1. มูลค่าการค้า
1.1 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของเนเธอร์แลนด์-โลก
2549 2550 %
(ม.ค.-ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 881,212.63 1,042,910.69 18.35
การนำเข้า 417,213.06 491,529.57 17.81
การส่งออก 463,999.57 551,381.12 18.83
ดุลการค้า 46,786.51 59,851.55 27.92
1.2 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของเนเธอร์แลนด์-ไทย
2549 2550 %
(ม.ค.-ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 4,283.48 4,735.52 10.55
การนำเข้า 3,414.58 3,733.33 9.33
การส่งออก 868.90 1,002.19 15.34
ดุลการค้า -2545.68 -2,731.13 7.29
2. การนำเข้า
2.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากโลก ปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน% %เพิ่ม/ลด
มูลค่าการนำเข้ารวม 491,529.57 100.00 0.56
1. เยอรมนี 86,120.93 20.53 21.52
2. จีน 51,153.87 12.19 31.49
3.เบลเยียม 45,740.34 10.90 16.44
4. สหรัฐฯ 35,757.97 8.52 11.95
5. สหราชอาณาจักร 28,291.01 6.74 15.43
24. ไทย 3,733.33 0.89 9.33
อื่น ๆ 168,732.13 40.22 -18.99
2.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากโลก ปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน % %เพิ่ม/ลด
มูลค่าการนำเข้ารวม 491,529.57 100.00 17.81
1. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 19,071.32 3.88 -35.25
2. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์/โทรเลข 16,411.44 3.34 469.75
3. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 11,219.77 2.28 -33.96
4. เครื่องพิมพ์สำหรับคอมพิวเตอร์ 10,926.95 2.22 1,689.72
5. รถยนต์และยานยนต์ 10,807.92 2.20 3.43
อื่น ๆ 423,092.17 86.08 16.69
2.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากไทยปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
มูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย 3,733.33 100.00 9.33
1. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 1,081.86 28.98 -4.37
2. แผงวงจรไฟฟ้า 318.90 8.54 -14.12
3. เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ 266.47 7.14 27.37
4. เครื่องพิมพ์สำหรับคอมฯ 170.94 4.58 91,309.09
5. เนื้อสัตว์ ส่วนอื่นๆของสัตว์ 137.47 3.68 51.48
อื่น ๆ 1,757.69 47.08 -25.35
3. การส่งออก
3.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่เนเธอร์แลนด์ส่งออกไปโลกปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
มูลค่าการส่งออกรวม 551,381.12 100.00 18.83
1. เยอรมนี 131,690.68 23.88 13.19
2. เบลเยียม 73,779.15 13.38 40.39
3. สหราชอาณาจักร 49,512.41 8.98 20.56
4. ฝรั่งเศส 45,733.63 8.29 17.18
5. อิตาลี 26,765.67 4.85 16.40
47. ไทย 1,002.19 0.18 15.33
อื่น ๆ 222,897.39 40.43 16.61
3.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เนเธอร์แลนด์ส่งออกไปโลกปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
มูลค่าการส่งออกรวม 551,381.12 100.00 18.83
1. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 21,159.77 3.84 -27.44
2. เครื่องพิมพ์สำหรับคอมฯ 13,820.12 2.51 1,575.48
3. อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์ 13,571.90 2.46 360.28
4. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 11,741.40 2.13 -34.32
5. ยารักษาหรือป้องกันโรค 10,589.37 1.92 10.55
อื่น ๆ 480,498.55 87.14 18.57
3.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เนเธอร์แลนด์ส่งออกไปไทยปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
มูลค่าการส่งออกไปไทย 1,002.19 100.00 15.34
1. แผงวงจรไฟฟ้า 189.77 18.94 -0.82
2. เครื่องกังหันไอพ่น 51.79 5.17 -27.79
3. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์/โทรเลข 27.09 2.70 341.63
4. เครื่องมือวิทยฯการแพทย์ 26.07 2.60 56.10
5. ซอสปรุงแต่ง 22.54 2.25 -0.80
อื่น ๆ 684.93 68.34 -2.67
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้านำเข้าสำคัญของเนเธอร์แลนด์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์/โทรเลข ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์สำหรับคอมพิวเตอร์ รถยนต์และยานยนต์
4.2 สินค้าส่งออกสำคัญของเนเธอร์แลนด์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องพิมพ์สำหรับคอมพิวเตอร์ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์/โทรเลข ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ยารักษา-และป้องกันโรค
4.3 แหล่งผลิตสำคัญที่เนเธอร์แลนด์นำเข้า ได้แก่ เยอรมัน จีน เบลเยียม สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ปัจจุบันเนเธอแลนด์นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 24 สัดส่วนร้อยละ 0.89 และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 47 ของเนเธอร์แลนด์ สัดส่วน ร้อยละ 0.18
4.4 สินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปตลาดเนเธอร์แลนด์ ได้แก่
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (HS. 8471) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 19,071.322 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 35.25 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 5.67 มูลค่า 1,081.858 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.37 ในขณะที่นำเข้าจากจีนอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 46.17 ลดลงร้อยละ 13.64 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ
- แผงวงจรไฟฟ้า (HS. 8542) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 5,455.559 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.63 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 9 สัดส่วนร้อยละ 5.85 มูลค่า 318.903 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.12 ในขณะที่นำเข้าจากมาเลเซียอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 15.29 ลดลงร้อยละ 11.06 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงคือ สิงคโปร์และญี่ปุ่น
- เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ (HS. 8525) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 2,733.193 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 51.45 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วน ร้อยละ 9.75 มูลค่า 266.472 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.37 ในขณะที่นำเข้าจากจีนอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 35.27 ลดลงร้อยละ 42.57 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา
- เครื่องพิมพ์สำหรับคอมพิวเตอร์ (HS. 8443) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 10,926.952 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,689.72 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 12 สัดส่วนร้อยละ 1.56 มูลค่า 170.935 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 91,146.00 ในขณะที่นำเข้าจากจีนอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 24.31 เพิ่มขึ้นร้อยละ 38,793.39 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ญี่ปุ่นและเยอรมัน
- เนื้อสัตว์ ส่วนอื่นๆ ของสัตว์ (HS. 1602) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 661.320 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.66 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 20.79 มูลค่า 137.470 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.48 ในขณะที่นำเข้าจากบราซิลอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 30.11 ลดลงร้อยละ 10.77 ส่วนคู่แข่งสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ เบลเยียมและเยอรมัน
4.5 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเนเธอร์แลนด์ 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 20 มีรวม 23 รายการ เช่น
1.) เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ (H.S.8525) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 9.75 มูลค่า 266.472 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.37
2.) เครื่องพิมพ์สำหรับคอมพิวเตอร์ (H.S.8443) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 12 สัดส่วนร้อยละ 1.56 มูลค่า 170.935 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 91,146.00
3.) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์/โทรเลข (H.S.8517) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 18 สัดส่วนร้อยละ 0.56 มูลค่า 91.768 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.00
4.) หม้อแปลงไฟฟ้า (H.S.8504) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 10 สัดส่วนร้อยละ 3.16 มูลค่า 54.147 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 176.36
สาเหตุเนื่องจากในปี 2550 การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีการขยายการลงทุน Hard Disk Drive ในไทยทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้นซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 60 ของการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์
5.) เนื้อสัตว์ ส่วนอื่นๆ ของสัตว์ (H.S.1602) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 20.79 มูลค่า 137.470 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.48
6.) สัปปะรดและผลไม้รวมกระป๋อง (H.S.2008) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 8.34 มูลค่า 37.487 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.33
7.) มันสำปะหลังสดแช่เย็น/แช่แข็ง (H.S.2008) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 60.92 มูลค่า 89.262 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 122,176
สาเหตุเนื่องจากในช่วงปีที่ผ่านมาสภาพภูมิอากาศทางสหภาพยุโรปไม่ค่อยดีนัก โดยเฉพาะปัญหาเรื่องน้ำท่วมส่งผลให้ธัญพืชของสหภาพยุโรป ถูกทำลายเสียหายหนักดังนั้นจึงมีการนำเข้าธัญพืชและมันสำปะหลังจากไทยมากขึ้น
8.) ยาขัดเงา (H.S. 3505) เนเธอร์แลนด์ นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อย 30.90 มูลค่า 52.536 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 129.07
4.6 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเนเธอร์แลนด์ 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงมี 7 รายการ เช่น
1.) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (H.S. 8471) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 19,071.322 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 35.25 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 5.67 มูลค่า 1,081.858 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.37
ในขณะที่นำเข้าจากจีนอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 46.17 ลดลงร้อยละ 13.64 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ
2.) แผงวงจรไฟฟ้า (H.S.8542) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 5,455.559 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.63 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 9 สัดส่วนร้อยละ 5.85 มูลค่า 318.903 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.12
ในขณะที่นำเข้าจากมาเลเซียอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 15.29 ลดลงร้อยละ 11.06 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงคือ สิงคโปร์และญี่ปุ่น
3.) คอนแทคเลนส์และแว่นตา (H.S.9001) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 459.203 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.18 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 18.52 มูลค่า 85.021 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.14
ในขณะที่นำเข้าจากมาเลเซียอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 15.29 ลดลงร้อยละ 11.06 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงคือ สิงคโปร์และญี่ปุ่น
4.) น้ำผัก ผลไม้ (H.S.2009) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,083.409 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.03 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 10 สัดส่วนร้อยละ 3.79 มูลค่า 41.051 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.76
5.) ส่วนประกอบของเครื่องรับวิทยุ/โทรทัศน์ (H.S. 8529) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,549.988 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 34.65 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 10 สัดส่วนร้อยละ 1.92 มูลค่า 29.791 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 45.06
4.7 ข้อมูลเพิ่มเติม
1.) การปรับปรุงกฎระเบียบด้วยการติดฉลากอาหารของอียู
เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2551 ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยุโรปด้านสุขอนามัยและคุ้มครองผู้บริโภค(Directorate General for Health and Consumer Protection) ได้มีการปรับปรุงกฎระเบียบว่าด้วยการติดฉลาดสินค้าอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารของสหภาพยุโรปหรือ EU (EU Food Labelling and Legislation) ใหม่กฎระเบียบที่อียูปรับปรุงใหม่นี้ กำหนดให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารไปยัง อียูต้องติดฉลากแสดงข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการบนส่วนหน้าของบรรจุหีบห่อสินค้าแปรรูปเกือบทุกชนิด ซึ่งกฎระเบียบเดิมให้เป็นการสมัครใจ (ยกเว้นสินค้าแปรรูปที่มีส่วนประกอบจากวัตถุดิบประเภทเดียวกัน เช่น เนื้อสด ผักและผลไม้สด น้ำเปล่า อาหารรมควัน อาหารที่เก็บรักษาไว้เป็นระยะเวลานานเพื่อให้ได้รสชาติที่ต้องการที่มีส่วนประกอบจากวัตถุดิบประเภทเดียว ชา กาแฟ เครื่องเทศ สมุนไพร เกลือ น้ำส้มสายชู สารเพิ่มรส สารให้สี และสารปรุงแต่งอื่นๆ ที่บรรจุหีบห่อไว้แล้ว) โดยต้องระบุข้อมูลบนฉลากให้ชัดเจน ประกอบด้วย ค่าพลังงาน และสารอาหารต่างๆ เช่น ปริมาณไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต น้ำตามและเกลือ เป็นต้น โดยระบุมูลค่าต่อ 100 มิลลิเมตร/100 กรัม ต่อ 1 หน่วยการบริโภค สำหรับวิตามินและเกลือแร่ที่เสริมเข้าไปในอาหารให้ระบุสัดส่วนร้อยละของปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน และบังคับให้ใช้อักษรพิมพ์บนฉลากต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 3 มม. เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านฉลาก
นอกจากนี้ กฎระเบียบที่ปรับปรุงใหม่ดังกล่าวยังบังคับรวมถึงอาหารที่มีสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ ไม่ว่าอาหารนั้นจะอยู่ในรูปบรรจุหีบห่อหรือไม่ได้บรรจุหีบห่อ ซึ่งรวมถึงอาหารที่ขายในห้องอาหารหรืออุตสาหกรรมจัดอาหาร(Catering)ต้องให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคที่มีการร้องขอและต้องระบุส่วนประกอบสารก่อให้เกิดภูมิแพ้ในฉลากอย่างชัดเจน เช่น ถั่วลิสง นม ปลา และมัสตาร์ด เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคที่อ่อนไหวต่อสารดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบัน ผู้บริโภคร้อยละ 70 เกิดอาการแพ้กรณีบริโภคอาหารนอกบ้าน สำหรับกรณีที่เป็นอาหารเฉพาะอย่าง อาทิ อาหารแช่เยือกแข็ง อียูได้กำหนดให้ระบุวิธีการใช้ การเก็บรักษา แหล่งที่มาของสินค้า และหากมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ในผลิตภัณฑ์มากกว่า ร้อยละ 1.2 ต้องระบุไว้ในฉลากให้ชัดเจนด้วย
สำหรับในส่วนข้อกำหนดทั่วไปอื่นๆ เกี่ยวกับฉลากอาหาร อียูได้กำหนดให้มีผลบังคับใช้เช่นเดิมภายใต้กฎระเบียบใหม่ ซึ่งผู้ส่งออกต้องมีการแสดงข้อมูลบางอย่างไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารด้วย ไม่ว่าจะเป็นชื่อผลิตภัณฑ์ รายการส่วนผสมของอาหาร ปริมาณสารอาหาร น้ำหนักสุทธิ วันหมดอายุ เงื่อนไขพิเศษของการใช้ผลิตภัณฑ์รวมทั้งชื่อ/ที่อยู่ของผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย ซึ่งข้อมูลทั้งหมดต้องมีความชัดเจน ง่ายต่อการอ่านและไม่สร้างความเข้าใจผิดให้แก่ผู้บริโภค สำหรับการติดฉลาดสินค้าอื่นๆ ได้แก่ สินค้าฮาลาล อาหารดัดแปลงพันธุกรรมหรือ GMOs และอาหารเกษตรอินทรีย์ ยังคงเป็นไปตามระเบียบข้อกำหนดของแต่ละสินค้าอาหารนั้น
ทั้งนี้ การปรับปรุงกฎระเบียบดังกล่าววอยู่ระหว่างคณะกรรมาธิการยุโรปยื่นเสนอต่อคณะมนตรีสหภาพยุโรป และสภายุโรปพิจารณา โดยจะมีผลบังคับใช้ 3 ปี หลังจากประกาศใช้ระเบียบ สำหรับวิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลางที่มีจำนวนพนักงานต่ำกว่า 10 คน ให้มีระยะเวลาปรับตัว 5 ปี หลังการประกาศใช้ระเบียบ
อียูเป็นตลาดคู่ค้าสำคัญอันดับสามของไทย รองจากอาเซียนและญี่ปุ่น ซึ่งมีมูลค่าการค้าระหว่างกันเฉลี่ยปีละกว่า 1 ล้านล้านบาท โดยในปี 2550 ที่ผ่านมาคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13 ของการส่งออกสินค้าทั้งหมดของไทยไปยังทั่วโลก ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 87,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งหมดของไทยไปยังสหภาพยุโรป โดยคาดว่าแนวโน้มการส่งออกสินค้าอาหารของไทยไปยังสหภาพยุโรปจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันประเทศผู้นำเข้าสินค้าอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารที่สำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อาเซียน รวมทั้งสหภาพยุโรปได้ให้ความสำคัญต่อสุขอนามัยและความปลอดภัยของผู้บริโภคของตนเป็นอย่างมาก โดยได้มีการออกกฎระเบียบและข้อกำหนดต่างๆ ในการผลิตและการนำเข้าของตน โดยเฉพาะสหภาพยุโรปได้ออกกฎระเบียบเกี่ยวกับสินค้าเกษตรและอาหารเป็นจำนวนมาก อาทิ การตรวจสอบสารตกค้าง สารปนเปื้อน วัสดุสัมผัสอาหาร อาหารใหม่ (Novel foofs) อาหารเกษตรอินทรีย์ และอาหารที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรม (GMOs) รวมทั้งกฎระเบียบเกี่ยวกับการติดฉลากสินค้า ซึ่งเป็นระเบียบที่สหภาพยุโรปให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยได้มีการปรับปรุงกฎระเบียบการติดฉลากใหม่ดังกล่าว และเนื่องจากตลาดอียูเป็นตลาดหลักของไทย
ฉะนั้น ผู้ประกอบการที่ส่งออกสินค้าอาหารไปยังอียูซึ่งมีประมาณกว่า 1,000 รายในขณะนี้จำเป็นต้องเร่งปรับตัวในเรื่องนี้ โดยจะต้องพัฒนาคุณภาพสินค้าให้มีความปลอดภัยทางอาหาร และต้องติดฉลากบนผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้องตามข้อกำหนดด้วย เพื่อไม่ให้สินค้าถูกปฏิเสธการนำเข้าหรือถูกกักกันและตีกลับ ซึ่งอาจสร้างความเสียหายทางการค้าได้
2.) ตลาดอาหารฮาลาลในเนเธอร์แลนด์
ในช่วงครึ่งศตวรรษหลัง ประชากรมุสลิมในยุโรปตะวันตกเพิ่มขึ้นจาก 2.5 แสนคน เป็นประมาณ 30 ล้านคน จำเป็นต้องบริโภคอาหารฮาลาล (halal) ซึ่งต้องผ่านการจัดเตรียมการตามหลักศาสนา เช่น การฆ่าสัตว์ ประชากรมุสลิมในยุโรปนิยมซื้อสินค้าจากร้านพิเศษที่นำเข้าอาหารฮาลาลจากประเทศมุสลิมในตะวันออกกลาง ซึ่งมิได้นำเสนอสินค้ารายการใหม่ ๆ (เช่น ขนมขบเคี้ยว (snacks) แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า เฟรนช์ฟราย Mexican snacks) ตามรสนิยมของประชากรมุสลิมรุ่นใหม่ที่เกิดในยุโรป
ปัจจุบันผู้ผลิตในยุโรปให้ความสำคัญกับตลาดอาหารฮาลาลมากขึ้น นอกเหนือจากจำนวนประชากรมุสลิมเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีเหตุสนับสนุนสำคัญได้แก่ มุสลิมจากตะวันออกกลางและเอเชียมี ฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้นพอ ๆ กับชาวยุโรป ในปี 2548 ตลาดสินค้าอาหารฮาลาลของโลกมีมูลค่าประมาณ 150 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มีมูลค่าการจำหน่ายในอังกฤษประมาณ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ กลุ่มประเทศตะวันออกกลางนำเข้ามูลค่าปีละประมาณ 12 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีผู้บริโภคทั่วโลกประมาณ 2 พันล้านคน และกระจายอยู่ทั่วโลกมีฐานะเศรษฐกิจแตกต่างกัน
ปัญหาและอุปสรรค
การรับรองอาหารฮาลาล — ปัจจุบันไม่มีการจัดทำ “Global Halal Standards” เนื่องจากมาตรฐานฮาลาลในแต่ละประเทศแตกต่างกัน จึงมีการจัดตั้งหน่วยงานรับรองอาหารฮาลาลของตนเองขึ้นในประเทศต่างๆ ทำให้เกิดความสับสน การตีความไม่ตรงกัน ขั้นตอนการตรวจและรับรองต่างกัน เช่น ประเด็นอาหารสัตว์ วิธีการฆ่าสัตว์ การบรรจุภัณฑ์ ระบบโลจิสติกส์ gelatine, food flavouring, animal enzymes, phosphates ผู้ผลิตไม่ทราบจะปรึกษาหน่วยงานใด เพื่อจะได้การรับรองที่เหมาะสมกับตลาด (right market) ประเทศมุสลิมอาจจะร่วมกันแก้ไขด้วยการศึกษารูปแบบการจัดตั้งหน่วยงานความปลอดภัยและมาตรฐานคุณภาพอาหารในประเทศพัฒนา ผู้แทนบริษัทผลิตอาหารรายใหญ่ของโลก Nestte’s (ซึ่งผลิตอาหารฮาลาลออกจำหน่ายแล้ว) กล่าวว่าจำเป็นต้องมี “premium global standard” เพื่อให้สามารถเข้าสู่ตลาดโลกได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น World Halal Forum (สนับสนุนโดยรัฐบาลมาเลเซีย ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ Malaysia’s Third Industrial Masterplan (2006-2020) ได้จัดตั้งองค์กร International Halal Integrity (IHI) Allianceในปี 2550 มีฐานะเป็นองค์กร non-profit, non-governmental and non-national body เพื่อเป็นเวทีให้สมาชิกแลกเปลี่ยนข้อมูล ใช้เป็นช่องทางการสื่อสารและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมฮาลาล คาดว่าจะนำไปสู่การจัดทำมาตรฐานฮาลาลเดียวและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก ด้วยการจัดทำ “new Halal guidelines” และระบบการรับรองสำหรับผู้บริโภคทั่วโลกทั้งที่เป็นมุสลิม และ Non-Muslim
ประชากรมุสลิมในเนเธอร์แลนด์ - มีประมาณ 1 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 5.8 ของประชาชนรวม (16.3 ล้านคน) ส่วนใหญ่มาจากอดีตอาณานิคมดัชท์ ได้แก่ อินโดนีเซีย และสุรินัม นอกจากนั้น ได้แก่ จากตุรกีและมอรอคโค (ส่วนเบลเยี่ยม มีประชากรมุสลิมประมาณ 0.4 ล้านคน ประมาณร้อยละ 4 ของประชากรรวม (10.3 ล้านคน) ส่วนใหญ่เป็นมุสลิมที่อพยพมากจากตุรกีและมอรอคโค)ปี 2547 เนเธอร์แลนด์มีการผลิต “Multi Kulti-Menus” โดยเรียกว่าโครงการ Meals on Wheel สำหรับผู้สูงอายุมุสลิมที่อาศัยอยู่ในยุโรปเป็นเวลานาน ปัจจุบันขยายไปยังกลุ่มคนพิการด้วย โดยมีรายการอาหารไก่ เนื้อวัว ข้าวแกงกะหรี่ มะพร้าว ซอสพริก รวมทั้งประเภท oreintal specialties เช่น Turkish Skish ทั้งนี้ทุกสินค้าติดแสตมป์รับรอง Halal — Korrecht certifyin
ในปี 2549 Albert Heijn (AH) เครือข่ายซุปเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ เริ่มจำหน่ายสินค้าอาหารฮาลาล รวม 27 ชนิด ในสาขาใหญ่ 45 สาขา ได้แก่ เนื้อวัว ไก่ (รวม 17 ชนิด) เนื้อวัวบด spices hamburger kebab-spices และเนื้อแกะหั่นเป็นชิ้น โดยวางจำหน่ายในตู้แช่แยกจากสินค้าอื่น โดยจะบรรจุใน packaging สีขาวมีตราสัญญลักษณ์ฮาลาลสีเขียวติดอยู่ ผู้บริโภคมั่นใจได้ 100% ว่าเป็นอาหารฮาลาลของแท้ เพราะสินค้าทุกชนิดและทุกชิ้นสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้ นอกจากนี้ยังวางจำหน่ายผักและผลไม้จากประเทศมุสลิม (เช่น ตุรกี มอรอคโค และสุรินัม) หากการทดลองตลาดประสบผลสำเร็จก็จะเพิ่มสาขาวางจำหน่ายอาหารฮาลาลมากขึ้น
ระบบ Logistics — บริษัทโลจิสติกส์ Eurofrigo BV จัดทำศูนย์จัดเก็บสินค้า Coldstorage อาหารฮาลาลที่ Maasvlekte ท่าเรือเมืองรอตเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ ส่วนอาหาร non — frozen halal foodstuffs บริษัท VAT Logistic B.V. ดำเนินการโดยผ่านการตรวจรับรองโดย Dutch Association for Halal Certification ปัจจุบันผู้ส่งออกสินค้าอาหารฮาลาลจากบราซิลใช้บริการของบริษัท Eurofrigo ด้วยการขนส่งสินค้าจากบราซิลมาพักที่นี่ก่อนส่งต่อไปประเทศกลุ่มตะวันออกกลาง
การวางจำหน่ายสินค้าอาหารฮาลาล (ประทับตราฮาลาลบนภาชนะ) ของไทยในเนเธอร์แลนด์มีวางจำหน่ายทั่วไปในร้านจำหน่ายสินค้าอาหารเอเชีย เช่น อาหารทะเลกระป๋อง (เช่น ปลากระป๋อง) เครื่องปรุงรส (เช่น ซีอิ๊วขาว น้ำบูดู กะปิ น้ำปลา) นอกจากนี้ยังมีสินค้าอาหารฮาลาลจากประเทศมุสลิม ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ รวมทั้งวางจำหน่ายในร้านค้ามุสลิมซึ่งผู้บริโภคมั่นใจว่าเป็นอาหารฮาลาลแท้ ผู้บริโภคบางรายไม่สังเกตตราฮาลาล เนื่องจากซื้อจากร้านมุสลิมจึงแน่ใจว่าเป็นอาหารฮาลาล หรือสังเกตชื่อประเทศผู้ผลิตบนฉลาก
3.) สหภาพยุโรป (อียู) ให้ข้อเสนอ จีเอสพี ใหม่ คืนสิทธิยานยนต์-ลดภาษีสิ่งทอ
สหภาพยุโรป (อียู) ได้จัดทำร่างข้อเสนอโครงการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ช่วงระหว่างปี 2009-2001 แล้วโดยการจัดทำร่างโครงการจีเอสพีของอียูช่วงปี 2009-2001 จะยังคงต่อเนื่องจากโครงการปัจจุบันแต่ยกเว้นกลุ่มสินค้าที่ถูกตัดสิทธิและประเทศที่ได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้มาตรการจูงใจ โดยไทยจะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการได้คืนสิทธิจีเอสพี ในสินค้ากลุ่มยานยนต์ที่เป็นกลุ่มสินค้าที่สำคัญกับการส่งออกของไทยไปยังอียู
หากไทยตกลงเขตการค้าเสรี กรอบอาเซียน-อียูได้ ไทยจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้จีเอสพี แต่สิทธิดังกล่าวจะไปอยู่ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีที่แน่นอนกว่ารวมถึงการให้แบบต่างตอบแทนมากกว่าการให้ฝ่ายเดียวภายใต้ จีเอสพี
สำหรับการให้สิทธิจีเอสพี แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. สิทธิพิเศษทั่วไป เป็นการให้สิทธิกับประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมดที่ไม่ถูกจำแนกไว้ ภายใต้ประเทศที่มีระดับรายได้สูงของธนาคารโลก โดยสินค้าที่ถูกกำหนดเป็นสินค้าอ่อนไหวจะได้รับการลดหย่อนภาษี 3.5 % แต่สินค้าสิ่งทอจะได้รับการลดหย่อนภาษีเพียง 20 % ส่วนสินค้าไม่อ่อนไหวจะยกเว้นภาษีนำเข้าแต่ไม่ให้สิทธิกับกลุ่มสินค้าที่ถูกตัดจีเอสพี และประเทศผู้ได้รับสิทธิจีเอสพี จะได้รับสิทธิภายใต้ จีเอสพี หรือเอฟทีเออย่างเดียวถ้าเอฟทีเอครอบคลุมรายการสินค้าจีเอสพีครอบคลุมรายการสินค้าจีเอสพีในระเบียบทั้งหมด
2. สิทธิประโยชน์ภายใต้มาตรการจูงใจ โดยประเทศผู้รับสิทธิต้องไม่อยู่ในกลุ่มรายได้สูงของธนาคารโลกในช่วง 3 ปี ติดต่อกันและมีมูลค่าการนำเข้าภายใต้จีเอสพีของกลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าสูงสุด 5 กลุ่มแรก รวมกันมากกว่า 75 % มูลค่าการนำเข้าภายใต้จีเอสพีของประเทศทั้งหมด ขณะที่มูลค่าการนำเข้าภายใต้ จีเอสพีทั้งหมดของประเทศต้องน้อยกว่า 1 % ของมูลค่าการนำเข้าภายใต้จีเอสพีของอียูทั้งหมด
3. สิทธิประโยชน์ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด เป็นการให้สิทธิยกเว้นภาษีและไม่มีโควต้ากับสินค้าทุกรายการ
ที่มา: http://www.depthai.go.th