รายงานสภาวะสินค้ากล้วยไม้ตัดดอก (Cut Orchids)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 12, 2013 14:40 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1.คำนำ

กล้วยไม้ตัดดอกในสหรัฐฯ ถือเป็น Exotic Flowers ราคาสูง นิยมนำมาใช้จัดช่อดอกไม้/แจกันดอกไม้ ตกแต่งภายในและภายนอกสถานที่ ประดับเค้กแต่งงาน ประดับบนโต๊ะอาหาร และประดับจานอาหาร กล้วยไม้ตัดดอกที่ใช้ในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ไทย เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ มาเลเซียและเวียดนาม และสามารถหาซื้อได้จากฟาร์มกล้วยไม้ในสหรัฐฯ โดยรัฐที่ปลูกกล้วยไม้ในสหรัฐฯ มากที่สุด คือ แคลิฟอร์เนีย รองลงมา คือ ฟลอริดา และฮาวาย

2.ตลาดสหรัฐฯ

2.1 ตลาดในประเทศ

ช่วงที่มีการซื้อขายคึกคัก (Peak Season) คือ ช่วงวันแม่ของสหรัฐฯ (อาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม) วันวาเลนไทน์ วันคริสต์มาส งานจัดเลี้ยงต่างๆ และงานแต่งงาน ช่วงเทศกาลจัดงานแต่งงาน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง พฤศจิกายน (โดยเฉพาะเดือนมิถุนายน สิงหาคม กันยายน และตุลาคม เป็นเดือนที่นิยมจัดงานแต่งงานมากที่สุด)

พันธุ์กล้วยไม้ที่ได้รับความนิยมในตลาดสหรัฐฯ ได้แก่

  • Dendrobium - Cymbidium - Vanda -Oncidium - Cattaleya
  • Arachnis & Arantheras - Stephanotis - Phalaenopsis - Mokaras & Arandas

2.2 ตลาดนำเข้า

มูลค่าการนำเข้ากล้วยไม้ตัดดอกในปี 2554 รวมทั้งสิ้น 13.55 ล้านเหรียญสหรัฐ (406.50 ล้านบาท) โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ พันธุ์ Dendrobium (HS code: 0603130050) และพันธุ์ที่ไม่ใช่ Dendrobium (HS code: 0603130060)

มูลค่าการนำเข้าในช่วงเดือนม.ค. - พ.ย. 2555 เป็นมูลค่า 14.61 ล้านเหรียญสหรัฐ (438.30 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.52 โดยนำเข้าจากไทยมากที่สุด มูลค่า 8.46 ล้านเหรียญสหรัฐ (253.80 ล้านบาท) หรือ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 57.91 ของการนำเข้ากล้วยไม้ตัดดอกของสหรัฐฯ โดยแบ่ง

  • เป็นพันธุ์ Dendrobium มูลค่า 8.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (240.30 ล้านบาท) โดยนำเข้าจากไทยมากที่สุด มูลค่า 7.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (230.70 ล้านบาท) คิดเป็น 95.90% ของการนำเข้าจากทั่วโลก รองลงมา ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ (3.09%) ปานามา (0.50%) และสิงคโปร์ (0.26%)
  • พันธุ์ที่ไม่ใช่ Dendrobium มูลค่า 6.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (198 ล้านบาท) โดยนำเข้าจาก เนเธอร์แลนด์มากที่สุด มูลค่า 4.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (122.10 ล้านบาท) คิดเป็น 61.62% ของการนำเข้าจากทั่วโลก รองลงมา ได้แก่ นิวซีแลนด์ (12.15%) ไทย (11.78%) และมาเลเซีย (9.09%)
  • 6 ประเทศแรกที่สหรัฐฯ นำเข้ากล้วยไม้ตัดดอกมากที่สุด ได้แก่ ไทย (57.91 %) เนเธอร์แลนด์ (29.52 %) นิวซีแลนด์ (5.50 %) มาเลเซีย (4.18 %) เวียดนาม (0.95 %) และ ไต้หวัน (0.78 %)

ตารางที่ 1: มูลค่าการนำเข้ากล้วยไม้ตัดดอกในสหรัฐฯ

กล้วยไม้ตัดดอก (Fresh Cut Orchids; HS 06.03.1300)

มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ)

                           ม.ค. - ธ.ค.          ม.ค. - พ.ย.     % ส่วนแบ่งตลาด    % อัตราการเปลี่ยนแปลง
ลำดับที่        ประเทศ           2554         2554        2555         2555           ม.ค.-พ.ย.55/54
         ทั่วโลก               13.55        12.54       14.61          100                16.52
  1      ไทย                  6.63         6.21        8.46        57.91                36.38
  2      เนเธอร์แลนด์           4.86         4.35        4.31        29.52                -0.76
  3      นิวซีแลนด์               0.9          0.9        0.80         5.50               -10.28
  4      มาเลเซีย              0.69         0.65        0.61         4.18                -5.36
  5      เวียดนาม              0.19         0.17        0.14         0.95               -15.76
  6      ไต้หวัน                0.14         0.14        0.11         0.78               -15.65
         อื่นๆ                  0.14         0.12        0.18         1.23                50.00
Source of Data: U.S. Dept. of Commerce, Bureau of Census (World Trade Atlas)

ตารางที่ 2:มูลค่าการนำเข้ากล้วยไม้ตัดดอก พันธุ์ Dendrobium ในสหรัฐฯ

                              กล้วยไม้ตัดดอกพันธุ์ Dendrobium ( HS 0603130050)
                                         มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ)
                           ม.ค. - ธ.ค.          ม.ค. - พ.ย.     % ส่วนแบ่งตลาด    % อัตราการเปลี่ยนแปลง
ลำดับที่        ประเทศ           2554         2554        2555         2555           ม.ค.-พ.ย.55/54
          ทั่วโลก              6.241        5.821       8.013       100.00                37.65
  1       ไทย                5.786        5.396       7.685        95.90                 42.4
  2       เนเธอร์แลนด์         0.422        0.392       0.247         3.09               -36.95
  3       ปานามา             0.004        0.004       0.040         0.50               878.38
  4       สิงคโปร์             0.011        0.011       0.021         0.26                96.84
          อื่นๆ                0.018        0.018        0.02         0.25                10.00
Source of Data: U.S. Dept. of Commerce, Bureau of Census (World Trade Atlas)

ตารางที่ 3: มูลค่าการนำเข้ากล้วยไม้ตัดดอกพันธุ์ที่ไม่ใช่ Dendrobium  ในสหรัฐฯ

                              กล้วยไม้ตัดดอกพันธุ์ที่ไม่ใช่ Dendrobium ( HS 0603130060)
                                              มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ)
                           ม.ค. - ธ.ค.          ม.ค. - พ.ย.     % ส่วนแบ่งตลาด    % อัตราการเปลี่ยนแปลง
ลำดับที่        ประเทศ           2554         2554        2555         2555           ม.ค.-พ.ย.55/54
          ทั่วโลก              7.305        6.719       6.599       100.00               -1.78
  1       เนเธอร์แลนด์         4.436        3.954       4.067        61.62                2.83
  2       นิวซีแลนด์            0.891        0.891       0.802        12.15              -10.07
  3       ไทย                0.845        0.808       0.777        11.78               -3.83
  4       มาเลเซีย            0.691        0.645       0.600         9.09               -7.07
          อื่นๆ                0.442        0.421       0.353         5.35              -19.26
Source of Data: U.S. Dept. of Commerce, Bureau of Census (World Trade Atlas)

          3.คู่แข่ง
          คู่แข่งทางการค้าของไทย คือ เนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีชื่อเสียงด้านอุตสาหกรรมการปลูกและส่งออกดอกไม้สด เนื่องจาก  มีคุณภาพ สีสันสวยงาม คงทน และหน่วยงาน USDA ของสหรัฐฯ จัดให้กล้วยไม้ตัดดอกจากเนเธอร์แลนด์อยู่ในกลุ่มที่มีความ เสี่ยงต่ำ (Low) ในการพบแมลงศัตรูพืชปะปนในดอกไม้ สำหรับกล้วยไม้ตัดดอกจากไทย สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ จัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง (High) ในการพบแมลงศัตรูพืชปะปนในดอกไม้

          4.ช่องทางการจัดจำหน่าย
          ผู้นำเข้ากล้วยไม้ตัดดอกในสหรัฐฯ จะส่งจำหน่ายให้ผู้ค้าส่ง และผู้ค้าส่งจะส่งจำหน่ายให้แก่ผู้ค้าปลีก เช่น ร้านดอกไม้ (Florist) โรงแรม นักออกแบบการจัดดอกไม้ นักออกแบบงานแต่งงานและสถานจัดเลี้ยงต่างๆ ผู้ให้บริการจัด/ส่งช่อดอกไม้ ร้านอาหาร และร้านรับทำเค้กแต่งงาน เป็นต้น

          5. กฎระเบียบการนำเข้า
          5.1 USDA
          การนำเข้าสินค้าพืชและผลิตภัณฑ์พืชเข้าสหรัฐฯ อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงาน Animal and Plant Health Inspection Service (APHIS ), United States Department of Agriculture (USDA ) โดย APHIS เป็นผู้จัดทำโปรแกรมการควบคุมและกักกันพืช (Plant Protection and Quarantine หรือ PPQ Program) โปรแกรมการตรวจสอบล่วงหน้า (Preclearance Inspection) และการกำจัดแมลง (Treatment) ณ จุดนำเข้า เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคหรือแมลงศัตรูพืชจากต่างประเทศ และเนื่องจากกล้วยไม้ถือว่าเป็นพืชพันธุ์สงวน การนำเข้ากล้วยไม้จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบของ The Convention on International Trade in Endangered Species (CITES ) ซึ่งเป็นอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์

          ขั้นตอนการนำเข้ากล้วยไม้ตัดดอก
          1.กล้วยไม้ตัดดอกที่นำเข้าสหรัฐฯ จะต้องเป็นชนิดที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าได้จาก CITES
          2.ผู้นำเข้าต้องขอใบอนุญาตการขนส่งพืชและผลิตภัณฑ์เข้าสหรัฐฯ (หรือ PPQ Permits) โดยกรอกแบบฟอร์ม PPQ 587 และขอใบอนุญาตนำเข้าเพิ่มเติมกรณีนำเข้าพืชพันธุ์สงวน (PPQ Form 621) โดยเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 70 เหรียญสหรัฐฯ มีกำหนดอายุ 2 ปีนับจากวันที่ออกใบอนุญาต ผู้นำเข้าสามารถลงทะเบียนและกรอกข้อมูลออนไลน์ผ่าน "e-permits " ของ USDA หรือส่งทางไปรษณีย์
          3.จัดเตรียมเอกสารและข้อมูลต่างๆ เช่น Air Way Bill, Packing List, Invoice, Phytosanitary Certificate , Notice of Arrival, Preclearance Form (PPQ 203) ลักษณะการใช้ของสินค้า (เช่น ดอกไม้สด) จุดปลายทางของสินค้า(Destination) แหล่งปลูก/กำเนิดสินค้า ชื่อวิทยาศาสตร์ของสินค้า วัตถุประสงค์ในการนำเข้า (เชิงพาณิชย์หรือไม่ใช่พาณิชย์)
          4.การนำเข้ากล้วยไม้ตัดดอกทุก Shipment ต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้ตรวจ (Inspector) ณ จุดนำเข้า ถ้าผู้ตรวจพบแมลงหรือเชื้อโรคที่ปะปนมากับดอกไม้ ผู้ตรวจจะส่ง "Emergency Action Notification  (PPQ Form 523)" ให้แก่ผู้นำเข้า เพื่อทำความสะอาด กำจัดแมลงและเชื้อโรค ทำลายสินค้า หรือส่งสินค้ากลับคืน โดยผู้นำเข้าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับการกำจัดแมลง/ทำลายสินค้า หรือส่งกลับ
          5.ถ้าผู้ตรวจพบแมลง ชนิด "Agromyzides" จะทำการรมควัน (Fumigation) ด้วยสาร Methyl bromide

ท่าอากาศยานที่มีการนำเข้า/ตรวจสอบกล้วยไม้ตัดดอกเข้าสหรัฐฯ

       เมืองท่า                     โทร.
Brownsville, Texas            956-548-2543
El Paso, Texas                915-872-4720/ 22
Honolulu, Hawaii              808-861-8492
Houston, Texas                281-443-2063
Linden, New Jersey            908-862-2012
Los Angeles, California       310-215-2120
Miami, Florida                305-526-2825
New Orleans, Louisiana        504-589-6731
New York, New York            718-553-1732
Nogales, Arizona              520-287-4783/ 84
Orlando, Florida              407-648-6856
San Diego, California         619-662-7333
San Francisco, California     650-876-9093
San Juan, Puerto Rico         787-253-4699
Seattle, Washington           206-764-6547

          ด่านนำเข้ากล้วยไม้ตัดดอกมากที่สุด ได้แก่ ด่านลอสแอนเจลีส ฮอนโนลูลู ไมอามี นิวยอร์ก และซานฟรานซิสโก

          5.2 ภาษีการนำเข้า / สิทธิ GSP
          กล้วยไม้ตัดดอกของไทยจัดอยู่ในรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ไม่เสียภาษีนำเข้า (โดยทั่วไป ภาษีนำเข้ากล้วยไม้ตัดดอก ร้อยละ 6.4)

          6. SWOT สถานะการค้ากล้วยไม้สดไทยในสหรัฐฯ

          จุดแข็ง (Strength)
          1. ไทยสามารถผลิตดอกกล้วยไม้ได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากมีสภาพภูมิอากาศและความชื้นเหมาะสม
          2. กล้วยไม้ไทยมีคุณภาพ ราคาเหมาะสม เนื่องจากมีความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิต และการบรรจุ (Packing) สินค้า
          3. ไทยมีกล้วยไม้หลากหลายพันธุ์ที่มีสีสันสวยงาม คงทน

          จุดอ่อน (Weakness)
          1. ผู้ส่งออกไทยขาดความสม่ำเสมอในการควบคุมคุณภาพกล้วยไม้ โดยปัญหาที่พบบ่อยครั้ง ได้แก่ แมลงศัตรูพืชที่ปะปนมากับดอกไม้ และการควบคุมความชื้นในขณะบรรจุสินค้าในกล่อง ซึ่งส่งผลให้ดอกไม้เหี่ยว เก็บไว้ไม่นาน และเน่าเสียง่าย
          2. ผู้ส่งออกไทยบางรายขึ้นราคาสินค้าเกินควรในช่วงเทศกาลที่ต้องการนำเข้าสินค้ามาก ทำให้ผู้นำเข้าหันไปซื้อสินค้าจากประเทศอื่นแทน หรืองดการนำเข้าสินค้านี้ชั่วคราว ส่งผลให้เสียโอกาสทางการค้าในอนาคต

          โอกาสทางการค้า (Opportunities)
          1. ไทยได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) ทำให้ราคากล้วยไม้ไทยสามารถแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ ได้
          2. สหรัฐฯ ไม่สามารถปลูกกล้วยไม้บางพันธุ์ได้ จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ (รวมทั้งจากไทย)
          3. สหรัฐฯ มีต้นทุนค่าแรงงานในการผลิตและบรรจุกล้วยไม้ ตัดดอกสูง จึงทำให้การนำเข้ามีราคาถูกกว่า

          อุปสรรคทางการค้า (Threat)
          การเข้มงวดในการควบคุมแมลงศัตรู/เชื้อโรคที่ปนในดอกกล้วยไม้จากหน่วยงาน USDA และ APHIS โดย USDA ระบุกล้วยไม้ไทยอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงที่พบแมลงศัตรูพืช

          7. ปัญหาที่ผู้นำเข้าประสบในการนำเข้ากล้วยไม้ตัดดอกจากไทย
          7.1 คุณภาพสินค้าไม่สม่ำเสมอ
          7.2 ปริมาณ (Supply) กล้วยไม้ไทยไม่สม่ำเสมอ ส่งผลให้ราคาขึ้นลงแตกต่างกันมาก เนื่องจากแต่ละฟาร์มกล้วยไม้มีวงจรการปลูกและตัดกล้วยไม้ รวมทั้งพักฟื้นต้นกล้วยไม้ในเวลาใกล้เคียงกัน ส่งผลให้สินค้าบางครั้งล้นตลาด (ราคาตก) และบางครั้งขาดตลาด (ราคาแพง)
          7.3 ผู้ส่งออกบางรายขึ้นราคาเกินควรในช่วงเทศกาล ซึ่งผู้นำเข้าต้องการสินค้าเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้นำเข้าหันไปสั่งซื้อสินค้าจากประเทศอื่นแทน หรืองดการนำเข้าพันธุ์กล้วยไม้นี้ชั่วคราว
          7.4 การรมควันกล้วยไม้ตัดดอกจากไทยยังพบปัญหาเรื่องการกำจัดแมลงศัตรูพืชที่ปะปนมากับกล้วยไม้ ซึ่งหากไม่ผ่านมาตรฐานของ APHIS (Animal and Plant Health Inspection Service) และมีการตรวจพบ จะสั่งให้ทำลายทิ้งทันที ซึ่งมีค่าใช้จ่ายครั้งละประมาณ 1,000 เหรียญสหรัฐ
          8. ปัญหาที่ผู้ส่งออกไทยประสบในการส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกเข้าสหรัฐฯ
          เงื่อนไขการชำระเงินในปัจจุบัน เป็นแบบ Credit Term ซึ่งผู้ส่งออกไทยบางรายเจอปัญหาการชำระเงินล่าช้า หรือหลีกเลี่ยงการชำระเงินของผู้นำเข้าดอกกล้วยไม้สด โดยอ้างว่าสินค้าเสียหายแต่ไม่ส่งหลักฐานแสดงสินค้าที่เสียหายให้แก่ผู้ส่งออกไทย ทำให้การติดตามการชำระหนี้ของผู้ส่งออกไทยเป็นไปอย่างยากลำบาก
          9.แนวทางการส่งเสริมการส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกไทย
          9.1 กรมฯ ควรแนะนำผู้ส่งออกไทยควรพิจารณาทำการค้ากับผู้นำเข้าดอกไม้สดที่เชื่อถือได้เท่านั้น
          9.2 สคร. ช่วยเหลือการจัดทำ Business Matching ให้ผู้ประกอบการไทยกับผู้นำเข้าในสหรัฐฯ
          9.3 เข้าร่วมงานแสดงสินค้าดอกไม้ (Floral Expo) ในนามของสมาคมฯ หรือหน่วยงานราชการไทย ดังนี้
              - งาน 68 th  Santa Barbara International Orchid Show  วันที่ 8-10 มีนาคม 2556 เมืองซานตา บาร์บารา รัฐแคลิฟอร์เนีย  Website: http://www.sborchidshow.com
              - งาน World Floral Expo 2013  วันที่ 13-15 มีนาคม 2556 เมืองนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก Website: http://www.hppexhibitions.com/floriculture/2013/nyc
              - งาน International Floriculture Expo 2013  วันที่ 19-21 มิถุนายน 2556 เมืองไมอามี รัฐฟลอริดา Website: http://www.floriexpo.com

          10. รายชื่อผู้นำเข้าในสหรัฐฯ ในเขตดูแลของสคร.ไมอามี
          10.1  N&N Orchids Inc.
                Contact: Mr. Verapong Halelamien
                2200 NW 102 Ave. Unit #1, Miami, FL 33172 USA
                Tel: (+1) 305-406-3766  Fax: (+1) 305-718-8488
                Email: admin@nnorchid.com ; villy@nnorchid.com  Website: www.nnorchid.com
          10.2  Bangkok Orchids Inc.
                Contact: Mr. Steve Ninchavee
                7333 NW 56 Street, Miami, FL 33166 USA
                Tel: (+1) 305-887-3000 Email: bangkokorchids@bellsouth.net
          10.3  National Orchids, Inc.
                6911 NW 46 Street, Miami, FL 33166 USA
                Tel: (+1) 305-436-5678 Fax: (+1) 305-436-7989
                Email: dendro@aol.com Website: www.orchidsfromthailand.com
          10.4  Mayesh Wholesale Florist, Inc. - Miami
                1406 NW 82  nd Avenue, Miami, FL 33126 USA
                Tel: (+1) 305-468-9847   Fax: (+1) 305-468-9453 Website: www.mayesh.com
          10.5  Bangjong Orchids (เน้นนำเข้าต้นกล้วยไม้)
                Mr. Banjong Mianmanus
                17720 SW 218th St., Miami, FL 33170 USA
                Tel: 305-247-8854  Fax: 786-243-1899  Email: bangjong_orchids@hotmail.com

          11. หน่วยงานราชการของไทยในสหรัฐฯ (ด้านการเกษตร)
          ดร.อดิศร พร้อมเทพ
          อัครราชทูต (ฝ่ายการเกษตร)
          สำนักที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
          Office of Agricultural Affairs
          Royal Thai Embassy, Washington D.C.
          1024 Wisconsin Ave., Washington D.C. 20007 USA
          Tel: (+1) 202-338-1543  Fax: (+1) 202-338-1549
          Email: moacdc@thaiembdc.org  Website: http://moacdc.thaiembdc.org/htmls/aboutus.html

          แหล่งข้อมูล:
          1.About flowers: www.aboutflowers.com
          2.Orchid Research Program: http://www.hrt.msu.edu/faculty/Runkle/Orchid/Orchid_Research.htm
          3.USDA Cut Flowers and Greenery Manual : http://www.aphis.usda.gov/import_export/plants/manuals/ports/downloads/cut_flower_imports.pdf
          4.CITES: http://www.aphis.usda.gov/import_export/plants/plant_imports/cites_endangered_plants.shtml ;       http://www.cites.org/eng/app/appendices.php
          5.USDA designated ports: http://www.aphis.usda.gov/import_export/plants/plant_imports/downloads/list.pdf
          6.Importing orchids: http://www.chaoticexotics.biz/importing.pdf


          สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เมืองไมอามี

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ