ ๑๕-๒๔ ปีมีมากกว่า ๓๕% และออกกฎหมายมาตรา ๖๑ ซึ่งรวมถึงเงินทุนเพื่อการจัดหาอาหารให้แก่ผู้ยากจน การยกเว้นภาษีสินทรัพย์ให้แก่ธุรกิจตามที่กำหนดและยกเว้นภาษี ๕๐% ให้แก่บริษัทที่ปรับโครงสร้างก่อน ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๖
  • นายกรัฐมนตรีมอนติได้บรรลุข้อตกลงกับพรรคหลักในการสนับสนุนมาตรการฉุกเฉินของรัฐบาลเรื่องการปฏิรูปแรงงานเพื่อส่งให้รัฐสภาอนุมัติก่อนส่งให้ที่ประชุมคณะกรรมาธิการยุโรปเรื่องวิกฤติหนี้ยุโรป ทั้งนี้อดีตนายกเบรุโคนี่-หัวหน้าพรรค PDL เสนอขอให้มีการปรับมาตรการให้ประโยชน์แก่บริษัทมีความยืดหยุ่นด้านสัญญาการจ้างงานเมื่อมีการจ้างงาน และพรรค Center-left Democratic ได้เรียกร้องให้รัฐบาลช่วยให้ประชาชน ๓๙๐,๐๐๐ คนที่กำลังตกงานและไม่ได้รับเงินบำนาญซึ่งเป็นผลจากการอนุมัติการเปลี่ยนแปลงระบบการให้บำนาญตั้งแต่เดือนธันวาคม ซึ่งนายกมอนติแจ้งว่าจะใส่ทั้งสองข้อคิดเหนนี้ไปในมาตรการดังกล่าวหลังจากที่ได้รับการอนุมัติอย่างเร่งด่วนแล้ว ทั้งนี้รัฐบาลได้เพิ่มความเข้มข้นลงไปในมาตรการดังกล่าวซึ่งทำให้บริษัทสามารถไล่คนงานออกได้ง่ายขึ้น หลังจากมีการขัดแย้งจาก PD และสหภาพการค้าอิตาลีแต่นายกได้กล่าวว่า การปฏิรูปยังคงมีก้าวสำคัญเพื่อให้บริษัทมีอำนาจมากขึ้นในการไล่คนงานออก ซึ่งจะช่วยให้เพิ่มผลผลิตและลดการจ้างงานเพื่อช่วยให้บริษัทเพิ่มการจ้างงานได้มากขึ้น
  • วุฒิสภาผ่านร่างการลดจำนวน สส.จาก ๖๓๐ คนเป็น ๕๐๘ คน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตัดลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ นอกจากนี้ได้เปลี่ยนแปลงเกณฑ์อายุผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งจากเดิมอายุ ๒๕ ปี เป็น ๒๑ ปีด้วย

อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า รัฐบาลพยายามที่จะไม่ออกภาษีใหม่ๆ ขึ้นมาและกำลังดำเนินการที่จะไม่ขึ้นภาษีมุลค่าเพิ่มอีก ๒% ในเดือนตุลาคมนี้ รัฐบาลอิตาลีกำลังพิจารณาหาทางในการประหยัดค่าใช้จ่ายภาครัฐ ๔.๒ พันล้านยูโรและไม่ขึ้นภาษีที่จะทำให้อิตาลีโดยผลกระทบอย่างแรงกับมาตรการเข้มงวดทางการเงิน

นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีมอนติได้กล่าวในการประชุมตารวจด้านการเงินว่า การหลบเลี่ยงภาษีถือเป็นบาดแผลที่รุนแรงของประเทศ และการกวาดจับผู้หลีกเลี่ยงภาษีถือเป็นงานสำคัญอันดับแรกของรัฐบาลนี้ ทั้งนี้เมื่อปีที่แล้วรัฐสามารถจัดเก็บภาษีรายได้จากบริษัทที่หลบภาษีได้มูลค่าประมาณ ๑๒๐ พันล้านยูโร

๓) ธนาคารแห่งชาติของอิตาลีเปิดเผยว่า ในเดือนเมษายนยอดหนี้สาธารณะพุ่งถึง ๑,๙๔๙ พันล้านยูโร ซึ่งถือเป็นสถิติสูงมากขึ้นกว่าเดือนที่ผ่านมาคือ ๑,๙๔๖ พันล้านยูโร

๔) อิตาลีเป็นประเทศต่อไปในยูโรโซนที่จะเผชิญวิกฤต หลังจากที่สเปนเข้ารับเงินช่วยเหลือจากกองทุนของสหภาพยุโรป เพื่อแก้วิกฤตการเงินในประเทศแล้ว มีการวิเคราะห์กันว่า อิตาลีน่าจะเป็นประเทศต่อไปที่จะขอเข้าโครงการความช่วยเหลือและกู้เงินจากสหภาพยุโรป วิกฤตการเงินในยุโรปยังคงดาเนินต่ออย่างต่อเนื่องและไม่ได้จบลงหลังจากที่รัฐบาลสเปนขอเข้ารับเงินช่วยเหลือจากกองทุนของสหภาพยุโรปหรืออียู เนื่องจากสภาพปัญหาของอิตาลี ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ ๓ ของยุโรปน่าจะส่งผลให้รัฐบาลอิตาลีต้องเข้าโครงการกู้เงินจากอียู ในช่วงที่ผ่านมา อิตาลีต้องปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นทุกครั้งที่ขอกู้เงินก้อนใหม่ และเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา รัฐบาลอิตาลีจำเป็นต้องพยุงพันธบัตรรัฐบาลด้วยการปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงถึงร้อยละ ๖.๖๖ ขณะที่นักลงทุนต่างก็เทขายพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีที่ถืออยู่ และขายตราสารอนุพันธ์ประกันการผิดนัดชาระ หรือ Credit Default Swap ซึ่งทำให้รัฐบาลของนายมาริโอ มอนติเผชิญกับภาวะกดดันอย่างหนัก หากอิตาลีเดินตามรอยสเปนในการขอความช่วยเหลือจากอียู ก็เท่ากับเป็นการยกระดับวิกฤตหนี้สินของยุโรปให้อยู่ในระดับที่รุนแรงกว่าเดิม แต่ปัญหาของสเปนกับอิตาลีนั้นมีพื้นฐานที่ต่างกัน เพราะอิตาลีไม่ได้มีปัญหาฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์และปัญหาหนี้เสียในภาคการธนาคารเหมือนสเปน แต่สิ่งที่อิตาลีกำลังประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลมอนติ อย่างไรก็ตาม ต้องถือว่า อิตาลีสามารถจัดการวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ได้ดีกว่าสเปน โดยเฉพาะการตัดลดงบประมาณ ที่ตั้งเป้าขาดดุลงบประมาณเพียงร้อยละ ๒ นอกจากนี้ สภาพเศรษฐกิจโดยพื้นฐานของอิตาลียังคงได้เปรียบสเปนเป็นอย่างมากจากโครงสร้างพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมที่สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก นักวิเคราะห์หลายคนจึงเชื่อว่า เศรษฐกิจอิตาลีอาจจะฟื้นตัวขึ้นได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินกู้จากอียู แต่ถ้าอิตาลีไม่สามารถจัดการปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศได้ อาจไม่ใช่ปัญหาของอิตาลีเท่านั้น และจะต้องกระทบต่อเขตยูโรโซนอย่างแน่นอน เนื่องจากปริมาณเงินกู้ของอียูอาจไม่เพียงพอต่อการกอบกู้วิกฤตในอิตาลี

๕) ผลจากพิษเศรษฐกิจยังคงส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยข่าวจาก Eures Think Tank รายงานว่า มีคนฆ่าตัวตายเฉลี่ยรายวันเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากประสบปัญหาจากวิกฤตทางการเงินและสิ้นหวัง ส่วนสมาคมโรงแรมอิตาลีรายงานว่า เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทำให้ครอบครัวชาวอิตาเลี่ยนลดการเข้าพักโรงแรมและที่พักอื่นๆ และตัดวันหยุดให้สั้นลง ทั้งนี้สมาชิกสมาคมฯ ต่างเป็นห่วงต่อผลกระทบของการเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ฉบับใหม่ ทั้งนี้ จากการสำรวจของสมาคมธุรกิจขนาดเล็ก Confesercenti พบว่า คนอิตาเลี่ยนเพียง ๖๖% จะไปท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดฤดูร้อนในปีนี้ เมื่อเทียบกับ ๗๙% เมื่อสองปีที่แล้ว ประชาชนตัดสินใจที่จะอยู่บ้านมากขึ้น เนื่องจากมีรายได้ลดลง มีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจ และการขึ้นภาษี โดยในช่วงวันหยุดคนอิตาเลี่ยนจะใช้จ่ายเงิน ๙๐๖ ยูโรต่อหัวเมื่อเทียบกับ ๑,๐๒๒ ยูโรในปี ๒๕๕๓ และโรงแรมระดับ ๒ ดาวและการปิ้งบาร์บิคิวที่บ้านจะได้รับความนิยมในปีนี้ สำหรับตลาดบ้านในอิตาลีร่วงลงไปเกือบ ๒๐% ในช่วงไตรมาสแรกของปี ๒๕๕๕ อุตสาหกรรมบ้านขาดทุนไป ๑๙.๖% เมื่อเทียบกับช่วงเดือนกันในปีที่ผ่านมา ทำให้เป็นสถิติที่ตกต่ำที่สุดในกลุ่มอสังหาฯ นับตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ทั้งนี้แนวโน้มจะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสที่ ๓ ของปีนี้

๖) ผลจากแผ่นดินไหวใน Emilia เมื่อวันที่ ๒๐ และ ๒๙ พฤษภาคม ทำให้มีคนตาย ๑๗ คนและมีคนไร้บ้าน ๘,๐๐๐ คน และเกิดความเสียหายต่อบริเวณดังกล่าวอย่างมาก ทั้งนี้บริเวณดังกล่าวถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของการแพทย์ชีวภาคและอุตสาหกรรมอาหารเกษตรของอิตาลี โดยสหภาพยุโรปแจ้งว่าจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายที่เสียหาย ๒.๕% ส่วนรัฐบาลอิตาลีแจ้งว่าจะเก็บภาษีน้ำมันเพิ่มขึ้นอีก ๒ เซ็นต์ เพื่อนำไปช่วยค่าใช้จ่ายจากแผ่นดินไหว ในส่วนของกองทุนอื่นๆ จะมีการพิจารณาทบทวนรายจ่ายที่กาลังมีอยู่ต่อไป

๗) แหล่งข่าวจากอุตสหากรรมแจ้งว่า ราคาน้ำมันเบนซินลดลงต่ำกว่า ๑.๘ ยูโรเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และน้ำมันดีเซลก็ลดลงเหลือ ๑.๖๘๓ ยูโร

๘) จากรายงานของ Oss ervatorio Autopromotec พบว่า อิตาลีมีความหนาแน่นของรถยนต์มากที่สุดในยุโรป ในปี ๒๕๕๔ มีสัดส่วนจานวนรถ ๖๑ คันต่อประชากร ๑๐๐ คน รวมทั้งสิ้น ๓๖.๗ ล้านคัน เยอรมันอยู่ในอันดับที่สอง รถยนต์ ๕๑ คันต่อประชากร ๑๐๐ คน ตามด้วยสหราชอาณาจักร ๕๐ คัน และฝรั่งเศสและสเปน ๔๘ คัน แหล่งข่าวจากอุตสาหกรรมรายงานว่า ในเดือนพฤษภาคม ยอดจำหน่ายรถยนต์เฟี๊ยตลดลง ๑๒.๑%

๙) บริษัท DR Motor ผู้ผลิตรถยนต์หรูออกมาปฏิเสธข่าวที่ว่าจะยกเลิกการเจรจาเปิดโรงงานเฟี๊ยตอีกครั้งที่ Termini Imerese ในเกาะซิซิลี ผู้แทนบริษัทแจ้งว่าขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาเรื่องการเพิ่มทุน โดยบริษัท Chery ของจีน และกลุ่มบริษัท Mermerler ของตุรกี แจ้งความสนใจอย่างเป็นทางการแล้ว และขอให้ฝ่ายต่างๆ หยุดเข้ามารบกวนการเจรจาของพวกเรา โดยประมาณคนงานของเฟี๊ยตถูกออกจากงานประมาณ ๒,๒๐๐ คนเมื่อตอนปิดโรงงานดังกล่าวในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา

๑๐) รายงานจากสถาบันไอศครีมอิตาเลี่ยน the Italian Institute of Ice Cream (IGI) แจ้งว่า ยอดขายของไอศครีมเพิ่มขึ้น ๒.๒% ทำให้มีมูลค่าการค้าถึง ๒ พันล้านยูโร เนื่องจากอากาศที่ร้อนและประชาชนอยู่บ้านมากขึ้นทาให้ยอดขายปลีกเพิ่มขึ้น ๓.๙% สำหรับครอบครัวที่มีเพื่อน ๔ ขา กำลังจะมีไอศครีมสำหรับเพื่อนที่ดีที่สุดของคน "IceBau " ที่เปิดตัวไปแล้วในงาน Gelato Festival ที่ Ancona กำลังจะวางตลาดในฤดูร้อนนี้แล้ว

สมาคมเกษตรกรอิตาเลี่ยน Coldiretti รายงานว่า การนำไอศครีมรสใหม่ที่ใช้วัตถุดิบตามฤดูกาลจะช่วยผลักดันให้มีการบริโภคไอศครีมมากขึ้น ทั้งนี้ไอศครีมมากกว่า ๖๐๐ รสได้รับการจดทะเบียนจากผู้ผลิตไอศครีมกว่า ๓๖,๐๐๐ ราย ซึ่งบันทึกได้ว่า รสเทียมเช่น SMURF blue กลายเป็นที่นิยมเมื่อเทียบกับรสธรรมชาติและผลิตภัณฑ์จากท้องถิ่นเช่น เบอร์รี่ และขิง จำนวนของร้านไอศครีมที่เพิ่มขึ้นต่างสร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้าว่า สินค้ามาจากธรรมชาติด้วยการติดป้ายว่า นมและครีมมาจากวัวท้องถิ่น ทั้งๆ ที่ความจริงคือ มีหลักฐานที่เห็นได้ว่าฟาร์มวัวเปิดแผงขายไอศครีมเองมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนรสชาติไอศครีมที่เป็นที่นิยมได้แก่ ช๊อคโกแล็ค ฮาเซลนัท มะนาว สตอเบอรี่ ครีม และ Stacciatella ทั้งนี้สมาคมฯ ประมาณการว่า ผู้บริโภคจะใช้เงินประมาณ ๒.๕ พันล้านในการซื้อไอศครีมในปี ๒๕๕๕ นี้

๑๑) ข้อมูลจากสมาคมเบียร์อิตาเลี่ยน Assobirra รายงานว่า จากการสำรวจเมื่อ ๒-๓ ปีที่แล้วมีคนอิตาเลี่ยน ๖๐% ดื่มเบียร์แต่ในปัจจุบันตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็น ๗๑% โดยเทียบกับตัวเลขคนที่ดื่มไวน์เป็น ๗๘.๖% ทั้งนี้ ๒๘.๘% แจ้งว่าเบียร์เป็นเครื่องดื่มที่ชื่นชอบ (เพิ่มจากเดิม ๒๒.๙% ในปี ๒๕๕๔) ส่วนไวน์ยังคงเท่าเดิมคือ ๓๗%

๒. ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจของอิตาลี สำนักงานสถิติแห่งชาติอิตาลี (ISTAT) รายงานไว้ดังนี้

GDP ในช่วงไตรมาสแรกของปี ๒๕๕๕ GDP ของอิตาลีลดลง ๐.๘% เมื่อเทียบกับสามเดือนก่อนหน้านี้ในช่วงปี ๒๕๕๔ และลดลง ๑.๓% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี ๒๕๕๔ ทั้งปี GDP ของอิตาลีตกลงอย่างต่อเนื่องโดยลดลง ๐.๒% ในช่วงไตรมาสที่ ๓ ของปี ๒๕๕๔ และ ๐.๗% ในช่วงไตรมาสที่ ๔ ของปี ๒๕๕๔ ทั้งนี้พบว่า GDP ของภาคเหนือของอิตาลีเพิ่มขึ้น ๐.๙% ในปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับ ๐.๖% ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือ และ ๐.๑% ในภาคกลาง ในขณะที่ไม่มีการเติบโตในภาคใต้

ภาวะเงินเฟ้อ ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕ อัตราเงินเฟอลดลงจากเดือนเมษายนที่ - ๓.๓% เป็น - ๓.๒

รายได้จากภาษี ธนาคารแห่งชาติรายงานว่าในช่วง ๔ เดือนแรกของปี ๒๕๕๕ รายได้จากภาษีเพิ่มขึ้น ๐.๒% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีที่ผ่านมา รัฐบาลสามารถเก็บเงินรายได้มูลค่า ๑๑๑,๒๙๕ พันล้านยูโรในช่วงเดือนมกราคม - เมษายน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้วที่มีมูลค่า ๑๑๑,๐๕๖ พันล้านยูโร

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลงจาก ๘๘.๘ จุดในเดือนที่ผ่านมาเป็น ๘๖.๕ จุด ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๓๙ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคมีความสำคัญเนื่องจากประชาชนมีแนวโน้มที่จะจับจ่ายใช้สอยน้อยลง ถ้ามีทัศนคติในเชิงลบต่อสภาพเศรษฐกิจ และจะส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ยากยิ่งขึ้น

อัตราการออมเงินในครัวเรือน จากการสารวจของหน่วยงาน Centro Einaudi ให้แก่ธนาคาร Intesa SanPaolo รายงานว่า การออมเงินในครัวเรือนลดลงเนื่องจากภาวะถดถอยตกต่ำอย่างมากและนโยบายความเข้มงวดทางการเงินส่งผลกระทบต่ออิตาลี ทั้งนี้ในปี ๒๕๕๕ คนอิตาเลี่ยน ๓๘.๗% ต้องจัดการกันเงินไว้บางส่วน และเกือบกึ่งหนึ่งของครัวเรือนต้องเอาเงินออมออกมาใช้เพื่อความอยู่รอด

การใช้จ่ายในครัวเรือน ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกแห่งอิตาลี Mr. Carlo Sangalli กล่าวว่า การใช้จ่ายในครัวเรือนในช่วงเศรษฐกิจถดถอยตกต่าลงไปถึงระดับเดียวกันกับปี ๒๕๔๑ ทั้งนี้การที่รัฐบาลเพิ่มภาษีเพื่อฟ้นฟูสุขภาพการคลังของประเทศ และนำอิตาลีออกจากจุดศูนย์กลางของวิกฤตหนี้ยุโรปส่งผลให้รายได้ประชากรต่อหัวตกลงไปสู่ระดับเดียวกับในปี ๒๕๕๒ ผลกระทบจากภาวะถดถอยใหญ่หลวงมากทำให้ประเทศอิตาลีจนลง

คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม ในเดือนเมษายน ๒๕๕๕ คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมลดลง ๑.๙% หลังจากที่พุ่งขึ้น ๓.๕% ในเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ และลดลง ๑๒.๓% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีที่ผ่านมา ส่วนยอดขายภาคอุตสาหกรรม ในเดือนเมษายน ๒๕๕๕ ลดลง ๐.๕% เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และลดลง ๔.๑% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการจากต่างประเทศอ่อนแรงลง

อัตราการว่างงาน ในช่วงเดือนเมษายน ๒๕๕๕ อัตราการว่างงานพุ่งขึ้น ๑๐.๒% จาก ๑๐.๑% ในเดือนมีนาคม ซึ่งนับเป็นเดือนที่สองติดต่อกันที่อิตาลีมีอัตราการว่างงานในระดับสูงกว่า ๑๐% ทั้งนี้แนวโน้มการจ้างงานยังคงซบเซาเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศกำลังเผชิญภาวะหดตัวนับตั้งแต่ฤดูร้อนปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการภายในประเทศลดลง ภาษีที่สูงขึ้นและต้นทุนการกู้ยืมที่พุ่งสูงขึ้น

สำหรับการจ้างงานในบริษัทขนาดใหญ่ (มีคนงานเกิน ๕๐๐ คน) พบว่าตกลง ๐.๘% ในเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีที่ผ่านมา และลดลง ๐.๑% เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา

ส่วนการจ้างงานคนอายุระหว่าง ๑๕ - ๒๔ ปีที่โดนออกจากงานในช่วงไตรมาสแรกของปีอยู่ที่ ๓๕.๙% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดตั้งแต่ปี ๒๕๓๖ โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงในภาคใต้ของอิตาลี โดยมากกว่ากึ่งหนึ่ง (๕๑.๘%) ไม่มีงานทำในช่วงดังกล่าว อย่างไรก็ดี ในช่วงเดือนเมษายน ๒๕๕๕ พบว่าตัวเลขการว่างงานของคนอายุ ๑๕-๒๔ ปีอยุ่ที่ ๓๕.๒% ซึ่งลดลง ๐.๘% เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ แต่ยังคงเพิ่มขึ้น ๗.๙% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยจำนวนของคนไม่มีงานทำในกลุ่มดับกว่าอยู่ที่ ๖๑๑,๐๐๐ คน

จากการสำรวจของสำนักสถิติแห่งชาติเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๕๕ พบว่าปัจจุบันคนต่างชาติที่อาศัยอยู่ในอิตาลีมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นกว่า ๓ เท่าจากเมื่อสิบปีที่ผ่านมา จากจำนวน ๑,๓๓๔,๘๘๙ คนเป็น ๓,๗๖๙,๕๑๘ คน ซึ่งจำนวนของคนต่างชาติที่ทำงานในอิตาลีเพิ่มขึ้นเป็น ๗๕๐,๐๐๐ คนภายใน ๕ ปีที่ผ่านมาในขณะที่จานวนคนอิตาเลี่ยนที่มีงานทาตกลงถึง ๑ ล้านคน ซึ่งประธานาธิบดีนาโปลิตาโนได้กล่าวยกย่องว่าคนงานต่างชาติมีบทบาทสาคัญในอิตาลีมากขึ้น

อนึ่งจากรายงานของ Guild กลับพบว่าอิตาลีมีหมอฟัน ๕๙,๐๐๐ คนหรือ หนึ่งต่อประชากร ๙๐๐ คน (องค์การ WHO คิดว่าสัดส่วนที่เหมาะสมควรเป็นหมอฟัน ๑ คนต่อประชากร ๑,๒๐๐ คน) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอิตาลีมีหมอฟันจำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากมีทั้งหมอฟันที่เรียนจบจากต่างประเทศและที่เรียนในประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ ในเดือนเมษายน ๒๕๕๕ อิตาลีส่งออกลดลง ๑.๗% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นสถิติที่แย่ที่สุดของปีตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๕๒ ส่วนการนำเข้าลดลง ๙.๓% โดยในเดือนมีนาคม และเดือนเมษายน ทั้งการนำเข้าและการส่งออกเพิ่มขึ้น ๐.๒% และ ๒.๕% ตามลำดับ โดยอิตาลีขาดดุลการค้ามูลค่า ๒๐๒ ล้านยูโร เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ ๒.๘ พันล้านยูโร

ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕ อิตาลีมียอดเกินดุลการค้า ๓๐๖ ล้านยูโรกับประเทศนอกกลุ่มสหภาพยุโรป หลังจากที่ขาดดุล ๙๐๔ ล้านยูโรในเดือนเมษายน ๒๕๕๕ และเมื่อเทียบกับการขาดดุลที่ ๑.๘๙ พันล้านยูโรในช่วงเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ ทั้งนี้การส่งออกพุ่งขึ้น +๑๔.๑ % ขณะที่การนำเข้าลดลง -๐.๙% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา มีความต้องการภายในประเทศที่อ่อนแอ

ธนาคารแห่งชาติอิตาลีเปิดเผยว่า ดุลการค้าลดลง ๓๘.๘ พันล้านยูโรในเดือนเมษายน ๒๕๕๕ เมื่อเทียบกับเดือนเมษายนปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่า ๖๑.๗ พันล้านยูโร ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ๑,๑๓๘ พันลานยูโรในเดือนเมษายน ๒๕๕๕

ยอดขายปลีก ในเดือนเมษายนลดลง ๖.๘% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นสถิติตกต่ำที่สุดตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๔๔ และลดลง ๑.๖% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ร้านค้าเล็กๆ ประสบภาวะย่ำแย่โดยมียอดขายลดลง ๘.๖% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ในขณะที่ร้านค้าเครือข่ายขายปลีกขนาดใหญ่มียอดขายลดลง ๔.๓% ยอดขายอาหารลดลง ๖.๑% ซึ่งถือว่าตกต่ำที่สุดในรอบ ๑๑ ปี แม้กระทั่งร้านชุปเปอร์มาร์เก็ตอาหารลดราคาซึ่งยังมีผลประกอบการที่ดีในช่วงภาวะถดถอยที่ผ่านมากำลังเริ่มมียอดขายลดลง ๓% ๓. สถานการณ์ส่งออก

ในช่วง ๕ เดือนแรก (ม.ค. - พ.ค.) ของปี ๒๕๕๕ ไทยส่งออกสินค้ามายังอิตาลีทั้งสิ้น ๖๖๖.๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า ๘๗๘.๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็น -๒๔.๑๖% โดยมีสินค้าส่งออก ๕ อันดับแรก ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ๙๕.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๘.๘๕%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ๗๒.๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๑๙.๙๘%) ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง ๔๖.๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๑๓.๕๔%) ยางพารา ๔๓.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๕๑.๔๒%) และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ๓๒.๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+๖๐.๗๒%)

การนำเข้าสินค้าของอิตาลีจากทั่วโลก
ประเทศ           ปี ๒๕๕๔           ปี ๒๕๕๕          สัดส่วน (%)      อัตราขยายตัว (%)
               (ม.ค.-มี.ค.)      (ม.ค.-มี.ค.)
๑. เยอรมัน        ๒๑,๙๐๒           ๑๘,๙๖๙            ๑๔.๖๗            -๑๓.๓๙
๒. ฝรั่งเศส        ๑๑,๘๖๒           ๑๐,๗๗๔             ๘.๓๓             -๙.๑๗
๓. จีน            ๑๐,๗๐๒            ๘,๑๘๑             ๖.๓๓            -๒๓.๕๖
๔. เนเธอร์แลนด์     ๗,๔๑๙            ๖,๗๔๕             ๕.๒๒             -๙.๐๘
๕. รัสเซีย          ๕,๗๕๕            ๖,๓๗๗             ๔.๙๓             ๑๐.๘๑
....๕๒ ไทย          ๕๓๙              ๓๙๗             ๐.๓๑            -๒๖.๓๕
รวม             ๑๔๑,๕๐๒          ๑๒๙,๓๑๘              ๑๐๐             -๘.๖๑
แหล่งที่มา World Trade Atlas

          ข้อมูลการนำเข้าล่าสุด (มค. - มี.ค. ๒๕๕๕) ของ WTA ปรากฏว่าอิตาลีนำเข้าจากทั่วโลกมีมูลค่า ๑๒๙,๓๑๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง -๘.๖๑% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนซึ่งมีมูลค่า ๑๔๑,๕๐๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยประเทศที่อิตาลีนำเข้ามาก ๕ อันดับแรก ได้แก่ เยอรมัน (มูลค่านำเข้า ๑๘,๙๖๙ ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน ๑๔.๖๗%) ฝรั่งเศส (มูลค่า ๑๐,๗๗๔ ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน ๘.๓๓%) จีน (มูลค่า ๘,๑๘๑ ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน ๖.๓๓%) เนเธอร์แลนด์ (มูลค่า ๖,๗๔๕ ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน ๕.๒๒%) รัสเซีย (มูลค่า ๖,๓๗๗ ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน ๔.๙๓%)
          ประเทศอิตาลีนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ รัสเซีย (+๑๐-๘๑%) คาซักสถาน (+๑๑๙.๖๕%)  การ์ตา (+๓๕.๖๘%) อิรัค (+๒๗.๗๙%) ซาอุดิอาราเบีย (+๒๗.๗๕%) อิหร่าน (+๑๗.๙๘%) ซึ่งส่วนใหญ่กว่า    ร้อยละ ๙๐ เป็นการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง และสินแร่
          ประเทศคู่แข่งอื่นๆ ที่สำคัญได้แก่ อินเดีย (มูลค่า ๑,๓๕๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๑.๐๕%) ญี่ปุ่น (มูลค่า ๑,๒๙๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๑.๐๑%) เกาหลีใต้ (มูลค่า ๑,๐๖๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๐.๘๒%) อินโดนีเซีย (มูลค่า ๖๙๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๐.๕๔%) เวียดนาม (มูลค่า ๕๔๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๐.๔๒%) และไต้หวัน (มูลค่า ๕๔๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน ๐.๔๒%) โดยไทยเป็นอันดับที่ ๕๒ มูลค่า ๓๙๗ ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน ๐.๓๑%

๔. วิเคราะห์แยกรายสินค้าที่มีการส่งออกลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ได้ดังนี้
          ๔.๑ อัญมณีและเครื่องประดับ
          การส่งออกในช่วง ๕ เดือนแรก (ม.ค. - พ.ค.) ของปี ๒๕๕๕ มีมูลค่า ๙๕.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า ๑๐๔.๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็น -๘.๘๕% แต่หากพิจารณาเป็นรายเดือนพบว่ามีมูลค่า ๓๖.๓๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ๔๒๑.๐๑% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าซึ่งมีมูลค่า ๖.๙๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจาก
          (๑) ราคาวัตถุดิบทองและอัญมณีเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผู้นำเข้ายูโรปโดยเฉพาะอิตาเลี่ยนลดการนำเข้าจากไทย
          (๒) มาตรการเข้มงวดด้านการเงินของรัฐบาลมอนติที่เริ่มต้นตั้งแต่ต้นปี ๒๕๕๕ ค่าใช้จ่ายด้านการคลังและการกดดันด้านค่าจ้างแรงงานทำให้ลดอุปสงค์ภายในประเทศ โดยเฉพาะเมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ รัฐบาลบังคับให้ประชาชนรายงานการใช้จ่ายเงินแก่รัฐและยกเลิกการจ่ายเงินสดที่มากกว่า ๙๙๙ ยูโร
          (๓) สิทธิประโยชน์การค้าระหว่างสหภาพยุโรปทำให้มีการนำเข้าจากประเทศในกลุ่มมากขึ้น ได้แก่ ฝรั่งเศส (+๕๘.๓๗%) เบลเยี่ยม (+๙๕.๗%) สเปน (+๗๒.๑๓%)
          (๔) ข้อมูลการนำเข้าล่าสุดจาก WTA ในเดือน ม.ค. - มี.ค. ปี ๒๕๕๕ ไทยครองตลาดอันดับที่ ๑๙  (สัดส่วน ๐.๖๔ %) โดยประเทศที่อิตาลีนำเข้า ๕ อันดับแรกได้แก่ สวิสเซอร์แลนด์ (สัดส่วนนำเข้า ๒๒.๗๒ %) ฝรั่งเศส (๑๓.๐๔%) สหรัฐอเมริกา (๘.๙๐%) เบลเยี่ยม (๘.๔๕%) และแอฟริกาใต้ (๗.๕๐%)
          ประเทศคู่แข่งที่สำคัญได้แก่ จีน (อันดับที่ ๑๑ สัดส่วนนำเข้า ๑.๘๓% %) อินเดีย (อันดับที่ ๑๕ สัดส่วนนำเข้า ๑.๐๘%)
          ประเทศอิตาลีนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ โรมาเนีย (+๕,๕๐๑.๗๘ %) โปแลนด์ (๙๗๗.๕๗ %) เม็กซิโก (+๔๕๗.๔๔%) โครเอเชีย (+๔๐๐.๔๒%) เบลเยี่ยม (+๙๕.๗๓%) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบทองและเงิน
          ๔.๒ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
          การส่งออกในช่วง ๕ เดือนแรก (ม.ค. - พ.ค.) ของปี ๒๕๕๕ มีมูลค่า ๗๒.๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า ๙๐.๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็น -๑๙.๙๗% แต่หากพิจารณาเป็นรายเดือนพบว่ามีมูลค่า ๑๗.๒๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ๑.๓% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าซึ่งมีมูลค่า ๑๗.๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจาก
          (๑)เครื่องปรับอากาศถือเป็นสินค้าที่ได้รับอิทธิพลจากสภาพภูมิอากาศ ซึ่งในอิตาลีเริ่มไม่มีความแน่นอนมากขึ้น สินค้าเครื่องปรับอากาศและพัดลมเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคจะหาซื้อในช่วงหน้าร้อนที่มีอากาศร้อนมากๆ
          (๒)ผลจากความอิ่มตัวของตลาดและผลกระทบจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจต่ออุสาหกรรมก่อสร้าง ทำให้คนอิตาเลี่ยนลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าใหม่มาทดแทนของเก่า
          (๓)ปัจจุบันบริษัทผลิตเครื่องปรับอากาศในอิตาลี จึงย้ายฐานการผลิตไปยังจีนมากขึ้น ทำให้จีนครองตลาดเป็นอันดับที่หนึ่ง
          (๔)ข้อมูลการนำเข้าล่าสุดจาก WTA ในเดือน ม.ค. - มี.ค. ปี ๒๕๕๕ ไทยครองตลาดอันดับที่ ๓  (สัดส่วน ๑๐.๐๕%) โดยประเทศที่อิตาลีนำเข้า ๕ อันดับได้แก่ จีน (สัดส่วน ๒๖.๕๓%) สาธารณรัฐเชค (๑๖.๒๙%) ไทย (๑๐.๐๕%) เยอรมัน (๗.๘๘%%) และญี่ปุ่น (๗.๓๘%)
          ประเทศคู่แข่งสำคัญได้แก่ จีน (สัดส่วน ๒๖.๕๓%) มาเลเซีย (๔.๑๑%) เกาหลีใต้ (๓.๒๐%)
          ประเทศอิตาลีนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง (+๗๘๔.๕๑%) อียิปต์ (+๓๒๕.๓๐%) สวีเดน(+๒๕๕.๔๔%) เม็กซิโก (+๑๙๘.๔๗%) และโรมาเนีย (+๑๔๓.๕๑%)
          ๔.๓ ยางพารา
          การส่งออกในช่วง ๕ เดือนแรก (ม.ค. - พ.ค.) ของปี ๒๕๕๕ มีมูลค่า ๔๓.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า ๘๙.๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็น -๕๑.๔๒% แต่หากพิจารณาเป็นรายเดือนพบว่ามีมูลค่า ๖.๖๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ๑๓.๑๖% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าซึ่งมีมูลค่า ๕.๘๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เนื่องจาก
          (๑)อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับยางพารามีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ (ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์นั่ง) ซี่งมีสัดส่วนการใช้ยางพารา ๓๐% อุตสาหกรรมก่อสร้าง (ทั้งที่พักอาศัยและการค้า) ซี่งมีสัดส่วน ๓๐% และเฟอร์นิเจอร์ มีสัดส่วน ๑๐%
          (๒)รถยนต์นั่งส่วนบุคคล พบว่ามีอัตราขยายตัวลดลง -๑๘.๙% ในช่วง ๕ เดือนแรกของปี ๒๕๕๕ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา และในปี ๒๕๕๕ คาดการณ์ว่าจะลดลง -๑๘% ทั้งนี้เนื่องจากได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น การเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่นๆ ในการถือครองรถยนต์ และเพิ่มค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา รวมถึงการประกันภัย ซึ่งส่งผลให้คนอิตาเลี่ยนหันมาใช้รถสาธารณะหรือรถจักรยานมากขี้น
          (๓)อุตสาหกรรมก่อสร้าง ในช่วง ๔ เดือนที่ผ่านมามีอัตราขยายตัวลดลง -๑๔% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา และยอดขายอสังหาริมทรัพย์ลดลง -๑๙.๖% สำหรับกลุ่มที่พักอาศัยและ -๑๗.๖% สำหรับกลุ่มอาคารพาณิชย์ ทั้งนี้เนื่องจากค่าใช้จ่ายของครอบครัวชาวอิตาเลี่ยนสำหรับสินค้าคงทน รวมถึงผลกระทบที่ได้จากอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นและความไม่แน่นอนในอนาคต
          (๔)อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ มีอุปสงค์ภายในประเทศลดลง ๗.๕% ในปี ๒๕๕๔ และคาดการณ์ว่าจะลดลง -๓.๖% ในปี ๒๕๕๕ เนื่องจากภาวะความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ และอำนาจการซื้อที่ตกลงของครอบครัวที่ต้องลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป ผลผลิตลดลง -๔.๗% ในปี ๒๕๕๔
          (๕)ข้อมูลการนำเข้าล่าสุดจาก WTA ในเดือน ม.ค. - มี.ค. ปี ๒๕๕๕ อิตาลีนำเข้ารวมจากทั่วโลก ๑,๔๑๖.๗๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยครองตลาดอันดับที่ ๑๐ (สัดส่วน ๓.๗๓%) โดยประเทศที่อิตาลีนำเข้า ๕ อันดับได้แก่ เยอรมัน (สัดส่วน ๑๖.๙๑%) ฝรั่งเศส (๑๑.๖๐%) จีน (๗.๓๐%) เบลเยี่ยม (๔.๙๑%) และ สเปน (๔.๗๘%)
          ประเทศคู่แข่งสำคัญได้แก่ จีน (สัดส่วน ๗.๓๐%) อินโดนีเซีย (๒.๘๗%) และมาเลเซีย (๒.๖๐%) ประเทศอิตาลีนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ สโลวาเกีย (+๓๒.๕๔%) รัสเซีย (+๒๙.๕๒%) สหรัฐอเมริกา (+๑๗.๖๗%) และจีน (+๑๙.๗๐%)

๕. ข้อคิดเห็น
          สินค้าที่คาดว่ายังมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ได้แก่
          - อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ปลา/ปลาหมึก/กุ้ง สด แช่เย็น แช่แข็งเนื่องจากคนอิตาเลี่ยนนิยมรับประทานอาหารเบาๆ ในช่วงฤดูร้อน เช่นสลัดทูน่า เป็นต้น โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจถดถอยคนอิตาเลี่ยนต้องประหยัดค่าใช้จ่าย จึงหันมาซื้อปลากระป๋องมากขึ้นด้วย
          - รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และรถจักรยาน เนื่องจากเข้าฤดูร้อน ทำให้คนอิตาเลี่ยนหันมาใช้รถจักรยานยนต์มากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรติดขัด  ช่วยลดภาวะเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย
          - อาหารสัตว์เลี้ยง ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงอิตาลีประกอบด้วยอาหารสุนัขและแมวประมาณ ๙๐% ซึ่งจากการสำรวจพบว่าครอบครัวชาวอิตาเลี่ยน (๑๕ ล้านครอบครัว) จะมีสัตว์เลี้ยงที่บ้านอย่างน้อย ๑ ตัว (โดยรวมจะมีสัตว์เลี้ยงประมาณ ๖๐ ล้านตัว) อาหารสัตว์เลี้ยงกระป๋อง โดยเฉพาะปลากระป๋องสำหรับแมวเป็นสินค้าที่มีโอกาสและลู่ทางที่ดี


                                                                        สำนักส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโรม
                                                                                             ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๕

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ