สรุปภาวะการค้าไทย-เกาหลีใต้ ปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.) สรุปจากสถิติ World Trade Atlas

ข่าวเศรษฐกิจ Friday April 18, 2008 12:01 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. มูลค่าการค้า
1.1 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของเกาหลีใต้-โลก
2549 2550 D/%
(ม.ค.-ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 634,847.48 727,780.46 14.64
การนำเข้า 309,382.63 356,452.98 15.21
การส่งออก 325,464.85 371,327.48 14.09
ดุลการค้า 16,082.22 14,874.50 -7.51
1.2 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของเกาหลีใต้-ไทย
2549 2550 D/%
(ม.ค.-ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 7,574.52 8,255.88 9.00
การนำเข้า 3,328.40 3,769.19 13.24
การส่งออก 4,246.11 4,486.68 5.67
ดุลการค้า 917.71 717.49 -21.82
2. การนำเข้า
2.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่เกาหลีใต้นำเข้าจากโลก ปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 356,452.98 100.00 15.21
1. จีน 63,026.94 17.68 29.80
2. ญี่ปุ่น 56,249.85 15.78 8.33
3. สหรัฐอเมริกา 36,852.32 10.34 9.50
4. ซาอุดิอารเบีย 21,163.50 5.94 2.97
5. เยอรมณี 13,531.85 3.80 19.07
20. ไทย 3,769.40 1.06 13.25
อื่น ๆ 161,859.12 45.41 15.61
2.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เกาหลีใต้นำเข้าจากโลก ปี 2550 (ม.ค.-ธค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 356,452.98 100.00 15.21
1. แผงวงจรไฟฟ้า 25,328.78 7.11 15.84
2. ผลิตภัณฑ์แผ่นรีด 7,236.56 2.03 31.34
3. ถ่านหิน 6,278.90 1.76 19.56
4. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 4,379.30 1.23 199.88
5. เศษเหล็ก 3,553.40 1.00 62.00
อื่น ๆ 309,676.04 86.88 8.99
2.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เกาหลีใต้นำเข้าจากไทยปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย 3,769.19 100.00 13.24
1. แผงวงจรไฟฟ้า 723.48 19.19 22.36
2. ยางธรรมชาติ 366.78 9.73 0.49
3. คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ 240.70 6.39 -2.99
4.เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า ฯ 228.58 6.06 38.99
5. แผ่นชิ้นไม้อัด 84.652 2.25 -10.11
อื่น ๆ 1,985.17 52.67 -24.76
3. การส่งออก
3.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่เกาหลีใต้ส่งออกไปโลกปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 371,327.48 100.00 14.09
1. จีน 81,985.18 22.08 18.03
2. สหรัฐอเมริกา 45,710.13 12.31 5.85
3. ญี่ปุ่น 26,369.92 7.10 -0.62
4. ฮ่องกง 18,654.33 5.02 -1.71
5.ไต้หวัน 13,014.80 3.50 0.15
17. ไทย 4,486.68 1.21 5.67
อื่น ๆ 181,106.44 48.77 20.68
3.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เกาหลีใต้ส่งออกไปโลกปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน% %เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 371,327.48 100.00 14.09
1.รถยนต์และยานยนต์ 34,482.84 9.29 12.70
2. แผงวงจรไฟฟ้า 30,278.35 8.15 18.21
3. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 28,850.50 7.77 2,792.96
4. เรือโดยสาร เรือทัศนาจร 23,585.57 6.35 19.75
5. เลเซอร์ 19,640.58 5.29 35.52
อื่น ๆ 234,489.65 63.15 -17.81
3.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เกาหลีใต้ส่งออกไปไทยปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน% %เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกไปไทย 4,486.68 100.00 5.67
1. แผงวงจรไฟฟ้า 261.8 5.83 10.43
2. ผลิตภัณฑ์แผ่นรีด 242.63 5.41 38.31
3. เหล็กแผ่นชุบ 235.98 5.26 13.87
4.ส่วนประกอบ อุปกรณ์รถยนต์ 163.71 3.65 120.44
5. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 144.49 3.22 1,053.89
อื่น ๆ 3,438.07 76.63 -11.63
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้านำเข้าสำคัญของเกาหลีใต้ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์แผ่นรีด ถ่านหิน เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์/โทรเลข เศษเหล็ก
4.2 สินค้าส่งออกสำคัญของเกาหลีใต้ ได้แก่ รถยนต์และยานยนต์ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์/โทรเลข เรือโดยสาร/เรื่อทัศนาจรเลเซอร์
4.3 แหล่งผลิตสำคัญที่เกาหลีใต้นำเข้า ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ซาอุดิอารเบีย เยอรมนี ปัจจุบันเกาหลีใต้นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 20 สัดส่วนร้อยละ 1.06 และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 17 ของเกาหลีใต้ สัดส่วนร้อยละ 1.21
4.4 สินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปตลาดเกาหลีใต้ ได้แก่
- แผงวงจรไฟฟ้า (H.S.8542) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 25,328.784 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.84 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 8 สัดส่วนร้อยละ 2.86 มูลค่า 723.484 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.33 ในขณะที่นำเข้าจากไต้หวันอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 17.69 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.88 ส่วนคู่แข่งสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์
- ยางธรรมชาติ (H.S.4001) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 789.148 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.57 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 46.48 มูลค่า 366.775 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.49 ส่วนคู่แข่งสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
- คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ (H.S.8471) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 3490.366 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 22.11 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 6.90 มูลค่า 240.695 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.99 ในขณะที่นำเข้าจากจีนอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 52.19 ลดลงร้อยละ 22.48 ส่วนคู่แข่งสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
- เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับ โทรศัพท์/โทรเลข (H.S.8517) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 4379.302 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 199.88 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 5 สัดส่วนร้อยละ 5.22 มูลค่า 228.577 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.99 ในขณะที่นำเข้าจากจีนอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 42.13 เพิ่มขึ้นร้อยละ 410.22 ส่วนคู่แข่งสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
- แผ่นชิ้นไม้อัด (H.S.4410) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 120.665 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.95 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 70.15 มูลค่า 84.652 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.11
4.5 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเกาหลีใต้ 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 30 มีรวม 10 รายการ เช่น
1.) แผงวงจรไฟฟ้า (H.S.8542) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 25,328.784 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.84 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 8 สัดส่วนร้อยละ 2.86 มูลค่า 723.484 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.33
2.) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับ โทรศัพท์/โทรเลข (H.S.8517) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 4379.302 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 199.88 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 5 สัดส่วนร้อยละ 5.22 มูลค่า 228.577 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.99
3.) เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ (H.S.8525) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 793.258 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 53.05 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 6.66 มูลค่า 52.829 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.07
4.) สิ่งปรุงแต่สำหรับใช้กับผม (H.S.3305) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 118.280 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.29 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 38.98 มูลค่า 46.100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.38
6.) แผ่น แผ่นบาง+แถบ (ทองแดง) (H.S.7409) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 262.709 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.50 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 12.48 มูลค่า 32.795 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.72
7.) ผลิตภัณฑ์แผ่นรีด (H.S.7219) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1487.480 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.16 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 9 สัดส่วนร้อยละ 2.12 มูลค่า 31.459 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 354.81
8.) มันสำปะหลัง (H.S.0714) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 43.775 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.23 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 69.94 มูลค่า 30.617 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 97.74
9.) เครื่องพิมพ์ เครื่องจักรใช้ประกอบการพิมพ์ (H.S.8443) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1659.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 253.29 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 7 สัดส่วนร้อยละ 1.79 มูลค่า 29.716 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9,684.19
10.) หม้อแปลงไฟฟ้า (H.S.8504) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 2,227.275 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.16 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 9 สัดส่วนร้อยละ 1.20 มูลค่า 26.681 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 292.01
4.6 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเกาหลีใต้ 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราลดลงมี 7 รายการ เช่น
1.) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (H.S.8471) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 3,490.366 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 22.11 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 6.90 มูลค่า 240.695 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.99
2.) แผ่นชิ้นไม้อัด (H.S.4410) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 120.665 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.95 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 70.15 มูลค่า 84.652 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.11
3.) ส่วนประกอบของเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ (H.S.8529) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,015.809 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 58.51 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 5 สัดส่วนร้อยละ5.32 มูลค่า 53.991 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 33.16
4.) โพลิเอสเทอร์ฯ (H.S.3907) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 791.026 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.49 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 6 สัดส่วนร้อยละ 3.90 มูลค่า 30.864 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 27.84
5.) ยางรถยนต์ (H.S.4011) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 306.675 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.76 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 9.20 มูลค่า 28.213 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.18
4.7 ข้อมูลเพิ่มเติม
1. เศรษฐกิจเกาหลีใต้เผชิญมรสุมราคาวัตถุดิบ
ราคาวัตถุดิบเกาหลีใต้ที่ขยับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันโลก และปัจจัยลบด้านการเงินจากสหรัฐฯ ส่งผลให้เศรษฐกิจเกาหลีใต้ชะลอการเติบโต ลงจากปีที่แล้วประมาณ 1.7% ความพยายามของรัฐบาลในการเพิ่มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศให้อยู่ในระดับ 6% ในปี 2551 นี้เป็นไปได้ยาก เนื่องจากปัจจัยลบจากต่างประเทศเป็นอุปสรรคสำคัญ กระทรวงนโยบายและการคลังได้เปิดเผยตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปีนี้ว่าจะอยู่ในระดับ 3 % ลดลงจากสถิติ 4.7% ในปี 2550 เป็นผลจากการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศลดลง ขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศปรับตัวสูงขึ้นตัวเลขสถิติสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศในเดือนมกราคมจะมีการขยายตัวในระดับหนึ่ง ท่ามกลางภาวะปัจจัยลบจากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่เกิดการชะลอตัว โดยตัวเลขประมาณการเติบโตของภาคการผลิตในอุตสาหกรรมมีการขยายตัว 11.8 % ภาคอุตสาหกรรมบริการมีอัตราการเติบโต 7.7% และยอดขายในธุรกิจค้าปลีกมีอัตราการขยายตัว 4.7% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ปี 2550
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขยอดขายสินค้าจะลดลงในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากน้ำมันและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องปรับลดปริมาณการใช้จ่ายเงินลง เพราะสินค้ามีการขยับราคาสูงขึ้น
ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เกาหลีใต้เผชิญกับภาวะขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 2,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 82,212 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 7 มีนาคม) สูงที่สุดในรอบ 11 ปีนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2540 ที่มีการขาดดุลเดินสะพัดในระดับ 3,130 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (98,971 ล้านบาท) ส่วนดัชนีซีพีไอในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาอยู่ในระดับ 3.6 % สูงกว่าที่ธนาคารกลางแห่งประเทศเกาหลีคาดไว้ในระดับ 2.5-3.5 % ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 มีการปรับตัวลดลงเล็กน้อยในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ทั้งนี้ตัวเลขดัชนีดังกล่าวในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ในระดับ 103.1 จุด ลดลงจากสถิติ 105.9 จุด ในเดือนมกราคม เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศที่ทำให้เกิดภาวะราคาสินค้าขยับตัวสูงขึ้น ประกอบกับความซบเซาในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะตลาดหุ้นโลกผันผวน
2. เกาหลีใต้ใช้ประโยชน์จาก FTA : ขยายการลงทุนในอาเซียน-ไทย
สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงในปี 2551 โดยมีสาเหตุสำคัญจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 1 ของโลก ต้องเผชิญกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ โดยมีสาเหตุสำคัญจากปัญหาสินเชื่อคุณภาพต่ำในภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่ส่งผลลุกลามไปยังภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ของสหรัฐฯ จนอาจรุนแรงและมีแนวโน้มนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ การชะลอตัวของการบริโภคและการลงทุนอันเนื่องมาจากปัญหาของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้การนำเข้าสินค้าของสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลงในปีนี้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศที่ส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ รวมทั้งประเทศไทยด้วย การบรรเทาผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากการส่งออกไปสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงในปีนี้ และการปรับตัวของไทยในระยะยาวไทยเพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในเศรษฐกิจโลก ไทยควรกระจายความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดส่งออกหลักไม่กี่ตลาด โดยควรเน้นขยายการค้าและการลงทุนไปยังตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น ตะวันออกกลาง รัสเซีย และยุโรปตะวันออก รวมถึงประเทศที่ไทยจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ด้วยทั้งในระดับทวิภาคี ได้แก่ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น รวมทั้ง FTA ระดับภูมิภาค ได้แก่ ความตกลงเขตการค้าเสรีที่อาเซียนจัดทำกับจีนและเกาหลีใต้ ส่วนความตกลง FTA ระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นเจรจาได้ข้อสรุปแล้วและมีกำหนดลงนามความตกลง FTA ในปีนี้
เกาหลีใต้เป็นประเทศหนึ่งที่จัดทำความตกลง FTA กับอาเซียน ไทยควรขยายการค้าและการลงทุนกับเกาหลีใต้โดยใช้ประโยชน์จากความตกลง FTA อาเซียน-เกาหลีใต้ เนื่องจากปัจจุบันการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ยังมีมูลค่าไม่มากนัก จึงมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก ทั้งนี้ ความตกลงเปิดเสรีด้านการค้าสินค้าระหว่างอาเซียนกับเกาหลีใต้เริ่มมีผลบังคับใช้แล้วในเดือนกรกฎาคม 2550 (อาเซียน 9 ประเทศ ยกเว้นไทย) ส่วนความตกลงเปิดเสรีภาคบริการระหว่างอาเซียนกับเกาหลีใต้ คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2551 หลังจากลงนามความตกลงฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2550 (อาเซียน 9 ประเทศ ยกเว้นไทย) ขณะนี้ เกาหลีใต้และอาเซียนอยู่ระหว่างเจรจาเปิดเสรีด้านการลงทุน คาดว่าความตกลงเปิดเสรีระหว่างอาเซียนกับเกาหลีใต้ทั้งภาคสินค้า บริการ และการลงทุน จะทำให้เกาหลีใต้เข้ามาจัดตั้งฐานการผลิตสินค้าในอาเซียนมากขึ้น ซึ่งเป็นเป้าหมายของเกาหลีใต้ที่ต้องการเสริมขีดความสามารถการแข่งขันให้ทัดเทียมกับจีนและญี่ปุ่นในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากจีนเข้ามารุกตลาดอาเซียนโดยจัดทำความตกลง FTA อาเซียน-จีน ไปก่อน โดยเริ่มลดภาษีสินค้าภายใต้ความตกลง FTA กับอาเซียนเป็นประเทศแรกตั้งแต่ปี 2547 ตามมาด้วยการเปิดเสรีภาคบริการระหว่างอาเซียน-จีน ในเดือนกรกฎาคม 2550 และอยู่ระหว่างเจรจาเปิดเสรีด้านการลงทุน สำหรับญี่ปุ่น แม้ญี่ปุ่นยังไม่ได้ลงนามความตกลง FTA กับอาเซียน (กำหนดลงนาม FTA อาเซียน-ญี่ปุ่นในช่วงต้นปี 2551) แต่ญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทสำคัญด้านการค้าและการลงทุนในอาเซียน และได้จัดทำความตกลง FTA ทวิภาคีกับประเทศอาเซียนเรียบร้อยแล้วหลายประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย และอินโดนีเซีย
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในปี 2550 นักลงทุนจากเกาหลีใต้สนใจเข้ามาลงทุนในไทยในประเภทการลงทุนที่หลากหลายมากขึ้น จากก่อนหน้านี้ที่การลงทุนของเกาหลีใต้ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเครื่องไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ และเหล็กและเครื่องจักรกล แต่ในปี 2550 ประเภทโครงการลงทุนที่มีมูลค่าสูงสุด 2 อันดับแรกของเกาหลีใต้ ได้แก่ แร่ธาตุและเซรามิกส์ และภาคบริการ ซึ่งถือเป็นประเภทโครงการลงทุนที่เกาหลีใต้เข้ามาลงทุนในไทยค่อนข้างน้อยในอดีตที่ผ่านมา มูลค่าโครงการลงทุนของเกาหลีใต้ที่เข้ามายื่นขออนุมัติส่งเสริมการลงทุนในไทยมีมูลค่าสูงสุดในปี 2550 ได้แก่ แร่ธาตุและเซรามิกส์ (สัดส่วนร้อยละ 44.8) รองลงมา ได้แก่ ภาคบริการ (สัดส่วนร้อยละ 23.2) เครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สัดส่วนร้อยละ 14.9) เหล็กและเครื่องจักรกล (ร้อยละ 13.2) และเคมีภัณฑ์และกระดาษ (ร้อยละ 3.7) ตามลำดับ
การจัดทำความตกลง FTA อาเซียน-เกาหลีใต้ คาดว่าจะช่วยให้สินค้าส่งออกของอาเซียนรวมทั้งไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคาที่ดีขึ้นในเกาหลีใต้ โดยเฉพาะการแข่งขันกับสินค้าราคาถูกจากจีนที่แย่งส่วนแบ่งตลาดของอาเซียนในเกาหลีใต้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2545-2549) และคาดว่าจะส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดสินค้าของอาเซียนในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น เนื่องจากภายใต้ความตกลง FTA อาเซียน-เกาหลีใต้ เกาหลีใต้ต้องยกเลิกภาษีศุลกากรสินค้าในสัดส่วนร้อยละ 90 ของรายการสินค้าทั้งหมดที่เกาหลีใต้นำเข้าจากอาเซียนภายในปี 2553 สำหรับประเทศไทย ผู้ประกอบการไทยควรเร่งเตรียมความพร้อมเพื่อใช้ประโยชน์จากความตกลง FTA อาเซียน-เกาหลีใต้ ซึ่งขณะนี้การเจรจาเปิดตลาดสินค้าระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ได้ข้อยุติแล้ว คาดว่าจะเริ่มลดภาษีภายใต้ FTA ได้ภายในปี 2551 หลังจากที่อาเซียนอื่นๆ เริ่มใช้ประโยชน์จากการเปิดตลาดของเกาหลีใต้ภายใต้ FTA ไปก่อนแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2550
สำหรับประเทศไทย แม้มูลค่า FDI ของเกาหลีใต้ในไทยที่ผ่านมายังไม่สูงนัก แต่การลงทุนโดยตรงของเกาหลีใต้ในไทยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (2549-2550) ขยายตัวอย่างต่อเนื่องอย่างเห็นได้ชัด และประเภทโครงการลงทุนของเกาหลีใต้ที่ยื่นขออนุมัติส่งเสริมการลงทุนในไทยมีความหลากหลายมากขึ้นทั้งภาคการผลิตและภาคบริการ มูลค่า FDI ของเกาหลีใต้ในไทยที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากการดำเนินนโยบายเปิดเสรีในเชิงรุกของไทยในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการจัดทำความตกลง FTA ทวิภาคีของไทยกับหลายประเทศ ทำให้เกาหลีใต้เห็นถึงประโยชน์ของการเข้ามาลงทุนในไทยและส่งออกไปยังประเทศที่สามที่ไทยจัดทำความตกลง FTA ด้วยซึ่งจะได้รับประโยชน์จากการลดภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลง FTA ดังกล่าว รวมถึงนโยบายของทางการเกาหลีใต้ที่ส่งเสริมให้นักลงทุนเกาหลีใต้ออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นด้วย มูลค่า FDI ของเกาหลีใต้ที่เพิ่มขึ้นในไทยส่งผลดีต่อการจ้างงานและสร้างรายได้ให้แรงงานไทย และกระตุ้นการการเติบโตของเศรษฐกิจไทยด้วย คาดว่าการเปิดเสรีของไทยภายใต้ความตกลง FTA ระดับต่างๆ ทั้งระดับทวิภาคี และภูมิภาคอาเซียน รวมถึง FTA อาเซียน-เกาหลีใต้ จะดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากเกาหลีใต้ให้ขยายตัวในไทยมากขึ้น ขณะเดียวกันธุรกิจบริการไทยที่มีศักยภาพ เช่น ร้านอาหาร และโรงแรม มีโอกาสขยายการลงทุนไปเกาหลีใต้ จากการเปิดเสรีภาคบริการของความตกลง FTA อาเซียน-เกาหลีใต้ ที่เกาหลีใต้เปิดให้นักลงทุนอาเซียนสามรถเข้าไปลงทุนถือหุ้นได้ทั้งหมด (สัดส่วนร้อยละ100) ในหลายสาขา ที่สำคัญ เช่น โรงแรม ภัตตาคาร ธุรกิจบันเทิง และบริการทำความสะอาด
ไทยต้องแข่งขันดึงดูดการลงทุนจากเกาหลีใต้กับประเทศอาเซียนอื่นๆ ด้วย โดยปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติในไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน ได้แก่
1. เสถียรภาพของรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ความชัดเจนของการปรับปรุงกฎหมายด้านเศรษฐกิจ ที่สำคัญ ได้แก่ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ที่กำหนดเงื่อนไขและประเภทธุรกิจที่อนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุน และ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ที่วางกติกาด้านค้าปลีกค้าส่งเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจนี้อยู่ร่วมกันได้
2. นโยบายการค้าระหว่างประเทศ และความชัดเจนของการจัดทำกฎหมายการเจรจาเปิดเสรีระหว่างประเทศของไทย 3. การพัฒนาระบบโลจีสติกส์ให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนทางธุรกิจ การพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เป็นสิ่งสำคัญที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรมภายในประเทศไทยเอง และเพื่อรองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการในประเทศจากเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทยด้วย
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ