1. ภาพรวมเศรษฐกิจ/ตัวชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญ
ถึงแม้ว่าสถานการณ์และภาวะทางด้านเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปมีทีท่าไม่ค่อยแจ่มใสนัก รวมถึงมีแนวโน้มที่ถดถอยลง แต่ประเทศเยอรมนียังคงเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและฟื้นตัวจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้รวดเร็วและดีที่สุดของสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนียังคงมีอัตราการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากรัฐบาลเยอรมันดำเนินนโยบายที่สำคัญ คือ การลดอัตราการว่างงาน + การสร้างงานในกลุ่มเยาวชนหนุ่มสาว รวมทั้งการผลักดันการส่งออกสินค้าหลัก โดยเฉพาะสินค้ายานยนต์และเครื่องจักรกล ทั้งนี้ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ของเยอรมนียังคงเป็นภาคอุตสหากรรมที่นำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับหนึ่ง ช่วยทำให้ภาคอุตสาหกรรมด้านอื่นๆ ของเยอรมนีฟื้นตัวและเติบโตอย่างช้าๆ
ในไตรมาสแรก ปี 2556 ผลผลิตจากภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือนกุมภาพันธ์ และร้อยละ 1.2 ในเดือนมีนาคมปี 2556 ทำให้ผลผลิตในไตรมาสแรกของปี 2556 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 (เทียบจากผลผลิตในไตรมาสที่ 4 ปี 2555) ปริมาณกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง (Construction Industry) และอุตสาหกรรมการผลิตจากวัตถุดิบ (Manufacturing Industry) แสดงให้เห็นว่าประเทศเยอรมนีจะสามารถฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ภายในปี 2556 รวมถึงอัตราการว่างงานของเยอรมนียังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง จากสถิติโดยสหภาพแรงงาน ( Federal Labor Office) พบว่าประเทศเยอรมนีมีอัตราว่างงานในเดือนพฤษภาคม ปี 2556 เท่ากับร้อยละ 6.8 ( 2.937 ล้านคน) ของประชากรในวัยทำงาน โดยลดลงจากอัตราว่างงานในเดือนเมษายน ปี 2556 จำนวน 83,360 คน (อัตราว่างงานในเดือนเมษายนปี 2556 เท่ากับร้อยละ 7.1 ของประชากร) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่ดีของตลาดแรงงานเยอรมันปี 2556 นาย Carsten Brzeski นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากบริษัท ING ( International-Netherlands Group) ได้ให้ความเห็นว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศเยอรมนีเป็นไปอย่างช้าๆ ไม่รวดเร็วแต่มีเสถียรภาพ
2. สถานการณ์การค้า การนำเข้าและการส่งออกของประเทศเยอรมนี
จากสถิติการค้าของประเทศเยอรมนี ในช่วงสามปีที่ผ่านมา (2553-2555) ประเทศเยอรมนีส่งออกสินค้ามีมูลค่าเฉลี่ยปีละประมาณ 1,380,686.00 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2555 ที่ผ่านมาประเทศเยอรมนีส่งออกสินค้ารวมมูลค่าทั้งสิ้น 1,408,462.00 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจำนวน 65,983.00 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 4.48 สำหรับปริมาณการผลิตในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศเยอรมนีมีปริมาณการผลิตเพิ่มสูงขึ้นมามาโดยตลอด ในปัจจุบัน การส่งออกสินค้าของประเทศเยอรมนียังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ามูลค่าการส่งออกจะไม่ดีเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับปี 2555 (การส่งออกสินค้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี
2555 ลดลงร้อยละ 1.5 และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศตั้งแต่เดือนมกราคม-เดือนมีนาคม ปี 2556 โตขึ้นเพียงร้อยละ 0.1) แต่ผู้ส่งออกชาวเยอรมันยังคงมีทัศคติที่ดีต่อการส่งออกสินค้าของเยอรมนีในอนาคต และจากสถิติของสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเยอรมนี (DIHK) พบว่า ร้อยละ 30 ของผู้ส่งออก (หรือประมาณ 7500 บริษัท) เชื่อมั่นว่าการส่งออกของประเทศเยอรมนีจะกลับมาดีขึ้นอีกครั้งภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2556
2.1 การส่งออก
นักวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ต่างคาดคะเนว่า ในอนาคตประเทศเยอรมนีจะเป็นประเทศผู้ส่งออกที่สำคัญอันดับที่ 2 ของโลก รองจากประเทศจีน โดยในอดีตที่ผ่านมาประเทศสหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศผู้แข่งที่สำคัญของเยอรมนี แต่ปัจจุบันสินค้าของประเทศจีนได้ยึดส่วนแบ่งการตลาดสินค้าในหลายๆประเทศทั่วโลก ทำให้ตลาดส่งออกของสหรัฐอเมริกาลดลงจากร้อยละ 16 เป็นร้อยละ 10 และตลาดส่งออกของจีนเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 11 ซึ่งมูลค่าการส่งออกของจีนได้แซงหน้าประเทศสหรัฐอเมริกาไปแล้ว และหากเปรียบเทียบประเทศเยอรมนีกับประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั่วโลก เช่น ประเทศฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เป็นต้นประเทศเยอรมนีจัดเป็นประเทศผู้นำและจัดอยู่ในระดับเกณฑ์ที่ดีเยี่ยม สามารถแข่งขันกับประเทศอุตสาหกรรมเพื่อนบ้านและจากทั่วโลกได้เป็นอย่างดี
ในเดือนพฤษภาคม ปี 2556 นาง Angela Merkel นายกรัฐมนตรีเยอรมัน และ นาย Li Keqiang ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนตกลงความร่วมมือในการสนับสนุนและส่งเสริมการค้าระหว่างสองประเทศ โดยเยอรมนีส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีนคิดเป็นมูลค่าประมาณ 66.6 พันล้านยูโรต่อปี (เยอรมนีเป็นประเทศที่มีการค้ากับจีนมากที่สุดในสหภาพยุโรป) ประเทศจีนจึงมีความสำคัญต่อการส่งออกสินค้าของประเทศเยอรมนีเป็นอย่างยิ่ง ในทางกลับกัน ภาคอุตสาหกรรมของจีนยังต้องพึ่งพาการนำเข้าอะไหล่รถยนต์ เครื่องจักรโรงงาน และ
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศเยอรมนีเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต นับเป็นส่วนสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีนเช่นกัน
สินค้าส่งออกสำคัญของเยอรมนีในปัจจุบันและในอนาคต ได้แก่
- สินค้ายานยนต์และส่วนประกอบ
- เครื่องจักรกล
- มอเตอร์เครื่องยนต์
- ผลิตภันฑ์ยา
นอกจากนี้ ประเทศเยอรมนีได้ขยายการลงทุนไปในประเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้น อาทิเช่น การลงทุนในประเทศสหรัฐอเมริกา จีน บราซิล เม็กซิโก อินเดียและไทย เป็นต้น ซึ่งการลงทุนส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในตลาดสินค้ายานยนต์และตลาดสินค้าเครื่องบินและชิ้นส่วนประกอบต่างๆ สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ของเยอรมนีที่เข้าไปลงทุนในต่างประเทศมาก ได้แก่ บริษัท Siemens AG เป็นบริษัทเยอรมนีที่ลงทุนในประเทศจีนมากที่สุด ในเรื่องสินค้าเครื่องจักร เครื่องบินและเทคโนโลยี ส่วนบริษัท MHM Holding GmbH และ Metro Cash & Carry International GmbH เป็นบริษัทเยอรมนีที่ลงทุนมากที่สุดในประเทศอินเดียสำหรับสินค้าอาหาร เป็นต้น
สินค้าส่งออก ส่งออกไปประเทศ 1. Nuclear Reactors, Boilers, Machinery จีน, สหรัฐฯ, ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร, รัสเซีย, and Mechanica ออสเตรีย,อิตาลี, เนเธอร์แลนด์, โปแลนด์, สเปน 2. Vehicles, not Railway สหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร, จีน, ฝรั่งเศส, อิตาลี, สเปน, รัสเซีย, เบลเยี่ยม, ออสเตรีย, เนเธอร์แลนด์ 3. Electrical Machinery , ฝรั่งเศส, จีน, อิตาลี, สหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร, Equipment and Machinery ออสเตรีย, เนเธอร์แลนด์, สาธารณรัฐเช็ก, โปแลนด์, สเปน 4. Plastics and articles ฝรั่งเศส, อิตาลี, เนเธอร์แลนด์, โปแลนด์, ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, สหราชอาณาจักร, สาธารณรัฐเช็ก, สวิตเซอร์แลนด์, สหรัฐฯ 5. Pharmaceutical Products เบลเยี่ยม, เนเธอร์แลนด์, สหรัฐฯ, สวิตเซอร์แลนด์, ฝรั่งเศส, อิตาลี, สหราช อาณาจักร, ออสเตรีย, รัสเซีย, สเปน 6. Optical, Photographic, สหรัฐฯ, จีน, เนเธอร์แลนด์, ฝรั่งเศส, อิตาลี, Cinematographic and Measuring สหราชอาณาจักร, รัสเซีย, สวิตเซอร์แลนด์, ญี่ปุ่น, สเปน 7. Aircraft, Spacecraft and Parts ฝรั่งเศส, จีน, สหราชอาณาจักร, สหรัฐฯ, อิตาลี, ชิลี, สเปน, ออสเตรีย 8. Mineral Fuels and Mineral Oils EU Suppression, ออสเตรีย, เนเธอร์แลนด์, สวิตเซอร์แลนด์, โปแลนด์, สหราชอาณาจักร, สาธารณรัฐเช็ก, เบลเยี่ยม, Non- EU Suppression, ฝรั่งเศส 9. Iron and Steel ฝรั่งเศส, เนเธอร์แลนด์, อิตาลี, โปแลนด์, เบลเยี่ยม, ออสเตรีย, สาธารณรัฐเช็ก, สวิตเซอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร,สเปน 10. Articles of Iron or Steel จีน, เนเธอร์แลนด์, ออสเตรีย, ไทย, ฮ่องกง 2.2 การนำเข้า เยอรมนีนำเข้าสินค้าในเดือน ม.ค. - ก.พ. 2556 เป็นมูลค่า 195.374.10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 493.05 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เยอรมนีนำเข้าสินค้าในช่วงเดือน ม.ค. - ก.พ. 2556 จากประเทศเนเธอร์แลนด์มากที่สุด (ร้อยละ 12.47) รองลงมาคือ ฝรั่งเศส (ร้อยละ 7.25) จีน (ร้อยละ 6.97) เบลเยี่ยม (ร้อยละ 5.97) อิตาลี่ (ร้อยละ 5.21) ส่วนไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 41ของเยอรมนี มีส่วนแบ่งการค้าร้อยละ 0.34 สินค้านำเข้าที่สำคัญ 5 อันดับแรกของประเทศเยอรมนี สินค้า ม.ค.-ก.พ. สัดส่วน อัตราการ 2554 2555 2556 2554 2555 2556 เปลี่ยนแปลง น้ำมันดิบและนำมันอื่นๆ 26,511.7 29,496.2 29,880.9 13.85 15.14 15.29 1.30 เครื่องจักรกล 23,027.4 23,516.8 23,576.0 12.03 12.07 12.07 0.25 เครื่องจักรกลไฟฟ้า 20,642.4 20,427.3 20,091.0 10.78 10.48 10.28 -1.64 รถยนต์และส่วนประกอบ 14,872.0 15,492.2 15,333.4 7.77 7.95 7.85 -1.03 ผลิตภัณฑ์ยา 7,327.9 6,894.8 7,066.4 3.83 3.54 3.62 2.49 ที่มา: World Trade Atlas 3. ประเทศคู่แข่งการค้าใน AEC ที่สำคัญ เยอรมนีนำเข้าสินค้าจากประเทศในกลุ่ม AEC หลายประเทศ โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2556 เยอรมนีนำเข้าจากเวียดนามมากที่สุด (1,292.93 ล้านเหรียญสหรัฐ) รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย (901.13 ล้าน เหรียญสหรัฐ) อินโดนีเซีย (701.34 ล้านเหรียญสหรัฐ) ไทย (655.22 ล้านเหรียญสหรัฐ) และสิงคโปร์ (515.00 ล้านเหรียญสหรัฐ) ประเทศคู่แข่งใน AEC ที่น่าจับตามองของไทยคือ 3.1 เวียดนาม สินค้าแข่งขันสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลไฟฟ้า เครื่องจักรกล และรองเท้า 3.2 มาเลเซีย สินค้าแข่งขันสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลไฟฟ้า เครื่องจักรกล และยางพารา 3.3 อินโดนีเซีย สินค้าแข่งขันสำคัญ ได้แก่ ไขมัน/น้ำมัน รองเท้า และเครื่องนุ่งห่ม สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต มิถุนายน 2556