ข้อมูลทางสถิติ
มูลค่าการส่งออกและอัตราการขยายตัวของผลไม้สดจากประเทศไทยไปยังภูมิภาคต่างๆ ช่วงปี 2009-2012(ม.ค.-พ.ค.)
มูลค่าการส่งออก : ล้านเหรียญสหรัฐฯ อัตราการขยายตัว(%) อันดับ ประเทศ 2009 2010 2011 2011 2012 2009 2010 2011 2011 2012 (ม.ค.-พ.ค.) (ม.ค.-พ.ค.) (ม.ค.-พ.ค.) (ม.ค.-พ.ค.) 1 จีน 123.37 140.77 205.39 75.58 144.99 29.40 14.10 45.91 8.70 91.83 2 ฮ่องกง 100.03 84.88 149.14 54.18 60.52 59.98 -15.15 75.71 21.45 11.71 3 เวียดนาม 13.97 14.76 29.17 8.71 39.79 380.95 5.66 97.61 -5.88 356.98 4 อินโดนีเซีย 50.06 50.71 92.46 23.61 28.09 41.04 1.28 82.35 114.48 18.96 5 ญี่ปุ่น 8.35 9.62 11.01 6.39 8.03 10.75 15.27 14.44 1.67 25.79 อื่นๆ 73.47 77.49 84.07 39.44 39.05 16.16 19.68 -1.81 57.76 -61.50 รวม 369.24 378.22 571.24 207.91 320.48 33.05 2.43 51.04 19.38 54.14 แหล่งที่มาข้อมูล : กระทรวงพาณิชย์ประเทศไทย ประเทศจีนถือเป็นตลาดด้านผลไม้สดจากประเทศไทยที่สำคัญ โดยจากข้อมูลทางสถิติของกระทรวงพาณิชย์ประเทศไทย พบว่า ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ ถึงปี ๒๕๕๕(๕ เดือนแรก) ประเทศจีนครองความเป็นอันดับหนึ่งด้านการนำเข้าผลไม้สดจากประเทศไทยตลอดมา ขณะที่รองลงมา ๔ อันดับได้แก่ ฮ่องกง เวียดนาม อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น โดยในช่วงตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕ ไทยมียอดการส่งออกผลไม้สดไปจีนคิดเป็นมูลค่า ๑๔๔.๙๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งขยายตัวจากช่วงเวลาเดียวกัน(๕ เดือนแรก)เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๔ ถึงร้อยละ ๙๑.๘๓ ส่วนยอดการส่งออกผลไม้สดมาจีนตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ ถึงปี ๒๕๕๔ คิดเป็นมูลค่า ๑๒๓.๓๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ, ๑๔๐.๗๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ, และ ๒๐๕.๓๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจะเห็นว่าผลไม้สดจากไทยที่ส่งออกไปยังจีนมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องทุกปี และยังขยายตัวในอัตราที่น่าพอใจได้แก่ ร้อยละ ๒๙.๔๐, ร้อยละ ๑๔.๑๐, และร้อยละ ๔๕.๙๑ ตามลำดับ ทั้งนี้การขยายตัวในปี ๒๕๕๓ ที่ชะลอลงเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาที่เป็นผลให้ผู้บริโภคสินค้าทั่วโลกขาดความเชื่อมั่นในการบริโภคสินค้าและบริการทั่วไปในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งก็จะเห็นว่าในตลาดภูมิภาคอื่นก็ประสบปัญหาการชะลอในการนำเข้าผลไม้สดจากไทยเช่นกัน หากเทียบเป็นสัดส่วนการนำเข้าผลไม้สดตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ ถึง ๒๕๕๕ แล้ว พบว่าจีนและฮ่องกงเป็นตลาดที่สำคัญของประเทศไทย โดยสัดส่วนการนำเข้าผลไม้สดของประเทศจีนเมื่อเทียบกับผู้นำเข้าทั้งหมดตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ ถึงปี ๒๕๕๔ คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๔๑, ๓๗.๒๒, และ ๓๕.๙๕ ตามลำดับ ขณะที่สัดส่วนดังกล่าวของเกาะฮ่องกคิดเป็นร้อยละ ๒๗.๐๙, ๒๒.๔๔, และ ๒๖.๑๑ ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าเมื่อรวมสัดส่วนการนำเข้าผลไม้สดจากประเทศจีนและเกาะฮ่องกงเข้าไว้ด้วยกันแล้ว ๒ ภูมิภาคนี้นำเข้าผลไม้สดจากไทยอยู่ที่ราวร้อยละ ๗๐ ของยอดการส่งออกทั้งหมด ซึ่งผู้บริโภคใน ๒ ภูมิภาคนี้ต่างถือได้ว่าเป็นชาวจีนซึ่งนิยมการบริโภคผลไม้สดจากเมืองร้อนและเป็นตลาดของผลไม้สดที่สำคัญของไทย ซึ่งจากยอดการส่งออกผลไม้สดของไทยไปยังภูมิภาคดังกล่าวที่ขยายตัวต่อเนื่องทุกปีด้วยอัตราการขยายตัวแบบตัวเลขสองหลัก(บางปีมีอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ ๕๐ ขึ้นไป) จึงเชื่อมั่นได้ถึงศักยภาพของผู้บริโภคในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศที่รายได้ของประชากรและการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางรวมถึงเศรษฐีใหม่ขยายตัวอย่างรวดเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ดังนั้นประเทศไทยควรรักษาฐานการตลาดด้านผลไม้สดในกลุ่มผู้บริโภคจีนให้เหนียวแน่น รวมถึงวางแผนการตลาดเพื่อส่งเสริมการบริโภคผลไม้ไทยในประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดนำเข้าที่ใหญ่ที่สุดของไทยด้วย พัฒนาการของตลาดผลไม้ไทยในจีน ความนิยมในผลไม้ไทยในตลาดและผู้บริโภคชาวจีนเริ่มมากขึ้นเรื่อยๆทุกปี เห็นได้จากปริมาณผลไม้สดที่นำเข้ามาเริ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ เป็นต้นมา โดยช่วงก่อนปี ๒๕๕๑ นั้นผลไม้ไทยในจีนส่วนใหญ่พ่อค้าคนกลางหรือผู้กระจายสินค้าไม่กี่รายในจีนจะรับสินค้ามาจากตลาดขายส่งผลไม้ในมณฑลกวางตุ้งเป็นหลัก ด้วยสภาพการณ์ที่ผูกขาดของตลาดนี้เอง ผลไม้ไทยจึงมีต้นทุนเมื่อถึงมือผู้บริโภคที่ค่อนข้างสูง การบริโภคผลไม้สดจากไทยขณะนั้นจึงกระจุกตัวในกลุ่มผู้บริโภควงแคบในเมืองใหญ่ที่กำลังซื้อเพียงพอหรือตามมณฑลตอนใต้ใกล้เคียงมณฑลกวางตุ้ง จนหลังปี ๒๕๕๒ จากการที่หน่วยงานไทยในจีนประชาสัมพันธ์ถึงคุณภาพ เอกลักษณ์ของผลไม้ไทยในงานแสดงสินค้าหรือช่องทางการตลาดต่างๆอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการจีนเห็นโอกาสในผลไม้ไทยที่จะเติบโตในจีน รวมถึงผู้บริโภคชาวจีนก็คุ้นเคยกับผลไม้สดจากไทยมากขึ้น บริษัทจีนที่นำเข้าผลไม้สดจากไทยเข้ามาจำหน่ายตามพื้นที่ในแต่ละภูมิภาคจึงเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผลไม้ไทยมีราคาที่ถูกลง ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลไม้ไทยด้วยราคาที่ไม่แพงจนเกินไป ทำให้ชาวจีนเริ่มหันมาให้ความสนใจบริโภคผลไม้ไทยตามการบอกต่อของคนรู้จัก หรือกิจกรรมส่งสริมการขายตามช่องทางการตลาดต่างๆมากขึ้น ผลไม้สดจากไทยไม่ว่า ทุเรียน มังคุด ลำไย จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคชาวจีนเรื่อยมา ในปี ๒๕๕๕ ที่เขตการค้าเสรีจีน - อาเซียนเปิดอย่างเต็มที่นั้น ผู้นำเข้าผลไม้ไทยในจีนให้ความเห็นว่าเขตการค้าเสรีดังกล่าวทำให้การนำเข้าและส่งออกผลไม้ไทยเป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้น แม้ว่าภาษีนำเข้าผลไม้ไทยที่ลดลงเพียงเล็กน้อยจะช่วยลดต้นทุนในการประกอบการได้ไม่มาก แต่ก็มีส่วนช่วยให้การดำเนินการนำเข้าผลไม้ไทยเป็นไปได้อย่างราบรื่นทางหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความตื่นตัวของผู้ส่งออกผลไม้ไทยที่มีมากขึ้นต่อเขตการค้าเสรีดังกล่าว ทำให้ตั้งแต่ต้นปี ๒๕๕๕ ที่ผ่านมามีผู้ส่งออกผลไม้ไทยสนใจติอต่อเข้ามายังบริษัทนำเข้าผลไม้ในจีนหลายรายเอง ผู้นำเข้าผลไม้สดในจีนจึงประหยัดต้นทุนและเวลาในการติดต่อฝ่ายผู้ส่งออก ซึ่งก็ถือเป็นการช่วยให้ผู้ซื้อและผู้ขายผลไม้สดจากไทยๆด้มาเจอกันอีกทางหนึ่งนอกเหนือจากงานแสดงสินค้าและการจับคู่การค้าของภาครัฐ โอกาสที่ยังเปิดกว้างสำหรับผลไม้ไทยในจีน 1.ชื่อเสียงของผลไม้ไทยในผ้บริโภคชาวจีน หากกล่าวถึงผลไม้เขตร้อน(Tropical Fruit)แล้วผู้บริโภคชาวจีนจะนึกถึงแหล่งผลิตจากในประเทศจีนอย่างเกาะไหหลำหรือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสำคัญ(ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์) แต่ทั้งนี้ผลไม้จากไทยหากเทียบกับผลไม้จากแหล่งผลิตอื่นยังคงมีความได้เปรียบในด้านของความเชื่อมั่นที่มีในกลุ่มผู้บริโภค ทั้งในเรื่องของคุณภาพและรสชาติ ซึ่งก็ยังคงครองใจผู้บริโภคชาวจีนอยู่แม้ว่าราคาอาจจะค่อนข้างสูงโดยเปรียบเทียบกับผลไม้จากแหล่งอื่นแต่ผู้บริโภคก็ยังเลือกบริโภคผลไม้ไทยอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าช่วงเทศกาลหรือโอกาสพิเศษต่างๆของชาวจีน ก็นิยมเลือกซื้อผลไม้จากไทยมารับประทานร่วมกับครอบครัว ผู้อาวุโส หรือกลุ่มเพื่อน สำหรับผลไม้ไทยที่ครองใจผู้บริโภคชาวจีนอย่างมากจนหากกล่าวถึงผลไม้ชนิดนั้นๆแล้วจะต้องนึกถึงประเทศไทย ได้แก่ ทุเรียน ลำไย และมังคุด 2.กระแสรักสุขภาพที่กำลังได้รับความสนใจในจีน เนื่องจากกระแสของการส่งเสริมสุขภาพรวมถึงอาหารปลอดสารปรุงแต่งกำลังได้รับความสนใจอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคชาวจีน ดังนั้นไทยจึงควรอาศัยโอกาสที่ประเทศมีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวและอาหารมามาประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงคุณค่าและความปลอดภัยของผลไม้ไทยที่มีต่อร่างกาย โดยสามารถประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางการตลาดต่างๆในจีน ซึ่งนอกจากจะช่วยขยายตลาดของผลไม้ไทยในส่วนที่มีอยู่ก่อนได้เพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังอาจช่วยขยายตลาดของผลไม้ไทยที่ยังไม่ติดตลาดในจีนอื่นๆได้อีก เช่น แก้วมังกร กล้วยไข่ มะเฟือง ฝรั่ง เสาวรส มะขาม รวมถึงผลไม้อื่นๆที่มีสรรพคุณเด่นในด้านการส่งเสริมสุขภาพและความงาม ทั้งนี้เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ชาวจีนได้บริโภคผลไม้รวมถึงทำให้ผลไม้ไทยเป็นที่รู้จักในจีนมากขึ้น 3.การส่งเสริมสินค้าผลไม้แปรรูปเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง มีข้อสังเกตว่าผู้ที่นิยมซื้อหรือบริโภคผลไม้ไทยส่วนใหญ่จะเป็นวัยผู้ใหญ่ ดังนั้นการแปรรูปผลไม้ให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาและปรับมุมมองของผู้บริโภคกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ว่าผลไม้เขตร้อนนั้นรับประทานยากและอาจมีกลิ่นรุนแรงมีกลิ่นรุนแรง โดยสามารถส่งเสริมการส่งออกผลไม้ไทยที่แปรรูปแล้วมายังตลาดจีนได้ เช่น ผลไม้อบแห้ง ผลไม้กระป๋อง ผลไม้ทอดกรอบ นอกจากจะเป็นการเพิ่มความหลากหลายของทางเลือกในการบริโภคผลไม้ไทยในกลุ่มผู้บริโภคชาวจีนแล้ว ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าและช่วยบรรเทาปัญหาผลไม้ล้นตลาดในประเทศไทยได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งหากพิจารณาจากรูปแบบการบริโภคของชาวจีนจะพบว่ามีความคุ้นเคยและชื่นชอบการบริโภคผลไม้แปรรูปเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นผลไม้อบแห้งหรือผลไม้ทอดกรอบ ดังนั้นจึงไม่ยากที่ผลไม้ไทยที่ขึ้นชื่อเรื่องคุณภาพและรสชาติสำหรับชาวจีนจะตีตลาดผลไม้แปรรูปดังกล่าว ที่มา : 1. www.thaibizchina.com 2. http://www.ditp.go.th 3. www.moc.go.th สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้