สรุปภาวะการค้าไทย-เยอรมนีปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค) สรุปจากสถิติ World Trade Atlas

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 22, 2008 12:13 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. มูลค่าการค้า   
1.1 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของเยอรมนี-โลก
2549 2550 D/%
(ม.ค.-ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 2,016,860.21 2,387,374.27 18.37
การนำเข้า 907,677.59 1,059,704.43 16.75
การส่งออก 1,109,182.62 1,327,669.84 19.70
ดุลการค้า 201,505.03 267,965.41 32.98
1.2 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของเยอรมนี-ไทย
2549 2550 D/%
(ม.ค.-ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 5,173.19 6,535.05 26.33
การนำเข้า 2,505.03 3,296.35 31.59
การส่งออก 2,668.16 3,238.71 21.38
ดุลการค้า 163.14 -57.64 -135.33
2. การนำเข้า
2.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่เยอรมนีนำเข้าจากโลก ปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 1,059,704.43 100.00 16.75
1. เนเธอร์แลนด์ 120,300.90 11.35 18.79
2. ฝรั่งเศส 91,074.45 8.59 16.92
3. เบลเยียม 81,017.39 7.65 23.54
4. จีน 65,663.77 6.20 21.17
5. อิตาลี 60,642.69 5.72 18.41
41. ไทย 3,296.35 0.31 31.59
อื่น ๆ 637,708.89 60.18 14.90
2.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เยอรมนีนำเข้าจากโลก ปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 1,059,704.43 100.00 16.75
1. รถยนต์และยานยนต์ 44,189.38 4.17 5.11
2. ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ 26,647.58 2.51 17.01
3. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 20,600.09 1.94 -17.00
4. ยารักษาโรคหรือป้องกันโรค 16,618.48 1.57 10.29
5. แผงวงจรไฟฟ้า 14,611.76 1.38 0.45
อื่น ๆ 937,037.15 88.42 12.36
2.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เยอรมนีนำเข้าจากไทยปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย 3,296.35 100.00 31.59
1. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 285.61 8.66 0.36
2. อัญมณี เครื่องประดับฯ 195.57 5.93 21.20
3. เครื่องพิมพ์ฯ 150.05 4.55 35,371.63
4. ยางธรรมชาติ 109.68 3.33 -10.85
5. ส่วนประกอบของเครื่องรับวิทยุ/ โทรทัศน์ 108.22 3.28 834.48
อื่น ๆ 2,447.22 74.24 8.92
3. การส่งออก
3.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่เยอรมนีส่งออกไปโลกปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 1,327,669.84 100.00 19.70
1. ฝรั่งเศส 126,970.79 9.56 20.93
2. สหรัฐฯ 98,877.32 7.45 4.64
3. สหราชอาณาจักร 96,201.27 7.25 20.65
4. อิตาลี 87,659.25 6.60 20.78
5. เนเธอร์แลนด์ 81,622.78 6.15 22.61
48. ไทย 3,238.71 0.24 21.38
อื่น ๆ 833,099.73 62.75 21.06
3.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เยอรมนีส่งออกไปโลกปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 1,327,669.84 100.00 19.70
1. รถยนต์และยานยนต์ 138,717.46 10.45 19.74
2. ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ 42,989.30 3.24 15.44
3. ยารักษาหรือป้องกันโรค 40,211.28 3.03 20.95
4. เครื่องบินและเฮลิคคอปเตอร์ 20,141.27 1.52 11.15
5. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์/โทรเลข 16,509.61 1.24 294.13
อื่น ๆ 1,069,100.92 80.52 9.65
3.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เยอรมนีส่งออกไปไทยปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกไปไทย 3,238.71 100.00 21.38
1. แผงวงจรไฟฟ้า 208.92 6.45 46.36
2. รถยนต์และเครื่องยนต์ 110.05 3.40 29.83
3. รถโดยสาร รถไพฯ 68.06 2.10 -
4. เครื่องจักรและเครื่องใช้กลฯ 64.47 1.99 23.34
5. เครื่องจักรใช้ในการเกษตร 62.40 1.93 702.66
อื่น ๆ 2,724.81 84.13 6.85
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้านำเข้าสำคัญของเยอรมนี ได้แก่ รถยนต์และยานยนต์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ยารักษาโรคหรือป้องกันโรค และ แผงวงจรไฟฟ้า
4.2 สินค้าส่งออกสำคัญของเยอรมนี ได้แก่ รถยนต์และยานยนต์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ยารักษาหรือป้องกันโรค เครื่องบินและเฮลิคคอปเตอร์ และเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์/โทรเลข
4.3 แหล่งผลิตสำคัญที่เยอรมนีนำเข้า ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เบลเยียม จีน และอิตาลี ปัจจุบันเยอรมนีนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 41 สัดส่วน ร้อยละ 0.31 และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 48 ของเยอรมนี สัดส่วนร้อยละ 0.24
4.4 สินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปตลาดเยอรมนี ได้แก่
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (HS.8471) เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 20,600.088 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 17.00 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 14 สัดส่วนร้อยละ 1.39 มูลค่า 285.613 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.36ในขณะที่นำเข้าจากจีนอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 37.14 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.48 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ เนเธอร์แลนด์ และไอร์แลนด์
- อัญมณี เครื่องประดับ และส่วนประกอบ (HS.7113) เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 861.248 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.54 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 22.71 มูลค่า 195.566 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.20 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ จีน และอิตาลี
- เครื่องพิมพ์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ (HS.8443) เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 12,868.663 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 919.27 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 14 สัดส่วนร้อยละ 1.17 มูลค่า 150.045 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 922.42 ในขณะที่นำเข้าจากเนเธอร์แลนด์อันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 30.38 เพิ่มขึ้นร้อยละ 35,362.76 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและ มูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ญี่ปุ่น และจีน
- ยางธรรมชาติ (HS.4001) เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 793.200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.91 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 13.83 มูลค่า 109.676 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.85 ในขณะที่นำเข้าจากมาเลเซียอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 18.11 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.82 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงคือ เบลเยียม และอินโดนีเซีย
- ส่วนประกอบเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ (HS.8529) เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 4,028.097 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.80 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 8 สัดส่วนร้อยละ 2.69 มูลค่า 108.222 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 834.49 ในขณะที่นำเข้าจากเกาหลีใต้อันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 24.11 ลดลงร้อยละ 4.02 ส่วนคู่แข่งสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือจีน และญี่ปุ่น
4.5 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเยอรมนี 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตรา
เพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 20 มีรวม 13 รายการ เช่น
1.) อัญมณี เครื่องประดับและส่วนประกอบ (HS.7113) เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 861.248 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.54 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 22.71 มูลค่า 195.566 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.20
2.) เครื่องพิมพ์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ (HS.8443) เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 12,868.663 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 922.42 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 14 สัดส่วนร้อยละ 1.17 มูลค่า 150.045 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35,362.76
3.) ส่วนประกอบเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ (HS.8529) เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 4,028.097 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.80 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 8 สัดส่วนร้อยละ 2.69 มูลค่า 108.222 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 834.49
สาเหตุเนื่องจากในปี 2550 การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีการขยายการลงทุน Hard Disk Drive ในไทยทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้นซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 60 ของการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์
4.) รถบรรทุกเล็ก (HS. 8704) เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 6,049.005 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.13 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 15 สัดส่วนร้อยละ 0.99 มูลค่า 59.616 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.08
5.) เทปแม่เหล็กสำหรับคอมพิวเตอร์, วิดิโอเทป (HS. 8523) เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 4,904.853 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 168.10 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 15 สัดส่วนร้อยละ 1.21 มูลค่า 59.235 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 74,403.52
6.) รถจักรยาน (HS. 8712) เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 539.995 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.12 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 10.21 มูลค่า 55.127 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 433.64
เป็นผลมาจากทางสหภาพยุโรปได้ยกเลิก Anti-dumping ในสินค้าประเภทนี้ และมีการผลิตภายใต้แบรนด์ของตัวเองมากขึ้น
7.) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (HS. 8415) เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,952.843 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.80 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 12 สัดส่วนร้อยละ 2.21 มูลค่า 43.145 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 108.61
เป็นผลมาจากสินค้าส่วนใหญ่ได้ผ่านมาตรฐานของ RoHS ประกอบกับผลจากภาวะอากาศที่แปรปรวนทั่วโลก จึงทำให้มีความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศมากขึ้น นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนการผลิตเครื่องปรับอากาศ โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ที่มีเครื่องปั๊มอยู่ในตัวเครื่องทำให้มีการขยายตัวของตลาดมากขึ้นด้วย
8.) อาหารทะเลแปรรูป (HS.1605) เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 270.076 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.16 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 14.48 มูลค่า 39.097ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 105.49
เป็นผลมาจาก ปู มีการขยายฐานลูกค้ามากขึ้นทั้งในและต่างประเทศมีการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เป็นที่ดึงดูดมากขึ้นและไทยมีมาตรฐานที่ดีมากขึ้นกว่าที่ผ่านมาทำให้สหภาพยุโรปมีการนำเข้าจากไทยมากขึ้นเนื่องจากสหภาพยุโรปมีมาตรการในเรื่องของอาหารค่อนข้างเข้มงวดกว่ากลุ่มประเทศอื่น ๆ สำหรับกุ้งไทยได้รับสิทธิ GSP จากสหภาพยุโรปและมีการตรวจเข้มเกี่ยวกับสารตกค้างโดยไทยสามารถผ่านเกณฑ์ของมาตรการที่เข้มงวดในเรื่องนี้แล้ว
9.) ข้าว (HS. 1006) เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 250.397 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.37 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 12.22 มูลค่า 30.590 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 142.04
เป็นผลมาจากที่ผ่านมากลุ่มประเทศสหภาพยุโรปจะนำเข้าสินค้าข้าวจากสหรัฐฯ เป็นส่วนใหญ่แต่ด้วยสาเหตุที่สหรัฐฯมีการผลิตข้าวในรูปแบบของพืช GMO มากขึ้นทำให้สหภาพยุโรปขาดความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์จากสหรัฐฯ สาเหตุนี้ทำให้สหภาพยุโรปหันมานำเข้าผลิตภัณฑ์ข้าวจากกลุ่มประเทศในแถบอาเซียนมากขึ้นโดยเฉพาะจากไทยและเวียดนาม
4.6 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเยอรมนี 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงมี 4 รายการ เช่น
1.) ยางธรรมชาติ (HS.4001) เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 793.200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 16.91 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 13.83 มูลค่า 109.676 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.85
2.) เสื้อกั๊กแบบ เสื้อสเว็ตเตอร์ เสื้อกัก (HS. 6110) เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 3,593.538 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.87 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 18 สัดส่วนร้อยละ 1.39 มูลค่า 49.767 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.70
3.) ปลาสำเร็จรูป ปลากระป๋อง (HS. 1604) เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 699.976 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.79 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 6 สัดส่วนร้อยละ 5.28 มูลค่า 36.938 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 23.69
4.) ไดโอดทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ (HS.8541) เยอรมนีนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 7,144.851 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.63 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 23 สัดส่วนร้อยละ 0.45 มูลค่า 32.059 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 24.41
4.7 ข้อมูลเพิ่มเติม
1. เศรษฐกิจเยอรมนี
เศรษฐกิจเยอมนีในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ขยายตัวเพียง 2.5 % โดยลดลงจากปีก่อน 0.2 % อันเป็นผลมาจากการชะลอตัวของการบริโภค ซึ่งภาคครัวเรือนปรับลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากราคาน้ำมันและราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจส่วนใหญ่มาจากภาคส่งออกและการลงทุนในอุปกรณ์เครื่องจักรของภาคธุรกิจ
2. อุตสาหกรรมรถยนต์ของเยอรมนี
เยอรมนีนับเป็นต้นกำเนิดของอุตสาหกรรมรถยนต์ของโลก โดยรถยนต์เยอรมนีได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดในด้านวิศวกรรม แต่ปัจจุบันได้เผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญจากรถยนต์คู่แข่งจากต่างประเทศอย่างไรก็ตาม ต่อมาญี่ปุ่นได้แซงหน้าเยอรมนี กลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ทำให้เยอรมนีกลายมาเป็นอันดับ 3 และในอนาคตมีการคาดหมายว่าจีนจะแซงหน้าอีกประเทศหนึ่ง ทำให้เยอรมนีตกมาเป็นอันดับ 4 ของโลก
ปัจจุบันอุตสาหกรรมรถยนต์นับเป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจเยอรมนี เนื่องจากมีขนาดใหญ่ถึง 11,000,000 ล้านบาท เกินดุลการค้าในสินค้ารถยนต์มากถึงปีละ 4,000,000 ล้านบาท จุดเด่นสำคัญของอุตสาหกรรมรถยนต์เยอรมนีมีหลายประการ ขณะเดียวกันในด้านภาพลักษณ์ของรถยนต์เยอรมนีก็โดดเด่นมาก เป็นต้นว่า รถยนต์เมอร์เซเดส ที่มีภาพลักษณ์สุดยอดในด้านยนตรกรรม รถยนต์ BMW และปอร์เช่มีภาพลักษณ์สุดยอดในด้านสมรรถนะการขับขี่
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันอุตสาหกรรมรถยนต์ของเยอรมนีเผชิญกับปัญหาสำคัญหลายประการ
1. รถยนต์ของเยอรมนีมีขนาดใหญ่ กินน้ำมันมาก และมีราคาแพง ยังไม่ประสบผลสำเร็จมากนักในการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ขนาดเล็ก กินน้ำมันน้อย และราคาถูก สำหรับจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งตลาดรถยนต์ประเภทนี้กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วมากโดยเฉพาะในทวีปเอเชีย แม้ว่าบริษัทเยอรมนีจะผลิตรถยนต์ขนาดเล็กอยู่บ้าง คือ สมาร์ท เมอร์เซเดสรุ่นเอคลาส และรถยนต์มินิของค่าย BMW แต่ก็ยังมีราคาสูงมาก ยังไม่ได้รถยนต์ราคาถูกอย่างแท้จริง
2. แม้บริษัทรถยนต์ของเยอรมนีนับว่ายอดเยี่ยมในด้านวิศวกรรมรถยนต์ แต่ไม่เก่งในด้านนวัตกรรม โดยปัจจุบันบริษัทรถยนต์ยังตามหลังบริษัทคู่แข่งในด้านเทคโนโลยีรถยนต์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ โดยเฉพาะเทคโนโลยีรถยนต์แบบไฮบริด
3. ค่าจ้างแรงงานในเยอรมนีสูงมาก ยิ่งไปกว่านั้น การที่เงินยูโรแข็งตัวขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ และเงินเยนของญี่ปุ่น กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันอย่างมาก ทำให้บริษัทรถยนต์ของเยอรมนีมีแนวโน้มย้ายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศมากขึ้นเพื่อลดต้นทุนการผลิตรถยนต์ รวมถึงนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตจากโรงงานในต่างประเทศ เป็นต้นว่า บริษัท BMW ได้นำเข้ารถยนต์ BMW ที่ผลิตในประเทศจีนเข้ามาจำหน่ายในเยอรมนี
4. บริษัทรถยนต์ต่างประเทศเริ่มรุกตลาดรถยนต์หรูหราซึ่งเดิมแทบจะผูกขาดโดยบริษัทเยอรมนี โดยเฉพาะรถยนต์เล็กซัสของค่ายโตโยต้า ซึ่งปัจจุบันครองตลาดรถยนต์หรูหราเป็นอันดับ 1 ในสหรัฐฯ เนื่องจากมีจุดเด่นหลายประการ เป็นต้นว่า ออกแบบดีเยี่ยม ขับขี่นุ่มนวล ห้องโดยสารเงียบ ไม่จุกจิกเสียง่าย ฯลฯ
5. สหภาพยุโรปมีเป้าหมายกำหนดให้ผู้ผลิตรถยนต์ปรับลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากอัตราเฉลี่ย 160 กรัม/กม. ในปี 2550 ลดลงเหลือไม่เกิน 120 กรัม/กม. ภายในปี 2555 โดยกำหนดให้บริษัทรถยนต์มีส่วนรับผิดชอบต้องลดให้เหลือ 130 กรัม/กม. เท่านั้น ในส่วนที่เหลืออีก 10 กรัม/กม. จะปรับลดในรูปของการออกแบบยางรถยนต์แบบใหม่ที่ลดแรงเสียดทาน การปรับปรุงระบบเครื่องปรับอากาศในรถยนต์ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ
หากค่ายรถยนต์ใดไม่สามารถดำเนินการได้ ก็จะเสียค่าปรับในอัตราสูง โดยมีการกำหนดเบื้องต้นว่าประมาณ 4,600 บาท ต่อปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แต่ละกรัมในส่วนที่เกิน 130 กรัม/กม. ซึ่งผู้เชี่ยวชาญให้ทัศนะว่าบริษัทรถยนต์ของเยอรมนีได้รับผลกระทบมากที่สุดจากกฎระเบียบข้างต้นเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทรถยนต์ของฝรั่งเศสหรืออิตาลี เนื่องจากเป็นผู้ผลิตรถยนต์กินน้ำมันมาก โดยคำนวณว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยมากถึง 84,000 บาท/คัน โดยรถยนต์ปอร์เช่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด รองลงมา คือ รถยนต์เมอร์เซเดส BMW และโฟล์คสวาเก้น ตามลำดับ
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ