รายงานสรุปสินค้าในความรับผิดชอบ สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส สินค้าอาหาร (ปลาทูน่ากระป๋อง)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 26, 2012 13:49 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สหรัฐฯเป็นประเทศที่มีการบริโภคผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าสูงเป็นอันดับที่สามของโลกและคิดเป็นหนึ่งในสามของผลิตภัณฑ์ปลาและอาหารทะเลที่บริโภคในสหรัฐฯ ช่วงเวลาที่สหรัฐฯบริโภคทูน่ามากที่สุดคือช่วงฤดูร้อน การบริโภคอยู่ในระดับต่ำสุดในเดือนตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม

การบริโภคปลาทูน่ากระป๋องในสหรัฐฯ

ปลาทูน่าที่นิยมบริโภคมากที่สุดในสหรัฐฯคือปลาทูน่ากระป๋อง ในแต่ละปีผู้บริโภคสหรัฐฯบริโภคปลาทูน่ากระป๋องประมาณ ๑ พันล้านปอนด์ เป็นอาหารทะเลที่ได้รับความนิยมบริโภคสูงสุดรองจากกุ้ง

ปลาทูน่ากระป๋องที่ผู้บริโภคสหรัฐฯนิยมรับประทานมากที่สุดหรือประมาณร้อย ๗๐ ทำจากปลา Skipjack, Yellowfin, รองลงมาประมาณร้อยละ ๓๐ ทำจากปลา Albacore หรือ White Tuna

ลักษณะปลาทูน่ากระป๋องที่ผู้บริโภคสหรัฐฯนิยมรับประทานมากที่สุด ประมาณร้อยละ ๗๕ - ๘๐ คือ Chunk Light in Water การบริโภคปลาทูน่าประเภท Light Meat In Water และ Light Meat in Oil คิดเป็นระหว่างร้อยละ ๗๕ - ๘๐ ของการบริโภคในแต่ละปี ที่เหลือเป็นการบริโภคปลาทูน่าที่เป็น Albacore หรือ White Meat

การบริโภคปลาทูน่ากระป๋องส่วนใหญ่เป็นการบริโภคเป็นอาหารกลางวันในรูปของแซนวิส ลักษณะอื่นๆของการบริโภคปลาทูน่ากระป๋องรวมถึง การนำไปทำสลัด casseroles ใช้เป็นส่วนผสม (Helper) เพื่อทำอาหารประเภท สปาร์เก็ตตี้ เป็นต้น

ปลาทูน่ากระป๋องที่ครองตลาดสหรัฐฯปัจจุบันมีอยู่ ๓ ยี่ห้อคือ StarKist, Chicken of the Sea และ Bumble Bee ปลาทูน่ากระป๋องที่วางจำหน่ายในสหรัฐฯปกติแล้วมี Shelf-life นาน ๔ ปี ปลาทูน่าที่บรรจุในถุง (pouched tuna) มี shelf life นาน ๓ ปี

การบริโภคปลาทูน่ากระป๋องในสหรัฐฯมีแนวโน้มลดลง

การบริโภคปลาทูน่ากระป๋องต่อคนต่อปีของสหรัฐฯอยู่ในระดับสูงสุดในปี ๒๐๐๓ ในอัตราส่วน ๓.๔ ปอนด์ดต่อคนต่อปี หลังจากนั้นการบริโภคมีแนวโน้มลดลงในระหว่าง ๓.๑ - ๒.๗ ปอนด์ต่อคนต่อปี สถิติการบริโภคในปี ๒๐๑๐ เท่ากับ ๒.๗ ปอนด์ต่อคนต่อปี

สาเหตุสำคัญของการบริโภคที่ลดลงในปัจจุบันคือราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นและความสนใจของผู้บริโภคสหรัฐฯที่จะบริโภคปลาทูน่ากระป๋องเป็นไปในทางลดลง นอกจากการบริโภคจะลดลงแล้วปัจจุบันขนาดบรรจุของปลาทูน่ากระป๋องในตลาดสหรัฐฯมีแนวโน้มลดลงด้วยเช่นกันคือจากขนาดบรรจุเดิม 6oz ลดเป็นขนาดบรรจุ 5oz

ในระหว่างเดือนมกราคม - กันยายน ๒๐๑๑ เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี ๒๐๑๐ สหรัฐฯนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องในปริมาณที่ลดลงร้อยละ ๖.๑ แต่ในราคาที่เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ ๘.๒ การนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องที่เป็น Tuna in Brine ทั้งที่เป็น Albacore (white meat) และ Skipjack (light meat) ลดลงร้อยละ ๑๐.๑ และ ๓.๙ ตามลำดับ การนำเข้าปลาทูน่าในถุง (pouch) ลดลงประมาณร้อยละ ๑๔ การนำเข้าจากประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งอุปทานหลักของสหรัฐฯลดลงร้อยละ ๑๓.๓

ที่มาข้อมูล: ๑. Tuna Facts: National Fisheries Institute

๒. GLOBEFISH, Food and Agriculture Organization

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส


แท็ก สหรัฐ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ