ผลไม้สำคัญที่จีนนำเข้าจากไทยมีลำไยสด (คิดเป็น 178.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตร้อยละ 100) ทุเรียน(คิดเป็น 159.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตร้อยละ 19.6) มังคุด(คิดเป็น 92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตร้อยละ 3.38) ชมพู่(คิดเป็น 15.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.41) กล้วย(คิดเป็น 9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เติบโตร้อยละ 165) และลิ้นจี่(คิดเป็น 8.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 207) ผลไม้สำคัญที่จีนส่งออกไปไทยมี ส้ม แอปเปิ้ล แพร์ เกาลัด องุ่น สเตอร์เบอรี เป็นต้น
ในบันดาพอร์ทที่นำเข้าผลไม้ไทยนั้น พอร์ดเซินเจิ้นได้แบ่งสัดส่วนมากที่สุด คิดเป็นมูลค่า 321.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.04 คิดเป็นร้อยละ 67.02 ของการนำเข้าผลไม้จากไทยทั้งหมด นอกจากนี้ พอร์ทสำคัญที่นำเข้าผลไม้ไทยยังมีพอร์ทกวางโจว คุนหมิง เซี่ยงไฮ้ และพอร์ทต้าเหลียน ส่วนพอร์ทเซี่ยเหมินที่เคยเป็นอันดับ 5 ที่มีการนำเข้าผลไม้ไทยมากที่สุด ได้ตกถึงอันดับ 9 ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปีที่แล้วลดลงร้อยละ 79.48 ผลไม้ที่พอร์ทเซี่ยเหมินมีการนำเข้าลดลงมากคือลำไยอบแห้ง ในครึ่งปีแรก พอร์ทเซี่ยเหมินได้นำเข้าลำไยอบแห้งจากไทย 0.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปีที่แล้วลดลงร้อยละ 97.38 ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้พอร์ทเซี่ยเหมินตกถึงอันดับ 9
การที่พอร์ทเซี่ยเหมินมีการนำเข้าผลไม้ไทยน้อยลงเนื่องจากศุลกากรเซี่ยเหมินได้ดำเนินการตรวจสอบอย่างเข้มงวด จึงทำให้เวลาการตรวจสอบต้องใช้เวลานาน ทำให้ผู้ประกอบการนำเข้าผลไม้ไทยในเมืองเซี่ยเหมินนิยมนำเข้าผลไม้ไทยผ่านพอร์ทกวางโจว จึงกระทั่งสั่งซื้อจากผู้ประกอบการนำเข้าผลไม้ไทยในกวางโจว ปัญหาหลักที่ที่ตรวจเจอในผลไม้ไทยคือมีแมลงเป็นติดในตัวผลไม้ด้วย เช่น แมลงหวี่ แมลงcoccid เป็นต้น ผลไม้ที่ติดแมลงเป็นส่วนใหญ่เป็นทุเรียน มะม่วง ชมพู่ เป็นต้น ส่วนปัญหาหลักที่ตรวจเจอในลำไยอบแห้งไทยคือมีสารตกค้างโซเดียมไดออกไซด์ นอกจากนี้การนำเข้าลำใยอบแห้งปัจจุบันได้นำเข้ามายังพอร์ตเซี่ยงไฮ้และเข้าทางด่านชายแดนหนานหนิงเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากความเข้มงวดในการตรวจสอบน้อยกว่า จึงทำให้ลำไยอบแห้งที่นำเข้าโดยผ่านพอร์ทเซี่ยเหมินมีจำนวนลดลงมาก ถึงแม้ในปัจจุบันนี้ จีนมีความต้องการนำเข้าผลไม้ไทยเป็นจำนวนมาก แต่ปัญหาการผ่านศุลกากรและการตรวจสอบอาจจะเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการนำเข้าผลไม้ไทยเติบโตอย่างรวดเร็วได้ ซึ่งเป็นปัญหาของผู้ส่งออกผลไม้ไทยต้องจัดการแก้ไขและรักษาคุณภาพผลไม้ไว้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม จีนนำเข้าผลไม้ไทยยังได้รักษาแนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็วต่อไป
ที่มา World Trade Atlas
เรียบเรียงโดย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน