ฟิลิปปินส์ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีการให้บริการทางด้านสุขภาพและการแพทย์ที่มีคุณภาพระดับโลก และจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ให้บริการด้านนี้ดีที่สุดในเอเชีย นอกจากนี้คนฟิลิปปินส์ยังได้รับการฝึกอบรมอย่างดีและมีทักษะที่ทำให้สามารถให้บริการด้านการบำบัดทางการแพทย์และการปฏิบัติดูแลสุขภาพเฉพาะตัวได้เป็นอย่างดี ฟิลิปปินส์ยังเป็นประเทศที่สนับสนุนด้านการบำบัดรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือก มีการส่งเสริมโครงการการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในฟิลิปปินส์ ที่รวมการให้บริการทางด้านสุขภาพด้วยการแพทย์ทางเลือกและการบำบัดแผนโบราณด้วย
ตลาดด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของฟิลิปปินส์กำลังพัฒนาอย่างเข้มแข็ง ด้วยปัจจัยด้านบุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพสูงและพูดภาษาอังกฤษได้ที่มีเป็นจำนวนมาก มีโรงพยาบาลเอกชนที่ทันสมัย และการคิดราคาค่าบริการทางการแพทย์สามารถแข่งขันกับผู้ให้บริการในประเทศอื่นๆได้
สปาเป็นสถานบริการที่มีการใช้ตัวยาเพื่อการบำบัดทางธรรมชาติและสารบำรุงสุขภาพอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ในสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรและสะดวกสบาย จึงจำเป็นต้องจัดให้มีสถานที่เป็นการพิเศษเฉพาะที่ลูกค้าจะสามารถใช้เวลาในการรับบริการได้อย่างผ่อนคลาย ต้องตระหนักว่าบริการสปาเป็นเรื่องของลำดับการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมด้านสุขภาพ ที่จะต้องมีการใช้น้ำในบางสภาพ มีการอาบและการแช่หรืออบด้วยตัวยาบำบัดทางธรรมชาติ เช่น น้ำแร่ ไอน้ำ ลม (airs) สมุนไพร และโคลน เป็นต้น ช่วงการทำสปาจะเป็นระยะเวลาที่ใช้ในการอาบ แช่ หรืออบ ตามกรรมวิธีของการให้บริการสปา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดให้มีพื้นที่พิเศษเฉพาะโดยคำนึงถึงบริบทของธรรมชาติเป็นสำคัญ
ในฟิลิปปินส์มีผู้ประกอบการธุรกิจสปาจำนวน 158 ราย โดยการให้บริการสปาจะเป็นไปตามมาตรฐานการประกอบการธุรกิจสปาและมาตรฐานความปลอดภัยของยุโรป
2.1 การใช้น้ำร้อนธรรมชาติ (Natural thermal water)
2.2 การใช้น้ำที่มีแร่ธาตุหรือก๊าซที่มีคุณสมบัติเฉพาะเป็นส่วนผสม เช่น
- เกลือ (Salt) ซิลิกา (Silica) เหล็ก (Iron) ลิเธียม (Lithium) ไอโอดีน (Iodine) ซัลไฟด์ (Sulphide) คาร์บอน (Carbon) เรดอน (Radon) ฯลฯ
- ส่วนประกอบจากสารอินทรีย์ (Organic components)
2.3 การใช้โคลนที่มีส่วนประกอบทางเคมีที่ให้การบำบัดทางสุขภาพ (ส่วนประกอบจากสารอินทรีย์ ซัลไฟด์ ซิลิกา ฯลฯ)
2.4 การใช้สภาพอากาศ บรรยากาศภูเขา ชายทะเล และถ้ำ
3.1 Day Spa
3.2 Destination Spa
3.3 Resort Spa
3.4 Medical Spa
3.5 Club Spa
3.6 Hotel Spa
4.1 ผู้ใช้บริการแบบผิวเผิน (Periphery Spa Consumers) ผู้ใช้บริการกลุ่มนี้คาดหวังการบริการที่ทำให้รู้สึกดีเป็นพิเศษและดูมีความงามเพิ่มขึ้น เป็นกลุ่มที่อ่อนไหวในเรื่องราคาค่าบริการ โดยเฉพาะถ้าเป็นบริการใหม่ที่ยังไม่มีการลองใช้มาก่อนและไม่มีผลให้เห็นชัดเจนต่อภาพภายนอก (appearance) ไม่ตอบสนองต่อเรื่องการให้ลองเพื่อประสบการณ์และการเดินทาง โดยสรุปคือผู้ใช้บริการกลุ่มนี้ไม่ได้ต้องการการบริการที่ให้ผลลัพธ์ดีที่สุด เพียงแต่ต้องให้บริการเป็นไปตามที่ผู้ให้บริการตกลงสัญญาไว้
4.2 ผู้ใช้บริการระดับกลาง (Mid-Level Consumers) ผู้ใช้บริการกลุ่มนี้จะเปิดรับการบำบัดที่แปลกใหม่ (exotic treatments) ได้มากกว่า (เป็นต้นว่าการขัดตัวด้วยขุยมะพร้าว การขัดผิวด้วยน้ำผึ้งหรือ mint sugar การพอกด้วยอะโวคาโดสด) และพร้อมที่จะใช้บริการเป็นแพ็คเกจครึ่งวันหรือเต็มวัน ลูกค้ากลุ่มนี้มองว่าการใช้บริการสปาไม่เพียงแค่เพื่อผลต่อสุขภาพทางกายหรือภาพภายนอกที่สวยงามเท่านั้น แต่ยังเป็นกิจกรรมที่ทำเพื่อความสบายใจด้วย ยินดีที่จะตอบรับประสบการณ์ใหม่ๆ ทางด้านความรู้สึกดีๆ พิธีกรรมที่ทำให้พึงพอใจ และการเดินทาง
4.3 ผู้ใช้บริการสปาเป็นหลัก (Core Spa Consumers) ผู้ใช้บริการกลุ่มนี้ไปสถานบริการสปาเป็นกิจวัตร เป็นส่วนหนึ่งของวิถีการใช้ความคิดและการดำรงชีวิต คนกลุ่มนี้จะชื่นชอบกับการทำสปา (spa treatment) หรือกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นกับตัวเขา จึงต้องการสปาที่มีสภาพแวดล้อมที่อ่อนไหวทางด้านความรู้สึก หรือที่มีพนักงานที่มีพื้นฐานทางจิตใจที่เข้าใจลูกค้า อย่างไรก็ตามคนกลุ่มนี้ถือเป็นส่วนน้อยของกลุ่มผู้ใช้บริการสปา
บริษัทที่ทำธุรกิจสปาในฟิลิปปินส์มีเป้าหมายที่กลุ่มลูกค้าอายุ 44 — 61 ปี นอกจากนี้ยังมีลักษณะเฉพาะทั่วๆ ไปของลูกค้า ดังนี้
- ให้ความสำคัญกับตัวเอง (Self focused)
- มองโลกในแง่ดี
- ใจร้อนและมักจะสนใจกับอะไรได้ไม่นาน
- โอนอ่อน และชอบให้ตามใจ
- ต้องการทางเลือกที่ทำให้รู้สึกว่าสามารถควบคุมได้
- คาดหวังที่จะได้รับการปฏิบัติที่พิเศษ
- ไม่ชอบที่จะต้องตกลงในรายละเอียดหรือถกเถียงความไม่พึงพอใจใดๆ ต้องการใช้บริการกับผู้ประกอบการสปาที่ทำให้เป็นเรื่องง่ายๆ ไม่ต้องใช้ความพยายามใดๆ ในการเลือกซื้อบริการ spa treatments หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ
- สนใจกับการอธิบายคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ว่าจะทำให้รู้สึกเป็นอย่างไร
- ราคาไม่สำคัญเท่ากับความหรูหราและความรู้สึกดีในการรับบริการ
- ชอบการเปรียบเทียบแข่งขัน ให้เขาได้มีสิทธิในการพูดโอ้อวด
- มีความเป็นไปได้สูงที่จะสนใจซื้อ Treatments และผลิตภัณฑ์ไปฝากครอบครัวหรือเพื่อนๆ
- ไม่ยอมรับความแก่ ผู้ประกอบการสปาต้องพยายามให้ความสำคัญกับการถนอมความเป็นหนุ่มสาว
- พยายามให้พวกเขามีทางเลือกและมีความพึงพอใจทันที
- คนสัญชาติฟิลิปปินส์
- ผู้อพยพชาวฟิลิปปินส์รุ่นแรก (First generation Filipino immigrants)
- ผู้เกษียณอายุชาวต่างชาติในภูมิภาค (เกาหลี ญี่ปุ่น ฯลฯ)
- ผู้ที่แสวงหาการบำบัดทางการแพทย์ที่ประกันสุขภาพไม่ครอบคลุมให้
7.1 การทำธุรกิจในลักษณะเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว (Sole Proprietorship) กรณีนี้บุคคลจะเป็นเจ้าของคนเดียว มีอำนาจควบคุมการดำเนินธุรกิจและเป็นเจ้าของทรัพย์สินเพียงคนเดียว ซึ่งจะต้องรับผิดชอบผลทางกฎหมายหรือผลประกอบการด้วยตนเอง ผู้ประสงค์ทำกิจการในลักษณะนี้ต้องยื่นขอชื่อทางธุรกิจและจดทะเบียนกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (Department of Trade and Industry : DTI) โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้ :
a) ตรวจสอบข้อมูลออนไลน์จากเว็บไซต์ของ DTI (http://www.dti.gov.ph) ว่าชื่อทางธุรกิจที่จะยื่นขอจดทะเบียนนั้นสามารถใช้ได้หรือไม่
b) กรอกแบบฟอร์มการขอชื่อทางธุรกิจ โดยระบุชื่อที่ต้องการอย่างน้อย 3 ชื่อ
c) ส่งแบบฟอร์มการขอชื่อทางธุรกิจพร้อมเอกสารที่กำหนด และชำระค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง
d) หลังจากพิจารณาแบบฟอร์มและเอกสารแล้ว ผู้ยื่นขอจะได้รับแจ้งการดำเนินการต่อไป
e) DTI ออกใบทะเบียนการค้า (Certificate of Registration) ทะเบียนชื่อทางธุรกิจที่ออกให้จะมีอายุ 5 ปี และใช้ได้กับที่อยู่ทางธุรกิจตามที่ระบุไว้เท่านั้น
7.2 การทำธุรกิจในลักษณะหุ้นส่วน (Partnership)
ตามกฎหมายแพ่งของฟิลิปปินส์ หุ้นส่วนถือเป็นนิติบุคคล มีตัวตนทางกฎหมายแยกจากตัวบุคคลที่เป็นสมาชิกหุ้นส่วน หุ้นส่วนอาจมีลักษณะเป็นหุ้นส่วนทั่วไป (General Partnerships) ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายสามารถมีหุ้นส่วนได้ไม่จำกัด โดยผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งหรือมากกว่าจะมีความรับผิดชอบผูกพันตามกฎหมายอย่างไม่จำกัด และหุ้นส่วนที่มีลักษณะเป็นหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนจะมีความรับผิดชอบผูกพันตามกฎหมายตามจำนวนที่ได้มีส่วนในการลงทุน ความเป็นหุ้นส่วนจะต้องประกอบด้วยผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป กิจการในลักษณะหุ้นส่วนที่มีเงินทุนตั้งแต่ 3,000 เปโซขึ้นไปจะต้องจดทะเบียนกับคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ (Securities and Exchange Commission : SEC)
7.3 การทำธุรกิจในลักษณะบริษัท (Corporations)
บริษัทเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย Corporation Code อยู่ในการควบคุมของ SEC โดยมีตัวตนแยกจากตัวผู้ถือหุ้น ความรับผิดชอบผูกพันตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นในบริษัทจะจำกัดอยู่ที่จำนวนหุ้นที่เป็นเจ้าของ บริษัทจะต้องประกอบด้วยผู้ถือหุ้น 5 — 15 ราย โดยแต่ละรายจะต้องถือหุ้นอย่างน้อยที่สุด 1 หุ้น และต้องจดทะเบียนกับ SEC โดยมีเงินลงทุนขั้นต่ำเท่ากับ 5,000 เปโซ บริษัทสามารถเป็นได้ทั้ง Stock Company หรือ Non-stock Company โดยไม่จำกัดสัญชาติ บริษัทที่มีคนสัญชาติฟิลิปปินส์เป็นเจ้าของ 60% และเป็นของต่างชาติ 40% จะถือว่าเป็นบริษัทฟิลิปปินส์ แต่ถ้าต่างชาติเป็นเจ้าของมากกว่า 40% จะถือว่าเป็นบริษัทต่างชาติในฟิลิปปินส์
ขั้นตอนในการจัดตั้ง Partnership และ Corporation
a) จองชื่อที่จะจดทะเบียน
b) เตรียม Articles of Incorporation และเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
c) ยื่นเสนอแบบฟอร์มที่กรอกแล้ว
d) ชำระค่าธรรมเนียมการยื่นจดทะเบียน
e) รับใบจดทะเบียน Certification of Incorporation
กรณีที่จดทะเบียนการค้าในธุรกิจที่คนฟิลิปปินส์เป็นเจ้าของ 60 % และต่างชาติเป็นเจ้าของ 40 % ต้องมีเอกสารดังนี้
a) Name verification slip
b) Articles of Incorporation and By-laws
c) Treasure’s Affidavit / Authority เพื่อยืนยันบัญชีธนาคาร
d) Bank Certificate of deposit notarized in place where bank signatory is assigned
e) Written undertaking to change corporate name by any incorporator/Director
f) Registration data sheet
g) Proof of Inward Remittance by non-resident aliens, and foreign corporations
หมายเหตุ : เอกสารทั้งหมดที่ดำเนินการในต่างประเทศจะต้องได้รับการรับรองความถูกต้องจากสถานทูตฟิลิปปินส์
8.1 สปาเพื่อสุขภาพ (Health Spa) กิจการลักษณะนี้ครอบคลุมถึงการจัดตั้งสถานประกอบการ สปาที่เป็นจุดหมายปลายทาง (Destination Spa) สปาในรีสอร์ทหรือโรงแรม (Resort/Hotel Spa) ศูนย์การบำบัดและการรักษาด้วยการแพทย์แผนดั้งเดิม ถ้าเป็นกิจการที่มีการลงทุนคิดเป็นเงินเปโซที่มีมูลค่าเทียบเท่ากับเงินอย่างน้อย 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กิจการดังกล่าวอาจได้รับสถานะเป็นผู้บุกเบิก (Pioneer status) แต่ยังคงได้รับสิ่งจูงใจเช่นเดียวกับกิจการที่ไม่มีสถานะเป็นผู้บุกเบิก (Non-pioneer status)
8.2 โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ (Tertiary Hospitals) กิจการลักษณะนี้ครอบคลุมสถานประกอบการที่มีขนาดขั้นต่ำ 50 ห้อง (เป็นห้องชุดและห้องส่วนตัวเท่านั้น) และต้องเป็นกิจการที่มีการลงทุนคิดเป็นเงินเปโซที่มีมูลค่าเทียบเท่ากับเงินอย่างน้อย 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
9.1 การพักภาษีเงินได้ (Income Tax Holiday)
9.2 การยกเว้นภาษีนำเข้าอุปกรณ์ต้นทุน (Capital Equipment)
9.3 การลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมสำหรับค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน (Labor Expense)
9.4 การอนุญาตให้จ้างงานบุคคลต่างชาติ
9.5 การอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ที่อยู่ในความควบคุมดูแลเพื่อการให้บริการโดยไม่มีข้อจำกัด
9.6 การให้ผ่านกระบวนการด้านศุลกากรได้ง่ายขึ้น
10.1 ให้วีซ่า Special non-immigrant multiple entry visa เป็นพิเศษให้กับบุคคลต่างชาติที่ทำงานในระดับผู้ช่วยผู้จัดการ ตำแหน่งทางเทคนิคหรือที่ปรึกษา โดยจะอนุญาตให้ได้ไม่เกิน 5 ปีนับจากที่บริษัทลงทะเบียนจ้างงาน สำหรับตำแหน่งประธาน สมุห์บัญชี และผู้จัดการทั่วไป อาจให้วีซ่าบุคคลต่างชาติเกินกว่า 5 ปีได้ ทั้งนี้ต้องเป็นกรณีที่บริษัทมีต่างชาติเป็นเจ้าของ 40%
10.2 ขยายสิทธิวีซ่าพิเศษให้กับคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่แต่งงานและอายุต่ำกว่า 21 ปีด้วย
10.3 ผู้ลงทุนอาจเลือกขอรับวีซ่าประเภท Special Investor’s Resident Visa (SIRV) ก็ได้
บุคคลต่างชาติที่ขออนุญาตเข้าประเทศฟิลิปปินส์เพื่อการรับจ้างทำงาน และผู้จ้างที่เป็นชาวฟิลิปปินส์หรือเป็นต่างชาติที่ประสงค์จะจ้างแรงงานต่างชาติให้ทำงานในฟิลิปปินส์ จะต้องได้รับใบอนุญาตจ้างงานจากกระทรวงแรงงานก่อน ใบอนุญาตจ้างงานนี้จะออกให้กับต่างชาติที่มีสถานะไม่เป็นผู้พักอยู่ประจำ หรือให้กับผู้จ้างที่ยื่นขอใบอนุญาต หลังจากที่กระทรวงแรงงานได้ลงความเห็นแล้วว่า ตำแหน่งงานดังกล่าวไม่สามารถหาบุคคลสัญชาติฟิลิปปินส์ที่มีคุณสมบัติและเต็มใจที่จะทำงานการบริการตามที่มีการยื่นขอใบอนุญาต ณ เวลาที่ได้ยื่นขอใบอนุญาตนั้น
สำหรับผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนในกิจการที่รัฐบาลส่งเสริมให้มีการลงทุน ใบอนุญาตจ้างงานดังกล่าวจะออกให้เมื่อได้รับการเสนอแนะจากหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องในการให้คำรับรองแก่กิจการที่ขึ้นทะเบียนไว้ดังกล่าว
12.1 หลังจากออกใบอนุญาตจ้างงานให้แล้ว บุคคลต่างชาติจะต้องไม่โอนย้ายไปทำงานอื่น หรือเปลี่ยนผู้จ้างใหม่ โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานก่อน
12.2 บุคคลต่างชาติซึ่งมีสถานะไม่เป็นผู้พักอยู่ประจำ ที่ยังคงทำงานโดยละเมิดกฎข้อห้ามและระเบียบปฏิบัติต่างๆตามที่กล่าวนี้ จะได้รับโทษตามที่กำหนดระวางโทษไว้ในมาตรา 289 และมาตรา 290 ของกฎหมายแรงงานของฟิลิปปินส์ (Labor Code) นอกจากนี้บุคคลต่างชาตินั้นจะต้องถูกเนรเทศออกนอกประเทศเมื่อพ้นโทษแล้วอีกด้วย
ผู้จ้างที่จ้างแรงงานต่างชาติซึ่งมีสถานะไม่เป็นผู้พักอยู่ประจำ ณ วันที่กฎหมายกำหนดให้มีผล จะต้องส่งบัญชีรายชื่อบุคคลต่างชาติดังกล่าว แจ้งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานภายใน 30 วัน นับจากวันที่จะให้มีผลตามกฎหมายดังกล่าว โดยต้องระบุชื่อ สัญชาติ ที่อยู่ในต่างประเทศและที่อยู่ในฟิลิปปินส์ ลักษณะของงานที่จ้าง และสถานภาพการพำนักอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบในการออกใบอนุญาตให้ทำงานดังกล่าวต่อไป
กระทรวงแรงงานและการจ้างงานของฟิลิปปินส์ ออกกฎห้ามการจ้างงานบุคคลสัญชาติไทยในการทำงานในกิจการสปา เนื่องจากฟิลิปปินส์มีแรงงานในกิจการสปาจำนวนมากเพียงพอ
15.1 มีการก่อตั้งหน่วยงาน Public-Private Partnership (PPP) Task Force ที่จะทำการตรวจสอบข้อมูลและจัดทำแผนการพัฒนาธุรกิจด้านการบริการและการให้ความรู้สึกดี (Wellness) การพักผ่อนวัยเกษียณ และการพักผ่อนหย่อนใจต่างๆ
15.2 มีการปรากฏขึ้นของคณะกรรมการด้านการแพทย์เฉพาะทางแขนงย่อยต่างๆ (Sub-specialty Medical Boards) ที่คอยทำหน้าที่ควบคุมกำกับการปฏิบัติของผู้ให้บริการทางด้านสุขภาพทั้งหลาย
15.3 มีการบรรจุการพัฒนาด้านการท่องเที่ยงเชิงการแพทย์ (Medical Tourism Development) ในแผนพัฒนาประเทศฟิลิปปินส์ระยะปานกลาง (Medium Term Philippine Development Plan — MTPDP)
15.4 มีการจัดระเบียบสถานที่ทางการแพทย์โดย Bureau of Health Facilities (BHFS) และ National Center for Health Facilities (NCHFD) ของกระทรวงสาธารณสุข (Department of Health)
15.5 มีการสร้างสาขาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านแขนงย่อยขึ้นใหม่ และ/หรือ มีการขยายวงผู้เกี่ยวข้องด้านการให้บริการภาคเอกชน ไปทางด้านที่เกี่ยวกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
15.6 มีการให้การรับรองคุณภาพและมาตรฐานศูนย์บริการสปาและโรงพยาบาล โดยกระทรวงการท่องเที่ยว ควบคู่กับการรับรองของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีความมั่นใจในคุณภาพของการให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทางผู้ให้บริการจัดให้
15.7 กระทรวงการท่องเที่ยวจะให้ความมั่นใจในด้านการจัดให้บริการแพ็คเกจการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และที่หมายปลายทางการท่องเที่ยว โดยความร่วมมือกับภาคเอกชน แก่ผู้ป่วยที่เลือกใช้บริการการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์
15.8 มีการจัดตั้งเขตการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์โดยหน่วยงาน Philippine Zone Authority
15.9 กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม และหน่วยงาน TESDA ดำเนินการด้านกฎระเบียบในการฝึกอบรมและการจัดทำหลักสูตรความสามารถเฉพาะด้าน (Competency Based Curriculum) โดยได้มีการประกาศใช้เป็นทางการแล้ว
บริษัทสปาไทยมีศักยภาพที่จะส่งออกผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสปามายังประเทศฟิลิปปินส์ได้ เนื่องจากผลิตภัณฑ์สปาไทยเป็นที่ยอมรับของทุกบริษัทสปาในฟิลิปปินส์ นอกจากนี้นักลงทุนไทยยังสามารถที่จะลงทุนในการทำกิจการสปาในประเทศฟิลิปปินส์ได้อีกด้วย
ปัจจุบันฟิลิปปินส์กำลังพัฒนาความเข้มแข็งด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่อำนวยความสะดวกทางด้านสุขภาพและด้านการให้ความรู้สึกดี นักธุรกิจไทยจึงอาจสามารถที่จะลงทุนในกิจการที่รัฐบาลฟิลิปปินส์ให้การส่งเสริมดังกล่าว ซึ่งมีโอกาสทางการตลาดดังต่อไปนี้
16.1 การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เป็นกิจการเกิดใหม่ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นกิจการที่ทำเงินรายได้เป็นจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในระยะเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า โดยลูกค้าจะไม่จำกัดเพียงแค่กลุ่มผู้ป่วยที่อยากมีอายุยืนยาวขึ้น แต่ยังมีกลุ่มคนปกติที่ต้องการดูดีขึ้น และอยากคงความหนุ่มสาวไว้นานๆ
16.2 การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในฟิลิปปินส์ตั้งเป้าที่จะทำรายได้ถึง 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2012 โดยคาดว่าจะมีผู้ป่วยชาวต่างชาติมาใช้บริการประมาณถึง 200,000 คนทุกปี
16.3 มีความต้องการบริการเชิงการแพทย์ที่ค่าบริการอยู่ในระดับที่สามารถจับจ่ายได้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในด้านการดูแลสุขภาพในต่างประเทศสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ แคนาดา สหราชอาณาจักร ยุโรปตะวันตก และญี่ปุ่น
16.4 มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนคนในวัยเกษียณ ที่มีความต้องการใช้บริการทางการแพทย์ที่พิเศษเฉพาะในต่างประเทศ ซึ่งสนใจที่จะซื้อบริการแพ็คเกจการท่องเที่ยวในสถานที่ที่มีทิวทัศน์สวยงามพร้อมกันไปด้วย
16.5 การเดินทางระหว่างประเทศทั้งทางอากาศและทางทะเลมีความสะดวกสบายมากขึ้น และค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับที่สามารถจับจ่ายได้
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา