ซาอุดีอาระเบีย ออกประกาศแนวทางในการจำแนกสินค้ายารักษาโรคและเครื่องสำอาง (Guidance for Products Classification)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 23, 2012 14:40 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ซาอุดีอาระเบีย ออกประกาศแนวทางในการจำแนกสินค้ายารักษาโรคและเครื่องสำอาง

(Guidance for Products Classification)

Saudi Food & Drug Authority (SFDA) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลการนำเข้าสินค้าอาหาร ยา และเครื่องมือแพทย์ ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ Guidance for Products Classification (Final Version) ช่วงต้นเดือนกรกฏาคม 2555 ที่ผ่านมา เพื่อใช้ในการจำแนกสินค้าในกลุ่มของยารักษาโรค และสินค้าเครื่องสำอาง ที่จะนำเข้าประเทศซาอุฯ(www.sfda.gov.sa/En/Drug/Topics/Regulations++Guidelines.htm)

ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค สินค้าในกลุ่มยารักษาโรค (Drug) จะถูกควบคุมการนำเข้าอย่างเข้มงวด ต้องมีการจดทะเบียนตำรับยา มีการกำหนดราคาขายปลีกสำหรับยานั้นๆ เป็นต้น ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการค่อนข้างสูง แต่สำหรับสินค้าเครื่องสำอาง การควบคุมนำเข้าจะไม่เข้มงวดเท่า ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ส่งออกไทยที่ควรทราบว่าสินค้าที่ตนส่งออกถูกจัดอยู่ในสินค้ากลุ่มใด เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ก่อนการส่งออกไปซาอุฯ เนื้อหาของ Guidance for Products Classification (Final Version) กล่าวโดยสรุปได้ ดังนี้ 1. สินค้าที่ต้องจดทะเบียน (Products subject for registration) ได้แก่

1.1 ยารักษาโรค (Drug products)

1.2 สมุนไพร (Herbal products)

1.3 สินค้าเพื่อสุขภาพ (Health products) 2. สินค้าที่ต้องจดแจ้ง (Products subject for listing)

2.1 สินค้าเพื่อสุขภาพ (Health products) ที่มิได้อยู่ในข้อ 1.3

2.2 เครื่องสำอาง (Cosmetics) 3. สินค้าที่มีคุณสมบัติไม่ชัดเจน (ต้องนำเข้าสู่คณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาจำแนกกลุ่มสินค้า)

3.1 Borderline Products

3.2 Combined Products

สิ่งที่ผู้ส่งออกควรระมัดระวัง คือ สินค้าที่ส่งออก ต้องไม่มีสารต้องห้ามต่างๆ หรือมีไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ สินค้ากลุ่มยารักษาโรคต้องระบุให้ชัดเจนว่ามีคุณสมบัติในการรักษาโรค เช่น treat, prevent, relieve symptoms, or to cure, remedy, heal, or adverse condition of body or mind, protect, avoid เป็นต้น หากสินค้าเครื่องสำอางมีการระบุคุณประโยชน์ของสินค้าที่มีนัยเป็นยารักษาโรค อาจจะถูกจัดว่าเป็นยารักษาโรคและต้องดำเนินการจดทะเบียนตามขั้นตอนของยาฯ ต่อไป หรืออาจถูกทำลาย/re-export

เนื้อหาของเอกสารข้างต้นเกือบทั้งหมด สอดคล้องกับแนวทางที่ EU ใช้ อย่างไรก็ตาม มีบางประเด็นที่แตกต่าง นั่นคือ มีการเพิ่มข้อจำกัด/ข้อห้ามนำเข้า สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Triclosan, Vitamin A, Sulphur, Urea, Zinc oxide และ AHA ผลิตภัณฑ์อัลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือ (Alcohol Hand Sanitizers) ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ Health Products (ที่ต้องจดแจ้ง)

สำหรับผู้ส่งออกไทยที่สนใจจะส่งออกสินค้าเครื่องสำอางไปซาอุฯ สามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับกฏ ระเบียบการนำเข้าสินค้าเพิ่มเติม ในรายงานของสำนักงานฯ ที่ได้ทำเผยแพร่ไปแล้ว www.ditp.go.th/DEP/doc/54/54001370.pdf

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเจดดาห์

22 กรกฏาคม 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ