ผู้บริโภคชาวจีนเขตชนบทมีความเชื่อมั่นในการบริโภคมากกว่าคนในเขตเมือง

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 14, 2012 14:10 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ผู้บริโภคชาวจีนเขตชนบทมีความเชื่อมั่นในการบริโภคมากกว่าคนในเขตเมือง

แม้เศรษฐกิจในครึ่งปีแรกของจีนไม่มีแววว่าจะมีเหตการณ์ Hard Landing เกิดขึ้น แต่กระทรวงแรงงานจีนมีรายงานว่า อัตราการว่างงานของจีนในไตรมาสที่ 2 ของปี 2012 จนถึงเดือนมิถุนายนเป็นร้อยละ 4.1 หลังจากได้ตั้งเป้าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ชะลอตัวลงใน 3 ปี และโฆษกกระทรวงทรัพยาการมนุษย์และความมั่นทางสังคมกล่าวว่า จีนได้สร้างงานใหม่ 6.94 ล้านตำแหน่งในเขตเมืองในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2012 นับเป็นร้อยละ 77 ของเป้าการสร้างงานทั้งหมด 9 ล้านตำแหน่งในปี 2012 คนงาน จำนวน 2.94 ล้านคนในเขตเมืองจะได้รับการว่าจ้างใหม่ในครึ่งปีแรกและยังคงมีอีกร้อยละ 55 ของ เป้าการสร้างงานอีกจำนวน 5 ล้านคนที่จะได้ย้ายกลับเข้ามาทำงาน

ตลาดแรงงานจีนยังคงค่อนข้างตรึงเครียดต่อไปในช่วงปี 2012 ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบมาจากการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของประชากรเมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2008 และ 2009 เมื่อการส่งออกของจีนลดลงฮวบฮาบมีผลให้แรงงานคืนกลับสู่ถิ่นฐานเดิมประมาณ 20 ล้านคน แต่ยังไม่มีผลกระทบร้ายแรงต่อการกลับบ้านของแรงานเท่าไหร่นัก มีเพียงโรงงานขนาดเล็กที่ต้องเอาพนักงานออกและประเทศยังคงต้องเผชิญกับสถานการณ์ไม่สมดุลกันอย่างรุนแรงระหว่างดีมานด์และซัพพลายของแรงงานมีฝีมือสูงต่อไป

ยิ่งมีแรงงานเข้ามาในตลาดมากขึ้นเท่าไหร่ในครึ่งปีหลังการจ้างงานจะมีความกดดันเพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งจีนจะต้องมีมาตรการการเปลี่ยนแปลงในครึ่งปีหลังเพื่อเพิ่มความมั่นใจในเสถียรภาพของการว่าจ้างงาน นายกรัฐมนตรี เวิน เจีย เป่า ได้กล่าวย้ำว่า ตลาดแรงงานจีนจะต้องฟื้นตัวให้ได้และรัฐบาลจะใช้ความพยายามทั้งหมดเพื่อสร้างงานให้ประชาชนมีงานทำทุกคน เราจะตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงในครึ่งปีหลังและออกมาตรการเพื่อสร้างความมั่นใจพื้นฐานในการว่าจ้างงาน แม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงและอาจจะมีผลกระทบกับตลาดแรงงานจีนบ้าง โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการว่าจ้างงาน 85 ล้านตำแหน่งทั้งในเขตเมืองและชนบทระหว่างปี 2012-2015 และตรึงให้อัตราการว่างงานอยู่ต่ำกว่าร้อยละ 5 และเศรษฐกิจจีนในช่วงไตรมาสที่สองอยู่ที่ร้อยละ 7.6 ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำมากในรอบ 3 ปี

หากมีงานทำที่มั่นคงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในหัวเมืองใหญ่ของจีนขึ้นอยู่กับไตรมาสที่สองของปีซึ่งจะถูกกระตุ้นให้มีการทำงานมากขึ้น การเงินส่วนบุคคลดีขึ้นตามมา ผู้คนจะเต็มใจซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้หมุนเวียนภายในประเทศ ในเขตเมืองใหญ่ ยังคงในมองสถานการณ์เศรษฐกิจในแง่ดีเมื่อผู้คนวิเคราะห์จากข่าวสารเศรษฐกิจโลก และสถานะของบริษัท จากการสำรวจความเห็นเกี่ยวกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจีนจากผู้บริโภคทั่วโลกจำนวน 28,000 คนใน 56 ประเทศ พบว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจีนขึ้นอยู่กับความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์โลก ระดับความเชื่อมั่นสูงหรือต่ำกว่า 100 ชี้ให้เห็นถึงดีกรีของการมองเศรษฐกิจในแง่ดีหรือร้าย เฉพาะในเมืองใหญ่ที่เป็นเมืองหลักของจีนเท่านั้นที่มีความเชื่อมั่นสูงขึ้นโดยพุ่งขึ้นจาก 101 จุดเป็น 107 จุดในสามเดือนแรกของปี แต่ยังคงทิ้งห่างเขตชนบทของจีนอยู่เบื้องหลังที่มีการมองเศรษฐกิจในแง่ดีมากกว่าและมีความเชื่อมั่นในการบริโภคเพิ่มขึ้น 113 จุดสูงกว่าดัชนีความเชื่อมั่นเฉลี่ยทั้งจีน 8 จุดจาก 105 จุด ซึ่งในแต่ละปี เขตชนบทจะความเชื่อมั่นในการมีงานทำเพิ่มขึ้น 3 จุด ในระหว่างไตรมาสความเชื่อมั่นในการบริโภคของชาวจีนทั่วไปลดลง 5 จุดอย่างไรก็ตามยังคงสูงกว่าความเชื่อมั่นเฉลี่ย 14 จุดจาก 91 จุด

แม้วิถีชีวิตชนบทของจีนซึ่งมองเศรษฐกิจในแง่ดีกว่ายังห่างไกลกับวิถีคนในเมืองในแง่ของรายได้ The Urban Blue Book: China City Development Report No 5 ซึ่งจัดพิมพ์เผยแพร่โดย The Chinese Academy of Social Sciences รายงานว่าสัดส่วนของรายได้ที่ได้รับของคนในเมืองของจีนมีมากกว่าคนชนบทประมาณ 5.2 เท่า และสัดส่วนรายได้สุทธิส่วนบุคคลหลังหักภาษีของคนเมืองต่อรายได้สุทธิของคนชนบทจะเป็น 3.13 เท่าเมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากประมาณ ร้อยละ 40 ของรายได้สุทธิของชาวนาจีนจะนำไปซื้อปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เมล็ดพันธ์และอื่นๆที่เกี่ยวกับการผลิต ถ้าหักค่าใช้จ่ายเหล่านี้ออก แล้ว รายได้ของคนในเขตเมืองจะเป็นประมาณ 5.2 เท่าของคนในแขตชนบท ตัวเลขช่องว่างของรายได้จะเป็นประมาณ ร้อยละ 26 สูงกว่าปี 1997และ สูงกว่าปี 1985 ร้อยละ 68 ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่าช่องว่างรายได้ในหลายๆประเทศ The Urban Blue Book ยังได้ให้ข้อสังเกตุว่าจำนวนประชากรในชนบทได้เพิ่มขึ้นมากกว่าประชากรในเขตเมืองถึงร้อยละ 51.27 อีกด้วย เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโครงสร้างทางสังคมของจีนเลยทีเดียวที่จีนได้เข้ามาสู่ยุคของ "city-based society." แต่มันคงยังอีกยาวไกลที่จีนจะก้าวไปสู่ยุคดังกล่าวได้อย่างแท้จริง เพราะยังมีแรงงานอพยพและชาวนาที่จะต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอีกจำนวนมาก พบว่ายังยากที่ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตสู่คนในเมืองและคนจีนส่วนใหญ่ยังแยกไม่ออกระหว่างความสำคัญที่โดดเด่นและความมีวัฒนธรรม แต่ในอีก 10 ปี ข้างหน้าประเทศจีนจะมีกุญแจช่วงสำคัญที่จะเปลี่ยนสังคมวิถีชนบทเป็นวิถีคนเมืองตลอดจนการเพิ่มคุณภาพของคนในเมืองแน่นอน

แม้ว่าความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของชาวจีนจะไม่สูงเพิ่มขึ้นตลอดไปตราบที่เศรษฐกิจโลกและหนี้ยุโรปซึ่งมีผลกระทบต่อการส่งออกของจีนยังไม่จบสิ้น ในช่วงนี้รัฐบาลจีนจึงพยายามที่จะใช้นโยบายการบริโภคภายในเป็นตัวนำเศรษฐกิจ ผู้บริโภคในเขตชนบทเป็นตัวนำความเชื่อมั่นในการมีงานทำร้อยละ 92 ตามมาด้วยผู้บริโภคในเมืองหลัก ซึ่งร้อยละ 52 ไม่แคร์เกี่ยวกับการมีงานทำในอีก 6 เดือนข้างหน้า ทำให้มีความเชื่อมั่นเพิ่ม 7 จุดจากไตรมาสก่อนหน้า

ในทางตรงกันข้ามผู้บริโภคในเมืองรองมองในแง่ดีน้อยที่สุดและต่ำกว่าความเชื่อมั่นในเรื่องการทำงานด้วย ผลมาจากเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงโรงงานที่อ่อนแอและภาคการส่งออกนำให้ความคาดหวังในการทำงานลดลง. ในเมืองหลักอัตราการเจริญเติบโตของการมีงานทำในอุตสาหกรรมบริการกระตุ้นให้มีความเชื่อมั่นในการบริโภคจากการคาดว่าจะมีงานทำและยังคงมองในแง่ดีว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นมา 7 จุดซึ่งเป็นร้อยละ 71 เทียบจาก ร้อยละ 64 จากไตรมาสที่แล้วและตามมาด้วยผู้บริโภคในเขตชนบทมีความเชื่อมั่นร้อยละ 70 ในขณะที่เมืองรองอื่นๆ จะมีความคาดหวังน้อยกว่า ในเมืองหลักจะมีความคาดหวังในการทำงานที่ดีกว่าบวกกับดัชนีการบริโภคค่อนข้างต่ำนั่นคือเต็มใจจ่ายประมาณร้อยละ 48 เมื่อเทียบกับปีที่แล้วร้อยละ 40 ตามมาด้วยเมืองรองระดับ 3และ 4 จะเต็มใจจ่ายร้อยละ 37 อย่างไรก็ตามตลาดสินค้าอสังหาริมทรัพย์และรถยนต์ยังคงช่วยกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม

ในขณะที่ราคายังหดตัวต่อไปในไตรมาสที่ 3 และมีการจูงใจของรัฐบาลท้องถิ่นและการปฏิรูปการกระจายรายได้ของรัฐบาล อัตราการเติบโตการบริโภคยังคงเพิ่มขึ้นในครึ่งปีหลัง

จากการสำรวจกลุ่มผู้บริโภคอายุระหว่าง 30-39 ปีมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจจีนมากกว่าหนุ่มสาวที่อายุต่ำกว่า 30 ปีตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2011

เครื่องใช้ดิจิทอลและเครื่องใช้ในบ้านและเฟอร์นิเจอร์เป็นสินค้ายอดนิยมอันดับต้นของผู้บริโภคทั้งกลุ่มหนุ่มสาวอายุต่ำกว่า 30 ปีและอายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 44 ของกลุ่มอายุต่ำกว่า 30 ปีมีแผนซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ดิจิทอล ขณะที่ ร้อยละ35 ของอายุระหว่าง 30-39 ปีจะเขียนไว้ในรายการซื้อ และ Nielsen Greater China ได้รายงานว่ายอดขายสินค้าไฮเทคโนโลยีในช่วงไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 ต่อปี นอกจากนั้น การบริโภคช็อคโกแลตและลูกอมเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 ต่อปี แสดงให้เห็นว่าแม้ว่าจะมีความเชื่อมั่นในการบริโภคลดลงผู้บริโภคจีนยังคงตามใจตัวเองอยู่ดี

ในขณะเดียวกันเมืองรองระดับล่างยังคงให้ความสนใจในสิ่งที่ตัวชอบเป็นสำคัญ แม้ว่ายอดขายในเขตเมืองรองระดับล่างและเขตชนบทจะชะลอตัวลงแต่ยังคงเป็นตัวแทนของธุรกิจสำคัญในปัจจุบันและมักจะลงทุนในสิ่งจำเป็นที่เห็นว่าจะเกิดความสำเร็จในระยะยาว

ที่มา: China Daily                                               สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน

สิงหาคม 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ