สถานการณ์สินค้าอิเล็คทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น เดือนพฤศจิกายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 29, 2012 14:59 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1.สถานการณ์การตลาด

1.1 ผลประกอบการของผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำในรอบงบประมาณครึ่งปีแรกของญี่ปุ่น (เมษายน-กันยายน 2555) บริษัทยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นเกือบทั้งหมดมีรายได้ลดลง โดยเฉพาะ 4 บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง พานาโซนิค โซนี ฟูจิซึ และชารป์ ที่มีผลประกอบการติดลบ เนื่องจากภาวะการแข่งขันของตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้นภายในประเทศญี่ปุ่นเอง ที่มีการแข่งขันด้านราคาจากหลายบริษัทเพื่อให้ครองตลาดผู้บริโภคในญี่ปุ่น ทำให้ทุกบริษัทมีกำไรลดลง รวมทั้งเจอคู่แข่งที่น่ากลัวจากบริษัทเกาหลี ที่กำลังครองตลาดส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศกำลังพัฒนาด้วยกลยุทธ์ด้านราคาที่ต่ำกว่าราคาสินค้าญี่ปุ่นมากแต่มีเทคโนโลยีเท่าเทียมกัน ทำให้ผลประกอบการของบริษัทญี่ปุ่นติดลบอย่างน่าเป็นห่วง

Mr. Kazuhiro Tsuga ประธานกรรมการบริหารบริษัทพานาโซนิค ที่บริษัทแม่ตั้งอยู่ที่เมืองเกียวโต ได้กล่าวถึงภาวะขาดทุนของบริษัทพานาโซนิคว่ามีสาเหตุมาจากการลดมูลค่าของชื่อแบรนด์พานาโซนิคเอง รวมถึงการขาดทุนในการลงทุนด้าน Solar Panel Lithium-in battery และโทรศัพท์มือถือ นาย Kazuhiro Tsuga ยังกล่าวอีกว่า บริษัทพานาโซนิคคาดการณ์ไว้ว่าทั้งปีจะมีผลขาดทุนที่ 765 ล้านเยน ซึ่งตอนต้นปีทางบริษัทได้คาดการณ์กำไรทั้งปีไว้ที่ 50 ล้านเยน ผลจากการขาดทุนในครั้งที่ทำให้บริษัทพานาโซนิคตัดสินใจที่จะไม่มีการแบ่งผลกำไรให้กับผู้ถือหุ้นเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี

1.2 ส่วนผลประกอบการรอบงบประมาณครึ่งปีแรกของญี่ปุ่น (เมษายน-กันยายน 2555) ของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ชั้นนำ แม้ว่าเกือบทุกบริษัทจะมีผลกำไรเป็นบวกยกเว้นบริษัท Alps แต่ก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจเพราะผลประกอบการลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับผลประกอบการของปีที่แล้ว ส่วนบริษัทที่มีผลประกอบการดีขึ้น คือ TDK และ Nidec โดย Nidec มียอดขายมอเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้ในฮาร์ดไดรฟ์เพิ่มมากขึ้น และ TDK มียอดขายหัวแม่เหล็กของฮาร์ดไดรฟ์เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ชั้นนำส่วนใหญ่ที่มีผลประกอบการดีขึ้นเนื่องมาจากการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือให้กับบริษัท Apple ของสหรัฐ เพื่อใช้ในการผลิตโทรศัพท์ไอโฟน 5 บริษัทที่มีผลประกอบการติดลบอย่าง บริษัท Alps กล่าวว่า แม้ว่าอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์สำหรับโทรศัพท์มือถือจะมียอดการผลิตและสั่งซื้อที่ดีมากแต่ก็ยังไม่สามารถชดเชยกับยอดการสั้งซื้อที่ลดลงของอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ใช้ในการผลิตทีวีและคอมพิวเตอร์ ความนิยมในเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่นที่ลดลงจะมีผลต่อผลประกอบการของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ในอนาคตอย่างแน่นอน หากบริษัทไม่ปรับตัวต่อการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น ฉะนั้นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ชั้นนำไม่ควรหวังเพิ่งการผลิตอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์สำหรับโทรศัพท์มือถือเพียงอย่างเดียว

2. ความเคลื่อนไหวของบริษัท

2.1 ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ชั้นนำของญี่ปุ่นพยายามอย่างมากในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อแข่งขันด้านเทคโนโลยีเพื่อป้อนให้กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่นเอง เนื่องจากการทำธุรกิจในปัจจุบันนั้น บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ชั้นนำของญี่ปุ่นส่วนใหญ่พึ่งพาการเป็น Supplier ของ iphone เป็นหลัก ทำให้การพยากรณ์ของธุรกิจบริษัทในอนาคตเป็นไปได้ยาก โดยประเด็นนี้เป็นมุมมองที่ตรงกันทั้งจากบริษัทและนักลงทุนชาวญี่ปุ่นเอง

บริษัท Apple นั้น ได้มีการกระจายความเสี่ยงโดยการสั่งซื้อสินค้าตามที่ตนเองกำหนดเท่านั้น และ Supplierก็มีหน้าที่ในการส่งมอบชิ้นส่วนตามที่ Apple สั่ง โดยไม่สามารถรู้ปริมาณสินค้าล่วงหน้าได้เลย จึงส่งผลให้บริษัท Supplier เป็นผู้รับความเสี่ยงในการบริหารงานไปทั้งหมด นอกจากนี้ ในบรรดาบริษัทผู้ประกอบการผลิตชื้นส่วนอิเลคโทรนิคส์เอง ก็มีการแข่งขันด้านราคากันรุนแรงมากขึ้น ทำให้การทำธุรกิจยิ่งเป็นไปได้ยากมาก หากไปดูในสายงานอื่น เช่นการผลิตส่วนประกอบรถยนตร์ก็ยังคงไม่ดีขึ้น เนื่องจากถึงแม้รถยนตร์จะมียอดขายที่ดี แต่การอุดหนุนภาษีอีโคคาร์ของรัฐบาลญี่ปุ่นกำลังจะหมดลง และเศรษฐกิจยุโรปเองก็ไม่สดใส รวมไปถึงการเปิดตัวไอโฟนใหม่ที่ช้าลงไปอีก ยิ่งทำให้บริษัทมีปัญหาและส่งผลให้บริษัทเหล่านี้ยังคงเผชิญสภาวะที่ต้องพึ่งพาการผลิต iphone อยู่ดี

          2.2 รัฐบาลญี่ปุ่นพร้อมให้ความช่วยเหลือบริษัทชาร์ปที่ขาดทุนอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าบริษัท ชาร์ป คอร์ป จะต้องมีการควบรวมกิจการกับบริษัทต่างชาติโดยอยู่ขั้นตอนการหาผู้ร่วมทุนเพื่อให้บริษัทอยู่รอดและรวมถึงการวางแผนผลิตสินค้าแข่งกับเกาหลีใต้ โดยนายอากะริ อะมาริ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและการค้าของญี่ปุ่น เปิดเผยถึงบริษัท ชาร์ป คอร์ป ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของญี่ปุ่น ว่ามีแนวโน้มที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินจากรัฐบาล เนื่องจากชาร์ปขาดทุนต่อเนื่องและมีปัญหาขาดเงินทุนหมุนเวียน ในเวลาเดียวกัน ฟิทช์ เรทติ้ง สถาบันจัด          อันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน ได้ลดอับดับความน่าเชื่อถือพันธบัตรของชาร์ปอยู่ในระดับเท่ากับ Junk Bond

ความตกต่ำของบริษัทชาร์ปสะสมต่อเนื่องมาหลายปีเนื่องจากบริษัทเน้นผลิตโทรทัศน์เป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีปัญหาการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศลดลงเนื่องจากค่าเงินเยนแข็งตัว ด้านการตลาดชาร์ปต้องแข่งขันกับผู้ผลิตสินค้าจากเกาหลีใต้ที่แย่งตลาดในประเทศกำลังพัฒนาไป นายอะมาริเปิดเผยว่า หากชาร์ปต้องการให้รัฐบาลช่วยด้านเงินทุน บริษัทจะต้องวางแผนพัฒนาการผลิตสินค้าที่สามารถแข่งขันในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์หลังจากได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลแล้ว

สำหรับแผนงานของรัฐบาลญี่ปุ่นหลังจากให้ความช่วยเหลือด้านธุรกิจแล้ว คาดว่ารัฐบาลจะแนะนำให้ผู้บริหารของชาร์ปจับคู่กับบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ในสหรัฐเพื่อควบรวมกิจการ ซึ่งจะทำให้บริษัทใหม่มีการลดต้นทุนการดำเนินงาน ลดการลงทุนในธุรกิจที่ไม่มีกำไร และลดพนักงาน ซึ่งในเวลานี้ชาร์ปมีพนักงานทั่วโลก 63,700 คน โดยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น 31,000 คน

ข่าวแจ้งว่า หากรัฐบาลญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือ บริษัทชาร์ปจะเป็นรายที่ 2 ต่อจากสายการบินแจแปน แอร์ไลน์ หรือ JAL ที่ขาดทุนจนต้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดว่า หลังจากช่วยเหลือสายการบินเจแปน แอร์ไลน์ และชาร์ป จะมีธุรกิจรายใหญ่ที่ขาดทุนมาขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่นอีก เช่น โซนี่และพานาโซนิค

ก่อนหน้านั้นบริษัทชาร์ป ซึ่งเป็นผู้ผลิตทีวี.จอแอลซีดีรายใหญ่ของโลก ได้ประกาศว่า การดำเนินงานในปีการเงินนี้จะขาดทุน 450,000 ล้านเยน หลังการประกาศดังกล่าวหุ้นของชาร์ปลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนหุ้นบริษัทชาร์ปลดลงเหลือแค่ 2.6% ปิดที่ 152 เยนต่อหุ้น ทำให้ราคาหุ้นของบริษัทชาร์ปลดลงตั้งแต่ต้นปีมากถึง 77%

3. ภาวะการส่งออกและนำเข้าสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ของญี่ปุ่น

ยอดการส่งออกสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ลดลงในเดือนกันยายน 2555 มีมูลค่า 7.77 แสนล้านเยน ลดลงร้อยละ 5.4 จากเดือนกันยายน 2554 โดยสินค้าที่ปรับลดลง ได้แก่ อุปกรณ์สื่อสาร ลดลงร้อยละ 50.4 เครื่องจักรธุรกิจลดลงร้อยละ 56.9 ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ลดลงร้อยละ 17.8 ระบบสื่อสารวิทยุ ลดลงร้อยละ 17.4 คอมพิวเตอร์ ลดลงร้อยละ 17.2 และเซมิคอนดักเตอร์ลดลงร้อยละ 9.9 เครื่องจักรอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 4.1 ส่วนสินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 มาตรวัดพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 ตัวนำไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6

ส่วนการนำเข้าสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ในเดือนสิงหาคม 2555 มีการปรับตัวลดลง มูลค่า 6.07 แสนล้านเยน โดยลดลงร้อยละ 4.3 จากเดือนสิงหาคม ปี 2554 การนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ หลอดไฟเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.4 เซมิคอนดักเตอร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.4 ระบบสื่อสารวิทยุเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 ระบบสื่อสารโทรคมนาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ตัวนำไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 แผงวงจรเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ส่วนสินค้าที่นำเข้าลดลง ได้แก่ อุปกรณ์วีดีโอลดลงร้อยละ 60.3 อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ส่วนบุคคลลดลงร้อยละ 53.2 อุปกรณ์เครื่องเสียงลดลงร้อยละ 18.5 เครื่องจักรธุรกิจลดลงร้อยละ 13.3

สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ นครโอซากา

22 พฤศจิกายน 2555

August 2012 Exports of Electronics from Japan
(million yen, % = in comparison with the previous year)
                                                  August 2012            2012 total to date
                                                 million yen     %         million yen    %
Consumer electronic equipment                       68,292     92.1          565,873    110.9
    Video equipment                                 66,108     91.6          547,821    110.7
    Audio equipment                                  2,184    111.2           18,051    117.2
Industrial electronic equipment                     98,895     89.1          844,051     97.7
    Communications equipment                        21,225     78.7          211,812    102.5
       Telecommunications systems                      165     45.9            2,280     76.2
       Radio communication systems                  21,059     79.2          209,532    102.9
    Computers and related equipment                 28,532     73.1          243,252     88.1
    Electronic application equipment                28,269    102.5          232,385    103.7
    Electric measuring instrumentation              20,627    122.7          153,495    100.1
    Electronic business machines                       241     39.8            3,107     74.1
Electronic components and devices                  569,463     98.0        4,326,091     91.6
    Electronic components                          124,393    100.9          939,874     94.4
      Passive components                            44,053     92.0          327,466     84.9
      Connecting components                         52,384    108.1          390,550    100.2
      Electronic boards                             22,507    101.1          175,149     95.2
      Transducers                                    3,344    106.0           28,174    114.9
      Others                                         2,105    139.6           18,535    159.2
    Electronic devices                             254,239     95.9        1,928,840     90.7
      Electronic tubes                               1,822     99.9           15,484     83.6
      Discrete semiconductors                       61,137     92.4          468,745     83.2
      Integrated circuits (ICs)                    191,281     97.0        1,444,611     93.5
    Parts and accessories                          190,831     99.1        1,457,377     91.2
TOTAL                                              736,650     96.2        5,736,015     94.1
ที่มา : JEITA Press Release on Oct.3, 2012 / Exports of Electronics from Japan

July 2012 Imports of Electronics into Japan
(million yen, % = in comparison with the previous year)
                                                  August 2012            2012 total to date
                                                 million yen     %         million yen    %
Consumer electronic equipment                      50,693      57.3          358,407    62.6
    Video equipment                                37,567      50.3          266,554    55.2
    Audio equipment                                13,125      94.4           91,853   102.1
Industrial electronic equipment                   336,009     112.3        2,272,741   115.4
    Communications equipment                      153,546     134.4          953,177   134.7
      Telecommunications systems                    1,044      87.2            6,784    81.1
      Radio communication systems                 152,502     134.9          946,392   135.3
    Computers and related equipment               143,753      95.3        1,044,913   103.7
    Electronic application equipment               24,100     115.7          179,440   106.8
    Electric measuring instrumentation             13,671     110.0           88,500   113.6
    Electronic business machines                      939     101.6            6,712    87.9
Electronic components and devices                 315,238     113.2        2,004,967   101.7
    Electronic components                          43,837     119.6          269,709   108.8
      Passive components                           10,075     104.4           62,862    94.9
      Connecting components                         9,420     107.5           58,978   101.4
      Electronic boards                             8,217     104.8           51,815    94.5
      Transducers                                  10,204     126.4           65,733   121.0
      Others                                        5,921     254.7           30,321   212.5
    Electronic devices                            151,971     109.2          966,118    97.9
      Electronic tubes                                797     129.0            5,317    95.1
      Discrete semiconductors                      25,804     126.1          159,159   106.8
      Integrated circuits (ICs)                   125,370     106.2          801,643    96.3
    Parts and accessories                         119,430     116.4          769,141   104.5
TOTAL                                             701,940     105.4        4,636,116   102.7
ที่มา : JEITA Press Release on Oct.3, 2012 / Imports of Electronics into Japan

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ