สรุปภาวะตลาดผลิตภัณฑ์ทำด้วยยางของไทยในเยอรมนีเดือนพฤษภาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 16, 2012 14:47 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สรุปภาวะตลาดผลิตภัณฑ์ทำด้วยยางของไทยในเยอรมนีเดือนพฤษภาคม 2555

ยอดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทำด้วยยางที่สำคัญๆ ในเยอรมนี

          (ล้านยูโร)         ปี 2553      ปี 2554      ปี 2555       เพิ่ม/ลด %      กิจการ

ม.ค.-เม.ย. 55:54

รวมทั้งสิ้น                    14,283      17,056       5,874         +3.7          227
          - ในประเทศ        8,334      10,428       3,609         +4.2
          - ต่างประเทศ       5,949       6,628       2,265         +2.9
          -  คนงาน         64,784      67,547      68,007         +1.7
ยางรถยนต์                    6,207       7,117       2,513         +6.3           20
          - ในประเทศ        3,625       4,833       1,723         +6.8
          - ต่างประเทศ       2,579       2,285         790         +5.3
คนงาน                      20,722      19,088      18,817         -1.1
ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ                8,079       9,993       3,361         +1.9          207
          - ในประเทศ        4,709       5,596       1,886         +2.0
          - ต่างประเทศ       3,370       4,343       1,475         +1.7
          -  คนงาน         44,061      48,460      49,190         +0.2

ที่มา  สำนักงานสถิติแห่งชาติ เยอรมนี

การส่งออกผลิตภัณฑ์ทำด้วยยางของไทยไปเยอรมนี .
          (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)     ปี 2553     ปี2554      ปี 2555       เพิ่ม/ลด%

ม.ค.-พ.ค. 55:54

รวมทั้งสิ้น                        202.6     223.2        72.1        -24.17
ถุงมือยาง                         95.0     113.1        39.5        -19.64
ยางยานพาหนะ                     88.1      84.7        26.4        -28.95
ยางรัดของ                         2.3       3.8         1.4        -24.94
ยางใช้ทางเภสัชกรรม                 7.1       9.8         1.4        +18.37
หลอด ท่อยาง                       4.3       4.5         1.3        -31.11
ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ                     4.4       4.9         1.1        -55.93

ที่มา  กรมศุลกากรไทย


อุตสาหกรรมในประเทศ

การผลิตรถยนต์และเครื่องจักรกลในเยอรมนียังคงเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ช่วยให้ความต้องการผลิตภัณฑ์ทำด้วยยางเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ความต้องการสินค้าประเภททุน เครื่องจักรกลต่างๆ จากต่างประเทศมีมากขึ้นด้วย ทำให้ยอดการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางของเยอรมนีเพิ่มสูงขึ้น โดยในช่วง 5 เดือนแรกปี 2555 (ม.ค.-พ.ค.) มีการจำหน่ายสินค้าทำด้วยยางมูลค่า 5,874 ล้านยูโร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เป็นการจำหน่าย ยางรถยนต์ มูลค่า 2,513 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ในจำนวนนี้เป็นการจำหน่ายในประเทศมูลค่า 1,723 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 และในต่างประเทศมูลค่า 790 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 สำหรับ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทำด้วยยาง ได้แก่ ปะเก็น แท่นยางรองเครื่องจักร เครื่องยนต์ และยางผสมสารเคมีต่างๆ มียอดการจำหน่ายเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 3,361 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เป็นการจำหน่ายในประเทศมูลค่า 1,886 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และการจำหน่ายไปยังประเทศมูลค่า 1,475 ล้านยูโร มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7

สินค้าส่งออกของไทย

สินค้าทำด้วยยางสำคัญๆ ที่ตลาดเยอรมนีต้องการมากจะเป็นยางยานพาหนะ ที่มีการนำเข้ามากจากฐานการผลิตในประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในยุโรปตะวันออก ส่วนผลิตภัณฑ์ยางใช้ในด้านเทคนิค และปะเก็นต่างๆ ไทยผลิตได้น้อย ทำให้ไทยการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางของไทยไปเยอรมนีมีมูลค่าลดลง โดยในช่วง 5 เดือนแรกปี 2555 ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์ยางไปเยอรมนีเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 72.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 4.8 ของมูลค่าสินค้าไทยส่งออกไปเยอรมนี มูลค่าลดลงร้อยละ 24.17 ที่สำคัญๆ ได้แก่

  • ถุงมือยาง มูลค่า 39.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 19.64 คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 54.86 ของการส่งออกสินค้าทำด้วยยางไปเยอรมนี ไทยมีส่วนแบ่งในตลาดเยอรมนีร้อยละ 17 นับเป็นอันดับที่ 2 รองจากมาเลเชียที่มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 35 แหล่งนำเข้าสำคัญ อื่นๆ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ และออสเตรีย มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 14 และ 10 ตามลำดับ
  • ยางยานพาหนะ ไทยส่งออกไปเยอรมนีเป็นมูลค่า 26.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 29.95 คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 36.68 ของการส่งออกสินค้ารายการนี้ไปเยอรมนี ในเยอรมนีไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.6 แหล่งนำเข้าสำคัญอื่นๆ ได้แก่ ฝรั่งเศสมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 14 เช็กร้อยละ 10 และเบลเยี่ยมร้อยละ 8
  • ผลิตภัณฑ์ยางใช้ทางเภสัชกรรม มูลค่า 1.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 1.4 ของการส่งออกสินค้ารายการนี้ไปเยอรมนี มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.37 ในเยอรมนีไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.1 แหล่งนำเข้าสำคัญๆ ได้แก่ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และเบลเยี่ยม มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 16, 14 และ 12 ตามลำดับ
                     มูลค่า : ล้านเหรียญ                  อัตราขยายตัว (%)                       สัดส่วน (%)

ชื่อสินค้า         2552    2553    2554    2555    2552   2553    2554    2555    2552    2553   2554   2555
                                  (ม.ค.-พ.ค.)                    (ม.ค.-พ.ค.)                  (ม.ค.-พ.ค.)
รวมทั้งสิ้น     2,626.4 3,302.2 3,763.4 1,509.4  -17.89   25.73  13.97   -4.26   100.0   100.0   100.0 100.0
 - ผลิตภัณฑ์ยาง  149.4   202.6   223.2    72.1   -6.60   35.63  10.15  -24.17    5.69    6.14    5.93  4.78
1 ถุงมือยาง      53.1    95.0   113.1    39.5  -13.21   78.98  19.03   -19.6   435.5   346.8  950.67 54.86
2 ยางยานพาหนะ  56.0    88.1    84.7    26.4   -4.03   57.27  -3.93   -28.9  537.51  43.493    7.93 36.68
3 ผลิตภัณฑ์ยาง    30.7     7.1     9.8     1.4   21.06  -77.01  37.94   18.37   20.58    3.49    4.37  2.00
ใช้ทางเภสัชกรรม
4 ยางรัดของ      1.5     2.3     3.8     1.4  -30.37   48.76  68.76  -24.94    1.03    1.13    1.72  1.94
5 หลอดและท่อ     3.4     4.3     4.5     1.3  -46.29   26.83   3.33  -31.11    2.29    2.14    2.01  1.83
6 ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ 4.0     4.4     4.9     1.1  -22.23    8.53  12.68  -55.93    2.68    2.15    2.20  1.54
7 สายพานลำเลียง  0.2     0.5     0.4     0.4  -48.29  185.47 -17.16  168.85    0.11    0.24    0.18  0.60
และส่งกำลัง
8 ยางวัลคัลไนท์    0.4     1.0     2.0     0.4  -58.15  140.14 112.10  -57.54    0.27    0.48    0.92  0.54

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ