บริษัทญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือด้านสิ่งแวดล้อมแก่ประเทศในอาเซียนเพื่อใช้แลกเป็นคาร์บอนเครดิต

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 24, 2014 11:22 —กรมส่งเสริมการส่งออก

แม้ว่าในการประชุมสภาพอากาศโลกของสหประชาชาติ United Nation Climate Change Conference หรือ COP 19 จะยังไม่สามารถตกลงกันได้ ในการนำระบบ Bilateral Credit มาใช้เป็นระบบสากล แต่สำหรับญี่ปุ่นได้ทำความตกลงทวิภาคีกับมองโกเลียเป็นประเทศแรก เมื่อเดือน ม.ค. 2013 และหลังจากนั้นกับอีก 8 ประเทศ เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย โดยระบบที่ญี่ปุ่นนำมาใช้เป็นความตกลงระหว่างรัฐบาลในลักษณะทวิภาคีและบริษัทในประเทศภาคีที่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว จะให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนา ในด้านมาตรการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน เพื่อแลกกับปริมาณคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ที่สามารถปล่อยออกมาได้ ทั้งนี้ สิ่งที่จะให้ความช่วยเหลือเป็นได้ทั้งในรูปสินค้า บริการ หรือโครงสร้างพื้นฐาน

บริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น ต่างกำลังพิจารณาการให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมแก่ประเทศต่างๆ ในอาเซียน เช่น บริษัท Hitashi Zosen ซึ่งเป็นผู้ผลิตเรือรายใหญ่ มีแผนจะเริ่มกิจการโรงงานไฟฟ้าใช้พลังงานจากขยะที่นครโฮจิมินท์ ประเทศเวียดนาม ภายในปี 2015 โดยค่าไฟฟ้าที่ได้จากโรงไฟฟ้านี้ จะมีราคาต่ำกว่าราคาไฟฟ้าในท้องถิ่นประมาณร้อยละ 10 ส่วนบริษัทก่อสร้างรายใหญ่ Shimizu Kensetsu กำลังพิจารณาให้ความช่วยเหลือ ในการนำเทคโนโลยีการผลิตเครื่องปรับอากาศ ที่ประหยัดพลังงาน เข้าไปในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งปริมาณคาร์บอนไดอ็อกไซด์ ที่สามารถลดลงได้นี้ จะถูกนำไปคำนวณเพื่อใช้แลกเป็นคาร์บอนเครดิตได้ ด้านบริษัท Toto ได้ทำการติดตั้งผลิตภัณฑ์ในห้องสุขา และห้องอาบน้ำที่ประหยัดน้ำได้ในโรงแรมขนาด 150 ห้อง ในประเทศเวียดนาม โดยจะประหยัดน้ำได้ร้อยละ 60 สำหรับห้องสุขา และร้อยละ 35 สำหรับชาวเวอร์ ปริมาณน้ำที่ประหยัดได้ดังกล่าว จะนำไปใช้คำนวณเป็นปริมาณคาร์บอนไดอ็อกไซต์ที่ทำให้ลดลงและใช้แลกเป็นคาร์บอนเครติดเช่นกัน

ประเทศญี่ปุ่น สคร. โอซากา

สำนักพัฒนาตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชีย (สออ.) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

Email : intmk@ditp.go.th Website : www.ditp.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ