ภาพรวม
ผู้บริโภคเวียดนามนิยมดื่มเครื่องดื่มประเภทไม่มีแอลกอฮอล์ผสม ซึ่งผลิตโดยความเชี่ยวชาญของ
ชาวเอเชียอันได้แก่ น้ำชาพร้อมดื่ม น้ำผลไม้/ผัก น้ำเต้าหู้ และเครื่องดื่มที่ผลิตจากรังนก เป็นต้น โดยยอด
การบริโภคสูงถึงปีละ 35-50 ล้านลิตร มียอดจำหน่ายปีละ 600-1,000 พันล้านเวียดนามดอง (VND)
สภาพของตลาด
เครื่องดื่มพิเศษของชาวเอเซีย (Asian Speciality) ได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาด
เวียดนามในกลุ่มเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ผสม เนื่องจากเวียดนามเป็นประเทศเขตร้อน (tropical)
เป็นแหล่งผลิตผลไม้หลายๆ ประเภท ได้แก่ ลำไย ลิ้นจี่ มะพร้าว แตงโม เงาะ dragon Fruit และมะม่วง
เป็นต้น นอกจากนี้ เวียดนามยังนิยมดื่ม น้ำเต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากรังนก วุ้นมะพร้าว รวมไปถึงน้ำอ้อยสด
เครื่องดื่มเหล่านี้ส่วนมากเป็นเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางอาหารหรือมีส่วนประกอบที่เป็นสารอาหารสูง
ซึ่งตรงกับความต้องการของผู้บริโภคที่คำนึงถึงเรื่องสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ในอดีตที่ผ่านมา อัตราการขยายตัว
ของเครื่องดื่มเหล่านี้อยู่ในอัตราที่เพิ่มขึ้น ยกเว้นในช่วงปลายปีนี้ ที่อัตราการขยายตัวลดลง โดยผู้บริโภคหันไป
ดื่มน้ำผลไม้และน้ำดื่มบริสุทธิ์แทน
ผลจากการที่ผู้บริโภคหันมาตระหนักหรือให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณและ
มูลค่าการจำหน่ายน้ำผลไม้สูงขึ้น เนื่องจากความคุ้นเคยกับผลไม้ที่นำมาผลิตเป็นเครื่องดื่ม
ยอดขายเครื่องดื่ม (Asian Speciality) ปี 2001-2006
หน่วย : ล้านลิตร
ชนิดของเครื่องดื่ม ปี 2001 ปี 2001 ปี 2003 ปี 2004 ปี 2005 ปี 2006
น้ำชา 3.1 3.6 3.8 4.2 4.5 4.9
น้ำผลไม้ 7.1 8.3 10.0 11.2 12.3 13.4
น้ำเต้าหู้/รังนก 23.7 27.8 30.6 32.1 33.6 34.9
อื่น 0.8 0.9 1.0 1.1 1.1 1.2
รวม 34.8 40.6 45.4 48.6 51.5 54.4
ที่มา : ข้อมูลการค้า แหล่งข่าวการค้า บริษัทวิจัย การสัมภาษณ์ และการประมาณการของ Euromonitor International
การแข่งขัน
ในปี 2006 เครื่องดื่มพิเศษ (Asian Speciality) ของบริษัท Tribeco มียอดจำหน่าย
สูงสุดโดยมีส่วนแบ่งการตลาดกว่าร้อยละ 28 ถึงแม้การแข่งขันของแต่ละบริษัทในอุตสาหกรรมนี้จะมีอัตราการ
แข่งขันสูงที่สูง แต่การแข่งขันที่สูงที่สุดอยู่ที่น้ำผลไม้/ผัก และน้ำดื่มบริสุทธ์บรรจุขวด
ถึงแม้ว่าบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มเหล่านี้พยายามที่จะพัฒนาสินค้าของตน เพื่อให้ได้รับความนิยมของ
ผู้บริโภคให้มากขึ้น โดยการเพิ่มความหลากหลายด้านรสชาติให้มากขึ้น แต่ก็ต้องประสบกับการแข่งขันของ
บริษัทเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ ที่ผลิตรสชาติอื่นๆ ที่แปลกใหม่เช่นกัน อย่างไรก็ตาม เครื่องดื่ม (ASIAN Specialty)
ได้เปรียบในเรื่องความคุ้นเคยในรสชาติอยู่แล้ว เมื่อเครื่องดื่มเหล่านี้มีความหลากหลายด้านรสชาติมากขึ้น
ทำให้ผู้บริโภคสนใจในผลิตภัณฑ์มากขึ้น
ยอดจำหน่ายของแต่ละยี่ห้อ Asian Speciality Drinks ปี 2003-2006
หน่วย: ร้อยละ
ตรา/ยี่ห้อ บริษัท ปี 2003 ปี 2004 ปี 2005 ปี 2006
Tribeco Tribeco Co Ltd 29 28 27.9 28.4
Wonderfarm Interfood Shareholding Co - - - 19.3
Delta Delta Vietnam Fruit Juice Producing Co. ltd 8.1 7.9 8.0 8.0
Sagiko CKL Vietnam Corp 6.6 7.3 7.8 7.5
Nature Dona New Tower JV Co 5.0 5.0 5.2 5.6
Pokka Pokka Corp 6.3 5.4 4.5 4.1
Green Tea Zero Degree Ben Thanh Beer &Beverages Co. Ltd - - - 1.7
Royal Miller Lim Sang Huat Co. Ltd 0.8 0.8 0.7 0.6
A&B Advance & Best Enterprise 0.4 0.4 0.4 0.5
Super Super Coffeemix Mfg Pte Ltd 0.2 0.1 0.1 0.0
Wonderfarm International Food Processing Joint Venture Co. 16.7 16.5 17.2 -
Others 26.9 28.5 28.2 24.4
Total 100 100 100 100
ที่มา : ข้อมูลการค้า แหล่งข่าวการค้า บริษัทวิจัย การสัมภาษณ์ และการประมาณการของ Euromonitor International
แนวโน้ม
Euromonitor International พยากรณ์ว่าในปี 2008 ยอดจำหน่ายเครื่องดื่มประเภทนี้
จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,179.5 พันล้านดอง และเพิ่มขึ้นเป็น 1,420.9 ในปี 2011 โดยน้ำเต้าหู้/ผลิตภัณฑ์จาก
รังนกยังคงรักษาสัดส่วนการตลาดกว่าร้อยละ 50 และน้ำผลไม้ประมาณร้อยละ 25 อย่างไรก็ตามน้ำคาด
ว่าน้ำผลไม้จะมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 13
พยากรณ์ยอดขายเครื่องดื่ม Asian Speciality Drinks ปี 2006-2011
หน่วย : พันล้านดอง
ชนิดของเครื่องดื่ม ปี 2006 ปี 2007 ปี 2008 ปี 2009 ปี 2010 ปี 2011
น้ำชา 66.0 71.2 76.2 81.2 86.1 90.4
น้ำผลไม้ 281.1 320.5 363.8 411.1 462.4 517.9
น้ำเต้าหู้/รังนก 640.2 669.0 695.8 720.2 741.8 760.3
อื่น 36.7 40.4 43.7 46.7 49.5 52.2
รวม 1,024.0 1,101.1 1,179.5 1,259.1 1,339.8 1,420.9
ที่มา : ข้อมูลการค้า แหล่งข่าวการค้า บริษัทวิจัย การสัมภาษณ์ และการประมาณการของ Euromonitor International
ที่มา: http://www.depthai.go.th