สถานการณ์วิกฤติยุโรปที่กระทบเยอรมนี

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 10, 2012 15:03 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1.กระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมัน (GDP)

ตารางอัตราการขยายตัวของ GDP ของประเทศที่ใช้เงินยูโร (%)
   Country           2007          2008           2009           2010          2011       2012 (f)
   Belgium            2.9           1.0           -2.8            2.3           1.9           0
   Germany            3.3           1.1           -5.1            3.7           3.0         0.7
   Estonia            7.5          -3.7          -14.3            2.3           7.6         1.6
   Ireland            5.2          -3.0           -7.0           -0.4           0.7         0.5
   Greece             3.0          -0.2           -3.3           -3.5          -6.9        -4.7
   Spain              3.5           0.9           -3.7           -0.1           0.7        -1.8
   France             2.3          -0.1           -2.7            1.5           1.7         0.5
   Italy              1.7          -1.2           -5.5            1.8           0.4        -1.4
   Cyprus             5.1           3.6           -1.9            1.1           0.5        -0.8
   Luxembourg         6.6           0.8           -5.3            2.7           1.6         1.1
   Malta              4.3           4.1           -2.7            2.3           2.1         1.2
   Netherlands        3.9           1.8           -3.5            1.7           1.2        -0.9
   Austria            3.7           1.4           -3.8            2.3           3.1         0.8
   Portugal           2.4           0.0           -2.9            1.4          -1.6        -3.3
   Slovenia           6.9           3.6           -8.0            1.4          -0.2        -1.4
   Slovakia          10.5           5.8           -4.9            4.2           3.3         1.8
   Finland            5.3           0.3           -8.4            3.7           2.9         0.8
ที่มา Eurostat

2. กระทบเงินทุนสำรองของประเทศเยอรมัน
          ประเทศเยอรมนีถือเป็นประเทศเศรษฐกิจหลักที่สำคัญที่สุดในกลุ่มยูโรรวมถึงในสหภาพยุโรป โดยในปี 2011 เยอรมนีมียอดรวมการค้าทั้งสิ้น 2.5 ล้านล้านยูโร ซึ่งถือเป็นอัตรามากกว่า 1 ใน 4 ของยอดการค้ารวมในประเทศในกลุ่มยูโร
          นับตั้งแต่ประเทศต่างๆ ในกลุ่มยูโรประสบปัญหาหนี้สินสาธารณะ สหภาพยุโรปได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือประเทศสมาชิกในรูปแบบกองทุนต่างๆ คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 704,000 ล้านยูโร โดยเงินสนับสนุนที่สหภาพยุโรปให้กับประเทศที่ประสบปัญหานี้ คิดเป็นส่วนเงินจากประเทศเยอรมนีเป็นประมาณ 280,000 ล้านยูโร ซึ่งทำให้  เยอรมนีต้องประหยัดงบประมาณในประเทศ
          ประเทศที่มีหนี้สาธารณะมากที่สุดในขณะนี้คือประเทศเยอรมนีเนื่องจากเยอรมนีต้องแบกรับภาระพยุงสถานการณ์เศรษฐกิจในกลุ่มยูโร รวมถึงเงินกู้และสนับสนุนต่างๆของสหภาพยุโรปนั้นส่วนใหญ่เป็นเงินที่มาจากประเทศเยอรมนี อย่างไรก็ดี ประเทศเยอรมนีเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป เมื่อเปรียบเทียบปริมาณหนี้สินกับค่า GDP เยอรมนีมีหนี้สินเป็นอัตราร้อยละ 81.2 ของ GDP ซึ่งไม่ใช่ค่าที่สูงที่สุดในกลุ่มยูโร

3. ส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตามประเทศเยอรมนีสามารถรักษาระดับเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับประมาณ 2%

4. ผู้บริโภคขาดความมั่นใจในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลทางจิตวิทยา โดยที่ชาวเยอรมันมีนิสัยมัธยัสถ์อยู่ด้วยแล้วทำให้การใช้จ่ายในสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น อัญมณี บ้านหลังที่ 2 หดตัว และหันมาออมทรัพย์เพื่ออนาคต จึงส่งผลทำให้การซื้อสินค้าประเภทนี้ลดลง อย่างไรก็ตาม สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปยังไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด

ผลกระทบที่มีต่อผู้ส่งออกไทย

          ผู้ส่งออกไทยไม่ได้รับผลกระทบจากการส่งออกมาเยอรมนีด้วยเหตุผลของวิกฤติยุโรปนัก ยอดส่งออกในสินค้าที่มีอัตราการขยายตัวลดลง เนื่องจากมาสาเหตุอื่น เช่น สถานการณ์น้ำท่วม ปัญหาจากกฎระเบียบอันเข้มงวดของ EU ด้านสุขอนามัยที่มีต่อพืชผักผลไม้ (ซึ่งในส่วนนี้ไทยส่งออกมาเยอรมนีมีปริมาณและมูลค่าไม่มาก) ด้วยเหตุผลเดียวกับการส่งออกโดยรวมของไทยไปตลาดโลก ที่สินค้าส่งออกมาเยอรมนีที่มีมูลค่ามาก เช่น ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ จะเป็นของบริษัทข้ามชาติซึ่งใช้ Global Supply Chain ที่การตัดสินใจซื้อ-ขาย ปริมาณการผลิตไม่ได้มาจากไทย ส่วนสินค้าเกษตรก็เป็นผลจากปัจจัยด้านภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ การขึ้นลงของราคาในตลาด รวมทั้งกฎระเบียบของ EU เอง เช่นในปีนี้การส่งออกไก่จะมากขึ้น เนื่องจาก EU ยกเลิกการห้ามนำเข้าไก่สดจากไทย ดังนั้นในขณะนี้ เหตุผลส่วนใหญ่ที่ทำให้ยอดส่งออกไทยมาเยอรมนีลดลง จึงไม่ใช่ผลจากวิกฤติหนี้ยุโรป
          ทั้งนี้ ในส่วนที่การส่งออกของไทยจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติหนี้ยุโรปอาจมีด้วยสาเหตุดังนี้
          1. ค่าเงินยูโรอ่อน ในขณะค่าเงินบาทแข็งทำให้สินค้าไทยแพงขึ้น ส่งผลให้ไทยเสียศักยภาพการแข่งขันและผู้ประกอบการที่ค้าขายสินค้าและบริการกับประเทศเยอรมนีจะได้รับผลกระทบจากรายได้ที่ลดลง ทั้งจากยอดขายที่ลดลงและค่าเงินยูโรที่อ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินบาท โดยกลุ่มสินค้าส่งออกที่อาจได้รับผลกระทบมากกว่าสินค้าอื่น ได้แก่ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ อัญมณีเครื่องประดับ เครื่องนุ่งห่ม ยาง และแผงวงจรไฟฟ้า
          2. ประเทศคู่ค้าของไทยอื่น ๆ เช่น จีน สหรัฐ และญี่ปุ่น ที่ส่งออกสินค้าไปเยอรมนี แต่ใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตจากไทยได้รับผลกระทบ ก็อาจทำให้ไทยได้รับผลกระทบในทางอ้อมด้วย
          3. การตัดงบประมาณรายจ่ายควบคู่กับการปฏิรูปตลาดแรงงาน ระบบประกันสังคม และการลดค่าจ้าง จะทำให้การใช้จ่ายในประเทศน้อยลงส่งผลให้มีการนำเข้าสินค้าน้อยลงตามไปด้วย


                                                                 สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ กรุงเบอร์ลิน

แท็ก เยอรมนี   ยุโรป   2012   GDP   Spa  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ