สรุปภาวะการค้าไทย-สหราชอาณาจักร ปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.) สรุปจากสถิติ World Trade Atlas

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 10, 2008 17:29 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. มูลค่าการค้า
1.1 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของสหราชอาณาจักร-โลก
2549 2550 A/%
(ม.ค.-ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 1,013,249.04 1,076,860.57 6.28
การนำเข้า 566,086.21 633,757.28 11.95
การส่งออก 447,162.83 443,103.29 -0.91
ดุลการค้า -118,923.38 -190,654.00 60.32
1.2 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของสหราชอาณาจักร-ไทย
2549 2550 A/%
(ม.ค.-ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 4,760.21 5,336.22 12.10
การนำเข้า 3,671.56 4,125.46 12.36
การส่งออก 1,088.65 1,210.77 11.22
ดุลการค้า -2,582.91 -2,914.69 12.85
2. การนำเข้า
2.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่สหราชอาณาจักรนำเข้าจากโลก ปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 633,757.28 100.00 11.95
1. เยอรมนี 88,225.24 13.92 20.10
2. สหรัฐฯ 56,628.37 8.94 14.15
3. จีน 46,571.83 7.35 26.43
4. เนเธอร์แลนด์ 45,584.31 7.19 20.65
5. ฝรั่งเศส 44,101.63 6.96 10.63
32. ไทย 4,125.46 0.65 12.36
อื่น ๆ 348,520.46 54.99 7.28
2.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่สหราชอาณาจักรนำเข้าจากโลก ปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 633,757.28 100.00 11.95
1. รถยนต์และยานยนตร์ 43,992.59 6.94 22.19
2. ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ 18,348.73 2.90 19.66
3. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 15,810.99 2.49 -9.01
4. ยารักษาหรือป้องกันโรค 14,969.55 2.36 15.72
5. ทองคำ 14,504.68 2.29 -4.62
อื่น ๆ 526,130.75 83.02 5.25
2.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่สหราชอาณาจักรนำเข้าจากไทยปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย 4,125.46 100.00 12.36
1. เนื้อสัตว์ ส่วนอื่นๆของสัตว์ 372.23 9.02 25.29
2. รถบรรทุกเล็ก 291.57 7.07 -33.05
3. อัญมณีเครื่องประดับฯ 261.21 6.33 -3.72
4. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 214.79 5.21 -23.67
5. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 183.34 4.44 59.34
อื่น ๆ 2,802.33 67.93 -10.82
3. การส่งออก
3.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่สหราชอาณาจักรส่งออกไปโลกปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 443,103.29 100.00 -0.91
1. สหรัฐฯ 64,249.24 14.50 9.53
2. เยอรมนี 48,729.37 11.00 -1.65
3. ฝรั่งเศส 35,736.70 8.07 -32.07
4. ไอร์แลนด์ 35,074.84 7.92 11.61
5. เนเธอร์แลนด์ 29,857.87 6.74 -1.06
43. ไทย 1,210.77 0.27 11.22
อื่น ๆ 228,244.51 51.51 2.05
3.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่สหราชอาณาจักรส่งออกไปโลกปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 443,103.29 100.00 -0.91
1. รถยนต์และยานยนต์ 28,807.03 6.50 23.39
2. ยารักษาหรือป้องกันโรค 24,406.02 5.51 13.37
3. เครื่องกังหันไอพ่น 14,814.82 3.34 -2.33
4. ส่วนประกอบของอากาศยานฯ 11,303.33 2.55 8.86
5. เพชร 8,493.19 1.92 -1.15
อื่น ๆ 355,278.90 80.18 -13.60
3.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่สหราชอาณาจักรส่งออกไปไทยปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกไปไทย 1,210.77 100.00 11.22
1. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 99.28 8.20 835.33
2. ยารักษาหรือป้องกันโรค 82.12 6.78 45.20
3. สุรา วิสกี้ รัม ฯ 77.34 6.39 -2.52
4. เครื่องกังหันไอพ่น 50.33 4.16 41.07
5. เศษอลูมิเนียม 41.24 3.41 180.41
อื่น ๆ 860.46 71.07 -14.37
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้านำเข้าสำคัญของสหราชอาณาจักร ได้แก่ รถยนต์และยานยนต์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ยารักษาหรือป้องกันโรค ทองคำ
4.2 สินค้าส่งออกสำคัญของสหราชอาณาจักร ได้แก่ รถยนต์และยานยนต์ ยารักษาหรือป้องกันโรค เครื่องกังหันไอพ่น ส่วนประกอบของอากาศยาน ยานอวกาศและอุปกรณ์การบิน เพชร
4.3 แหล่งผลิตสำคัญที่สหราชอาณาจักรนำเข้า ได้แก่ เยอรมนี สหรัฐอเมริกา จีน เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส ปัจจุบันสหราชอาณาจักรนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 32 สัดส่วนร้อยละ 0.65 และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 43 ของสหราชอาณาจักร สัดส่วนร้อยละ 0.27
4.4 สินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปตลาดสหราชอาณาจักร ได้แก่
- เนื้อสัตว์และส่วนอื่นๆ ของสัตว์ (HS.1602) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,825.428 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.18 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 20.39 มูลค่า 372.227 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.29 ในขณะที่นำเข้าจากไอร์แลนด์อันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 23.66 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.30 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ บราซิล และเนเธอร์แลนด์
- รถบรรทุกเล็ก (รถแวนและรถปิกอัพ) (HS.8704) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 6,606.852 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.06 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 8 สัดส่วนร้อยละ 4.41 มูลค่า 291.565 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 33.05 ในขณะที่นำเข้าจากเยอรมนีอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 25.85 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.75 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สเปนและเนเธอร์แลนด์
- อัญมณีและเครื่องประดับและส่วนประกอบที่เป็นของแท้ (HS. 7113) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 4,297.140 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.05 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 6 สัดส่วนร้อยละ 6.08 มูลค่า 261.208 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.72 ในขณะที่นำเข้าจากสหราชอาณาจักรอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 23.48 ลดลงร้อยละ 4.67 ส่วนคู่แข่งสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สหรัฐฯ และฝรั่งเศส
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (HS.8471) สหราชอาราจักรนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 15,810.994 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.01 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 13 สัดส่วนร้อยละ 1.36 มูลค่า 214.787 ลดลงร้อยละ 23.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่นำเข้าจากเนเธอร์แลนด์อันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 19.46 ลดลงร้อยละ 13.82 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ไอร์แลนด์ และจีน
- เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับโทรศัพท์/โทรเลข (HS.8517) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 14,085.988 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 130.14 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 16 สัดส่วนร้อยละ 1.30 มูลค่า 183.338 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.34 ในขณะที่นำเข้าจากเนเธอร์-แลนด์อันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 20.29 เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.49 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ จีน และเกาหลีใต้
4.5 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสหราชอาณาจักร 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 25 มีรวม 14 รายการ เช่น
1.) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับโทรศัพท์/โทรเลข (HS.8517) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 16 สัดส่วนร้อยละ 1.30 มูลค่า 183.338 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.34
เป็นผลมาจากสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ยังคงมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสินค้าหลายประเภทจากจีนจะเข้ามาตีตลาดและเป็นคู่แข่งสำคัญ แต่สินค้าไทยที่ส่งออกไปยังตลาดคู่ค้าได้พัฒนาเน้นคุณภาพมากขึ้น จึงทำให้ยังสามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้
2.) เครื่องพิมพ์ เครื่องจักรใช้ประกอบการพิมพ์ (H.S.8443) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 8 สัดส่วนร้อยละ 3.10 มูลค่า 143.465 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 247,253
3.) ส่วนประกอบอุปกรณ์รถยนต์ (HS.8708) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 18 สัดส่วนร้อยละ 0.57 มูลค่า 105.127 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 103.86
เป็นผลมาจากสินค้าส่วนประกอบอุปกรณ์รถยนต์จะมีการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดอเมริกาและยุโรปที่กลับมานำเข้าสินค้าไทยแทนสินค้าจีนที่เกิดปัญหาไม่ส่งมอบสินค้าตามข้อตกลงเนื่องจาก Quote ราคาต่ำและการสั่งสินค้าที่ต้องสั่งเป็นจำนวนมาก (Mass Product) เพื่อให้ได้ราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับการสั่งสินค้าจากไทยที่สามารถผลิตตามจำนวนสั่งซื้อได้ (Nich Market) ถึงแม้ราคาจะสูงกว่า แต่มีคุณภาพดีกว่าและส่งมอบตรงเวลา
4.) แผงวงจรไฟฟ้า (HS.8542) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 12 สัดส่วนร้อยละ 2.65 มูลค่า 96.438 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.08
เป็นผลมาจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2550 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมีการขยายการลงทุนในไทยมากขึ้น ขณะเดียวกันสินค้าไทยได้พัฒนาเน้นคุณภาพมากขึ้นทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้นซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 60 การการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์
5.) รถจักรยานยนต์ (HS.8712) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 18.91 มูลค่า 75.834 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 130.67
6.) รองเท้าที่มีพื้นด้านนอกทำด้วยยาง/พลาสติก (HS.6403) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 13 สัดส่วนร้อยละ 1.98 มูลค่า 64.797 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.85
เป็นผลมาจากอุตสาหกรรมรองเท้าเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ ดังนั้นการส่งออกจึงมีปริมาณมากขึ้นแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจังหวะของการสั่งออเดอร์จากทางอียูเนื่องจากกทุก ๆ ต้นปีหรือกลางปีจะมีงานแสดงสินค้าที่แต่ละกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป ซึ่งตรงจุดนี้มีส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการได้รับการสั่งซื้อมากขึ้นจากนั้นก็จะมาสู่ขั้นตอนการผลิตโดยที่จะส่งให้กับลูกค้าได้ประมาณปลายปีของทุกปี
7.) เครื่องปรับอากาศ (HS.8415) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 8 สัดส่วนร้อยละ 4.51 มูลค่า 54.999 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.48
เป็นผลมาจากสินค้าส่วนใหญ่ได้ผ่านมาตรฐานของ RoHS ประกอบกับผลจากภาวะอากาศที่แปรปรวนทั่วโลก จึงทำให้มีความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศมากขึ้น นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนการผลิตเครื่องปรับอากาศ โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ที่มีเครื่องปั๊มอยู่ในตัวเครื่องทำให้มีการขยายตัวของตลาดมากขึ้นด้วย
8.) กุ้ง ปู ปลาหมึก กระป๋อง (HS.1605) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 13.44 มูลค่า 47.660 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.95
เป็นผลมาจาก ปู มีการขยายฐานลูกค้ามากขึ้นทั้งในและต่างประเทศมีการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้เป็นที่ดึงดูดมากขึ้นและไทยมีมาตรฐานที่ดีมากขึ้นกว่าที่ผ่านมาทำให้สหภาพยุโรปมีการนำเข้าจากไทยมากขึ้น เนื่องจากสหภาพยุโรปมีมาตรการในเรื่องของอาหารค่อนข้างเข้มงวดกว่ากลุ่มประเทศอื่น ๆ สำหรับ กุ้ง ไทยได้รับสิทธิ GSP จากสหภาพยุโรป และมีการตรวจเข้มเกี่ยวกับสารตกค้าง โดยไทยสามารถผ่านเกณฑ์ของมาตรการที่เข้มงวดในเรื่องนี้แล้ว
9.) ข้าว(HS. 1006) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 8.49 มูลค่า 33.116 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 120.05
เป็นผลมาจาก ที่ผ่านมากลุ่มประเทศสหภาพยุโรปจะนำเข้าสินค้าข้าวจากสหรัฐฯ เป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยสาเหตุที่สหรัฐฯมีการผลิตข้าวในรูปแบบของพืช GMO มากขึ้นทำให้สหภาพยุโรปขาดความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์จากสหรัฐฯ สาเหตุนี้ทำให้สหภาพยุโรปหันมานำเข้าผลิตภัณฑ์ข้าวจากกลุ่มประเทศในแถบอาเซียนมากขึ้นโดยเฉพาะจากไทยและเวียดนาม
4.6 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสหราชอาณาจักร 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงมี 5 รายการ เช่น
1.) รถบรรทุกเล็ก (รถแวนและรถปิกอัพ) (HS. 8704) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 6,606.852 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.06 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 8 สัดส่วนร้อยละ 4.41 มูลค่า 291.565 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 33.05
ในขณะที่นำเข้าจากเยอรมนีอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 25.85 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.75
2.) อัญมณีและเครื่องประดับฯ (HS. 7113) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 4297.140 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.05 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 6 สัดส่วนร้อยละ 6.08 มูลค่า 261.208 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.72
ในขณะที่นำเข้าจากสหราชอาณาจักรอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 23.48 ลดลงร้อยละ 4.67
3.) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (HS. 8471) สหราชอาราชจักรนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 15,810.994 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.01 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 13 สัดส่วนร้อยละ 1.36 มูลค่า 214.787 ลดลงร้อยละ 17.30
ในขณะที่นำเข้าจากเนเธอร์แลนด์อันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 19.46 ลดลงร้อยละ 13.82
4.) ยางธรรมชาติ (H.S.4001) สหราชอาราจักรนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 236.953 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.94 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 16.67 มูลค่า 39.508 ลดลงร้อยละ 11.12
ในขณะที่นำเข้าจากอินโดนีเซียอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 17.95 เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.07
4.7 ข้อมูลเพิ่มเติม
1.) ไทยได้คืนสิทธิจีเอสพีกลุ่มสินค้ายานยนต์
ไทยได้คืนสิทธิจีเอสพีกลุ่มสินค้ายานยนต์ ขณะที่กลุ่มสินค้าส่งออกสำคัญได้เปรียบจีนที่โดนตัดสิทธิกว่า 13 รายการ โดยรถยนต์ กุ้ง รองเท้า พลาสติก มีโอกาสทองเร่งส่งออกชดเชยตลาดสหรัฐ
จากการที่สหภาพยุโรป หรืออียู ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกมากถึง 27 ประเทศ ได้ให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป(จีเอสพี)ในสินค้ากว่า 7,200 รายการ แก่ประเทศกำลังพัฒนากว่า 178 ประเทศทั่วโลกรวมทั้งไทยมาตั้งแต่ปี 2514 โดยอียูจะมีการพิจารณาทบทวนปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์การให้จีเอสพีเป็นรอบ ๆ ทุก 10 ปี ซึ่งปัจจุบันการให้จีเอสพีของอียูครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549-31 ธันวาคม 2558 โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง
ช่วงที่ 1 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2549-31 ธันวาคม 2551
ช่วงที่ 2 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2552-31 ธันวาคม 2554
ช่วงที่ 3 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2555-31 ธันวาคม 2558
สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม แจ้งว่าทางอียูได้แจ้งข่าวดีว่าในการให้จีเอสพีในช่วงที่ 2 (2552-2554) ทางอียูได้พิจารณาคืนสิทธิจีเอสพีแก่ไทย 1 กลุ่มสินค้าสำคัญ คือกลุ่มยานพาหนะ และอุปกรณ์การขนส่งที่เกี่ยวข้องในพิกัดศุลกากรตอนที่ 86-89 ที่ไทยได้ถูกตัดสิทธิไปในช่วงปี 2549-2551
ขณะเดียวกันในภาพรวมการให้จีเอสพีของอียูในช่วงปี 2552-2554 จะมีประเทศที่ถูกตัดสิทธิจีเอสพีรายกลุ่มสินค้าทั้งสิ้น 6 ประเทศ ประกอบด้วย จีน 13 กลุ่มสินค้าได้แก่ กลุ่มสินค้าเคมี พลาสติก เครื่องหนัง ไม้และผลิตภัณฑ์ สิ่งทอ รองเท้า ของที่ทำด้วยหิน อัญมณีและเครื่องประดับ โลหะสามัญและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า ยานพาหนะ นาฬิกา อุปกรณ์การแพทย์ และกล้องถ่ายรูป และอุปกรณ์, บราซิล 1 กลุ่มสินค้าคือ กลุ่มอาหารปรุงแต่งเครื่องดื่ม สุรา, อินโดนีเซียและมาเลเซียประเทศละ 1 กลุ่มสินค้าในกลุ่มเดียวกันคือ ไขมันและน้ำมันที่ได้จากสัตว์หรือพืช, เวียดนาม 1 กลุ่มสินค้าคือ กลุ่มสินค้ารองเท้าและดอกไม้เทียม และไทย 1 กลุ่มสินค้าคือ กลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับพิกัดที่ 71 ซึ่งถูกตัดจีเอสพีตั้งแต่ปี 2549-2551 แล้ว
"การที่ได้คืนจีเอสพีกลุ่มสินค้ายานยนต์ ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพของไทยในตลาดอียูน่าจะเป็นประโยชน์กับเรามาก ส่วนอัญมณีและเครื่องประดับพิกัดที่ 71 เป็นสินค้าที่เราถูกตัดมาก่อนหน้านี้แล้ว ขณะที่ในภาพรวมสินค้าเกือบทุกรายการที่เราได้สิทธิจีเอสพีจากอียู เรายังคงได้รับสิทธิฯต่อไป อย่างไรก็ดีในการให้จีเอสพีช่วงที่ 2 นี้อียู ได้มีการปรับเปลี่ยนเรื่องกฎแหล่งกำเนิดสินค้าที่จะได้รับการลดหย่อนภาษี ซึ่งในเร็วๆนี้ ทางกรมการค้าต่างประเทศจะได้จัดสัมมนาให้ความรู้ในเรื่องนี้แก่ผู้ส่งออกไทยต่อไป"
การที่สินค้ากลุ่มยานพาหนะ และอุปกรณ์การขนส่งที่เกี่ยวข้องของไทยได้คืนจีเอสพีจากอียู จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกสินค้าในกลุ่มนี้ของไทยไปอียูในระยะต่อไปอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกรถปิกอัพซึ่งเป็นสินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปอียูที่จะเสียภาษีในอัตราที่ต่ำลง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาอียูเป็นตลาดส่งออกรถปิกอัพที่สำคัญของไทยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 17% ของการส่งออกในภาพรวม โดยเป็นการส่งออกของหลายค่าย อาทิ มิตซูบิชิ อีซูซุ และโตโยต้า เป็นต้น
ขณะเดียวกันการประกาศคืนและตัดจีเอสพีแก่ประเทศที่อียูให้สิทธิจีเอสพีช่วงที่2 หลายสินค้าไทยสามารถได้ประโยชน์ไม่เฉพาะกลุ่มรถยนต์เท่านั้น เช่นกุ้ง รองเท้า พลาสติก ซึ่งสามารถชดเชยตลาดสหรัฐฯที่กำลังประสบปัญหาซับไพรม์ได้
อนึ่งในปี 2550 อียูเป็นตลาดส่งออกสัดส่วน 12.8% ของการส่งออกในภาพรวมของไทย โดยเป็นตลาดส่งออกอันดับสองรองจากอาเซียน ในปีที่ผ่านมาไทยส่งออกไปอียูมูลค่า 730,799 ล้านบาท ขณะที่ไทยมีการนำเข้าสินค้าจากอียูมูลค่า 414,541 ล้านบาท ไทยขาดดุลการค้าอียู 316,258 ล้านบาท
ทั้งนี้ในจำนวนมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทยไปอียูในปี 2550 เป็นการส่งออกภายใต้สิทธิจีเอสพี(เสียภาษี 0% หรือในอัตราต่ำ)มูลค่า 6,914 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 235,076 ล้านบาท(คำนวณที่ 34 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยอียูเป็นตลาดที่ไทยส่งออกภายใต้สิทธิจีเอสพีมากที่สุด ภายใต้สิทธิจีเอสพีรองลงมาคือสหรัฐฯ ญี่ปุ่น แคนาดา สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป(สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตล์) รัสเซีย และตุรกี ตามลำดับ
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ