รายงานภาวะการค้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในตลาดเดนมาร์ก ๒๕๕๕
๑.๑ การผลิต
ในปี ๒๕๕๔ เดนมาร์กผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ คิดเป็นมูลค่ารวม ๓๐๒.๘ ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๕.๔จากปีก่อน นับว่าเป็นประเทศผู้ผลิตเครื่องประดับและอัญมณีที่สำคัญอันดับ ๙ ของสหภาพยุโรป (อันดับที่ ๑ อิตาลี มูลค่า ๖,๘๙๕ ล้านเหรียญสหรัฐ อันดับที่ ๒ ออสเตรีย มูลค่า ๓,๗๑๔ ล้านเหรียญสหรัฐ และอันดับที่ ๓ เยอรมันนี มูลค่า ๒,๔๗๖ ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ) ซึ่งนักออกแบบชาวเดนมาร์กนิยมออกแบบสไตล์เดนมาร์กหรือ หรือ Scandinavian Design ที่เน้นการใช้เครื่องประดับเงินแทนทองที่นิยมในสมัยก่อน และนิยมสีโทนเดียวกัน เครื่องประดับที่ประกอบไปด้วยพลอยหลายสีจะมีน้อย
เดนมาร์กเองก็มีนักออกแบบชื่อดังที่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย เช่น Charlotte Lynggaard จาก Ole Lynggaard และ Mie Katrine Christensen จาก Blond Accessories เป็นต้น
๑.๑.๑ การผลิต
การผลิตส่วนใหญ่ในเดนมาร์กจะเป็นเครื่องประดับแท้ที่ทำจากเงิน ส่วนที่เป็นทองขาว หรือทองคำจะมีมูลค่าและสัดส่วนไม่มากนัก เดนมาร์กเป็นผู้ผลิตเครื่องประดับที่ทำจากเงินและอัญมณีใหญ่ที่สุดอันดับที่ ๔ โดยในปี ๒๕๕๔มีมูลค่ารวม ๑๔๖ ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ ๖.๑ ของการผลิตในสหภาพยุโรป สินค้าส่วนใหญ่ที่ผลิตในเดนมาร์กจะเป็นเครื่องประดับเงินทั้งที่เป็นเครื่องประดับแท้และเครื่องประดับเทียมที่ทำจากเงิน เงินชุบ รวมทั้งหิน หรือลูกปัด (Beads & Trollbeads) เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งปัจจุบันการผลิตในเดนมาร์กเริ่มมีแนวโน้มลดลงอย่างมาก เนื่องจากต้นทุนที่สูง ทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้ ผู้ผลิตในเดนมาร์กส่วนใหญ่จึงได้ย้ายฐานการผลิตมาลงทุนตั้งโรงงานหรือจ้างผลิตในประเทศแถบเอเชีย ที่สำคัญได้แก่ ไทย จีน เวียดนาม อินเดีย เป็นต้น
๑.๑.๒ การผลิตเครื่องประดับเทียมหรือเครื่องประดับแฟชั่น (Costume jewelry)
สำหรับการผลิตเครื่องประดับเทียมหรือเครื่องประดับแฟชั่นในเดนมาร์ก ยังมีมูลค่าไม่มาก ในปี ๒๕๕๔ คิดเป็นมูลค่าการผลิตรวม ๖๓.๙๒ ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ ๔.๔ ของการผลิตของสหภาพยุโรป และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยความต้องการของเดนมาร์ก และตลาดส่งออกของเดนมาร์กมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งนักออกแบบและช่างฝีมือของเดนมาร์กมีความเชี่ยวชาญ ประกอบกับเทคโนโลยีล้ำสมัย จึงทำให้ได้รับความนิยมทั้งตลาดใน และนอกประเทศ
๑.๒ การบริโภค
ในปี ๒๕๕๔ การบริโภคกลุ่มสินค้าอัญมณี และเครื่องประดับแท้ นาฬิกา และสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในมีมูลค่ารวม ๑,๐๑๒.๖ ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ ๕.๖๗ จัดเป็นตลาดสำคัญอันดับที่ ๑๔ ในสหภาพยุโรป (อันดับที่ ๑ เยอรมัน อันดับที่ ๒ สหราชอาณาจักร และอันดับที่ ๓ อิตาลี ตามลำดับ)
การบริโภคเครื่องประดับเงินแท้
ในปี ๒๕๕๑ การบริโภคเครื่องประดับเงินแท้ในเดนมาร์กมีมูลค่าประมาณ ๗๒.๕๓ ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีมูลค่ามากกว่าสวีเดน และฟินแลนด์ เมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มนอร์ดิกส์ด้วยดัน ซึ่งกลุ่มผู้บริโภคหลักในคือผู้หญิงวัยทำงาน นักศึกษา วัยรุ่น สินค้าที่ได้รับความนิยมได้แก่ เครื่องประดับเงินประดับด้วยอัญมณี แก้วคริสตัล หินต่างๆ เงินโรเดียม กำไลเงินหรือกำไลสลักที่มีการประดับตกแต่งด้วยลูกปัด เปลี่ยนสีสัน นอกจากนี้ แหวนเงินที่ประดับด้วยเพชร และแหวนคู่สำหรับคู่รักก็เริ่มได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน
ในช่วง ๔ เดือนแรก ปี ๒๕๕๕ (มกราคม - เมษายน) เดนมาร์กส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับรวมทั้งสิ้นมูลค่า ๑๙๘.๓๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี ๒๕๕๔ ที่ส่งออกมูลค่า ๒๙๔.๐๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ ๓๒.๕๓ ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เยอรมนี มูลค่า ๗๐.๖๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ ๔๓.๒๑ สหราชอาณาจักร มูลค่า ๓๘.๓๕ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ ๑๓.๖๔ สวีเดน มูลค่า ๑๗.๓๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๔.๑๓ นอกจากนี้ ตลาดส่งออกที่สำคัญอื่นๆ อยู่ในยุโรปเป็นสำคัญ ได้แก่ นอร์เวย์ โปแลนด์ สเปน เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และเบลเยียม เป็นต้น
ในช่วง ๔ เดือนแรก ปี ๒๕๕๕ (มกราคม - เมษายน) เดนมาร์กนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับรวมทั้งสิ้นมูลค่า ๑๐๔. ๖๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี ๒๕๕๔ ที่นำเข้ามูลค่า ๑๘๐.๒๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ ๔๑.๙๕ โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ ๑ มูลค่า ๔๗.๒๖ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ ๖๒.๑๐ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี ๒๕๕๔ และคิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๔๕.๑๗ รองลงมาเป็นการนำเข้าจากจีน ๑๒.๘๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖.๕๕ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๑๒.๓๑ นับเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย คู่แข่งขันรายอื่นๆ ได้แก่ เยอรมนี ๖.๘๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๖.๕๘ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐.๑๒ ได้แก่ นอร์เวย์ ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ ๓.๖๘ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๖.๔๙ ตลาดนำเข้าอื่นๆ ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เบลเยี่ยม สวีเดน ฮ่องกง และอิตาลี ตามลำดับ
ช่องทางจำหน่ายหลักของอัญมณีและเครื่องประดับในเดนมาร์กนั้น ผู้ส่งออกไทยสามารถส่งผ่านผู้ค้าส่ง หรือผู้นำเข้า ที่จัดจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าปลีกทั่วไป หรือสามารถส่งออกให้กับผู้ค้าปลีกสินค้าแฟชั่นขนาดใหญ่ (Chain Store) ได้โดยตรง เช่น H&M (มีร้านค้าปลีกประมาณ ๖๕ ร้าน) The Bestseller Group (มีร้านค้าปลีกประมาณ ๓๕๐ ร้าน เช่น Only, Vero Moda และ Jack & Jones), IC Copmany (มีร้านค้าปลีกประมาณ ๔๐ ร้าน เช่น Matinique และ Inwear), Noa Noa (มีร้านค้าปลีกประมาณ ๔๐ ร้าน), Varner Gruppe (มีร้านค้าปลีกประมาณ ๒๕ ร้าน), Sand และ Toj & Sko เป็นต้น นอกจากนี้ การจำหน่ายผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางหนึ่งที่สำคัญและกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากผู้บริโภคแถบนี้นิยมการสั่งซื้อของทางอินเตอร์เน็ตกันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน เพราะถือว่าเป็นช่องทางการจำหน่ายที่ค่อนข้างจะสะดวก รวดเร็ว เวปไซต์ที่ได้รับความนิยม เช่น Zalando.dk และ Fab.com เป็นต้น
นอกจากนี้ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการศึกษาแนวทางการออกแบบ และแนวโน้มตลาด โดยงานแสดงสินค้าเครื่องประดับ และอัญมณีที่สำคัญของเดนมาร์กคือ Copenhagen International Jewellery Fair (CIJF) ซึ่งจัดขึ้นประมาณเดือนสิงหาคมเป็นประจำทุกปี ร่วมกับงาน Copenhagen International Fashion Fair (CIFF) ส่วนงานแสดงสินค้าเครื่องประดับอัญมณีในประเทศไทย จะจัดขึ้นปีละ ๒ ครั้ง ประมาณช่วงเดือนกุมภาพันธ์และกันยายน ของทุกปี
ลูกค้ากลุ่มหลักของสินค้าเครื่องประดับ และอัญมณีคือกลุ่มผู้หญิงวัยทำงาน ซึ่งเดนมาร์กถือว่าเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้หญิงวัยทำงานในอัตราสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรป (ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณร้อยละ ๗๑.๒ ในขณะที่เฉลี่ยในสหภาพยุโรปอยู่ที่ร้อยละ ๕๙.๕) นอกจากนี้ ปัจจุบันสินค้าเพื่อผู้ชายเริ่มเป็นที่สนใจแก่ผู้บริโภคมากขึ้น เช่น สร้อยข้อมือ แหวน และสร้อยคอสำหรับผู้ชาย เป็นต้น แบรนด์ที่มีการผลิตสินค้าผู้ชายของเดนมาร์ก ได้แก่ Bruuns Bazaar Men, Filippa K Men, และ Matinique เป็นต้น ประกอบกับโดยทั่วไปแล้วชาวเดนมาร์กเป็นคนรักการแต่งการตามสมัย นิยมใช้เครื่องประดับที่มีการออกแบบใหม่ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ แต่เรียบง่ายดูดี หรือเครื่องประดับที่สามารถปรับเปลี่ยนใช้ได้หลายรูปแบบ หรือนำไปตกต่งต่อเติมเพิ่มขึ้นได้ด้วยตนเอง เช่น เครื่องประดับของ Pandora , George Jensen , Ole Lynggaard เป็นต้น
เครื่องประดับเงินเป็นสินค้าที่มีความนิยมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ทองคำขาว และจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยลง ทำให้ปัจจัยทางด้านราคา และเครื่องประดับแฟชั่นที่มีราคาไม่สูงมากเป็นที่นิยมมากขึ้น (เช่น ลูกปัด หนัง ไม้ Shells Terracotta และไทเทเนียม เป็นต้น) นอกจากนั้น การขายเครื่องประดับโดยการเลือกออกแบบเอง (DIY) ยังเป็นที่นิยมในตลาดนี้ด้วย เช่น สินค้าจากบริษัท Pandora และ Trollbeads เป็นต้น
ทั้งนี้ราคาจำหน่ายสินค้าเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ ๓-๕ เท่าของราคา FOB ขึ้นอยู่กับอัตราภาษี ต้นทุนสินค้า แบรนด์สินค้า ช่วงฤดูกาลของสินค้า เป็นต้น
การส่งเสริมการจำหน่ายที่นิยมในตลาดนี้มากที่สุด คือ การลดราคา รองลงมาคือสื่อประชาสัมพันธ์ การส่งจดหมายตรง ลงโฆษณา การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าต่างๆเป็นต้น
๖.๑ มาตรการภาษี
การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเข้ามาในเดนมาร์กและสหภาพยุโรป ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า แต่ภาษีมูลค่าเพิ่มในเดนมาร์กอยู่ที่ร้อยละ ๒๕
๖.๒ มาตรการบังคับทางกฎหมาย
เดนมาร์กเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป กฎระเบียบจึงเป็นแนวทางเดียวกันกับสหภาพยุโรป ดังนี้
ข้อกฎหมาย แหล่งที่มา รายละเอียด เคมีภัณฑ์ REACH Regulation (EC) 907/2006 ข้อกฎหมายนี้เกี่ยวข้องกับสารเคมีและการใช้งานที่ปลอดภัย ซึ่งทดแทน 94/27/EEC หรือ 76/769/EEC กฎระเบียบ REACH ยังกำหนดการใช้แคดเมียมเช่นเดิม ซึ่งแทนที่ 91/338/EC และแก้ไข Directive (76/769/EEC) กฎหมายนี้ เกี่ยวข้องเครื่องประดับแฟชั่นที่ใช้วัสดุพลาสติกหรือวัสดุเทียม ที่ใช้แคดเมี่ยมเป็นสารสีพลาสติก สารเพิ่มความคงตัวหรือสาร เคลือบผิว ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ Directive 2001/95/EC กฎหมายนี้ไม่อนุญาตให้มีการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีความ เสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริโภคในสหภาพยุโรป และเสี่ยงต่อ ความปลอดภัยที่เกิดจากสารอันตรายใดๆ นิเกิลในเครื่องประดับ และ Regulation (EC) สหภาพยุโรปมีการกำหนดปริมาณนิกเกิลในผลิตภัณฑ์ที่ อุปกรณ์เสื้อผ้า REACH 1907/2006 สามารถสัมผัสกับผิวหนังได้ ซึ่งใช้กับเครื่องประดับทุกประเภท ได้แก่ แหวน ต่างหู กำไล และสร้อยคอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจาะ Azo dyes in textile Regulation (EC) มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องสุขภาพของผู้บริโภค ใช้ได้กับ and leather articles 1907/2006 ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่อาจสัมผัสโดยตรง ทางผิวหนัง หรือช่องปากREACH CASE: ความปลอดภัยของ Directive 2001/95/EC. ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการออกกฎหมายโดยตรงเกี่ยวกับเรื่องนี้ เสื้อผ้าเด็ก รวมทั้ง European standard EN คณะกรรมการยุโรปด้านมาจรฐาน (CEN) ได้พัฒนามาตรฐาน เครื่องประดับ 14682:2007 ที่จะต้องพิจารณาสายต่างๆ บนเสื้อผ้าและเครื่องประดับ สำหรับเด็กถึงอายุ ๑๔ ปี แคดเมียมในผลิตภัณฑ์ Regulation (EC) กฎหมายนี้จำกัดการใช้แคดเมียม (ซึ่งในผลิตภัณฑ์อื่นถูก 1907/2006 REACH นำมาใช้ในการเคลือบพีวีซีหรือพิมพ์เพื่อเพิ่มเม็ดสีหรือความวาว) Endangered species Regulation (EC) 338/97 สหภาพยุโรปกำหนดการนำเข้าเพิ่มเติม (CITES) Regulation (EC) 865/2006 ปรอทในผลิตภัณฑ์ Statutory Order no. 627 ข้อกฎหมายเฉพาะของเดนมาร์กเกี่ยวกับสารปรอทใน of 2003 เครื่องประดับแฟชั่น ตะกั่วในผลิตภัณฑ์ Statutory Order no. 1082 ข้อกฎหมายเฉพาะของเดนมาร์กเกี่ยวกับสารตะกั่วใน of 2007 เครื่องประดับแฟชั่น (สูงสุด ๑๐๐ ppm มก/กก) สำหรับ สินค้านำเข้า การบรรจุหีบห่อ วัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ (การขนส่ง) Directive 2000/29/EC สหภาพยุโรปกำหนดข้อกำหนดสำหรับวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ (WPM) เช่น กรณีบรรจุในกล่องลัง, กลอง, พาเลท, พาเลท กล่องและการค้ำยันสินค้า (ไม้ที่ใช้ในการงัดและสนับสนุนการ ขนส่งสินค้าที่ไม่ใช้ไม้) การบรรจุ และของเสียการ Directive 94/62/EC กฎหมายนี้จำกัดการใช้โลหะหนักบางชนิดในบรรจุภัณฑ์ที่ บรรจุภัณฑ์ ออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้ของเสียและนำมาใช้ใหม่และรี ไซเคิลหรือรูปแบบอื่น ๆ เพื่อลดการกำจัดของเสียขั้นสุดท้าย
๖.๓ มาตรการที่ไม่ได้บังคับทางกฎหมาย
๖.๓.๑ กฎระเบียบทางสังคม
เดนมาร์กได้หันมาให้ความสำคัญกับการผลิตการค้าที่เป็นธรรม (Far Trade ) ไม่ใช่เฉพาะกับสินค้าด้านอาหาร และการเกษตรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสินค้าอัญมณี และเครื่องประดับด้วย เช่น บริษัทผู้ค้าส่งอาจใช้ Code of Conduct กับบริษัทผู้ส่งออก หรือมีมาตรการต่างๆ ของตนเอง เพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าที่สั่งซื้อมาถูกผลิตโดยไม่ได้เอารัดเอาเปรียบฝ่ายต่างๆ เช่น ลูกจ้าง สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น นอกจากนี้ การมีเครื่องหมาย ISO Standards ยังเป็นเครื่องยืนยันการผลิตด้วยมาตรฐานสากล เช่น ISO 26000
๖.๓.๒ กฎระเบียบทั่วไปอื่นๆ เช่น
- ต้องไม่มีสารเป็นพิษอื่นใดๆ นอกจาก Azo dyes เมื่อย้อมสีอัญมณีและเครื่องประดับ
- อุปกรณ์ล้อกและหมุดจะต้องเป็นของที่มีคุณภาพดี ไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย พังทลาย หรือก่อให้เกิดการนำไปสู่การร้องเรียน เช่น คลิปของต่างหูจะต้องเปิดและปิดได้อย่างง่ายดาย หรือตัวล้อกสร้อยคอและสร้อยข้อมือจะต้องเป็นของแข็งและมีคุณภาพดี
- ผู้ส่งออกควรผลิตเครื่องประดับที่ต่อต้านการเกิดออกซิเดชัน ( Anti-oxidation)เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องประดับเกิดการเป็นสนิมหรือเปลี่ยนเป็นสีเขียว
- ข้อแนะนำการซื้อ (Buyers' instructions) ควรระบุตรงตามข้อมูลของผู้ส่งออก ความผิดพลาดเล็กน้อยอาจก่อให้เกิดความสูญเสียคุณภาพได้
- การออกแบบตกแต่งเครื่องประดับมีผลนัยสำคัญทั้งต่อผู้บริโภค และผู้ซื้อ
- ผู้ซื้อให้ความสำคัญกับสินค้าตัวอย่างมาก จึงควรให้ความสำคัญและไม่ละเลยตรงจุดนี้
- ควรระบุแหล่งที่มาของสินค้า (Country of origin) โดยเฉพาะเมื่อส่งสินค้าแก่ห้างสรรพสินค้า ร้านเสื้อผ้าค้าปลีก หรือร้านเครื่องประดับค้าปลีก
ในปี ๒๕๕๔ เดนมาร์ก เป็นตลาดส่งออกเครื่องประดับเงินแท้ ( รหัส ๗๑.๑๓) สำคัญอันดับ ๓ของไทยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ ๙.๕ ของการส่งออกสินค้าเครื่องประดับเงินของไทย รองจากสหรัฐอเมริกา และฮ่องกง สำหรับการส่งออกจากไทยในช่วง ๖ เดือนแรก (มกราคม -มิถุนายน) ปี ๒๕๕๕ มีมูลค่า ๙๕.๙๖ ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ ๔๖.๐๖ จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลกระทบจากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดน้อย เนื่องจากต้องประหยัดค่าใช้จ่าย และเกิดความลังเลในการจับจ่ายใช้สอยจึงทำให้ลดการบริโภคสินค้าอัญมณีซึ่งถือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย อีกทั้งเดนมาร์กเป็นผู้ส่งออกเครื่องประดับที่สำคัญในยุโรป ปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปทำใหอุปสงค์การนำเข้าจากประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปลดลง นอกจากนั้น เกิดจากปัญหาต้นทุนวัตถุดิบ และค่าแรงงานในประเทศไทยสูงขึ้น
อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่งหลังของปี ๒๕๕๕ มีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงแรกของปี เนื่องจากสินค้าเครื่องประดับอัญมณีของไทย มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของตลาดเดนมาร์ก และผู้ผลิตหลายรายของเดนมาร์กได้ย้ายฐานเข้ามาผลิตในประเทศไทยมากขึ้น จากกการสอบถามจากผู้นำเข้าพบว่าสินค้าไทยมีคุณภาพดี ฝีมือปราณีต การออกแบบทันสมัยตรงกับความต้องการของตลาด อีกทั้งมีการส่งมอบตรงเวลา รักษาคำมั่นสัญญา ผู้นำเข้าเดนมาร์กนิยมเดินทางเข้าร่วมงานแสดงสินค้าอัญมณี และเครื่องประดับ Bangkok Gems and Jewellery Fair ในประเทศไทย ปีละ ๒ ครั้ง และงานแสดงสินค้าอัญมณี และเครื่องประดับอื่นๆ ในเอเชียในคราวเดียวกัน เช่น Hong Kong Jewellery and Gems Fair เป็นต้น
สำหรับเครื่องประดับแฟชั่น (Costume jewellery) ถือว่าไทยมีส่วนได้เปรียบ เนื่องจากสินค้าจากไทยมีความหลากหลาย และมีการพัฒนาด้านการออกแบบ รูปแบบสินค้าแฟชั่นใหม่ๆให้ทันสมัยและพัฒนาเร็วกว่าทางเดนมาร์ก ผู้นำเข้าจึงมีความสนใจสั่งซื้อจากประเทศไทย นอกจากนั้น แนวโน้มของตลาดเดนมาร์กในปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับ Eco-fashion อย่างมากด้วย เช่น ใชัวัตถุดิบที่ทำจากวัตถุดิบรีไซเคิล หรือผลิตจากหนังที่ย้อมสีโดยวิธีธรรมชาติ หรือผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Environmentally friendly production) หรือ Ethnic design เป็นต้น
ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจในช่วงนี้อาจจะยังไม่แน่นอนแต่ สินค้านี้ของไทยยังมีโอกาสและลู่ทางการขยายตลาดลู่ทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับแฟชั่นที่มีราคาไม่แพง และเน้นการใช้ร่วมกับเครื่องแต่งกายแฟชั่นอื่นๆ ได้ด้วย ดังนั้น หากผู้ผลิตและส่งออกของไทยยังคงรักษาคุณภาพที่ดีของสินค้าเอาไว้ และกำหนดราคาที่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งที่สำคัญได้ (Competitive price advantage) ก็น่าจะมีลู่ทางในการขยายตลาดส่งออกไปยังเดนมาร์กเพิ่มขึ้นได้นอกจากนั้น ควรเน้นที่การออกแบบที่มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของตัวเอง วัตถุดิบที่ใช้ ความปราณีตบรรจง และมีคุณภาพที่ดีที่เป็นสิ่งสำคัญด้วย อย่างไรก็ตามเนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในยุโรป ทำให้ผู้นำเข้าบางรายเริ่มขาดสภาพคล่อง การทำธุรกิจในช่วงนี้ ขอให้ผู้ส่งออกเพิ่มความระมัดระวังในการทำสัญญาและการชำระเงินค่าสินค้าไว้ด้วย
- EU Expanding Exports Helpdesk : http://exporthelp.europa.eu
- Eurostat - Official statistical office of the EU : http://epp.eurostat.ec.europa.eu
- Danish National Statistics : http://www.statbank.dk
- The Danish Jewelry Association (Danske Guldsmede og Urmagere) http://www.guldsmed.dk
- Danish Fashion Institute - http://www.danishfashioninstitute.dk
- เวปไซต์ศูนย์รวมแฟชั่น - http://www.look4fashion.dk
- นิตยสารธุรกิจแฟชั่น http://www.pejgruppen.dk
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน
๙ สิงหาคม ๒๕๕๕