อุตสาหกรรมสินค้าเครื่องสำอางค์และเครื่องผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในฮ่องกง
- ผลจากข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดระหว่างฮ่องกงกับจีนแผ่นดินใหญ่(CEPA) ทำให้สินค้าผลิตในฮ่องกง ซึ่งรวมสินค้าเครื่องสำอางค์และประทินโฉม ที่ส่งออกไปจีนแผ่นดินใหญ่ ได้รับยกเว้นภาษีศุลกากรตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006
- ผู้ประกอบการฮ่องกงในอุตสาหกรรมนี้ ประกอบด้วยผู้ประกอบการที่มีโรงงานของตนเองซึ่งจะเป็นโรงงานขนาดเล็กผลิตสินค้าราคาไม่สูง และมีแบรนด์เป็นของตัวเอง ในขณะที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะเป็นเอเยนต์เพื่อจำหน่ายไปยังตลาดจีนแผ่นดินใหญ่ มาเก๊า และสหรัฐอเมริกา ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สถานเสริมความงามและสปาที่มีชื่อในฮ่องกง ได้เริ่มใช้ผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของตน หรือเป็นตัวแทนขายผลิตภัณฑ์ไปประเทศอื่นๆแถบเอเซียด้วย
- สินค้าแบรนด์ต่างประเทศมีบทบาทสำคัญในตลาดระดับราคาปานกลางถึงสูง ทำให้ผู้ผลิตฮ่องกงต้องหันไปผลิตสินค้าเน้นตลาดระดับกลางถึงล่าง
- เครื่องสำอางค์และประทินโฉมแบรนด์ต่างชาติ อาทิ Sulwhasoo, Kiehl’s และ L’Occitane ได้หันมาให้ความสำคัญกับตลาดสุภาพบุรุษเพิ่มมากขึ้น
- จำนวนตัวเลขของนักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่ที่เดินทางมายังฮ่องกง และการทะยานขึ้นของยอดขายสินค้าเครื่องสำอางค์และประทินโฉมในฮ่องกง ทำให้ฮ่องกงถูกจับตามองสำหรับสินค้านี้ เสมือนเป็นตู้โชว์ให้กับ Brand name ต่างประเทศที่มุ่งหวังลูกค้าจากจีนแผ่นดินใหญ่ดังจะเห็นได้จากแบรนด์ใหม่ๆ เข้ามาเปิดตลาดในฮ่องกงอย่างต่อเนื่อง
- ผลิตภัณฑ์ Whitening และ anti-ageing ยังคงเป็นที่นิยมในหมู่สตรีเอเซีย ในขณะที่ผลิตภัณฑ์สำหรับบุรุษ เช่น มอยเจอร์ไรเซอร์โลชั่นหลังโกนหนวด ยาดับกลิ่นตัว และผลิตภัณฑ์สำหรับผมก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในปีที่ผ่านมา
ภาพรวมอุตสาหกรรม
Manufacturing Import-export trade (Dec 2010) (Dec 2010) No. of Establishments 80 1,460 Employment 620 9,330 Note: Industry statistics cover activities in Hong Kong only ภาพรวมการส่งออก-นำเข้า (HK$(MN) 2009 2010 2011 Total Exports 5,325 -7 7,310 +37 9,520 +30 :Domestic 85 -35 96 +13 96 * : Re-exports 5,240 -6 7,214 +38 9,424 +31 Of Chinese Mainland Orgin 1,924 -22 2,409 +25 2,718 +13
Total Exports by Major Markets 2009 2010 2011(Jan-Jun) Share% Growth% Share% Growth% Share% Growth% Chinese Mainland 19.6 +6 18.9 +33 19.5 +34 Macau 19.7 +18 18.9 +32 20.5 +41 US 15.3 -27 15.2 +37 11.8 +1 ASEAN 8.8 -10 11.3 +76 10.6 +22 Japan 11.2 +14 11.4 +39 9.9 +13 EU(27) 9.5 -11 7.9 +14 8.3 +38 Taiwan 2.9 -24 4.5 +112 6.2 +78 Australia 3.5 +3 4 +55 5.9 +93
Total Exports by Categories 2009 2010 2011 Share% Share% Share% Growth% Share% Growth% Beauty or Make-up Prep. for skin care 54.4 -4 58 +46 59.9 +35 Perfumes & Toilet Waters 16.7 -26 18.1 +50 15.6 +12 Preparations for Use on the Hair 7.1 +5 6.2 +20 6.5 +37 . Preparations for oral or dental hygiene 2.7 -9 3.2 +64 5.5 +122 Perfumed bath salt & other bath preparations 6 -15 4.4 +2 4.2 +22
- ผู้ประกอบการฮ่องกงในอุตสาหกรรมนี้ส่วนใหญ่ จะเป็นตัวแทนเครื่องสำอางค์แบรนด์ต่างชาติ ที่มีเป้าหมายขายสินค้าเข้าสู่จีนแผ่นดินใหญ่ มาเก๊า และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีประสบการณ์ และความรู้ในกฏระเบียบของประเทศเหล่านี้เป็นอย่างดี ผู้ประกอบการฮ่องกงจะดำเนินการเสมือนเป็นตัวแทนจำหน่ายแบรนด์ดังๆ ที่ดูแลภาพรวมของภาพลักษณ์สินค้า และวางแผนการตลาดต่างๆ
- โรงงานเครื่องสำอางและประทินโฉมของฮ่องกง ส่วนใหญ่ผลิตสินค้าสำหรับตลาดกลางถึงล่าง แล้วส่งออกไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสหรัฐอเมริกา ภายใต้แบรนด์ของตัวเอง แบรนด์ของฮ่องกงที่ประสบความสำเร็จในในตลาดจีนแผ่นดินใหญ่ ได้แก่ Cogi และ Cheng Ming Ming
- ผลิตภัณฑ์แบรนด์ต่างประเทศ สำหรับตลาดระดับกลางถึงบน จะอาศัยเคาน์เตอร์สินค้า ในห้างสรรพสินค้า หรือมีร้านค้าย่อยของตนเองในศูนย์การค้า ส่วนสินค้า Professional จะขายผ่านร้านเสริมสวย นอกจากนี้ ร้านขายเครื่องสำอางค์โดยเฉพาะกำลังเป็นที่นิยมในฮ่องกง เช่น SASA, Bonjour, Aster และ Angel และ Colourmix ร้านเหล่านี้จะขายแบรนด์ต่างประเทศ ที่ให้ส่วนลดพิเศษ รวมทั้งมีแบรนด์ตนเองด้วย ร้านค้าย่อย เช่น Watson และ Mannings ได้หันมาขายเครื่องสำอางมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเน้นการขายเครื่องสำอางค์แบรนด์ต่างประเทศ ในขณะเดียวกันที่แบรนด์ต่างประเทศหลายแบรนด์ได้ใช้การขายสินค้าออนไลน์เพื่อขยายตลาดให้มากขึ้น
- เนื่องจากต้นทุนการผลิตในฮ่องกงสูง ทำให้โรงงานจำนวนมากย้ายไปผลิตในจีนแผ่นดินใหญ่ และอาเซียน เช่น ไทย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
- ตลาดเครื่องสำอางค์ระดับบนของโลกถูกบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น P & G, Unilever, Shiseido, L’Oreal and Estee Lauder บริหารจนแบรนด์เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติเป็นเวลานานแล้ว จึงยากสำหรับแบรนด์ใหม่ๆ จะเข้าชิงส่วนแบ่งตลาดนี้ได้
- ผู้ผลิตสินค้านี้เป็น OEM มีไม่มากนัก เนื่องจากการเข้มงวดในการควบคุมคุณภาพ สูตรความลับของผลิตภัณฑ์ บริษัทผู้ผลิตจึงมักส่งออกสินค้าสำเร็จรูปตรงไปยังตัวแทนจำหน่ายต่างประเทศ
- บริษัทผู้ผลิตบางรายมีการว่าจ้างนางแบบชั้นนำ หรือแบรนด์แฟชั่นระดับโลก เพื่อโปรโมทน้ำหอมหรือเครื่องสำอางค์ของตน
- แบรนด์แฟชั่นที่มีชื่อเสียง เช่น Anna Sui, Burberry, Calvin Klein, Chanel และ Christian Dior ได้ขยายสินค้าไปสู่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์มากขึ้น
- ผู้ประกอบการฮ่องกงมีแนวโน้มจะขยายตลาดไปยังจีนแผ่นดินใหญ่มากขึ้น เนื่องจากความต้องการของตลาดเครื่องสำอางและประทินโฉมของจีนมีมหาศาล โดยเฉพาะสำหรับสินค้าแบรนด์สำหรับตลาดกลางถึงสูง ตลาดเครื่องสำอางในจีนแผ่นดินใหญ่เป็นตลาดที่เน้นแบรนด์สินค้า
ผลจากข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับจีนแผ่นดินใหญ่(CEPA) ทำให้สินค้าที่เข้าออกระหว่างฮ่องกงและจีน และมีคุณสมบัติตาม Rule of Origin ที่ตกลงกันไม่ต้องเสียภาษี โดยทั่วไปสำหรับสินค้าเครื่องสำอางค์และประทินผิว การ Mix, Heating, Blending จำเป็นต้องทำในฮ่องกงถึงถือว่าผลิตในฮ่องกง
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเทศแหล่งกำเนิด หลักเกณฑ์ของ CEPA สามารถเข้าดูในเว็ปไซค์ที่ http://www.tid.gov.hk/english/cepa/tradegoods/files/mainland_2012.pdf
- อัตราภาษีนำเข้าของจีนแผ่นดินใหญ่สูงกว่าตลาดอื่น ๆ การควบคุมการปริวรรตเงินตราต่างประเทศ เงื่อนไขเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้า และการควบคุมคุณภาพ เป็นอุปสรรคสำคัญในการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่างประเทศของจีน แม้ว่า ภายใต้ข้อผูกพันองค์การการค้าโลก ทำให้จีนต้องลดภาษีนำเข้าเครื่องสำอางและประทินโฉมลดลงเป็น 6.5% -10% ก็ตาม รวมถึงกฏระเบียบควบคุมวัตถุดิบเครื่องสำอางค์ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กรกฏาคม 2011 รายละเอียดสามารถเปิดดูได้ที่ http://www.sda.gov.cn/WS01/CL0846/61608.html
- ประเด็นด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นหลักที่ตลาดหลักหลายประเทศหยิบยกขึ้นพิจารณา
(1) สหรัฐอเมริกา FDA เป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลความปลอดภัยของสินค้าเครื่องสำอางค์นำเข้า ภายใต้กฏหมาย Food, Drug and Cosmetic(FD & C) Act และ the Fair Packaging and Labelling (FP&l) Act
(2) สหภาพยุโรป ระบุว่าเครื่องสำอางค์ที่จำหน่ายในสหภาพยุโรปจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ เมื่อใช้ตามปกติ ตามที่ระบุไว้ รวมทั้งมีการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับ ฉลาก หีบห่อ ด้วย
(3) ญี่ปุ่น ตามกฏหมาย Pharmaceutical Law (PAL) ระบุให้การขายเครื่องสำอางค์จากต่างประเทศ จะต้อง
- มีการตั้งบริษัทตัวแทนในญี่ปุ่น (Marketing Authorisation Holder(MAH)
- กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ที่ป้องกันการวิงเวียน bad breath กำจัดกลิ่น, heat rash, sores, hair loss(growth /remove) ถือเป็นยา Quasi-drugsในขณะที่ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อทำความสะอาด หรือประทินความงาม ถือเป็นเครื่องสำอางค์
- ข้อความที่ระบุบนฉลากต้องเป็นข้อมูลที่เป็นจริงไม่อวดอ้าง
- เครื่องสำอางค์มีวงจรอายุที่สั้นกว่าสินค้าบริโภคอื่นๆ ในตลาดที่พัฒนาแล้วเฉลี่ยอายุผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์(Shelf Life) อาจประมาณ 1 เดือน เนื่องจากต้องเปลี่ยนแปลงตามเฉดสีของแฟชั่น
- โทนเฉดและสี จะได้รับอิทธิพลจากแนวโน้มแฟชั่น รสนิยมและฤดูกาล ส่วนใหญ่ถูกกำหนดมาจากงานแสดงสินค้าในยุโรปกระจายสู่สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและเอเชีย เป็นลำดับ โดยมีนิตยสาร Trendsetter เป็นตัวเชื่อม
- ประชากรสูงอายุจะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ Cosmeceutical ที่รวมทั้งเครื่องสำอางค์ วิตามิน สมุนไพร และยาไว้ด้วยกัน มากกว่าที่จะเลือกซื้อสินค้าเพื่อใช้แต่งสวยงามอย่างเดียว
- ผลิตภัณฑ์ Multi Functional Product จะเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากคุ้มค่าเงิน เช่น เครื่องสำอางที่มี ceramide วิตามินรวมทั้งการป้องกันรังสียูวี ไว้ในขวดเดียวกัน
- ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เครื่องสำอางค์จากธรรมชาติหรือออแกนนิคเป็นที่นิยมในตลาด และยังเหมาะสมกับผิวพรรณที่แพ้ง่าย
- ผลิตภัณฑ์ที่เดิมใช้ในร้านเสริมสวย (Professional Products) จะถูกซื้อมาใช้ที่บ้านมากขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการลดกระชับสัดส่วน เป็นต้น
- ผลิตภัณฑ์ถนอมผิวสำหรับบุรุษจะขยายตัวมากขึ้น
*ข้อมูลอ้างอิง : Hong Kong Trade Development Council สคต. ณ เมืองฮ่องกง
สิงหาคม 2555