ตลาดผลไม้สดของเนเธอร์แลนด์

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 21, 2008 14:51 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          เนเธอร์แลนด์เป็นผู้นำเข้าผลไม้สดรายใหญ่จากประเทศกำลังพัฒนา มีตลาดภายในประเทศค่อนข้างเล็ก ส่วนใหญ่ re-exportไปยังประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่น ๆ เช่น เยอรมนี อังกฤษ 
ข้อมูลของ Commodity Board for Horticulture แจ้งว่าในปี 2548 ผู้บริโภคดัชท์บริโภคผลไม้สดปีละประมาณ 94 กิโลกรัม/คน มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.07 เมื่อเทียบกับปริมาณการบริโภคในปี 2545 มูลค่าลดลงร้อยละ —4.31 ในช่วงเดียวกัน (จาก 215.34 เหรียญสหรัฐฯ เป็น 206.05 เหรียญสหรัฐฯ) โดยมีผลไม้ยอดนิยมตามลำดับ ได้แก่ แอปเปิ้ล ส้ม กล้วยหอม tangerines สตรอเบอรี่ องุ่น ลูกแพร์ กีวี แตง และ nectarines ทั้งนี้ ผู้บริโภคดัชท์ค่อนข้างใจกว้างที่จะลอง ผลไม้รายการใหม่ ๆ
การผลิต ในปี 2548 ผลิตได้ 695,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 1 ของการผลิตของสหภาพยุโรปโดยรวม ในช่วงปี 2544 — 2548 มีอัตราการผลิตขยายตัวร้อยละ 31 ผลิตแอปเปิลได้ 436,000 ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 และมีส่วนแบ่งของผลไม้ที่ผลิตได้โดยรวมร้อยละ 63) รองลงมาได้แก่ ลูกแพร์ สตอรเบอรี่ เชอรี่ พลัม และผลไม้ตระกูลเบอรี่ ผลไม้ที่ผลิตได้บางส่วนนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น การผลิต applesauce
การค้าระหว่างประเทศ
การนำเข้า - ในปี 2548 นำเข้ามูลค่า 2,633.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปริมาณ 2.15 ล้านตัน นับเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่อันดับ 5 ของสหภาพยุโรป ในช่วงปี 2544-2548 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ผลไม้ที่นำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนามีมูลค่าการนำเข้าคิดเป็นร้อยละ 56 ของผล ไม้ที่นำเข้าโดยรวม และนำเข้ามากจากอัฟริกาใต้ นอกจากนี้ยังมี สเปน เบลเยี่ยม บราซิล เปรู และ ชิลี
ในภาพรวมการนำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนา มีส่วนแบ่งมูลค่าร้อยละ 9.5 มีรายการสำคัญได้แก่ องุ่น ส้ม แอปเปิ้ล มะม่วง ฝรั่ง lemon และ limes ในปี 2548 เนเธอร์แลนด์เป็นผู้นำเข้ามะม่วงและฝรั่งรายใหญ่ที่สุดของสหภาพฯ คิดเป็นร้อยละ 27 ของมูลค่าการนำเข้าของสหภาพฯ มะละกอ (ร้อยละ 25) grapefruits (ร้อยละ 19) ยังมีรายการอื่นที่นำเข้าปริมาณไม่มาก คิดเป็นปริมาณรวมร้อยละ 22 ได้แก่ มะขาม ลิ้นจี่ เสาวรส (passion fruit) pitahaya และมะเฟือง (starline_tabfruit) ประเทศกำลังพัฒนาเป็นแหล่งส่งสินค้ารายการที่สำคัญได้แก่ อโวคาโด สัปปะรด ลูกแพร์ แตงและพลัม มีการนำเข้ากล้วยหอมมากอันดับสี่ในด้านมูลค่า โดยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 93) ส่งต่อไปเบลเยี่ยมและเยอรมนี
อัฟริกาใต้เป็นผู้ส่งออกองุ่นและส้ม บราซิลเป็นผู้ส่งออกมะม่วง ฝรั่ง lemons และ limes รายการที่มีการนำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนาขยายตัวสูงสุด ได้แก่ อโวคาโด สัปปะรด แตงโม กล้วยหอม เสาวรส pitahaya และมะเฟือง
ผลไม้ไทยที่นำเข้าเช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ มะม่วงเขียวเสวย ลิ้นจี่ ลำไย ลองกอง ชมพู่แดง ชมพู่เขียว ฝรั่ง เงาะ สละ กล้วยน้ำว้า ละมุด แก้วมังกร ส้มโอ แต่การวางจำหน่ายยังจำกัดอยู่เฉพาะในซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ขายสินค้าอาหารเอเชีย ส่วนรายการที่มีวางจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตท้องถิ่นเช่น Albert Heijn, Super de Boer, MAKRO ได้แก่ ลิ้นจี่ เงาะ แก้วมังกร มังคุด โดยมีความถี่ในการวางจำหน่ายค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับลิ้นจี่จากอัฟริกาใต้ มาดากัสกา ทั้งนี้รายการอื่นๆ (ได้แก่ เงาะ แก้วมังกร มังคุด) ยังไม่มีการนำเข้าจากประเทศอื่น
การส่งออก — ในปี 2548 มีมูลค่า 2,633.76 ล้านเหรียญฯ คิดเป็นร้อยละ 14 ของสหภาพฯโดยรวม ในช่วงปี 2544-2548 ส่งออกผลไม้มีมูลค่าขยายตัวร้อยละ 33 สูงที่สุดในการส่งออกของประเทศสมาชิกสหภาพฯ รายการสินค้าที่ส่งออกมากได้แก่ องุ่น (ร้อยละ 20) แอปเปิ้ล(ร้อยละ 13) ลูกแพร์ (ร้อยละ 12) โดยส่งไปเยอรมนี (ร้อยละ 35) อังกฤษ (ร้อยละ 11) และฝรั่งเศส (ร้อยละ 10)
โครงสร้างการค้า — เมืองท่า Rotterdam เป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในการขนส่งผลไม้ โดยมีเครือข่ายการขนส่งทางถนนไปสู่ประเทศอื่นในยุโรป ทางน้ำมีแม่น้ำ 2 สาย (แม่น้ำ Rhine และแม่น้ำ Meuse) ผ่าน ปัจจุบันมีการขนส่งผลไม้ทางอากาศมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเน่าเสียง่ายที่มีมูลค่าสูง เช่น มะม่วง โดยขนส่งผ่านสนามบิน Schiphol กรุง Amsterdam เนเธอร์แลนด์มีความพร้อมด้านการขนส่งและระบบ Logistics ที่มีประสิทธิภาพสูงระดับแนวหน้าของโลก
ช่องทางการค้า — การนำเข้าส่วนใหญ่ดำเนินการโดยบริษัทนำเข้า แล้วจึงส่งต่อไปยัง greengrocers food service อุตสาหกรรมแปรรูป หน่วยงานจัดซื้อต่าง ๆ และผู้ค้าปลีก
ผู้บริโภคนิยมซื้อผลไม้สดจากซุปเปอร์มาร์เก็ต เนื่องจากมีสินค้าอื่น ๆ ครบ เปรียบเสมือน one-stop-shopping ราคาย่อมเยากว่า แต่จุดด้อยคือซุปเปอร์มาร์เก็ตไม่สามารถนำเสนอสินค้าคุณภาพสูงและสดกว่าได้ เมื่อเทียบกับ greengrocers ร้านริมถนน (street market) และร้านจำหน่ายสินค้าอาหารจากเอเชีย
อัตราราคา — ในช่วงปี 2544-2548 ราคานำเข้าเฉลี่ยผลไม้โดยรวมลดลงร้อยละ 3.4 ส่วนราคาเฉลี่ยผลไม้จากประเทศกำลังพัฒนาลดลงร้อยละ 7.4
การนำเข้าฝรั่ง มะม่วงและมังคุดลดลง โดยมีราคาเฉลี่ยร้อยละ —22 คิดเป็นอัตราราคาเฉลี่ย.30 เหรียญฯ/กิโลกรัม ส่วนรายการผลไม้จากประเทศกำลังพัฒนาที่มีอัตราราคานำเข้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น ได้แก่ องุ่น (ร้อยละ 3.8) ราคา 2.37 เหรียญฯ/กิโลกรัม ส้ม (ร้อยละ 3.8) ราคา 0.71 เหรียญฯ/กิโลกรัม lemons และ limes (ร้อยละ 4.6) ราคา 1.05 เหรียญฯ/กิโลกรัม
การเข้าสู่ตลาด จะต้องคำนึงประเด็นสำคัญ ได้แก่ ระเบียบที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป การติดฉลาก ระบบการปฏิบัติและจัดการที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สุขอนามัยและความปลอดภัยของผู้บริโภคและด้านสังคม เช่น ระเบียบการห้ามใช้สารเคมีบางรายการในการกำจัดแมลงในพืช (plantline_tabprotection)
กิจกรรมส่งเสริมการส่งออก
ควรเน้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมฯ และประชาสัมพันธ์ผลไม้สดอย่างต่อเนื่อง ด้วยการแนะนำให้ชิมพร้อมแจ้งข้อมูลทางโภชนาการ สร้าง awareness ให้ผู้บริโภคทราบว่ามีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย วิตามิน แร่ธาตุที่สำคัญ มีคุณภาพสูง รสชาติอร่อย หอมหวาน เมล็ดข้างในเล็กและลีบซึ่งline_tabให้เนื้อผลไม้มากกว่าผลไม้จากประเทศอื่น(เช่น ลิ้นจี่จากอัฟริกาใต้) เน้นภาพลักษณ์แหล่งผลไม้อร่อยของโลก เช่น “Orchard of the World” “Fresh & Juicy”
โอกาสและความเสี่ยง
ข้อดี - ผู้บริโภคดัชท์ ค่อนข้างใจกว้างและชอบลองชิมผลไม้รายการใหม่ ๆ
ข้อเสีย - ราคาขายปลีกผลไม้ไทยสูงกว่าคู่แข่ง เช่น
มะม่วง (จากอียิปต์ และเปรู) ราคาประมาณ 1.92 เหรียญฯ /ผล มะม่วงน้ำดอกไม้ของไทย ราคาประมาณ 9.2 เหรียญฯ/ ผล
ลิ้นจี่ (จากมาดากัสกา และอัฟริกาใต้) น้ำหนัก 500 กรัม ราคาประมาณ 2.30 เหรียญฯ ลิ้นจี่ไทย ราคาประมาณ 4 - เหรียญฯ
ลำไย (จากจีน) ราคาประมาณ 5.-เหรียญฯ/ กิโลกรัม ลำไยไทยราคาประมาณ 6.19 เหรียญฯ/ กิโลกรัม
ส้มโอ (จากจีน) ราคาประมาณ 1.99 เหรียญฯ / ผล
ความสดเป็นประเด็นสำคัญ ผลเงาะเมื่อมีสีคล้ำ จะไม่มีผู้บริโภคซื้อ เนื่องจากเข้าใจว่าเป็นผลไม้เน่า
ในการขนส่งมาเนเธอร์แลนด์ไม่สามารถใช้สายการบินไทย เนื่องจากไม่มีเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ จึงมักใช้สายการบินที่มีเที่ยวบินตรงกรุงเทพฯ — กรุง Amsterdam เช่น KLM China Airlines และ EVA Airline_tabบางครั้งก็ใช้บริการของสิงคโปร์แอร์ไลน์ ดังนั้นการขนส่งโดยใช้ cargo สายการบินอื่น ทำให้เงินตรารั่วไหล
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ