สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศของอินโดนีเซีย ปี 2550 (ม.ค.-พย.) สรุปจากสถิติ World Trade Atlas

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 2, 2008 12:08 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. มูลค่าการค้า
1.1 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของอินโดนีเซีย-โลก
2549 2550 D/%
(ม.ค.-พ.ย.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 147,285.41 170,794.48 15.96
การนำเข้า 56,097.08 67,635.59 20.57
การส่งออก 91,188.32 103,158.90 13.13
ดุลการค้า 35,091.24 35,523.31 1.23
1.2 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของอินโดนีเซีย-ไทย
2549 2550 D/%
(ม.ค.-พ.ย.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 5,209.53 6,761.71 29.80
การนำเข้า 2,736.18 3,969.89 45.09
การส่งออก 2,473.34 2,791.81 12.88
ดุลการค้า -262.84 -1,178.08 348.21
2. การนำเข้า
2.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่อินโดนีเซียนำเข้าจากโลก ปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 67,635.59 100.00 20.57
1. สิงคโปร์ 8,986.81 13.29 -3.47
2. จีน 7,863.19 11.63 31.31
3. ญี่ปุ่น 6,031.89 8.92 19.67
4. มาเลเซีย 5,597.78 8.28 100.18
5. สหรัฐฯ 4,408.17 6.52 17.04
6. ไทย 3,969.89 5.87 45.09
อื่น ๆ 30,777.85 45.51 16.32
2.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่อินโดนีเซียนำเข้าจากโลก ปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 67,635.59 100.00 20.57
1. เครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ 1,142.81 1.69 38.96
2. ข้าวสาลีและเมสลิน 1,104.30 1.63 45.48
3. เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ 1,067.45 1.58 59.68
4. ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปทำด้วยเหล็กหรือ เหล็กกล้า 1,023.06 1.51 34.92
5. น้ำตาลจากอ้อยหรือหัวบีต 963.38 1.42 78.17
อื่น ๆ 62,334.59 92.16 15.29
2.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่อินโดนีเซียนำเข้าจากไทยปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย 3,969.89 100.00 45.09
1. น้ำตาลจากอ้อยและหัวบีต 446.36 11.24 434.13
2. รถยนต์ยานยนต์ 397.50 10.01 27.55
3. ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ 271.35 6.84 58.34
4. ส่วนประกอบเครื่องยนต์ 138.12 3.48 36.86
5. รถบรรทุกเล็ก 137.00 3.45 60.96
อื่น ๆ 2,579.57 64.98 -1.05
3. การส่งออก
3.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่อินโดนีเซียส่งออกไปโลกปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 103,158.90 100.00 13.13
1. ญี่ปุ่น 21,526.95 20.87 9.88
2. สหรัฐฯ 10,530.29 10.21 2.58
3. สิงคโปร์ 9,607.21 9.31 17.63
4. จีน 8,816.46 8.55 16.75
5. เกาหลีใต้ 6,850.32 6.64 -1.80
9. ไทย 2,791.81 2.71 12.88
อื่น ๆ 43,035.86 41.72 19.00
3.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่อินโดนีเซียส่งออกไปโลกปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 103,158.90 100.00 13.13
1. น้ำมันปาส์ม 6,520.85 6.32 53.37
2. ถ่านหิน 6,039.86 5.85 10.05
3. ยางธรรมชาติ 4,373.84 4.24 7.47
4. สินแร่และหัวแร่ทองแดง 4,105.08 3.98 3.76
5. ผลิตภัณฑ์นิเกิล 2,224.94 2.16 121.56
อื่น ๆ 79,894.34 77.45 -4.20
3.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่อินโดนีเซียส่งออกไปไทยปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกไปไทย 2,791.81 100.00 12.88
1. ถ่านหิน 310.35 11.12 42.93
2. ไซคลิกไฮโดรคาร์บอน 215.50 7.72 649.58
3. ทองแดงบริสุทธิ์และทองแดงเจือ 215.16 7.71 55.15
4. ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ 144.67 5.18 20.79
5. ลวดทองแดง 110.54 3.96 3.56
อื่น ๆ 1,795.59 64.32 -6.47
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้านำเข้าสำคัญของอินโดนีเซีย ได้แก่ เครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ ข้าวสาลีและเมลิน เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า น้ำตาลจากอ้อยหรือหัวบีต
4.2 สินค้าส่งออกสำคัญของอินโดนีเซีย ได้แก่ น้ำมันปาล์ม ถ่านหิน ยางธรรมชาติ สินแร่และหัวแร่ทองแดง ผลิตภัณฑ์นิเกิล
4.3 แหล่งผลิตสำคัญที่อินโดนีเซียนำเข้า ได้แก่ สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และ สหรัฐฯ ปัจจุบันอินโดนีเซียนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 6 สัดส่วนร้อยละ 5.87 และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 9 ของอินโดนีเซีย สัดส่วนร้อยละ 2.71
4.4 สินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปตลาดอินโดนีเซีย ได้แก่
- น้ำตาลที่ได้จากอ้อยหรือหัวบีต (HS.1701) อินโดนีเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 963.378 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.17 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 46.33 มูลค่า 446.356 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 434.13 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ออสเตรเลีย และ อินเดีย
- รถยนต์และยานยนต์ (HS.8703) อินโดนีเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 731.450 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขิ้นร้อยละ 68.59 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วน ร้อยละ 54.35 มูลค่า 397.503 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.55 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ญี่ปุ่น และอินเดีย
- ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (HS.8708) อินโดนีเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 760.599 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.68 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 35.68 มูลค่า 271.346 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.34 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ญี่ปุ่นและ จีน
- ส่วนประกอบเครื่องยนต์ (HS.8409) อินโดนีเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 508.019 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.30 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 27.19 มูลค่า 138.121 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.86 ในขณะที่นำเข้าจากญี่ปุ่นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 51.47 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.82 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ จีนและสหรัฐ
- รถบรรทุกเล็ก (HS.8409) อินโดนีเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 638.322 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.48 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 21.46 มูลค่า 136.996 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.96 ในขณะที่นำเข้าจากญี่ปุ่นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 50.68 เพิ่มขึ้นร้อยละ 167.32 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สวีเดน และอินเดีย
4.6 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดอินโดนีเซีย 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 25 มีรวม 14 รายการ เช่น
1.) น้ำตาลที่ได้จากอ้อยหรือหัวบีต (HS.1701) นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 46.33 มูลค่า 446.356 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 434.13
2.) ข้าว (HS. 1006) นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 25.93 มูลค่า 117.288 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 204.96
3.) ผลไม้สด (HS.0810) อินโดนีเซียนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 94.61 มูลค่า 83.390 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.04
4.) หัวหอม กระเทียม (HS.0703) อินโดนีเซียนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 31.91 มูลค่า 31.614 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 101.99
จะเห็นได้ว่าสินค้าที่มีศักยภาพหลายรายการในสินค้าเกษตรมีการส่งออกไปอินโดนีเซีย มูลค่าเพิ่มมากกว่าร้อยละ 80 อันเป็นผลเนื่องมาจากอินโดนีเซียผลิตอาหารในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการภายในและประกอบกับหลายเดือนที่ผ่านมาอินโดนีเซียประสบปัญหาภัยธรรมชาติในหลายด้าน เช่น น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด ฝนตกหนักทำให้อาหารที่จำเป็นในการบริโภคเกิดการขาดแคลน
5.) รถยนต์และยานยนต์ (HS.8703) นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วน ร้อยละ 54.35 มูลค่า 397.503 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.55
เป็นผลมาจากอินโดนีเซีย เป็นตลาดส่งออกรถยนต์นั่งสำคัญเป็นอันดับ 2 ของไทยและมีแนวโน้มจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
6.) ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (HS. 8708) นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 35.68 มูลค่า 271.346 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.34
เป็นผลมาจาก อินโดนีเซีย เป็นตลาดส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์สำคัญเป็นอันดับ 2 ของไทย
7.) ส่วนประกอบเครื่องยนต์ (HS. 8409) นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 27.19 มูลค่า 138.121 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.86
8.) รถบรรทุกเล็ก (HS.8409) นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 21.46 มูลค่า 136.996 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.96
9.) เครื่องปรับอากาศ (HS.8415) นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 49.84 มูลค่า 88.618 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.50
เป็นผลมาจากอินโดนีเซียเป็นตลาดสำคัญที่ไทยส่งออกเป็นอันดับ 7 และสินค้าส่วนใหญ่ของไทยได้ผ่านมาตรฐาน RoHS ประกอบกับผลจากภาวะอากาศที่แปรปรวนทั่วโลกทำให้มีความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศมากขึ้น
10.) เครื่องซักผ้า อบผ้า (HS. 8429) นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 17.11 มูลค่า 86.713 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.17
4.7 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดอินโดนีเซีย 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราลดลงมี 2 รายการ คือ
1.) ส่วนประกอบอุปกรณ์รถจักรยานยนต์/รถจักรยานยนต์ (HS.8714) อินโดนีเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 236.229 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 26.97 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 31.17 มูลค่า 73.620 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 34.19
ในขณะที่นำเข้าจากจีนอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 31.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.03 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ญี่ปุ่น และไต้หวัน
2.) ไซคลิกไฮโดรคาร์บอน (HS. 2902) อินโดนีเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 978.378 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.68 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 5.98 มูลค่า 58.530 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 22.14
ในขณะที่นำเข้าจากสิงคโปร์ดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 57.43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.74 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ อินเดีย และมาเลเซีย
4.8 ข้อมูลเพิ่มเติม
1.) เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ขยายตัวมากที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี
เนื่องจากต้นทุนการกู้ยืมที่ต่ำได้กระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนและการใช้จ่ายผู้บริโภค โดยเศรษฐกิจในไตรมาสดังกล่าว ขยายตัว 6.25% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า หลังจากไตรมาส 3 ขยายตัว 6.5%
สำหรับการบริโภคภาคเอกชนซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 70% ของเศรษฐกิจ ในไตรมาสดังกล่าว เพิ่มขึ้น 5.6% จาก 5.3% ในไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบเกือบ 4 ปี
ทั้งนี้ ราคาถ่านหินที่เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และรายได้จากการขายผลโก้โก้และน้ำมันเตาที่เพิ่มขึ้นได้กระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์และโทรศัพท์เคลื่อนที่มากขึ้น ขณะเดียวกันการลดอัตราดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 4.75% นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปี 2006 ได้กระตุ้นให้บริษัทลงทุนมากขึ้น
2.) ศักยภาพการส่งออกอาหารฮาลาล ของไทยในอินโดนีเซีย
ตลาดอาหารฮาลาลโลกเป็นตลาดที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดี เนื่องจากประชากรชาวมุสลิมทั่วโลกซึ่งเป็นกลุ่มบริโภคอาหารฮาลาลมีจำนวนถึงประมาณ 1.9 พันล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของประชากรทั้งโลก จำนวนประชากรมุสลิมมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 2 พันล้านคนในปี 2553 และยังคาดการณ์ว่าจำนวนประชากรมุสลิมทั่วโลกจะเพิ่มเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของประชากรทั้งโลกภายในปี 2568 ส่งผลให้ตลาดผลิตภัณฑ์ฮาลาลมีแนวโน้มเติบโตตามไปด้วย ประเทศกลุ่มมุสลิม (Organization of Islamic Conference : OIC) เป็นตลาดใหญ่ของอาหารฮาลาลที่ประกอบด้วยประเทศต่างๆ ถึง 57 ประเทศ คลอบคลุมประเทศต่างๆ ในหลายภูมิภาค ได้แก่ ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ อาเซียน แอฟริกา เอเชียกลาง ยุโรป และอเมริกาใต้ ตลาดอาหารฮาลาลยังครอบคลุมถึงประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม (Non-Muslim Countries) แต่มีคนมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งก็ถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพของการส่งออกอาหารฮาลาลที่สำคัญเช่นกัน ได้แก่ ประเทศอินเดีย จีน และสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลไม่จำกัดการบริโภคเฉพาะในกลุ่มชาวมุสลิมเท่านั้น แต่กลุ่มผู้บริโภคทั่วไปที่มิใช่คนมุสลิม แต่เน้นในเรื่องสุขภาพ โดยคำนึงถึงความสะอาดและปลอดภัยของอาหารได้หันมาบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลมากขึ้น มูลค่าตลาดอาหารฮาลาลของโลกในปัจจุบันประมาณการอยู่ระหว่าง 0.5-2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
ภูมิภาค ประเทศที่น่าสนใจขยายตลาดส่งออกอาหารฮาลาลของไทย
ประเทศมุสลิม
- ตะวันออกกลาง กลุ่ม GCC* ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดีอาระเบีย
- แอฟริกา อิยิปต์
- เอเชียใต้ ปากีสถาน บังคลาเทศ
- อาเซียน อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน
- ยุโรป ตุรกี
ประเทศที่ไม่ใช่มุสลิมแต่มีคนมุสลิมอาศัยอยู่มาก จีน อินเดีย สหรัฐ
ศักยภาพการส่งออกอาหารฮาลาลของไทย ไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญเป็นอันดับที่ 7 ของโลก รองจากสหภาพยุโรป สหรัฐฯ แคนาดา บราซิล จีน และออสเตรเลีย ตามลำดับ และเป็นอันดับที่ 1 ของเอเชีย ปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้ไทยมีศักยภาพในการผลิตอาหารส่งออก ได้แก่ แหล่งวัตถุดิบอาหารในประเทศ และประสบการณ์ในการผลิตอาหารจนเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก ซึ่งเกื้อหนุนให้ไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารเป็นอันดับต้นๆ ของโลกในสินค้าหลายรายการ ได้แก่ สินค้าประมง (กุ้งและปลา) ไก่ ข้าว และสับปะรดกระป๋อง โดยเฉพาะสินค้าประมงซึ่งไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกกุ้งเป็นอันดับที่ 1 ของโลก ขณะที่ไทยส่งออกปลาและอาหารทะเลมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากจีน และนอร์เวย์ ตามลำดับ
การส่งออกอาหารฮาลาลของไทยยังมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย (ไม่ถึงร้อยละ 1) เมื่อเทียบกับมูลค่าส่งออกอาหารทั้งหมดของไทย และส่วนแบ่งตลาดอาหารฮาลาลของไทยในตลาดโลกค่อนข้างต่ำเช่นกัน ศักยภาพในการผลิตอาหารของไทยและตลาดอาหารฮาลาลของโลกที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดีเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การส่งออกอาหารฮาลาลไทยมีโอกาสขยายตัวในตลาดโลกได้อีกมาก หากไทยพัฒนาการผลิตและรูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากขึ้น น่าจะมีโอกาสขยายตลาดส่งออกได้ดี ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้จากการส่งออกและสนับสนุนนโยบายครัวไทยสู่โลกได้อีกทางหนึ่ง
นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ - การผลิตอาหารฮาลาลของไทยอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี สตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส ซึ่งเป็นแหล่งที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนเพื่อพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกอาหารฮาลาลของไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมฮาลาลที่ปัตตานี ขณะเดียวกันภาครัฐกำลังผลักดันให้จังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันเป็นแหล่งผลิตสินค้าอาหารฮาลาลด้วย เนื่องจากหลายจังหวัดที่มีความพร้อมด้านวัตถุดิบสำหรับผลิตอาหารฮาลาล เช่น จังหวัดระนองมีวัตถุดิบสัตว์น้ำและอาหารทะเล ส่วนจังหวัดกระบี่มีความพร้อมด้านสินค้าเกษตร เช่น มะม่วงหิมพานต์ รวมถึงสินค้าปศุสัตว์ ได้แก่ แพะ แกะ โคและกระบือ จึงถือเป็นแหล่งสนับสนุนด้านวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป ฮาลาลเพื่อส่งออก
ตลาดอาเซียน — ประเทศอาเซียนที่มีประชากรมุสลิมอาศัยอยู่มาก ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน โดยเฉพาะอินโดนีเซียถือเป็นตลาดส่งออกอาหารฮาลาลที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดีเนื่องจากเป็นประเทศมุสลิมที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ประชากรมุสลิมในอินโดนีเซียมีประมาณกว่า 200 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 84 ของประชากรทั้งหมดของอินโดนีเซียที่มีจำนวนประมาณ 237 ล้านคน ความต้องการบริโภคสินค้าที่ได้รับการรับรองฮาลาลมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มประชากรชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อมีจำนวนราว 20 ล้านคน ที่สำคัญ คือ อินโดนีเซียผลิตอาหารในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการภายใน จึงต้องนำเข้าอาหารฮาลาลจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเนื้อ ปศุสัตว์ และนม มูลค่านำเข้าสินค้าฮาลาลของอินโดนีเซียในปี 2549 มีประมาณ 6.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คาดว่าการส่งออกอาหารฮาลาลของไทยไปอินโดนีเซียมีแนวโน้มเติบโตได้ดี และผู้ส่งออกอาหารฮาลาลไทยไปอินโดนีเซียยังได้รับผลดีจากสิทธิประโยชน์ด้านภาษีภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ด้วย
นอกจากนี้ แม้ว่าอินโดนีเซียจะมีแหล่งทรัพยากรประมงที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าประมงสุทธิ โดยเฉพาะกุ้งและปลาที่นำรายได้จากการส่งออกเข้าประเทศ แต่ความต้องการบริโภคสินค้าประมงภายในประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว ตามการขยายตัวของจำนวนประชากรอินโดนีเซียร้อยละ 1.34 ต่อปี ส่งผลให้การนำเข้าสินค้าประมงของอินโดนีเซียมีอัตราขยายตัวในระดับสูง ซึ่งสูงกว่าการขยายตัวของการส่งออกสินค้าประมง นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังประสบปัญหาการลักลอบจับปลาที่ผิดกฎหมายในน่านน้ำอินโดนีเซียที่มีปริมาณอย่างน้อย 1.5 ล้านตันต่อปี ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้แหล่งวัตถุดิบประมงของอินโดนีเซียไม่เพียงพอต่อความต้องการในอนาคตทั้งเพื่อการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการผลิตสินค้าประมงเพื่อส่งออกของอินโดนีเซียด้วย จึงน่าจะเป็นโอกาสให้สินค้าส่งออกอาหารประมงฮาลาลของไทยไปอินโดนีเซียขยายตัวได้ดีเช่นกัน เพื่อรองรับความต้องการบริโภคสินค้าประมงภายในอินโดนีเซียที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
3.) ปัญหาและอุปสรรคการค้า
1. อินโดนีเซียมีกฎระเบียบ/มาตรการกีดกันทางการค้า (Non-Tariff Barriers: NTBs) หลายมาตรการ อันได้แก่ การห้ามการนำเข้า การขออนุญาตนำเข้า การขออนุญาตขึ้นทะเบียน อย. และมาตรการทางด้านสุขอนามัย เป็นต้น
2. กระบวนการตามระบบราชการที่ช้าและยุ่งยาก ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการค้า เช่น การขอใบอนุญาตต่าง ๆ
3. การคอร์รัปชันในระบบราชการ ซึ่งจะเพิ่มต้นทุนในการติดต่อค้าขาย
4. การนำเข้าสินค้าของอินโดนีเซียต้องผ่านหน่วยงาน พิธีการ และขั้นตอนต่าง ๆมาก ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการทางการค้า ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น
5. การทำการค้ากับนักธุรกิจอินโดนีเซียที่ไม่มีความสัมพันธ์กันมาก่อน จะเข้าถึงได้ยาก ซึ่งบางภาคธุรกิจจะมีลักษณะปิดและยังไม่ให้ความเชื่อถือแก่ผู้ติดต่อธุรกิจรายใหม่
4.) ปัญหา/อุปสรรคการลงทุน
1. กฎหมาย/กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุน เช่น Share Ownership ต้องมีการกระจายหุ้นให้ชาวอินโดนีเซีย และระบบระงับข้อพิพาทของอินโดนีเซีย เป็นต้น
2. ระบบโครงสร้างพื้นฐานการลงทุน คือระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ไม่เพียงพอ และต้องการการพัฒนา
3. กฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ยังมีความเข้มงวดและรักษาผลประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้แรงงาน เช่น การจ่ายเงินทดแทนกรณีลูกจ้างออกจากงานในอัตราที่สูง เป็นต้น
4. การดำเนินกระบวนการตามระบบราชการมีความซับซ้อน ยุ่งยาก และยังมีปัญหาด้านคอร์รัปชัน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการลงทุนสูงขึ้น
5.) ข้อเสนอแนะ
1. การพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างไทย-อินโดนีเซียมีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้า ลดเวลา/ค่าใช้จ่าย ในการขนส่ง เกิดความคล่องตัวด้านโลจิสติกส์
2. ไทยและอินโดนีเซียเป็นสมาชิกความร่วมมือ IMT-GT ซึ่งไทยมีแผนดำเนินงานเพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่าง 2 ประเทศ โดยได้ดำเนินกิจกรรมภายใต้แผนงาน IMT-GT คือการนำคณะผู้แทนการค้าไทยและการลงทุนไทยเดินทางไปเยือนอินโดนีเซียเพื่อสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือ รวมทั้งส่งเสริมและขยายลู่ทางการค้าและการลงทุน และผลักดันให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
3. อินโดนีเซีย เป็นแหล่งวัตถุดิบจำนวนมากที่ไทยต้องการ เช่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ ถ่านหิน สัตว์น้ำไทยจึงควรรีบเร่งดำเนินการสร้างความร่วมมือเพื่อแสวงหาวัตถุดิบในอินโดนีเซีย
4. ศึกษาข้อมูลเพื่อให้ทราบถึงข้อได้เปรียบ และสิ่งที่อาจเป็นปัญหาในการทำธุรกิจการค้าการลงทุนในอินโดนีเซีย เช่น นโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการค้าการลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งกฎหมาย/กฎระเบียบต่าง ๆ เกี่ยวกับการค้าและการลงทุน สภาพทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรหรือวัตถุดิบที่สำคัญ ภาวะความต้องการของตลาด เป็นต้น
5. สร้างความสัมพันธ์กับราชการอินโดนีเซีย โดยเฉพาะกับหน่วยงานที่ต้องมีการประสานธุรกิจ เพื่อความรวดเร็วในการติดต่อกับราชการ และลดต้นทุนการติดต่อธุรกิจ
6. สร้างพันธมิตรทางธุรกิจ เนื่องจากการประกอบธุรกิจในอินโดนีเซียมีลักษณะที่เน้นพื้นฐานทางด้านความสัมพันธ์มาก
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ