กลยุทธ์บริษัทแฟชั่นของญี่ปุ่นภายใต้แนวทาง China Plus One

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 3, 2013 11:52 —กรมส่งเสริมการส่งออก

บริษัทผู้ผลิตเสื้อผ้าของญี่ปุ่นที่เคยใช้ฐานการผลิตใหญ่ในจีนได้เริ่มประสบปัญหาหนักขึ้น นอกเหนือจากปัญหาการเมืองระหว่างญี่ปุ่นกับจีน เช่น ค่าแรงในจีนที่สูงขึ้นและอัตราแลกเปลี่ยนที่มีแนวโน้มเงินเยนอ่อนค่าซึ่งทำให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าสูงขึ้น โดยเฉพาะบริษัทเสื้อผ้าของญี่ปุ่นที่ว่าจ้างการผลิตในจีนในลักษณะ OEM ต่างเริ่มทบทวนและวางกลยุทธ์ต่างๆ ภายใต้แนวทาง China Plus One (การหาแหล่ง Supply อื่นๆ นอกเหนือจากจีน) โดยมีรูปแบบการดำเนินการที่แตกต่างกันไป ได้แก่

  • กลุ่มที่เริ่มค่อยๆ ย้ายฐานการผลิตบางส่วนออกจากจีน
  • กลุ่มที่ยังคงยึดฐานอยู่ที่จีนแต่หาทางแก้ไขปัญหาโดยใช้มาตรการต่างๆ

แม้ว่าแนวโน้มของ China Plus One จะกระตุ้นให้บริษัทญี่ปุ่นพยายามหาแหล่งนำเข้าอื่นโดยเฉพาะในอาเซียน แต่ที่ผ่านมายังคงมีประเด็นปัญหาสำคัญคือ บริษัทผู้ผลิตในอาเซียนส่วนใหญ่แม้ว่าจะแข่งขันได้ในด้านราคาเมื่อเทียบกับผู้ผลิตในจีน

สำหรับสินค้าประเภทวัสดุตบแต่งเสื้อผ้า (เช่น กระดุม ฯลฯ) ดังนั้น บริษัทญี่ปุ่นจึงให้ความสำคัญกับการลดจำนวนสินค้าเสียโดยการเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจเช็คสินค้า เช่น จัดตั้งบริษัทเพื่อทำการตรวจเช็คสินค้าโดยเฉพาะหรือนำเครื่องตรวจสินค้ามาใช้หรือตกลงกับบริษัทผู้ผลิตในจีนขอเข้าไปตรวจเช็คสินค้าล่วงหน้าก่อนส่งมอบ ฯลฯ เป็นต้น

สถิติการนำเข้าสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2013 แสดงแนวโน้มที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องของการโยกย้ายแหล่งนำเข้าจากจีนมายังอาเซียน โดยสัดส่วนการนำเข้าจากจีนซึ่งเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 1 ของญี่ปุ่นได้ลดลงจาก 87.6% ของช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า เป็น 79.9% ในขณะที่สัดส่วนการนำเข้าสินค้าเสื้อผ้าจากอาเซียนคิดเป็น 14.2% ของการนำเข้าเสื้อผ้าของญี่ปุ่น (ทั้งด้านปริมาณและมูลค่า) เพิ่มขึ้นจากระดับ 12.8% ของช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า และจาก 10.4% ของเมื่อปี 2011 โดยในจำนวนนี้ เวียดนามมีส่วนแบ่งการนำเข้า (ในเชิงปริมาณ) สูงสุด คือ 6.8% เพิ่มขึ้นจาก 6.2% รองลงมาคืออินโดนีเซียเพิ่มขึ้นจาก 2.4% เป็น 3.2% และสำหรับไทยมีสัดส่วน 1.2% โดยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 6 ของญี่ปุ่น ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ผลิตผู้ส่งออกไทย

  • ปัจจุบันถือว่าเป็นโอกาสของไทยในการเป็นแหล่ง Supply ให้ญี่ปุ่นภายใต้แนวทาง China Plus One โดยหากผู้ผลิตไทยสามารถตอบสนองความต้องการของบริษัทญี่ปุ่น ได้แก่ การ Supply สินค้าคุณภาพสูงแต่จำนวนไม่มาก รวมทั้งการส่งมอบสินค้าได้ในระยะเวลาที่สั้น
  • ไทยยังคงมีความได้เปรียบในการเป็นศูนย์กลางของ supply chain ในอาเซียน โดยบริษัทไทยอาจพิจารณาขยายโรงงานไปยังประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนโดยใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ภายใต้ AEC เพื่อใช้ความได้เปรียบในด้านแรงงานค่าจ้างและ/หรือวัตถุดิบ และรับเป็น Total supply source ให้ญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น สคร.โอซากา

สำนักพัฒนาตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชีย (สพอ.) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

Email : intmk@ditp.go.th Website : www.ditp.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ