สรุปผลการเข้าร่วมสัมมนา ASEAN - India Connectivity

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 21, 2012 14:37 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สรุปผลการเข้าร่วมสัมมนา "ASEAN - India Connectivity :

Promoting Business Linkages Between ASEAN and India's North - East"

1. โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ Mr.Prashant Agrawal ตำแหน่ง Deputy Chief of Mission, Embassy of India, Bangkok, Mr. Rapipit Promnart ตำแหน่ง Director, Project Financing, Bureau Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (NEDA), Mr.Ronald Antonio Butiong ตำแหน่ง Principal Regional Cooperation Specialist, South Asia Department, Asian Development Bank (ADB), และ Mr.Somchet Thinaphong, Managing Director, Dawei Development Company Limited บรรยายในหัวข้อ "Roadmap for ASEAN - India Conectivity" สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

1.1 โครงการ Trilateral Highway Project เป็นโครงการที่เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางถนนระหว่างประเทศไทย เมียนมาร์ และประเทศอินเดีย มีระยะทางประมาณ 3,200 กิโลเมตร ซึ่งทำให้เกิดการเชื่อมโยงการคมนาคมและการขนส่งระหว่างประเทศและเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจในภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม โดยรัฐบาลไทยและอินเดียให้การสนับสนุนการก่อสร้างเส้นทางสายหลักที่เชื่อมโยงระหว่างเมืองในประเทศเมียนมาร์ (รายละเอียดเส้นทางเชื่อมโยงเมืองต่างๆ ในเมียนมาร์ตามเอกสารแนบ) ดังนี้

  • รัฐบาลอินเดียให้การสนับสนุนการก่อสร้างเส้นทางระหว่าง MOREH (เมืองในอินเดียที่ติดกับชายแดนเมียนมาร์) - TAMU (เมืองในเมียนมาร์ที่ติดกับชายแดนอินเดีย) - YAGYI ระยะทางประมาณ 280 กิโลเมตร ปัจจุบันการก่อสร้างเส้นทางดังกล่าวได้ดาเนินการใกล้เสร็จสิ้นแล้วแต่มีบางส่วนที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและซ่อมแซมถนนและสะพาน ปัจจุบันมีการเปิดให้รถบัสโดยสารประจำทางของเอกชนให้บริการเฉพาะวันจันทร์เท่านั้น จากเมืองอิมฟาล เมืองหลวงของรัฐมณีปุระในอินเดีย ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองที่มอเรห์ ของอินเดีย และไปผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ตามูของเมียนมาร์ก่อนเดินทางไปสู่จุดหมายที่เมืองมันดาเลย์ ปัญหาสำคัญ คือ อินเดียใช้รถยนต์พวงมาลัยขวา แต่เมียนมาร์ใช้รถยนต์พวงมาลัยซ้าย รวมทั้งกฎระเบียบการจราจรแตกต่างกัน ดังนั้น เมื่อผ่านด่านตามูเข้ามาแล้ว จะมีการเปลี่ยนไปใช้รถบัสโดยสารของเมียนมาร์แทนรถบัสโดยสารของอินเดีย
  • รัฐบาลเมียนมาร์รับผิดชอบการก่อสร้างเส้นทางระหว่าง YAGYI - MANDALAY - BAGAN - NAY PYI TAW - HPA AN ระยะทาง ประมาณ 1,000 กิโลเมตร โดยเส้นทางคมนาคมทางบก ในเมียนมาร์ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เพราะส่วนใหญ่เป็นเส้นทางแบบเดิมๆ ที่อยู่ระหว่างรอการปรับปรุง และรอการก่อสร้างเส้นทางใหม่
  • รัฐบาลไทยให้การสนับสนุนการก่อสร้างเส้นทางระหว่าง HPA AN - EINDU - KAWKARIEK - THINGANNYINAUNG - MYAWADDY / MAE SOD ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร โดย NEDA หรือ สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้าน เป็นหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่นๆ ทั้งด้านการเงินและวิชาการ รวมถึงการให้ความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ให้การสนับสนุนวงเงินให้เปล่า จานวน 122 ล้านบาท สำหรับการก่อสร้างเส้นทาง THINGANNYINAUNG - MYAWADDY (เมืองในเมียนมาร์ที่ติดกับชายแดนไทย) - MAE SOD (แม่สอด จังหวัดตาก) ระยะทางรวมประมาณ 18 กิโลเมตร (ปัจจุบันก่อสร้างเสร็จแล้ว) สำหรับเส้นทางระหว่าง KAWKARIEK - THINGANNYINAUNG บางเส้นทางต้องวิ่งแบบวันเว้นวันระหว่างขาขึ้น-ขาร่อง เนื่องจากอยู่บนหุบเขาทำให้รถไม่สามารถสวนทางกันได้

1.2 ผู้แทนจาก Dawei Development Company Limited ได้กล่าวถึงโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย (ลึกเกือบ 20 เมตร ท่าเรือแหลมฉบังลึก 16.5 เมตร) ซึ่งเป็นประตูสู่การค้าใหม่ให้เส้นทางทะเล เพื่อเป็นทางเลือกให้กับอินเดีย จีน ตะวันออกกลาง ยุโรปและแอฟริกา อันจะส่งผลให้ทวายก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการค้าของภูมิภาค เพื่อตอบสนองต่อการค้าที่เจริญก้าวหน้าและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น และเพื่อตอบสนองความต้องการอย่างต่อเนื่องในการขนส่งทางทะเลในมหาสมุทรอินเดียและทะเลอันดามัน โดยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ได้รับสิทธิในการพัฒนาโครงการจากรัฐบาลพม่า สามารถแบ่งได้เป็น 6 เขตอุตสาหกรรม ได้แก่ เขตที่อยู่อาศัย เขตการค้าและโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องภายในนิคมอุตสาหกรรม ถนนและทางรถไฟเชื่อมโยงไปสู่ประเทศไทย รวมไปถึงน้ำมันและท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากอ่าวมะตะบันไปยังชายแดนไทยพม่า นิคมอุตสาหกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับถนนเชื่อมระหว่างเขตแดนเส้นทางลัดใหม่เชื่อมโยงไทยสู่ทวาย ระยะทางประมาณ 132 กิโลเมตร จากชายแดนทางหลวงขนาด 4 เลน ระยะทางเพียง 330 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ซึ่งใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง

1.3 ผู้แทนจาก Asian Development Bank ได้กล่าวถึงความสำคัญของภูมิภาคเอเชียใน ค.ศ. 2050 "Asia 2050: Realizing the Asian Century" ว่าเอเชียจะสามารถเป็นผู้สร้างผลผลิตทางเศรษฐกิจประมาณครึ่งหนึ่งของโลก โดยหากคิดเฉพาะอินเดียและอาเซียนจะมีผลผลิตทางเศรษฐกิจอยู่ประมาณร้อยละ 16 ของทั้งภูมิภาคเอเชีย รายได้ต่อหัวของประชากรเอเชียจะเพิ่มขึ้น 6 เท่าจากปัจจุบัน ประชากรเอเชียกว่า 3 ,000ล้านคน จะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ประเทศที่จะเป็นผู้ขับเคลื่อนเอเชีย 7 ประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย และไทย นอกจากนี้ ADB ยังมีบทบาทที่สำคัญต่อการส่งเสริมความเจริญทางเศรษฐกิจและความร่วมมือในภูมิภาค ให้ความช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและวิชาการเพื่อเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกที่กาลังพัฒนาในภูมิภาค โดยให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงระหว่างอินเดียและอาเซียน โครงการ Asian Highway and TransAsian Railway, Mekong-India Economic Corridor, India-Myanmar-Thailand Trilateral Highway

2. ช่วงที่สองเป็นการบรรยายในหัวข้อ "Business Opportunities in India's North East States โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ Mr.Bulu Paul Muktieh ตำแหน่ง Chairman, CMD Nedfi และ Mr. Abhijit Barooah ตำแหน่ง Co Chairman, CII North East Council สรุปสำระสาคัญ ดังนี้

2.1 ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย (North Eastern Region : NER) ประกอบด้วยรัฐ 8 รัฐ คือ อรุณาจัลประเทศ อัสสัม มณีปุระ เมฆาลายา มิโซรัม นาคาแลนด์ สิกขิม และตริปุระ ประชากรรวมกัน 38.98 ล้านคน เป็นภูมิภาคที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีอุตสาหกรรมการผลิตใบชาที่มีผลผลิตมากที่สุดในประเทศและในโลก มีทรัพยากรแร่ที่สำคัญ ได้แก่ ถ่านหิน หินปูน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ทรัพยากรพลังงานเป็นจำนวนมาก มีแม่น้ำพรหมบุตร (Brahmaputra) ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เป็นแหล่งที่มีศักยภาพในการผลิตพลังไฟฟ้าจากน้ำได้เป็นอย่างดี รวมทั้งมีพื้นที่ป่าไม้ถึงร้อยละ 57 ของพื้นที่ในภูมิภาค NER

2.2 รัฐอัสสัมเป็นรัฐที่มีระดับการพัฒนาสูงสุดในภูมิภาคฯ และมีบรรยากาศน่าลงทุนมากกว่าหลายรัฐของประเทศ เป็นประตูสู่ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งในจุดยุทธศาสตร์ใกล้กับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศสมาชิก SAARC โดยเป็นศูนย์กลางของนโยบายมองตะวันออก (Look East) ของรัฐบาลอินเดีย ที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งวัตถุดิบและมีแรงงานจำนวนมาก ส่วนใหญ่ยังเป็นประเภทกึ่งทักษะและไร้ทักษะ ประชากรมีการศึกษาดี (อัตราการรู้หนังสือ 64%) และมีนโยบายรัฐที่ส่งเสริมการลงทุน ซึ่งรัฐบาลกลางประกาศให้เป็นเขตพัฒนาอุสาหกรรมโดยกาหนดให้เป็นเขตปลอดภาษีภายในระยะเวลา 10 ปี

2.3 ประชากรของภูมิภาคมีวัฒนธรรม รูปลักษณะ และมีพฤติกรรมการบริโภคคล้ายคลึงกับคนไทย โดยเฉพาะในรัฐอัสสัมมีชนพื้นเมืองเรียกว่า "ไทยอาฮม" ซึ่งมีภาษาพูดบางส่วนใกล้เคียง คล้ายคลึงกับภาษาไทย

อนึ่ง

การสัมมนาในครั้งนี้ ทำให้นักธุรกิจไทยได้เล็งเห็นถึงโอกาสด้านการค้าและการลงทุนที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างอาเซียนและอินเดีย โดยเฉพาะรัฐอัสสัมซึ่งเป็นรัฐที่มีศักยภาพและความพร้อมในการเป็นประตูการค้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และประเทศใกล้เคียงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศกลุ่มสมาชิก SAARC

กลุ่มงานเอเชียใต้

สำนักพัฒนาการตลาดระหว่างประเทศ

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

Email : intmk@ditp.go.th

Website : www.ditp.go.th


แท็ก bangkok  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ