ในขณะนี้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ ระบุว่า โดยช่วงเวลาที่เหลือของปี 2556 นี้ ราคาน้ำมันปาล์ม อาจยังเผชิญแรงกดดันจากอุปสงค์ในอินเดียและจีนที่ชะลอตัวลงประกอบกับ ผลผลิตพืชน้ำมันทดแทน เช่นถั่วเหลืองอาจมีออกมามากขึ้นรวมทั้งความต้องการใช้ ไบโอดีเซลที่ลดลง และในช่วงสองปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นปีที่ตลาดน้ำมันปาล์มโลก มีความผันผวนทั้ง ด้านราคาและปริมาณอันเป็นผลสืบเนื่องมาจาก หลายปัจจัยทั้งด้านภัยธรรมชาติ และภาวะเศรษฐกิจโลก โดยในช่วงปลายปี 2555
ราคาน้ำมันปาล์มดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี สืบเนื่องจากสต็อกน้ำมันปาล์มที่มีระดับสูงเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่ความต้องการน้ำมันปาล์มในประเทศ ผู้บริโภคหลักมีแนวโน้มชะลอตัว เป็นผลให้ราคาน้ำมันปาล์ม เฉลี่ยในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ลดลงจาก 3,389 ริงกิตต่อตันในปี 2555 มาที่ 2,314 ริงกิตต่อตันในปี 2556 (ลดลงร้อยละ 31.72) ทั้งนี้ จากทิศทางราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกที่ลดต่ำลงส่งผลให้ราคาผลผลิตปาล์มน้ำมันในประเทศไทยปรับตัวลดลง โดยในช่วงเดือนม.ค - เม.ย. 56 ราคาปาล์มน้ำมัน (ผลผาล์มทั้งทะลาย น้ำหนักมากกว่า 15 ก.ก.ขึ้นไป) มีระดับเฉลี่ย 3.3 บาท/ก.ก. ลดลงร้อยละ 40 จากระดับ 5.5 บาท/ก.ก.ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
แต่ข้อที่น่าสนใจอีกข้อหนึ่งในการส่งออกน้ำมันปาล์มก็คือ ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ปลอดจาก สารตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs) และปัจจุบันนี้ได้มีองค์กรที่ได้ก่อตั้งมาเพื่อสนับสนุนการผลิตน้ำมันปาล์ม อย่างยั่งยืน (Round Table for Sustainable Palm Oil :RSPO) โดยมีการปลูกปาร์มที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่าและพื้นที่ของคนในชนบทพร้อมทั้งให้ความรู้เกษตรกรเรื่องการเลือกพันธุ์ ที่เหมาะกับสภาพดิน การลดต้นทุนการผลิต เป็นต้น ดังที่สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ตได้กล่าวใว้ในรายงาน พิเศษเดือน กรกฎาคม 2556 ว่าด้วยเรื่อง ,Trend ใหม่มาแรง Green Palm" นี่อาจจะเป็นวิธีแก้ปัญหาตลาดน้ำมันปาล์มโลก ที่มีความผันผวนทั้งด้านราคาและปริมาณ อีกวิธีหนึ่งก็ได้ เพราะว่าผู้ผลิตน้ำมันปาล์มต้องเตรียมพร้อมปรับตัวในระยะยาวโดยยกระดับ คุณภาพผลผลิตให้ตรงตามมาตรฐานโลกเพื่อรักษาและเพิ่มระดับการค้าน้ำมันปาล์ม รวมทั้งหาโอกาสเพิ่มมูลค่าปาล์มน้ำมันผ่านการส่งเสริมการขยายอุตสาหกรรมปลายน้ำที่มีมูลค่าสูงในประเทศ
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน