ข้อมูลตลาดสินค้าสับปะรดไทยในสหพันธ์สาธารณัฐเยอรมนี

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 17, 2012 11:39 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลตลาดสินค้าสับปะรดไทยในสหพันธ์สาธารณัฐเยอรมนี

1. ขอบเขตสินค้า
                    รายการ                         พิกัด            ภาษีนำเข้า (%)
                                                                อัตราปกติ      GSP
1. สับปะรดสด                                     0804 30 00        5.8        2.3
2. สับปะรดกระป๋อง                                 2008 20
   - น้ำหนักเกิน 1 กก. เจือน้ำตาลเกิน 17%             2008 20 51       19.2       15.7
   - น้ำหนักเกิน 1 กก.  อื่นๆ                        2008 20 59       17.6       14.1
   - น้ำหนักไม่เกิน 1 กก.  เจือน้ำตาลเกิน 19%          2008 20 71       20.8       17.3
   - น้ำหนักไม่เกิน 1 กก.  อื่นๆ                      2008 20 79       18.4       14.9
3.  น้ำสับปะรด                                    2009 41          15.2       11.7

2. การผลิตภายในประเทศ

2.1 สับปะรดสด

ในเยอรมนีไม่มีการเพาะปลูกสับปะรดเนื่องจากสภาพอากาศไม่อำนวย

2.2สับปะรดกระป๋อง

สับปะรดกระป๋องที่มีจำหน่ายในประเทศเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ถึงแม้ว่าจะมีการให้เงินช่วยเหลือ เช่นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะยาวเพื่อการสร้างโรงงานแปรรูปสินค้าในประเทศ แต่ก็ยังคงไม่มีการผลิตสับปะรดกระป๋องในเยอรมนี คงมีแต่การไปลงทุนหรือร่วมทุนกับผู้ผลิตในต่างประเทศ ล่าสุดมีข่าวว่าบริษัท Nestle สวิสเข้าไปสร้างโรงงานผลิตสับปะรดกระป๋องในประเทศสวาซีแลนด์

2.3น้ำสับปะรด

ไม่มีการผลิตในประเทศโดยตรง แต่มีการนำเข้าหัวน้ำสับปะรดเข้มข้นเพื่อใช้ในการผลิตเป็นน้ำสับปะรด 100 % หรือเจือปนกับน้ำผลไม้อื่นๆ

3. การบริโภคผลไม้และน้ำผลไม้ในเยอรมนี
                    ปี 2552    ปี 2553       ปี 2554
ผลไม้กระป๋อง (กก.)      6.1      6.5           6.4
น้ำผลไม้ (ลิตร)         37.5     37.0          36.3
ผลไม้สด               86.9     81.5          82.0
ผลไม้แห้ง (กก.)         1.6      1.4           1.4
หน่วย = กก. และ ลิตร/คน/ปี

4. การนำเข้า

          4.1  สับปะรดสด
          (พิกัด H.S. 0804 30) ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2552 - ปี 2554) เยอรมนีนำเข้าสับปะรดสดจากต่างประเทศเป็นปริมาณโดยเฉลี่ยปีละ 196,253 ตัน มูลค่า 196 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วงไตรมาสแรกปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้า 39,962 ตัน มูลค่า 40.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 13.6 และ 21.2 ตามลำดับ แหล่งนำเข้าที่สำคัญ คือ เนเธอร์แลนด์ มีการนำเข้าโดยเฉลี่ยปีละ 79,036 ตันมูลค่า 76 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งด้านปริมาณร้อยละ 48.9 ปริมาณและมูลค่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.3 และ 5.9 ตามลำดับ สินค้าส่งออกของเนเธอร์แลนด์เป็นสินค้าที่เนเธอร์แลนด์ได้นำเข้ามาจากประเทศอื่นๆ ที่สำคัญ คือ คอสตาริกา ปานามา ไอวอรี่โคสต์ รวมทั้งจากไทยด้วย และได้ส่งต่อไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรป แหล่งนำเข้าสับปะรดสดของเยอรมนีที่สำคัญๆ รองลงมา ได้แก่ คอสตาริกา มีการนำเข้าโดยเฉลี่ยปีละ 38,128 ตัน มูลค่า 36 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 3 เดือนแรกปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.)นำเข้า 7,677 ตันมูลค่า 7.05 ล้านเหรียญสหรัฐ  คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดด้านปริมาณร้อยละ 19.2 ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 8.3 และ 12.3 ตามลำดับ จากไทย มีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 11 โดยเฉลี่ยปีละ 211 ตัน มูลค่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 3 เดือนแรกปี 2555 (ม.ค.-มีค.) นำเข้า 29 ตันมูลค่า 0.128 ล้านเหรียญสหรัฐ  คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดด้านปริมาณร้อยละ 0.1 ปริมาณลดลงร้อยละ 63.3 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.7 (รายละเอียดแหล่งนำเข้าสับปะรดสดของเยอรมนีในตารางที่ 1)

          4.2 สับปะรดกระป๋อง
          (พิกัด H.S. 2008 20) ในระยะ 3  ปีที่ผ่านมา (ปี 2552 - ปี 2554) เยอรมนีนำเข้าสับปะรดกระป๋องเป็นปริมาณโดยเฉลี่ยปีละ 101,367 ตัน มูลค่า 105 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วงไตรมาสแรกปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้าเป็นปริมาณ  25,099 ตัน มูลค่า 29.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 18.0 และ 5.7 ตามลำดับ แหล่งนำเข้าที่สำคัญ คือ ประเทศไทยมีการนำเข้าโดยเฉลี่ยปีละ 48,070 ตันมูลค่า 45 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 47.4 ในช่วงไตรมาสแรกปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้าจากไทยเป็นปริมาณ  15,261 ตัน มูลค่า 15.4 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดด้านปริมาณร้อยละ 60.8 ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 และ 30.1 ตามลำดับ รองลงมานำเข้ามากจากอินโดนีเชียเป็นปริมาณ 3,991 ตันมูลค่า 6.2 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ  15.9 ปริมาณลดลงร้อยละ 39.8 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6  (รายละเอียดแหล่งนำเข้าสับปะรดกระป๋องในตารางที่ 2)

          4.3 น้ำสับปะรด
          4.3.1 ความเข้มข้นไม่เกิน 20 brix (พิกัด H.S. 2009 41) ในระยะ 3  ปีที่ผ่านมา (ปี 2552 - 2554) เยอรมนีนำเข้าน้ำสับปะรดชนิดนี้เป็นปริมาณโดยเฉลี่ยปีละ 37,448 ตัน มูลค่า 33 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วงไตรมาสแรกปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้าเป็นปริมาณ 8,474 ตัน มูลค่า 7.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 12.3 และ 16.3 ตามลำดับ แหล่งนำเข้าที่สำคัญ คือ เนเธอร์แลนด์ มีการนำเข้าโดยเฉลี่ยปีละ 32,066 ตันมูลค่า 26 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งด้านปริมาณร้อยละ 85.6 และในช่วงไตรมาสแรกปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้าเป็นปริมาณ  7,620 ตัน มูลค่า 6.4 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดด้านปริมาณร้อยละ 89.9 ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 9.6 และ 11.0 ตามลำดับ รองลงมานำเข้ามากจาก อิตาลี เป็นปริมาณ 486 ตันมูลค่า 0.67 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5.7 ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 41.9 และ 43.3 ตามลำดับ ในช่วง 2 ปีก่อนหน้านี้ (ปี 2553) มีการนำเข้าสินค้าจากไทยเป็นปริมาณ 75 ตันมูลค่า 42,000 เหรียญสหรัฐ และหลังจากนั้นมามิได้มีการนำเข้าโดยตรงจากไทยอีกเลย (รายละเอียดแหล่งนำเข้าน้ำสับปะรดในตารางที่ 3)
          4.3.2  น้ำสับปะรดชนิดอื่นๆ (พิกัด H.S. 2009 49) ในระยะ 3  ปีที่ผ่านมา (ปี 2552 - 2554) เยอรมนีนำเข้าน้ำสับปะรดชนิดนี้เป็นปริมาณโดยเฉลี่ยปีละ 11,843 ตัน มูลค่า 23 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วงไตรมาสแรกปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้าเป็นปริมาณ  2,058 ตัน มูลค่า 3.9 ล้านเหรียญสหรัฐ  ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 12.6 และ 19.1 ตามลำดับ แหล่งนำเข้าที่สำคัญ คือ เนเธอร์แลนด์   มีการนำเข้าโดยเฉลี่ยปีละ 9,595 ตันมูลค่า 19 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งด้านปริมาณร้อยละ 81.0  ในช่วงไตรมาสแรกปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้าเป็นปริมาณ 1,673 ตัน มูลค่า 3.26 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดด้านปริมาณร้อยละ 81.3 ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 22.5 และ 27.7 ตามลำดับ รองลงมานำเข้า มากจาก ฟิลิปปินส์ เป็นปริมาณ 105 ตันมูลค่า 0.18 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5.1 ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้น 452.6 และ 346.2% ตามลำดับ จากไทย มีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 5 ปริมาณ 38 ตัน มูลค่า 0.062 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดด้านปริมาณร้อยละ 1.8 ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 47.9 และ 61.2 ตามลำดับ (รายละเอียดแหล่งการนำเข้าสับปะรดกระป๋องในตารางที่ 4)

5.   การนำเข้าจากประเทศไทย
          สินค้าที่เยอรมนีนำเข้าจากไทยจะเป็นสับปะรดกระป๋องเป็นสำคัญ มีส่วนแบ่งตลาดกว่าร้อยละ 98 ของสับปะรดประเภทต่างๆ ที่นำเข้าจากไทยทั้งสิ้น รองลงมาจะเป็นน้ำสับปะรดมีส่วนแบ่งร้อยละ 3.32 ของสินค้าสับปะรดที่นำเข้าจากไทย มีการนำเข้าเรียงลำดับตามมูลค่าได้ ดังนี้

เยอรมนีนำเข้าสับประรดประเภทต่างๆ จากประเทศไทยปี 2552 - 2555 (ม.ค.-มี.ค.)
                       ล้านเหรียญสหรัฐ                        % ส่วนตลาดในเยอรมนี     % ขยายตัว
ประเภท              2552     2553   2554     2554    2555      2554     2555      55/54
                                                ม.ค.-มี.ค.                  ม.ค.-มี.ค.
รวมทั้งสิ้น           46.691   34.518 58.482   12.253  15.589     15.63    19.12        --
1. สับปะรดกระป๋อง   44.370   32.893 57.167   11.833  15.392     48.14    51.61     +30.07
2. น้ำสับปะรดอื่นๆ     1.680    0.712  0.525    0.161   0.062      2.72     3.32     -61.25
3. สับปะรดสด        0.581    0.871  0.790    0.259   0.128      0.39     0.32     -50.66
4. น้ำสับปะรดเข้มข้นไม่เกิน 20 brix
                   0.060    0.042    ---      ---     ---       ---      ---        ---
Source:   Eurostat, World Trade Atlas

6. การส่งออก

          6.1  ตลาดส่งออก
          ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2552 - 2554) เยอรมนีส่งออกสินค้าสับปะรดไปยังต่างประเทศเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ  92.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.) มีการส่งออกเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 17.5 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 26.9 โดยส่งออกมากไปยังออสเตรีย เป็นมูลค่า 2.87 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 20.4 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 16.4 รองลงมาส่งออกไปยัง ฝรั่งเศส โดยส่งออกมากไปยังเป็นมูลค่า 2.24 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 23.5 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 12.8 โปแลนด์ส่งออกเป็นมูลค่า 1.69 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 19.3 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 9.7

ตลาดส่งออกสับปะรดของเยอรมนีปี 2552- 2555 (ม.ค.-มี.ค.)
                         ล้านเหรียญสหรัฐ                              % ส่วนตลาด         % เพิ่ม/ลด
อันดับ ประเทศ              2552    2553     2554    2554     2555    2554     2555     - 55/54 -
                                                    ม.ค.-มี.ค         ม.ค.-มี.ค.       ม.ค.-มี.ค.
     รวมส่งออก          93.552  89.180   95.181  23.985   17.514  100.00   100.00      -26.98
1    ออสเตรีย            9.740  11.170   13.204   3.605    2.868   15.03    16.37      -20.45
2    ฝรั่งเศส            11.288  11.044   10.787   2.925    2.238   12.20    12.78      -23.48
3    โปแลนด์             4.820   6.140    7.672   2.102    1.696    8.76     9.68      -19.33
4    เดนมาร์ค            7.888   6.476    7.590   2.095    1.561    8.74     8.91       -25.5
5    เนเธอร์แลนด์        10.654  11.073   10.069   2.304    1.525    9.60     8.70      -33.82
6    อิตาลี               8.839   7.982   10.145   1.738    1.480    7.25     8.45      -14.86
7    เช็ก                4.108   2.952    5.388   1.074    1.088    4.48     6.21        1.22
8    สเปน               8.616   8.613    7.216   2.071    0.829    8.64     4.74      -59.95
9    เบลเยี่ยม            1.999   2.805    3.947   0.757    0.775    3.16     4.43        2.38
10   สโลเวเกีย           1.652   1.325    2.132   0.424    0.476    1.77     2.72       12.31
     อื่นๆ               23.948  19.599   17.031   4.890    2.980  20.388   17.014

6.2 ชนิดของสับปะรดที่ส่งออก

สับปะรดที่เยอรมนีนำเข้าจากต่างประเทศนั้น ส่วนหนึ่งจะส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรป โดยในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2552 - 2554) มีการส่งออกเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 92.6 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.) มีการส่งออกเป็นมูลค่า 17.5 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 26.9 สินค้าที่ส่งออกมากที่สุดจะเป็นสับปะรดสด ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2552 - 2554) มีการส่งออกเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 42.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.) มีการส่งออกเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 8.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 50.3 ของการส่งออกสับปะรดทั้งสิ้น มูลค่าลดลงจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 21.8 ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ออสเตรีย ฝรั่งเศส และโปแลนด์ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 17, 13 และ 10 ตามลำดับ รองลงมาเป็นสับปะรดกระป๋อง มีการส่งออกโดยเฉลี่ยปีละ 33.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.) มีการส่งออกเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 6.19 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 35.4 มูลค่าลดลงจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 31.1 ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ฝรั่งเศส โปแลนด์ และเนเธอร์แลนด์ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 25, 14 และ 10 ตามลำดับ

ประเภทของสับปะรดที่เยอรมนีส่งออกปี 2552- 2555(ม.ค.-มี.ค.)
                          ล้านเหรียญสหรัฐ                              % ส่วนตลาด         % เพิ่ม/ลด
พิกัด H.S..   ประเทศ       2552    2553     2554    2554     2555    2554     2555     - 55/54 -
                                                    ม.ค.-มี.ค         ม.ค.-มี.ค.       ม.ค.-มี.ค.
            รวมทั้งสิ้น    93.552  89.180   95.181  23.985   17.514  100.00   100.00      -26.98
080430      สับปะรดสด   36.914  41.174  47.9341   1.276    8.814   47.01    50.33      -21.83
200820      สับปะรด     34.035  31.298   34.929   8.988    6.195   37.48    35.37      -31.08
            กระป๋อง แปรรูป
200941      น้ำสับปะรด   12.763   9.216    8.426   2.176    1.792   9.071     0.23      -17.64
            เข้มข้นไม่เกิน 20 brix
200949      น้ำสับปะรดอื่น  9.840   7.492    3.891   1.544    0.713    6.44     4.07      -53.85
Source:   Eurostat, World Trade Atlas

7. ช่องทางตลาด
          สับปะรดกระป๋องจะนำเข้าโดยเอเย่นต์ ผู้นำเข้าอาหารกระป๋องโดยเฉพาะและกลุ่มผู้ซื้อสินค้าผักผลไม้  เพื่อส่งมอบให้กับร้านค้าปลีกสินค้าอาหาร ซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ ตลอดจนห้างสรรพสินค้า และกิจการ Catering โรงอาหารขนาดใหญ่

          7.1 เอเย่นต์ จะมีโกดังเก็บสินค้า ณ ท่าเรือที่นำเข้าสินค้า หรือ โกดังเก็บสินค้าของตนเองในเมืองที่ตั้งสำนักงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเมืองที่มีท่าเรือเดินสมุทร หรือเมืองที่อยู่ใกล้เคียง เมื่อได้รับออร์เดอร์สั่งซื้อก็จะใช้รถบรรทุกขนาดที่เหมาะสมทำการขนส่งสินค้าไปให้ลูกค้าต่อไป

          7.2 ผู้ค้าปลีก/ค้าส่ง จะเป็นกิจการขนาดใหญ่มีสาขา ร้านค้าของตนเองในรูปแบบต่างๆ เช่น Hyper, Supermarket, Discounter และร้านซื้อสะดวก เป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้บางกิจการยังมีร้านสาขาในต่างประเทศด้วย ผู้ประกอบการประเภทนี้จะมีโกดัง คลังเก็บสินค้าของตนเองเป็นศูนย์กระจายในการสินค้าณ จุดสำคัญๆ กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยมีเนื้อที่ของโกดังไม่น้อยกว่า 10,000 ตารางเมตร สำหรับร้านค้าปลีก นั้น ปัจจุบันมีจำนวนรวมกันกว่า 60,000 สาขาทั่วเยอรมนี กิจการเหล่านี้เป็นทั้งกิจการอิสระ กิจการในเครือหรือเป็นสาขาของผู้ค้าปลีกสำคัญๆ เข่น
          - Edeka (10,000 สาขา) และกิจการในเครือ Netto (3,923 สาขา)
          - Lidl (3,266 สาขา)
          - Aldi-Nord (2,519 สาขา)
          - Aldi-Sued (1,798 สาขา)
          - Rewe (2,375 สาขา) และกิจการในเครือ Penny (2,390 สาขา)
          - Real ของ Metro (400 สาขา)
          ห้างสรรพสินค้า (250 สาขา)
          ร้านค้าของชำอาหารเอเชียโดยเฉพาะ

          7.3 ผู้ประกอบการด้านโกดัง/คลังสินค้า นอกจากจะให้บริการด้านการเก็บรักษาสินค้าแล้ว จะมีบริการด้านพิธีการศุลกากร เคลียร์สินค้า ณ ด่านที่นำเข้าสินค้า ตลอดจนการขนส่งสินค้าไปยังผู้รับอีกด้วย

          7.4  สำหรับน้ำสับปะรดจะนำเข้าโดยผู้นำเข้าอาหารและโรงงานผลิตน้ำผลไม้เพื่อการแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ชนิดต่างๆ และส่งมอบให้กับร้านค้าปลีกสินค้าอาหารต่อไป

8. ราคาของสินค้า
          สับปะรดกระป๋องที่วางจำหน่ายในตลาดเยอรมนีตามร้านค้าปลีก ห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ มีขนาดบรรจุต่างๆ ชนิดหั่นเป็นแว่น และชิ้น มีราคาจำหน่ายปลีกจะมีความแตกต่างกันไปตามยี่ห้อแหล่งที่มาของสินค้า และร้านค้าที่จำหน่าย ดังนี้

          8.1 สับปะรดสด ผลใหญ่ หนักประมาณ  2.0 กก. ผลละ 3 - 4  ยูโร
                       ผลเล็ก หนักประมาณ  1.0 กก. ผลละ 2 - 3  ยูโร

          8.2 สับปะรดกระป๋อง
          ขนาดบรรจุ 220 ml     กระป๋องละ 0.79  -  1.49 ยูโร
          ขนาดบรรจุ 436 ml       "      0.65  -  1.29 "
          ขนาดบรรจุ 580 ml       "      0.65  -  1.79 "
          ขนาดบรรจุ 850 ml       "      1.09  -  2.79 "

          8.3  สับปะรดกระป๋องยี่ห้อสำคัญๆ ที่วางจำหน่ายในตลาดเยอรมนีและแหล่งที่มาของสินค้า
           ของไทย      ของคอสตาริกา       ของฟิลิปปินส์          ของอินโดนีเชีย
           Dole(BKK)   Dole              Del Monte (U.K.)   Harvn
           Libby's     Del Monte         Delta
           Ja
           Gut & Guenstig
           Splendor
           Kimono
           Mikado

9. กฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง
          กฏระเบียบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสินค้าสับปะรดกระป๋อง ได้แก่
          - ภาชนะที่ใช้บรรจุจะต้องถูกตามหลักสุขอนามัย สารเคลือบด้านในของกระป๋องต้องปลอดภัยไม่ละลายเข้าสู่อาหารที่บรรจุ
          - ต้องเป็นสินค้าที่ปลอดภัย ไม่ก่ออันตรายด้านสุขภาพต่อผู้บริโภค
          - วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตถูกต้องตามมาตรฐานด้านการปนเปื้อนสารอันตรายในสินค้า ห้ามมีสารเคมี ตกค้าง เช่น ปุ๋ย และยาฆ่าแมลง เป็นต้น หรือมีเจือปน ตกค้างได้ไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้
          - ความรับผิดชอบต่อสินค้าในกรณีเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ผู้นำเข้าสินค้าจะต้องรับผิดชอบชดใช้ความเสียหายทั้งปวงที่เกิดขึ้น
          - กฏระเบียบ Global Gap
          - ฉลากกำกับที่ปิดบนกระป๋องต้องมีรายละเอียดสำคัญๆ  ดังนี้
              1. ชนิด/ชื่อสินค้าที่บรรจุในกระป๋อง
              2. ขนาดบรรจุและน้ำหนักของสินค้า
              3. วันหมดอายุ
              4. ชื่อและที่อยู่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าในเยอรมนี

10. สรุป
          10.1 ชาวเยอรมันนิยมการบริโภคผลไม้สด นอกจากผลไม้ท้องถิ่นที่สำคัญๆ ได้แก่ แอปเปิ้ล องุ่นหรือแตงโม ที่มีการบริโภคเฉลี่ยคนละ 20, 5 และ 4 กิโลกรัมต่อปีตามลำดับแล้ว ผลไม้เมืองร้อนก็เป็นที่นิยมกันมากเช่นกัน ได้แก่ กล้วยหอมและส้ม บริโภคคนละ 15 และ 10 กิโลกรัมต่อปีตามลำดับ สำหรับสับปะรดมีการบริโภคคนละ 2.5 กิโลกรัมต่อปี

          10.2 ในแต่ละปีเยอรมนีนำเข้าสับปะรดประเภทต่างๆ โดยเฉลี่ยปีละ 346,912 ตัน มูลค่า 356.1 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าที่นำเข้ามากจะเป็นสับปะรดสด เป็นจำนวน 196,253 ตัน มูลค่า 196 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งด้านปริมาณร้อยละ 55.0 รองลงมาเป็นสับปะรดกระป๋องนำเข้าโดยเฉลี่ยปีละ 101,367 ตัน มูลค่า 105 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งด้านปริมาณร้อยละ 29.4 สำหรับน้ำสับปะรดที่นำเข้ามากจะเป็นชนิดเข้มข้นไม่เกิน 20 บริ๊กซ์ มีการนำเข้าปีละ 37,448 ตันเป็นมูลค่า 33 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งด้านปริมาณร้อยละ 9.2

          10.3 แหล่งนำเข้าที่สำคัญของเยอรมนีจะเป็นเนเธอร์แลนด์ โดยเป็นสินค้าที่เนเธอร์แลนด์ได้นำเข้าจากต่างประเทศและส่งออกต่อไปยังเยอรมนี แหล่งนำเข้าที่สำคัญของเนเธอร์แลนด์ ได้แก่ คอสตาริกา เคนยา ไทย และอินโดนีเชีย ในตลาดเยอรมนีเนเธอร์แลนด์มีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 40 สินค้าที่นำเข้ามากจากเนเธอร์แลนด์จะเป็นน้ำสับปะรด แหล่งนำเข้าสำคัญของเยอรมนีรองลงมาเป็นไทย มีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 15 สินค้าสำคัญของไทยจะเป็นสับปะรดกระป๋องซึ่งไทยมีส่วนแบ่งในตลาดเยอรมนีกว่าร้อยละ 47.4 แหล่งนำเข้าสำคัญอันดับที่ 3 และ 4 ของเยอรมนีจะเป็นคอสตาริกา และเบลเยี่ยม มีส่วนแบ่งตลาดใกล้เคียงกันประมาณร้อยละ 8

          10.4 ตลาดส่งออกที่สำคัญของเยอรมนีจะเป็นออสเตรีย ฝรั่งเศส และโปแลนด์ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 16, 12 และ 9 ตามลำดับ ชนิดของสับปะรดที่ส่งออกมากที่สุดจะเป็นสับปะรดสด คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 50.3 ของการส่งออกสับปะรดทั้งสิ้น รองลงมาเป็นสับปะรดกระป๋อง คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 35.4 ของการส่งออกสับปะรดทั้งสิ้น

          10.5 ในด้านปัญหาและอุปสรรคอาจกล่าวได้ว่า ราบรื่นดี ไม่มีปัญหาใดๆ ตลาดนิยมการบริโภคสับปะรดมากขึ้น แต่ละปีสินค้าในตลาดจะมีมากน้อยไม่แน่นอนแตกต่างกันไป ทำให้สินค้ามีราคาแพงหรือถูกลงตามปริมาณสินค้าในตลาด และจากการที่มีกฏระเบียบโดยเฉพาะเกี่ยวกับภาชนะที่ใช้บรรจุสินค้า ทำให้โดยรวม รูปแบบของสินค้าที่วางจำหน่ายในตลาดไม่มีความแตกต่างกันเท่าใด มีขนาดบรรจุเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกฎระเบียบดังกล่าว จึงมีการทำตรา ฉลากยี่ห้อสินค้าของตนเองโดยเฉพาะเพื่อให้โดดเด่นเห็นได้ชัดเจน มีการรักษาคุณภาพที่ดีสม่ำเสมอ จึงสามารถเสนอขายในราคาที่สูงได้ เนื่องจากผู้บริโภคทราบดีว่าสินค้าเหล่านี้มีคุณภาพดีพร้อมที่จะเสียเงินเพิ่มเพื่อได้ของดี การรักษาคุณภาพสินค้าให้ดีเสมอต้นเสมอปลายจึงจำเป็นอย่างยิ่ง



                                                                สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน
                                                                                             กรกฎาคม 2555

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ