1. มูลค่าการค้า
1.1 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของฟิลิปปินส์-โลก
2549 2550 D/%
(ม.ค.-ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 98,569.09 105,587.29 7.12
การนำเข้า 51,532.55 55,316.97 7.34
การส่งออก 47,036.54 50,270.32 6.88
ดุลการค้า -4,496.00 -5,046.66 12.25
1.2 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของฟิลิปปินส์-ไทย
2549 2550 D/%
(ม.ค.-ธ.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 3,413.47 3,614.25 6.67
การนำเข้า 2,088.86 2,238.36 7.16
การส่งออก 1,324.61 1,402.89 5.91
ดุลการค้า -764.26 -835.46 9.32
2. การนำเข้า
2.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่ฟิลิปปินส์นำเข้าจากโลก ปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 55,316.97 100.00 7.34
1.สหรัฐอเมริกา 7,915.30 14.31 -5.70
2. ญี่ปุ่น 6,605.28 11.94 -5.69
3. สิงคโปร์ 6,264.49 11.32 43.81
4.ใต้หวัน 4,083.29 7.38 -1.49
5. จีน 4,030.45 7.29 9.76
9. ไทย 2,238.36 4.05 7.16
อื่น ๆ 24,179.81 43.71 10.54
2.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ฟิลิปปินส์นำเข้าจากโลก ปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 55,316.97 100.00 7.34
1. แผงวงจรไฟฟ้า 5,608.05 10.14 -67.27
2. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 3,034.54 5.49 -9.90
3. เครื่องจักรกลฯ 812.10 1.47 -0.99
4. รถยนต์และยานยนต์ 656.73 1.19 60.34
5. ข้าว 597.87 1.08 27.89
อื่น ๆ 44,607.68 80.64 23.68
2.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ฟิลิปปินส์นำเข้าจากไทยปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า: สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย 2,238.36 100.00 7.16
1. รถยนต์และยานยนต์ 342.26 15.29 36.24
2. รถจักรยานยนต์ 193.94 8.66 -1.33
3. ข้าว 137.65 6.15 333.44
4. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 94.04 4.20 4.39
5. ซอสปรุงแต่ง 62.24 2.78 30.27
อื่น ๆ 1,408.23 62.91 -24.47
3. การส่งออก
3.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่ฟิลิปปินส์ส่งออกไปโลกปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกรวม 50,270.32 100.00 6.88
1. สหรัฐฯ 8,540.38 16.99 -0.37
2. ญี่ปุ่น 7,290.31 14.50 -6.10
3. ฮ่องกง 5,802.47 11.54 56.82
4. จีน 5,715.65 11.37 23.79
5. เนเธอร์แลนด์ 4,149.04 8.25 -12.71
10. ไทย 1,402.89 2.79 5.91
อื่น ๆ 17,369.58 34.55 6.52
3.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ฟิลิปปินส์ส่งออกไปโลกปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกรวม 50,270.32 100.00 6.88
1. แผงวงจรไฟฟ้า 5,541.33 11.02 -38.65
2. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 3,930.53 7.82 -15.24
3. ไดโอดทรานซิสเตอร์ฯ 1,874.95 3.73 -76.37
4. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 1,728.96 3.44 -48.91
5. ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ 1,672.65 3.33 19.96
อื่น ๆ 35,521.89 70.66 18.69
3.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ฟิลิปปินส์ส่งออกไปไทยปี 2550 (ม.ค.-ธ.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกไปไทย 1,402.89 100.00 5.91
1. ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ 292.50 20.85 1.68
2. ทองแดงบริสุทธิ์ 176.28 12.57 61.84
3. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 103.77 7.40 -58.89
4. ยาสูบและบุหรี่ 63.42 4.52 2.86
5. แผงวงจรไฟฟ้า 42.45 3.03 -67.71
อื่น ๆ 724.48 51.64 3.45
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้านำเข้าสำคัญของฟิลิปปินส์ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เครื่องจักรและเครื่องใช้กลฯ รถยนต์และยานยนต์ ข้าว
4.2 สินค้าส่งออกสำคัญของฟิลิปปินส์ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ไดโอดทรานซิสเตอร์ฯ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์
4.3 แหล่งผลิตสำคัญที่ฟิลิปปินส์นำเข้า ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ใต้หวัน จีน ปัจจุบันฟิลิปปินส์นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 9 สัดส่วน ร้อยละ 4.05 และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 10 ของฟิลิปปินส์ สัดส่วนร้อยละ 2.79
4.4 สินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปตลาดฟิลิปปินส์ ได้แก่
- รถยนต์และยานยนต์ (HS.8703) ฟิลิปปินส์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 656.731 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.34 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 52.12 มูลค่า 342.263 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.24 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย
- รถจักรยานยนต์ (HS.8711) ฟิลิปปินส์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 303.605 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.32 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 63.88 มูลค่า 193.935 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.33 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ อินเดียและจีน
- ข้าว (HS.1006) ฟิลิปปินส์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 597.869 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.89 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 23.02 มูลค่า 137.653 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 333.44 ในขณะที่นำเข้าจากเวียดนามอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 75.65 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.89 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและ มูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ปากีสถานและอีนเดีย
- ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ (HS.8473) ฟิลิปปินส์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 3,034.542 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.09 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 7 สัดส่วนร้อยละ 3.10 มูลค่า 94.041 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.39 ในขณะที่นำเข้าจากญี่ปุ่นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 37.11 ลดลงร้อยละ 19.96 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงคือ ฮ่องกงและสิงคโปร์
- ซอสปรุงแต่ง (HS.2106) ฟิลิปปินส์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 273.583 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.44 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 22.75 มูลค่า 62.238 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.27 ส่วนคู่แข่งสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สหรัฐฯและฮังการี
4.5 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดฟิลิปปินส์ 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 20 มีรวม 13 รายการ เช่น
1.) รถยนต์และยานยนต์ (HS.8703) ฟิลิปปินส์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 656.731 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.34 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 52.12 มูลค่า 342.263 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.24
2.) ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานและรถจักรยานยนต์ (HS.8714) ฟิลิปปินส์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 110.270 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 104.75 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 25.26 มูลค่า 27.854 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 233.51
3.) ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (HS. 8708) ฟิลิปปินส์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 279.717 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 11.91 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 8.07 มูลค่า 22.579 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.18
4.) เครื่องยนต์ (HS.8407) ฟิลิปปินส์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 48.867 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 42.80 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 44.19 มูลค่า 21.450 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.12
เป็นผลมาจากฟิลิปปินส์ เป็นตลาดหลักตลาดหนึ่งในการส่งสินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ของไทย โดยการส่งออกจากไทยมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
5.) ข้าว (HS.1006) ฟิลิปปินส์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 597.869 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.89 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 23.02 มูลค่า 137.653 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 333.44
เป็นผลมาจากฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลกขณะเดียวกันผลิตอาหารในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการภายใน และประกอบกับหลายเดือนที่ผ่านมาฟิลิปปินส์ประสบปัญหาภัยธรรมชาติในหลายด้าน เช่น น้ำท่วม ภูเขาไฟระเบิด ฝนตกหนัก ทำให้อาหารที่จำเป็นในการบริโภคเกิดการขาดแคลน
6.) ซอสปรุงแต่ง (HS.2106) ฟิลิปปินส์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 273.583 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.44 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 22.75 มูลค่า 62.238 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.27
7.) เครื่องรับโทรทัศน์ (HS.8528) ฟิลิปปินส์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 88.688 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.22 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 32.54 มูลค่า 28.855 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.36
4.6 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดฟิลิปปินส์ 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงมี 7 รายการ เช่น
1.) รถจักรยานยนต์ (HS.8711) ฟิลิปปินส์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 303.605 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.32 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 63.88 มูลค่า 193.935 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.33
มีข้อสังเกตุว่า ขณะที่ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานและรถจักรยานยนต์ มีการนำเข้าจากไทยเพิ่มมากขึ้น โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 223.51
2.) รถโดยสาร (HS.8702) ฟิลิปปินส์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 216.047 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.58 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 22.26 มูลค่า 48.089 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.96
3.) แผงวงจรไฟฟ้า (HS.8542) ฟิลิปปินส์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 5,608.052 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 67.27 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 13 สัดส่วนร้อยละ 0.79 มูลค่า 44.549 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 89.03
5. ข้อมูลเพิ่มเติม
1. PHILIPPINES:S&P คงอันดับเครดิตแนวโน้มมีเสถียรภาพ
บริษัทสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ เรทติงส์ เซอร์วิสเซส (S&P) ประกาศคงอันดับ ความน่าเชื่อถือสกุลเงินต่างประเทศของฟิลิปปินส์ที่ BB-/B และสกุลเงินในประเทศที่ BB+/B ในวันนี้ โดยมีแนวโน้มที่มีเสถียรภาพ
อันดับเครดิตดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงสถานะสภาพคล่องต่างประเทศที่ดีขึ้นเป็น อย่างมาก และเมื่อผนวกกับความพยายามในการสร้างความแข็งแกร่งด้านการคลัง และ การลดลงของปริมาณการกู้ยืมจากต่างประเทศแล้ว ปัจจัยเหล่านี้ก็ส่งผลให้สถานะหนี้สิน ต่างประเทศสุทธิลดลงอย่างมาก และช่วยแก้ไขหนึ่งในจุดอ่อนที่สำคัญของฟิลิปปินส์ ซึ่ง ได้แก่การที่หนี้สินกว่า 40 % ของฟิลิปปินส์อยู่ในรูปของสกุลเงินต่างประเทศ
นอกจากนี้ อันดับเครดิตดังกล่าวยังเป็นผลมาจากความพยายามอย่างต่อเนื่อง ของรัฐบาลฟิลิปปินส์ในการเพิ่มรายรับด้านภาษี จากระดับต่ำเพียง 14 % ของตัวเลขมูลค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) และจากการที่เศรษฐกิจฟิลิปปินส์เติบโตขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง
2. ฟิลิปปินส์ซื้อทั้งข้าวไทย-เวียดนาม-ปากีสถาน
ผลการประมูลข้าวของรัฐบาลฟิลิปปินส์ 500,000 ตัน ฟิลิปปินส์อนุมัติซื้อข้าวจากไทย เวียดนาม และปากีสถาน ตามราคาและปริมาณที่แต่ละประเทศเสนอขาย โดยไทยเสนอขายตันละ 1,080-1,190 เหรียญ(ราคา CIF)จำนวน 195,000 ตัน, เวียดนาม ตันละ 1,200 เหรียญ จำนวน 1 00,000 ตัน และปากีสถาน ตันละ 870 เหรียญ จำนวน 25,000 ตัน รวมทั้งหมด 325,000 ตัน
ส่วนปริมาณที่เหลือที่เปิดประมูลได้ไม่ครบนั้นฟิลิปปินส์จะนำไปรวมกับอีก 500,000 ตันที่จะเปิดประมูลรอบ 4 ของปีนี้ในวันที่ 5 พ.ค.นี้ หรือจะเปิดประมูลทั้งสิ้น 650,000 ตัน
ภาคเอกชนเชื่อว่าผู้ส่งออกไทยจะเสียโอกาสในการประมูลขายข้าวให้ฟิลิปปินส์รอบใหม่ เพราะฟิลิปปินส์กำหนดเงื่อนไขใหม่ ให้ผู้ที่จะเสนอขายต้องได้การรับรองจากรัฐบาล เพื่อป้องกันการส่งมอบข้าวให้ไม่ได้หรือทิ้งสัญญา ซึ่งถ้าเป็นตามเงื่อนไขนี้คงเหลือเวียดนามเพียงประเทศเดียว ดังนั้น เพื่อไม่ให้ไทยเสียตลาดฟิลิปปินส์ รัฐบาลจะต้องเข้าประมูลและขายแบบรัฐต่อรัฐ(G to G)
อย่างไรก็ดี การที่ฟิลิปปินส์ยอมรับซื้อโดยสู้ราคาที่แต่ละประเทศเสนอไปนั้น แสดงถึงความต้องการข้าวที่ยังมีอยู่ในระดับสูง และแนวโน้มราคาข้าวในตลาดโลกยังไปต่อได้อีก
ทั้งนี้ ภาคเอกชนกำลังรอคำตอบจากกระทรวงพาณิชย์ว่าจะให้การรับรองผู้ส่งออกในการเข้าร่วมประมูลขายข้าวให้ฟิลิปปินส์รอบใหม่ในวันที่ 5 พ.ค.นี้หรือไม่ รวมถึงจะเสนอให้รัฐบาลขายข้าวแบบ G to G เพื่อรักษาตลาดฟิลิปปินส์ไว้
3. รัฐบาลฟิลิปปินส์ยกเลิกให้เงินอุดหนุนนำเข้าข้าวหากราคาข้าวพุ่งต่อเนื่อง
รัฐบาลฟิลิปปินส์กำลังพิจารณาที่จะยกเลิกการทำหน้าที่ในการให้เงินอุดหนุนการนำเข้าข้าว หากว่าราคาข้าวยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไป บทบาทของสำนักงานอาหารแห่งชาติของฟิลิปปินส์ (NFA) ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องการนำเข้าข้าวอยู่แล้วอาจจะต้องเปลี่ยนมาอนุมัติให้ภาคเอกชนนำเข้าข้าวมากกว่าเดิมแทน โดย NFA จะให้ความสำคัญกับการเพิ่มสำรองข้าวของประเทศแทน
โดยรัฐบาล ให้ความสำคัญกับเรื่องอาหาร และ NFA ก็มีบทบาทรับผิดชอบในเรื่องนี้ แต่ในระยะยาวแล้ว หากราคาข้าวยังอยู่ในระดับปัจจุบันและยังเป็นเช่นนี้ต่อไป เราก็จะต้องหันมาดูเรื่องการผลิตข้าวมากขึ้นด้วยตัวเราเอง
เมื่อเร็วๆนี้ NFA มีอำนาจผูกขาดในการดูแลเรื่องการนำเข้าและซื้อขายข้าว บทบาทของสำนักงานคือ การซื้อข้าวมาในราคาที่สูงมาก แต่นำมาขายในประเทศด้วยราคาถูก ซึ่งบทบาทดังกล่าวได้กลายมาเป็นปัญหาในเรื่องการจัดหางบประมาณของรัฐบาล
ปัจจุบัน ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลก และปีนี้ ฟิลิปปินส์มีแผนที่จะนำเข้าข้าวสูงถึง 2.7 ล้านเมตริกตัน
ที่มา: http://www.depthai.go.th