ในช่วงครึ่งศตวรรษหลัง ประชากรมุสลิมในยุโรปตะวันตกเพิ่มขึ้นจาก 2.5 แสนคน เป็นประมาณ 30 ล้านคน จำเป็นต้องบริโภคอาหารฮาลาล (halal) ซึ่งต้องผ่านการจัดเตรียมการตามหลักศาสนา เช่น การฆ่าสัตว์ ประชากรมุสลิมในยุโรปนิยมซื้อสินค้าจากร้านพิเศษที่นำเข้าอาหารฮาลาลจากประเทศมุสลิมในตะวันออกกลาง ซึ่งมิได้นำเสนอสินค้ารายการใหม่ ๆ (เช่น ขนมขบเคี้ยว (snacks) แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า เฟรนช์ฟราย Mexican snacks) ตามรสนิยมของประชากรมุสลิมรุ่นใหม่ที่เกิดในยุโรป
ปัจจุบันผู้ผลิตในยุโรปให้ความสำคัญกับตลาดอาหารฮาลาลมากขึ้น นอกเหนือจากจำนวนประชากรมุสลิมเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีเหตุสนับสนุนสำคัญได้แก่ มุสลุมจากตะวันออกกลางและเอเชียมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้นพอ ๆ กับชาวยุโรป ในปี 2548 ตลาดสินค้าอาหารฮาลาลของโลกมีมูลค่าประมาณ 150 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่าการจำหน่ายในอังกฤษประมาณ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ กลุ่มประเทศตะวันออกกลางนำเข้ามูลค่าปีละประมาณ 12 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีผู้บริโภคทั่วโลกประมาณ 2 พันล้านคน และกระจายอยู่ทั่วโลก มีฐานะเศรษฐกิจแตกต่างกันผู้ผลิตอาหารฮาลาลรายสำคัญในยุโรป) ได้แก่
1) Mekkafood Halal Products ของเยอรมนี มีโรงงานผลิตอาหารที่เมือง Venlo ในเนเธอร์แลนด์ และเมือง Mechelen ในเมืองเบลเยี่ยม ส่งสินค้าฯ ให้ supermarkets chains เช่น Edeka Rowe Metro Spar และ Lidl
2) Takira Food Ltd ของอังกฤษ มีโรงงานผลิตอาหารในอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี สวีเดน และเนเธอร์แลนด์ (เมืองBreukelen) นอกจากนี้ยังกระจายสินค้าโดยผู้ค้าส่งอิสระที่เดนมาร์ค อิตาลี สเปน ไอร์แลนด์ และออสเตรีย
ปัญหาและอุปสรรค
การรับรองอาหารฮาลาล — ปัจจุบันไม่มีการจัดทำ “Global Halal Standards” เนื่องจากมาตรฐานฮาลาลในแต่ละประเทศแตกต่างกัน จึงมีการจัดตั้งหน่วยงานรับรองอาหารฮาลาลของตนเองขึ้นในประเทศต่าง ๆ ทำให้เกิดความสับสน การตีความไม่ตรงกัน ขั้นตอนการตรวจและรับรองต่างกัน เช่น ประเด็นอาหารสัตว์ วิธีการฆ่าสัตว์ การบรรจุภัณฑ์ ระบบโลจิสติกส์ gelatine, food flavouring, animal enzymes, phosphates ผู้ผลิตไม่ทราบจะปรึกษาหน่วยงานใด เพื่อจะได้การรับรองที่เหมาะสมกับตลาด (right market) ประเทศมุสลิมอาจจะร่วมกันแก้ไขด้วยการศึกษารูปแบบการจัดตั้งหน่วยงานความปลอดภัยและมาตรฐานคุณภาพอาหารในประเทศพัฒนา ผู้แทนบริษัทผลิตอาหารรายใหญ่ของโลก Nestte’s (ซึ่งผลิตอาหารฮาลาลออกจำหน่ายแล้ว) กล่าวว่าจำเป็นต้องมี “premium global standard” เพื่อให้สามารถเข้าสู่
ตลาดโลกได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น World Halal Forum (สนับสนุนโดยรัฐบาลมาเลเซีย ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ Malaysia’s Third Industrial Masterplan (2006-2020) ได้จัดตั้งองค์กร International Halal Integrity (IHI) Allianceในปี 2550 มีฐานะเป็นองค์กร non-profit, non-governmental and non-national body เพื่อเป็นเวทีให้สมาชิกแลกเปลี่ยนข้อมูล ใช้เป็นช่องทางการสื่อสารและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมฮาลาล คาดว่าจะนำไปสู่การจัดทำมาตรฐานฮาลาลเดียวและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ด้วยการจัดทำ “new Halal guidelines” และระบบการรับรองสำหรับผู้บริโภคทั่วโลกทั้งที่เป็นมุสลิม และ Non-Muslim ประชากรมุสลิมในเนเธอร์แลนด์ - มีประมาณ 1 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 5.8 ของประชาชนรวม (16.3 ล้านคน) ส่วนใหญ่มาจากอดีตอาณานิคมดัชท์ ได้แก่ อินโดนีเซีย และสุรินัม นอกจากนั้น ได้แก่ จากตุรกีและมอรอคโค (ส่วนเบลเยี่ยม มีประชากรมุสลิมประมาณ 0.4 ล้านคน ประมาณร้อยละ 4 ของประชากรรวม (10.3 ล้านคน) ส่วนใหญ่เป็นมุสลิมที่อพยพมากจากตุรกีและมอรอคโค) ปี 2547 เนเธอร์แลนด์มีการผลิต “Multi Kulti-Menus” โดยเรียกว่าโครงการ Meals on Wheel
สำหรับผู้สูงอายุมุสลิมที่อาศัยอยู่ในยุโรปเป็นเวลานาน ปัจจุบันขยายไปยังกลุ่มคนพิการด้วย โดยมีรายการอาหารไก่ เนื้อวัว ข้าวแกงกะหรี่ มะพร้าว ซอสพริก รวมทั้งประเภท oreintal specialties เช่น Turkish Skish ทั้งนี้ทุกสินค้าติดแสตมป์รับรอง Halal — Korrecht certifying ในปี 2549 Albert Heijn (AH) เครือข่ายซุปเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ เริ่มจำหน่ายสินค้าอาหารฮาลาล รวม 27 ชนิด ในสาขาใหญ่ 45 สาขา ได้แก่ เนื้อวัว ไก่ (รวม 17 ชนิด) เนื้อวัวบด spices hamburger kebab-spices และเนื้อแกะหั่นเป็นชิ้น โดยวางจำหน่ายในตู้แช่แยกจากสินค้าอื่น โดยจะบรรจุใน packaging สีขาว มีตราสัญญลักษณ์ฮาลาลสีเขียวติดอยู่ ผู้บริโภคมั่นใจได้ 100% ว่าเป็นอาหารฮาลาลของแท้ เพราะสินค้าทุกชนิดและทุกชิ้นสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้ นอกจากนี้ยังวางจำหน่ายผักและผลไม้จากประเทศมุสลิม (เช่น ตุรกี มอรอคโค และสุรินัม) หากการทดลองตลาดประสบผลสำเร็จก็จะเพิ่มสาขาวางจำหน่ายอาหารฮาลาลมากขึ้น
เมื่อเดือนมิถุนายน 2550 บริษัท MIHAP Holding Sdn Bhd ลงนาม MOU กับการท่าเรือรอตเตอร์ดัม ในการพัฒนา Halal SuperHighway ซึ่งรวมระบบโลจิสติกส์การขนส่ง การจัดเก็บในโกดังห้องเย็น containerisation และ packaging โดยตกลงจะร่วมกันพัฒนามาตรฐานการดำเนินการการส่งเสริมและการตลาด โดยเริ่มโครงการนำร่องการขนส่งอาหารฮาลาลระหว่างมาเลเซียและเนเธอร์แลนด์ รวมทั้งการจัดตั้ง Malaysian Internaitonal Halal Park หรือที่เรียกว่า myHALALhub เพื่อสานเจตนารมณ์ของมาเลเซียที่วางแผนจะเป็น “Global Halal Hub”
ระบบ Logistics — บริษัทโลจิสติกส์ Eurofrigo BV จัดทำศูนย์จัดเก็บสินค้า Coldstorage อาหารฮาลาลที่ Maasvlekte ท่าเรือเมืองรอตเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ ส่วนอาหาร non — frozen halal foodstuffs บริษัท VAT Logistic B.V. ดำเนินการโดยผ่านการตรวจรับรองโดย Dutch Association for Halal Certification ปัจจุบันผู้ส่งออกสินค้าอาหารฮาลาลจากบราซิลใช้บริการของบริษัท Eurofrigo ด้วยการขนส่งสินค้าจากบราซิลมาพักที่นี่ก่อนส่งต่อไปประเทศกลุ่มตะวันออกกลาง
การวางจำหน่ายสินค้าอาหารฮาลาล (ประทับตราฮาลาลบนภาชนะ) ของไทยในเนเธอร์แลนด์ — มีวางจำหน่ายทั่วไปในร้านจำหน่ายสินค้าอาหารเอเชีย เช่น อาหารทะเลกระป๋อง (เช่น ปลากระป๋อง) เครื่องปรุงรส (เช่น ซีอิ๊วขาว น้ำบูดู กะปิ น้ำปลา) นอกจากนี้ยังมีสินค้าอาหารฮาลาลจากประเทศมุสลิม ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ รวมทั้งวางจำหน่ายในร้านค้ามุสลิมซึ่งผู้บริโภคมั่นใจว่าเป็นอาหารฮาลาลแท้ ผู้บริโภคบางรายไม่สังเกตตราฮาลาล เนื่องจากซื้อจากร้านมุสลิมจึงแน่ใจว่าเป็นอาหารฮาลาล หรือสังเกตชื่อประเทศผู้ผลิตบนฉลาก
การนำเข้าสินค้าไทยที่สำคัญในช่วงเดือนมกราคม —พฤศจิกายน 2550 เช่น
1) Sardine, Etc., Not Minced (รหัส 160413) — มูลค่า 1.23 ล้านเหรียญฯ ลดลงร้อยละ —28.66 มีส่วนแบ่งการนำเข้าร้อยละ 9.85
2) Tuna, Etc., Not minced (รหัส 160414) - มูลค่า 12.80 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ —28.75 มีส่วนแบ่งฯ ร้อยละ 11.94
3) Shrimps & Prawns (รหัส 160520) - มูลค่า 6.78 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ +99.07 มีส่วนแบ่งฯ ร้อยละ 8.79
4) Other Prepared Pasta (รหัส 190230) — มูลค่า 7.83 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ +23.01 มีส่วนแบ่งฯ ร้อยละ 39.65
5) Sauce, Condiment, Etc (รหัส 210390) — มูลค่า 11.84 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ —8.05 มีส่วนแบ่งฯ ร้อยละ 47.81
ที่มา: http://www.depthai.go.th