เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก
เม็ดพลาสติก :
HS Code - 3901 3902 3903 3904 3905 3906 3907 3908 3909 3910 3911 3912 3913 3914 3915
ผลิตภัณฑ์พลาสติก :
HS Code - 3917 3918 3919 3922 3923 3924 3925
จีนถือเป็นยักษ์ใหญ่ของอุตสาหกรรมพลาสติก โดยมีขนาดอุตสาหกรรมพลาสติกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย กล่าวคือ มีขนาด 35.37 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของอุตสาหกรรมพลาสติกทั่วโลก มีโรงงานจำนวน 20,702 กว่าแห่งที่แปรรูปพลาสติก และแรงงานง 2.68 ล้านกว่าคน
ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา เมืองต้าเหลียนของจีนได้กลายเป็นตลาดซื้อขายพลาสติกล่วงหน้าที่ใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งได้แสดงบทบาทสำคัญในการซื้อขายพลาสติกและผลิตภัณฑ์ฯ รวมทั้งเป็นตลาดชี้วัดราคาพลาสติกอีกด้วย
จีนมีการเน้นพัฒนาการผลิตผลิตภัณฑ์ฯ เพื่อส่งออกและสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม โดยหันมาส่งเสริมการใช้วัตถุดิบภายในประเทศแทนการนำเข้า เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ฯ ที่หลากหลาย ซึ่งได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่เป็นถุงพลาสติก สินค้าหัตถกรรมที่ทำจากพลาสติก ภาชนะพลาสติกที่ใช้ในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องจักรที่มีส่วนประกอบของพลาสติก รองเท้าที่ทำจากพลาสติก ฯลฯ
จีนมีการผลิตถุงพลาสติก แผ่นพลาสติกที่ใช้ในการเกษตรและรองเท้าพลาสติกมากที่สุดในโลก รวมทั้งผลิตพลาสติก PE PP และ PVC มากเป็นอันดับที่ 7 ของโลก ปี 2011 จีนมีการผลิตผลิตภัณฑ์ฯ รวม 54.7 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
ทั้งนี้ นักวิชาการจีนคาดว่าอีก 5 ปีข้างหน้า ถุงพลาสติกที่ทำจากพืชจะสามารถนำมาใช้แทน ถุงพลาสติกที่ทำจากปิโตรเคมีในปัจจุปัน เนื่องจากจีนได้คิดค้นวิธีผลิตถุงพลาติกจากต้นข้าวโพดและ กากอ้อยได้ ถุงพลาสติกเหล่านี้ละลายได้ง่าย ไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกลิ่น ไม่ปล่อย สารพิษเมื่อถูกความร้อน ซึ่งปลอดภัยสำหรับบรรจุอาหาร จึงจะเป็นสินค้าที่ได้รับความ นิยมสูงในอนาคต นอกจากนี้ นักวิจัยกำลังคิดค้นวิธีกำจัดถุงพลาสติกปิโตรเคมีที่ใช้แล้วโดยนำมาเป็นส่วนประกอบของ สีทาบ้าน น้ำมันหล่อลื่น และแบตเตอรีมือถือ เป็นต้น
นอกจากนี้ ตลาด Mold พลาสติกของจีนถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพและพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยมีสัดส่วนตลาดประมาณร้อยละ 30 รวมทั้งจีนมุ่งส่งเสริมการใช้วัสดุพลาสติกในการก่อสร้าง เช่น ท่อระบายน้ำในบ้าน ประตู หน้าต่าง ฯลฯ จึงคาดว่าในปี 2010 ความต้องการวัสดุก่อสร้างที่ทำจากพลาสติกจะขยายตัวมากขึ้น
ส่วนพลาสติก PE ของจีนนั้น ตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา ถือว่าจีนเป็นประเทศที่ผลิตพลาสติก PE ที่ใหญ่ที่สุดของโลก แต่จากผลของวิกฤติเศรษฐกิจโลก ทำให้กำไรจากการผลิตปี 2009 ลดลงจาก 10,000 ล้านหยวน เหลือ 200 ล้านหยวน ซึ่งแสดงว่า แม้จีนมีการพัฒนาการผลิตพลาสติก PE อย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังขาดความมีเสถียรภาพ
การผลิตพลาสติกดังกล่าว ต้องสิ้นเปลืองกระแสไฟฟ้ามาก ดังนั้น เพื่อเป็นการลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง รวมทั้งส่งเสริมให้มีการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน ในปี 2009 รัฐบาลจึงปรับค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 2.8 หยวน/กิโลวัตสำหรับการผลิตพลาสติก PE ทำให้การผลิตประสบปัญหาต้นทุนสูงขึ้น ผู้ผลิตจึงต้องแสวงหาวิธีการผลิตใหม่ที่ช่วยลดต้นทุน เช่น นำเข้าเทคโลโลยีที่มีประสิทธิมากขึ้น ฯลฯ
เมื่อไม่นานมานี้ ราคาท่อ PE ลดต่ำกว่า 10,000 หยวน/ตัน แต่ราคาท่อ PP ยังคงอยู่ระดับ 12,000 หยวน/ตัน เนื่องจากตลาดมีความต้องการท่อ PP โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำไปใช้ประโยชน์ในระบบชลประทานจำนวนมาก รวมถึงวัตถุดิบที่ใช้ผลิตท่อ PP มีไม่เพียงพอ และการผลิตท่อ PPR (ซึ่งใช้แทนท่อ PP ได้) ทำให้เครื่องจักรเสียง่าย ต้นทุนการผลิตจึงสูง ผู้ผลิตจึงมักหยุดการผลิตท่อ PPR ทำให้ราคาท่อ PP ยังคงอยู่ในระดับสูง
แต่จากการที่ราคาวัตถุดิบมีแนวโน้มลดลง เพราะได้รับผลจากช่วงที่ราคาน้ำมันต่ำลง ทำให้ราคา LDPE (PE ที่มีความหนาแน่นต่ำ) ลดลงอย่างมาก คาดว่าจะต่ำกว่า 9,000 หยวน/ตัน และจะต่ำในระยะยาว
การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฯ ทำโดยผ่านตัวแทนจำหน่าย แหล่งขายวัสดุก่อสร้าง โรงงานผลิต-รถยนต์ Supermarket ฯลฯ
ชาวจีนมีการบริโภคผลิตภัณฑ์ฯ เฉลี่ย 9 กก./คน/ปี โดยใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นถุงมากที่สุด กล่าวคือ มีสัดส่วนถึงร้อยละ 22 ของการบริโภคทั้งหมด รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์ฯ ที่ใช้ในครัวเรือนร้อยละ 18.9 ผลิตภัณฑ์ฯ ที่ใช้ในการเกษตร (เช่น แผ่นพลาสติกคลุมพืชผลทางเกษตรเพื่อป้องกันความหนาวเย็นของอากาศ ฯลฯ) และอุตสาหกรรมร้อยละ 18.0 ผลิตภัณฑ์ฯ ที่ใช้ในการก่อสร้างร้อยละ 16.0 ผลิตภัณฑ์ฯ ที่ใช้เป็นส่วนประกอบของเคมีภัณฑ์ร้อยละ 3.1
1. จากนโยบายรัฐบาลจีนที่ส่งเสริมความต้องการภายในประเทศ และโครงการส่งเสริมการใช้เครื่องไฟฟ้าในเขตชนบทของจีน ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์ฯมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยครึ่งแรกของปี 2010 การบริโภคผลิตภัณฑ์ฯสูงขึ้นร้อยละ 10 โดยเฉพาะ ABS ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าว
2. จีนยังต้องการพลาสติก PC มาก เนื่องจากทนทาน ทนความร้อนและเป็นฉนวนที่ดี จึงมีการใช้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะใช้เป็นส่วนประกอบเครื่องไฟฟ้า แผงวงจรอิเลคโทรนิค ฯลฯ รวมทั้งยังสามารถใช้ผสมกับสารอื่นได้ง่าย และแปรรูปเป็นสินค้าอื่นได้ เช่น เครื่องจักร ซึ่งมีความต้องการสูง
ถึงแม้จีนสามารถผลิตได้มาก แต่ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศไม่น้อย กล่าวคือ ช่วงเดือนมกราคม —กรกฎาคม 2010 จีนนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.0 หรือเป็นสัดส่วนร้อยละ 78.0 โดยราคา PA และ PC อยู่ในระดับสูงเป็นระยะยาวต่อไป
3. ปี 2010 จีนผลิต Polypropylene จำนวน 9,170,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 แม้การผลิตสูงขึ้นแต่จีนยังต้องการนำเข้าจำนวนมาก เนื่องจากสามารถใช้ผลิตฟิล์มพลาสติก ท่อ เครื่องจักร เครื่องไฟฟ้า ฯลฯ ถูกนำมาใช้ในการผลิตฟิมล์พลาสติก ท่อพลาสติก เครื่องจักร เครื่องไฟฟ้า ฯลฯ อัตราความต้องการพลาสติก
โดยปี 2010 ความต้องการ Polypropylene เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 และคาดว่าปี 2015 ความต้องการจะมีถึง 26,000,000 ตัน ในขณะที่การผลิตมีเพียง 21,000,000 ตัน
ทั้งนี้ ในเดือนสิงหาคม 2011 จีนนำเข้า Polypropylene จำนวนมากถึง 145,649 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.0 เนื่องจากโรงงานผลิต Polypropylene ของจีนหยุดการผลิตชั่วคราว เพื่อตรวจสอบเครื่องจักร จึงต้องนำเข้าจาก เกาหลีใต้ และไต้หวัน
4. จีนถือเป็นตลาดใหญ่ในการบริโภคท่อพลาสติก โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดของโลก แต่เนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่ขาดความรู้ในการสร้างแบรนด์สินค้าและการสร้างเครือข่ายจัดจำหน่าย ตลอดจนเทคโนโลยี่ค่อนข้างล้าสมัย ทำให้ธุรกิจท่อพลาสติกมีขนาดไม่ใหญ่ การแข่งขันสูง รูปแบบไม่หลากหลายและต้นทุนสูงขึ้น ทำให้จีนมักส่งออกท่อพลาสติกไปยังประเทศด้อยพัฒนา และนำเข้าท่อพลาสติกที่คุณภาพดีกว่าจากต่างประเทศ อย่างไรก็ดี จีนมีความต้องการท่อน้ำพลาสติกที่สุด แต่ผู้ผลิตท่อน้ำพลาสติกที่มีคุณภาพยังมีจำนวนน้อย ทำให้ไม่สามารถสนองต่อความต้องการของตลาดภายในประเทศได้ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมท่อพลาสติกของจีนกำลังก้าวจากการพึ่งพาการนำเข้าเป็นอุตสาหกรรมการผลิตลอกเลียนแบบ
ช่วงเดือนมกราคม — พฤศจิกายน 2010 จีนผลิตท่อพลาสติก 7.13 ล้านตันหรือขยายตัวร้อยละ 29.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และส่งออก 360,000 แสนตัน คาดว่า ท่อ PE / PPR / PB จะมีการขยายตัวมากกว่าพลาสติกอื่นๆ เนื่องจากทนทานต่อความร้อนและเย็นดีกว่าท่อ PVC(แม้ท่อ PVC เป็นที่นิยมกันมานาน) สาหกรรมผลิตรถยนต์ของจีนมีความต้องการพลาสติกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยใช้พลาสติกประมาณ 70 กก./ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6 ของน้ำหนักรถยนต์ โดยเฉพาะพลาสติก PA6 มีสัดส่วนร้อยละ 30 ของพลาสติกทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตรถยนต์ โดยใช้ผลิตส่วนประกอบของเครื่องกรองอากาศ พัดลม ฯลฯ ส่วนพลาสติก PEI ถูกใช้ในการอุตสาหกรรมนี้มากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากทนความร้อนได้สูง (249 องศา)
ถึงแม้จีนเป็นประเทศที่ผลิตท่อพลาสติกได้จำนวนมากก็ตาม แต่ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศส่วนหนึ่ง โดยครึ่งแรกของปี 2011 จีนนำเข้าท่อพลาสติก 268,000 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ซึ่งนำเข้ามากที่สุด คือ ท่อไร้รอยต่อสำหรับธรณีวิทยาและท่อขนส่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 116.3 และ 23.3 ตามลำดับ
5. การใช้ฟิล์มพลาสติกสำหรับการหีบห่อแทนกล่องกระดาษหรือพลาสติก ยังได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่มและเบียร์ เนื่องจากมีต้นทุนต่ำ สามารถป้องกันฝุ่นและการกระแทกได้ดี ตลอดจนขนส่งสะดวก ส่งผลให้ความต้องการเครื่องจักรอุปกรณ์ผลิตฟิล์มพลาสติกสำหรับการหีบห่อมีสูงขึ้นด้วย
นอกจากนี้ ยังมีฟิล์มพลาสติกที่ใช้ในการเกษตร อุตสาหกรรมและก่อสร้างอย่างกว้างขวาง ซึ่งจีนผลิตเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกทั้งหมดของจีน และคาดกันว่า อีก 3 ปี ฟิล์มพลาสติกจะเติบโตร้อยละ 9 ต่อปี โดยร้อยละ 60 ใช้สำหรับบรรจุภัณฑ์ และร้อยละ 30 ใช้ในการเกษตร ส่วนที่เหลือใช้สำหรับเป็นส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอิเลคทรอนิค เป็นต้น ปัจจุปันจีนขาดแคลนวัตดุดิบและเทคนิคการผลิต ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างเพียงพอ
เดือนพฤษภาคม 2011 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการจีนจึงลดปริมาณการผลิตฟิล์มพลาสติก HDPE ลง โดยที่ผ่านมาจีนมีการผลิตเฉลี่ย 87,500 ตัน/เดือน และอีก 5 เดือนข้างหน้าปริมาณการผลิตพลาสติก HDPE จะลดลงเหลือ 50,000 ตัน/เดือน ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น 800 หยวน/ตัน หากราคาน้ำมันดิบยังไม่ลดลง ราคาฟิล์มพลาสติก HDPE ยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปอีกระยะหนึ่ง
6. ตามสถิติขององค์กรวิจัยตลาด Nexant Chem Systems พบว่า จีนนำเข้าพลาสติกเหลือทิ้งเพิ่มขึ้นทุกปี (แม้หลายปีที่ผ่านมาการนำเข้ามีอัตราขยายตัวลดลง) เนื่องจากสามารถนำมาแปรรูปได้และราคาต่ำกว่าเม็ดพลาสติก ทั้งนี้ คาดว่าการนำเข้าของจีนยังคงขยายตัวต่อไป
จีนถือเป็นผู้นำเข้าพลาสติกเหลือทิ้งที่ใหญ่ที่สุดของโลก โดยเฉพาะขวดพลาสติก PET ที่ผ่าน มาจีนควบคุมการนำเข้าขวดพลาสติก PET เหลือทิ้งอย่างเข้มงวด เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่การพัฒนาอย่างรวดเร็วของจีน ทำให้ความต้องการ Polyester Fiber มีมาก ซึ่งขวดพลาสติก PET สามารถ Recycle เป็น Polyester Fiber โดยเดือนตุลาคมที่ผ่านมา จีนลดความเข้มงวดลง และกำหนดว่า ขวดพลาสติก PET เหลือทิ้งต้องผ่านการทำเป็นเศษชิ้นแล้ว จึงสามารถนำเข้าได้ และผู้นำเข้าต้องมีใบอนุญาตนำเข้าพลาสติก Recycle รวมทั้งต้องมีโรงงานแปรรูปรองรับด้วย จึงคาดการณ์ว่า จะมีการส่งออกพลาสติกเหลือทิ้งไปยังจีนมากขึ้น
ครึ่งแรกของปี 2010 ปริมาณนำเข้าพลาสติกเหลือทิ้งของจีนลดลง แต่ราคาเพิ่มขึ้น เช่น ที่ท่าเรือ มณฑลชานตุ้ง มีการนำเข้าพลาสติกเหลือทิ้ง 130,000 ตัน ลดลงร้อยละ 26.0 เป็นมูลค่า 77.8 ล้านเหรียญ-สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.2 โดยจีนนำเข้าพลาสติกเหลือทิ้งร้อยละ 87.8 จากเกาหลีใต้ อเมริกา ยุโรป เหตุที่ปริมาณนำเข้าลดลง แต่ราคาเพิ่มขึ้นเนื่องจาก
- ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้น โรงงานในจีนจึงนำเข้าพลาสติกเหลือทิ้งทดแทนเม็ดพลาสติก
- พลาสติกเหลือทิ้งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงถูกเรียกเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมทำให้การนำเข้าลดลง
7. ตั้งแต่ปี 1999 จีนได้ออกกฏหมายห้ามผลิตกล่องข้าวพลาสติก PS เนื่องจากการผลิตส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (แต่ก็ยังมีการแอบผลิตที่ขัดต่อกฏหมาย) อย่างไรก็ดี ความต้องการกล่องข้าวฯ มีประมาณ 10,000 ชิ้น/ปี จีนจึงหันมาใช้วัสดุอื่นที่ไม่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมทดแทน เช่น กากอ้อย เป็นต้น
ส่วนขวดพลาสติกสำหรับบรรจุเครื่องดื่มมีศักยภาพมาก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์นม ทำให้ความต้องการขวดพลาสติก PET และ HDPE สำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์นม มีอัตราขยายตัวมากกว่าร้อยละ 30 ต่อปี
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์โดยใช้พลาสติกของจีนมีอัตราการเติบโตร้อยละ 5 ต่อปี ส่วนบรรจุภัณฑ์ที่ใช้วัสดุอื่นๆ (กระดาษ โลหะ กระจก ฯลฯ) มีอัตราการเติบโตไม่เกินร้อยละ 2 ในปี 2010 จีนมีการผลิต 1 แสนตัน โดยมีผู้ผลิตกว่า 8,000 บริษัท ประกอบด้วย ฟิล์มพลาสติก 2,240 ราย บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (เชือก ตะกร้า กระสอบ ฯลฯ) 4,300 ราย โฟล์มพลาสติก 500 กว่าราย กล่องหีบห่อพลาสติก 679 ราย
ปี 2010 จีนมีการใช้ภาชนะพลาสติก 1,500 ล้านชิ้น โดยร้อยละ 20 ไม่ถูกหลักอนามัย ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้ทางการจีนต้องควบคุมการผลิตภาชนะพลาสติกอย่างเข้มงวด และส่งเสริมการใช้วัสดุอื่นทดแทนพลาสติก
ช่วงเดือนมกราคม- ตุลาคม 2011 การนำเข้าภาชนะที่ทำจากพลาสติกจีน 1,700 ตัน หรือลดลงร้อยละ 17.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ขณะเดียวกันจีนก็มีการส่งออกภาชนะ 83,200 ตัน หรือลดลงร้อยละ 2.1 เนื่องจากกำลังการผลิตภาชนะพลาสติกของจีนสูงขึ้น อีกทั้งมีราคาต่ำกว่าสินค้านำเข้าอยู่ร้อยละ 6.0 — 12.0 ผู้บริโภคจึงนิยมใช้สินค้าที่จีนผลิตเอง
จากการตรจพบในขวดนมทารกที่ทำจากพลาสติก PC มีสาร “Bisphenol A ” ซึ่งระบุว่ทำให้ก่อมะเร็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง การเริ่มเป็นหนุ่มสาวเร็วเกินไป โดยทั่วไปแล้ว ขวดนมพลาสติกส่วนมากทำจากพลาสติก PC PP และ PPSU ปัจจุปัน ซึ่งมีราคาถูกว่าที่ทำจาก PP และ PPSU 70 — 80 หยวน หลังาจากเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้บริโภคจึงหันไปใช้ขวดแก้ว หรือใช้ ขวดนม PP และ PPSU แทน
ปี2011 Coca-Cola Company China ได้เลิกใช้ฉลากที่ทำจากพลาสติก PVC ทั้งสิ้น โดยใช้ OPP แทน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอลค้ลองกับความปรารถนาของผู้บริโภคชาวจีน
8. จากการที่จีนมีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างรวดเร็ว วัสดุก่อสร้างที่ทำจากพลาสติก (เช่น ท่อพลาสติก ผนังพลาสติก ฯลฯ) กลายเป็น 1 ใน 4 วัสดุก่อสร้างสำคัญของจีนรองลงมาจากเหล็ก ไม้ และปูน โดยขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 15.0 ต่อปี คาดว่าปี 2011 ความต้องการวัสดุก่อสร้างที่ทำจากพลาสติก จะมีถึง 5 ล้านตัน ทำให้วัสดุก่อสร้างที่ทำจากพลาสติกขยายตัวมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากพลาสติกสำหรับการบรรจุหีบห่อ และปัจจุบันจีนนิยมวัสดุก่อนสร้างที่ทำจากพลาสติกที่สามารถประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
9. เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากพลาสติกกำลังได้รับความนิยมในจีน โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภควัยรุ่น เนื่องจากเมื่อเทียบกับเฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยไม้และวัสดุอื่นๆ แล้ว เฟอร์นิเจอร์พลาสติกมีราคาถูกกว่า และสามารถออกแบบตามที่สมัยนิยม มีสีสันสดใส และสามารถ Recycle ได้ ทั้งนี้ โรงงานผลิตในจีนกำลังบุกเบิกเฟอร์นิเจอร์พลาสติก เนื่องจากเล็งเห็นถึงศักยภาพในกลุ่มวัยรุ่น นอกจากนี้ จีนยังไม่ได้กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์พลาสติกใดๆ แต่สำนักงานตรวจสอบคุณภาพสินค้ามณฑลเจ้อเจียงที่ได้ร่างมาตรฐานเฟอร์นิเจอร์พลาสติก ซึ่งอยู่ระหว่างการเสนอให้รัฐบาลกลางพิจารณา
10. ปี 2015 จีนมีแนวโน้มบริโภค Modified Plastic ปริมาณ 10 ล้านตัน ซึ่งปี 2010 จีนบริโภค 5 ล้านตัน โดยนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างกว้างขวาง เช่น การผลิตรถยนต์ เครื่องไฟฟ้า IT/OA(Office Automation) ฯลฯ
ปี 2008 ราคาประมาณ 5,714 — 42,855 หยวน/ตัน
ปี 2009 ราคาประมาณ 4,000 — 30,000 หยวน/ตัน
ปี2010 ราคาประมาณ 4,000 - 32,000 หยวน/ตัน
ปี2011 ราคาประมาณ 3,700 — 32,000 หยวน/ตัน
ทั้งนี้ ความแตกต่างของราคาขึ้นอยู่กับประเภทและคุณภาพของเม็ดพลาสติก และในปี 2008 ราคาอยู่ในระดับที่สูงกว่าปี 2009 เนื่องจากโลกประสบภาวะน้ำมันมีราคาแพง และต้นทุนการขนส่งมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น
ส่วนปี 2011 พร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเม็ดพลาสติกจีน ทำให้กำลังการผลิตสูงขึ้นทำให้ราคาคงอยู่ในราคาเดิมและมีแนวโน้มลดลง และมีปริมาณการบริโภคเม็ดพลาสติก 21 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 12.0 จึงเป็นประเทศที่มีการใช้เม็ดพลาสติกมากที่สุดในโลก
การส่งออกของจีน
ปี 2011 จีนส่งออกเม็ดพลาสติก HS Code 3907 มากที่สุด โดยส่งออกมูลค่า 225.8 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 43.5 รองๆลงมาคือ HS Code 3909 มูลค่า 69.5 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 74.5 HS Code 3901 มูลค่า 52.4 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 103.0 HS Code 3903 มูลค่า 45.0 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.1 HS Code 3908 มูลค่า 42.4 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.7 ฯลฯ
การส่งออกสูงสุดคือ HS Code 3923 มูลค่า 458.1 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 รองๆลงมาคือ HS Code 3924 มูลค่า 310.0 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.0 HS Code 3919 มูลค่า 157.5 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.3 ฯลฯ
เดือนพฤษภาคม 2012 จีนส่งออกผลิตภัณฑ์ฯ มูลค่า 3,086.4 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 30.6
ปี 2011 จีนนำเข้า HS Code 3901 มากที่สุด โดยนำเข้ามูลค่า 1,078.4 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 รองๆลงมาคือ HS Code 3902 มูลค่า 786.8 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.6 HS Code 3907 มูลค่า 779.1 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 HS Code 3903 มูลค่า 596.7 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2 ฯลฯ
การนำเข้าสูงสุดคือ HS Code 3919 โดยนำเข้ามูลค่า 200.8 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ61.6 รองๆลงมาคือ HS Code 3923 มูลค่า 118.9 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.3 HS Code 3917 มูลค่า 59.8 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.2 ฯลฯ
เดือนพฤษภาคม 2012 จีนนำเข้าเม็ดพลาสติกมูลค่า 3,942.9 ล้านเหรียญฯ หรือลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ก่อนหน้าร้อยละ 4.7
ในปี 2011 ไทยส่งออกเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ฯ ไปจีนหลายรายการ ๆ ที่สำคัญและมูลค่าเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ เม็ดพลาสติก :
HS Code 3901 มูลค่า 1,226.6 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 83.7 ไทยส่งออกไปจีนเป็นอันดับที่ 3 รองจาก เกาหลีใต้ และซาอุดิอารเบีย
HS Code 3907 มูลค่า 631.4 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 ไทยส่งออกไปจีนเป็นอันดับที่ 6 คู่แข่งสำคัญคือ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
HS Code 3902 มูลค่า 380.9 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.0 ไทยส่งออกไปจีนเป็นอันดับที่ 9 คู่แข่งสำคัญคือ เกาหลีใต้ ซาอุดิอารเบีย สิงคโปร์ ไต้หวัน ฯลฯ
HS Code 3915 มูลค่า 364.1 ล้านเหรียญฯ หรือลดลงร้อยละ 26.1 ไทยส่งออกไปจีนเป็นอันดับที่ 5 คู่แข่งสำคัญคือ ฮ่องกงและญี่ปุ่น เยอรมัน และสหรัฐอเมริกา
HS Code 3903 มูลค่า 216.3 ล้านเหรียญฯ หรือลดลงร้อยละ 15.6 ไทยส่งออกไปจีนเป็นอันดับที่ 6 คู่แข่งสำคัญคือ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และมาเลเซีย
HS Code 3908 มูลค่า 137.7 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 85.2 ไทยส่งออกไปจีนเป็นอันดับที่ 8 คู่แข่งสำคัญคือ ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เยอรมันและรัสเซีย
HS Code 3923 มูลค่า 14.2 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ไทยส่งออกไปจีนเป็นอันดับที่ 9 คู่แข่งสำคัญคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา ฯลฯ
HS Code 3919 มูลค่า 10.0 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ไทยส่งออกไปจีนเป็นอันดับที่ 12 คู่แข่งสำคัญคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา ฯลฯ
HS Code 3924 มูลค่า 5.4 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 ไทยส่งออกไปจีนเป็นอันดับที่ 7 คู่แข่งสำคัญคือ ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฯลฯ
HS Code 3917 มูลค่า 2.6 ล้านเหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.8 ไทยส่งออกไปจีนเป็นอันดับที่ 25 คู่แข่งสำคัญคือ ญี่ปุ่น เยอรมัน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ฯลฯ
เนื่องจากการก่อตั้งเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนแล้วเสร็จในปี 2010 ทำให้การนำเข้าเม็ดพลาสติกบางรายการ (เช่น โพลีคาร์บอเนต) มีการลดอัตราภาษีนำเข้าเหลือศูนย์ แต่บางรายการ (เช่น โพลีเอทธิลีน) ยังอยู่ในรายการสินค้าอ่อนไหวจึงไม่มีการลดภาษีนำเข้า แต่มีภาษีนำเข้าร้อยละ 6.5
ผลิตภัณฑ์พลาสติก มีการลดอัตราภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ในปี 2010 เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นบางรายการที่ลดภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ในปี 2009
นอกจากนี้ เนื่องจากในปี 2009 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ฯ ลดลง ในเดือนกุมภาพันธ์ รัฐบาลจึงยกเลิกโควตาส่งออกสำหรับผลิตภัณฑ์ฯ บางรายการ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการให้เพิ่มอัตราการคืนภาษีให้แก่ผู้ส่งออกจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 13 โดยให้เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2009 เพื่อส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์ฯ ดังนี้
อัตราการคืนภาษีส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก
หมวด HS Code การคืนภาษี (%) 39 3901909000 13 3903191000 13 3907101000 13 3907601900 13 3913900010 13 3916100000-3920101000 13 3920109090 13 3920201000 13 3920300000 13 3920510000-3922100000 13 3922200090-3926909090 13 ที่มา : กระทรวงการคลังและสำนักงานสรรพากรแห่งชาติจีน SWOT : S (Strengths) :
- การผลิตเม็ดพลาสติกมีปริมาณมากและมีความหลากหลาย
- ผลิตภัณฑ์ฯ ของไทยเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ
- การผลิตผลิตภัณฑ์ฯ ที่เป็นชิ้นส่วนมีมากพอที่ป้อนอุตสาหกรรมได้
- ไทยมีอุตสาหกรรมพลาสติกที่มีความพร้อมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
- ต้นทุนการผลิตของไทยสูงกว่าจีน โดยเฉพาะต้นทุนแรงงาน
- บุคลากรระดับช่างเทคนิคยังมีทักษะและความสามารถในระดับปานกลาง
- ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งขาดสภาพคล่องทางการเงินในภาวะเศรษฐกิจถดถอย
- สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ
- ตลาดจีนเป็นตลาดใหญ่และมีความต้องการนำเข้าเม็ดพลาสติกอย่างต่อเนื่อง
- อัตราภาษีนำเข้าเม็ดพลาสติกบางรายการเท่ากับศูนย์ตามความตกลง FTA
- ผลิตภัณฑ์พลาสติกมีการลดภาษีนำเข้าตามความตกลง FTA
- รัฐบาลจีนมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในมิให้ซบเซาตามภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโลก
- จีนมีการผลิตเม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์ฯเอง
- ภาษีมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ฯ อยู่ในระดับสูง (17%)
- เม็ดพลาสติกบางรายการยังไม่มีการลดภาษีนำเข้า
- ผลิตภัณฑ์ฯ ไทยถูกลอกเลียนแบบ
- ผลิตภัณฑ์ฯ ของจีนมีราคาถูกกว่า
- กฏระเบียบภายในของจีนมีความไม่แน่นอน
2. http://www.askci.com/news/201201/31/84620_67.shtml
3. http://www.customs.gov.cn
4. World Trade Atlas
- เอกสารแนบ 2 — 5 ดูจากรายงานสินค้า “เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก” ประจำเดือนมกราคม 2011 ของ สครฯ)
สคต.หนานหนิง
มิย. 2012