1. มูลค่าการค้า
1.1 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของออสเตรเลีย-โลก
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มี.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 65,914.00 83,777.14 27.10
การนำเข้า 34,608.87 45,528.63 31.55
การส่งออก 31,305.13 38,248.51 22.18
ดุลการค้า -3,303.73 -7,280.12 120.36
1.2 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของออสเตรเลีย-ไทย
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มี.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 2,403.04 2,966.27 23.44
การนำเข้า 1,589.45 2,089.25 31.44
การส่งออก 813.58 877.02 7.80
ดุลการค้า -775.87 -1,212.23 56.24
2. การนำเข้า
2.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่ออสเตรเลียนำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 45,528.63 100.00 31.55
1. จีน 6,465.06 14.20 29.94
2. สหรัฐฯ 6,004.91 13.19 28.24
3. ญี่ปุ่น 4,653.72 10.22 38.55
4. สิงคโปร์ 3,367.74 7.40 65.73
5. เยอรมนี 2,307.70 5.07 28.78
6. ไทย 2,089.25 4.59 31.44
อื่น ๆ 20,640.25 45.33 27.58
2.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ออสเตรเลียนำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 45,528.63 100.00 31.55
1. น้ำมันดิบ 3,795.86 8.34 54.79
2. รถยนต์และยานยนต์ 3,422.71 7.52 37.66
3. น้ำมันสำเร็จรูป 3,157.66 6.94 146.15
4. ทองคำ 1,721.71 3.78 69.95
5. ยารักษาโรค 1,435.45 3.15 17.54
อื่น ๆ 31,995.23 70.27 22.34
2.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ออสเตรเลียนำเข้าจากไทยปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย 2,089.25 100.00 31.44
1. รถบรรทุกเล็ก 490.40 23.47 18.07
2. ทองคำ 350.29 16.77 172.34
3. รถยนต์และยานยนต์ 312.31 14.95 25.42
4. เครื่องปรับอากาศ 66.50 3.18 14.37
5. น้ำมันดิบ 54.13 2.59 25.28
อื่น ๆ 815.63 39.04 -14.36
3. การส่งออก
3.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่ออสเตรเลียส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกรวม 38,248.51 100.00 22.18
1. ญี่ปุ่น 7,163.36 18.73 16.22
2. จีน 5,821.37 15.22 37.88
3. เกาหลีใต้ 2,795.16 7.31 3.74
4. อินเดีย 2,191.07 5.73 31.37
5. สหรัฐฯ 2,176.87 5.69 22.15
10.ไทย 877.02 2.29 7.80
อื่น ๆ 17,223.66 45.03 23.36
3.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ออสเตรเลียส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน% %เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกรวม 38,248.51 100.00 22.18
1. ถ่านหิน 4,524.45 11.83 5.96
2. สินแร่ 4,278.89 11.19 55.50
3. ทองคำ 2,982.34 7.80 48.55
4. น้ำมันดิบ 2,074.02 5.42 48.37
5. ก๊าชปิโตเลียม 1,636.10 4.28 39.41
อื่น ๆ 22,752.71 59.49 15.47
3.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ออสเตรเลียส่งออกไปไทยปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน% %เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกไปไทย 877.02 100.00 7.80
1. ทองคำ 139.79 15.94 -9.88
2. น้ำมันดิบ 136.62 15.58 54.26
3. อลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป 135.36 15.43 -6.64
4. ทองแดงบริสุทธิ์ 61.33 6.99 14.35
5. ผลิตภัณฑ์แผ่นรีด 49.34 5.63 313.03
อื่น ๆ 354.59 40.43 -33.90
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้านำเข้าสำคัญของออสเตรเลีย ได้แก่ น้ำมันดิบ รถยนต์และยานยนต์ น้ำมันสำเร็จรูป ทองคำ และยารักษาโรค
4.2 สินค้าส่งออกสำคัญของออสเตรเลีย ได้แก่ ถ่านหิน สินแร่ ทองคำ น้ำมันดิบ และก๊าซปิโตเลียม
4.3 แหล่งผลิตสำคัญที่ออสเตรเลีย ได้แก่ จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเยอรมนี ปัจจุบันออสเตเลียนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 6 สัดส่วนร้อยละ 4.59 และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 10 ของออสเตเลียสัดส่วนร้อยละ 2.29
4.4 สินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปตลาดออสเตรเลีย ได้แก่
- รถบรรทุกเล็ก (HS.8704) ออสเตรเลียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,367.732 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.55 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 35.86 มูลค่า 490.400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.07 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงคือ ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ
- ทองคำ (HS.7108) ออสเตรเลียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,721.707 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.95 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 20.35 มูลค่า 350.294 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 172.34 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงคือ สิงคโปร์และปาปัวนิวกีนี
- รถยนต์และยานยนต์ (HS.8703) ออสเตรเลียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 3,422.712 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.66 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วน ร้อยละ 9.12 มูลค่า 312.305 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.42 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ญี่ปุ่นและเยอรมนี
- เครื่องปรับอากาศ (HS.8415) ออสเตรเลียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 159.135 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.56 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 41.79 มูลค่า 66.495 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.37 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ จีนและญี่ปุ่น
- น้ำมันดิบ (HS.2709) ออสเตรเลียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 3,795.863 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.79 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 11 สัดส่วนร้อยละ 1.43 มูลค่า 54.131 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.28 ส่วนคู่แข่งสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ เวียดนามและมาเลเซีย
4.5 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดออสเตรเลีย 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 20 มีรวม 16 รายการ เช่น
1.) ทองคำ (H.S.7108) ออสเตรเลียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,721.707 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.95 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 20.35 มูลค่า 350.294 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 172.34
2.) อัญมณี (H.S.7113) ออสเตรเลียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 136.580 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.10 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 19.21 มูลค่า 26.240 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.58
ทั้งนี้การขยายตัวดังกล่าวจะเป็นผลจากการส่งออกไปยังตลาดที่ไทยได้จัดทำข้อตกลงทั้งในนามประเทศไทย และในนามอาเซียน โดยขยายตัวมากขึ้นจากความได้เปรียบเรื่องอัตราภาษี ทั้งญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
การนำเข้าทองคำที่เพิ่มสูงขึ้นมากในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาสาเหตุหนึ่งมาจากการนำเข้าปีก่อนมีปริมาณน้อย เพราะราคาผันผวน และภาวะเศรษฐกิจในไทยไม่ดี ทำให้การนำเข้าน้อย แต่เมื่อถึงปีนี้ การส่งออกสินค้าอัญมณี และภาวะเศรษฐกิจในประเทศมีความเชื่อมั่นมากขึ้นจึงมีการนำเข้ามามากเมื่อเทียบกับฐานที่ต่ำกว่าปีก่อนทำให้อัตราขยายตัวสูงอย่างน่าตกใจ
3.) รถยนต์และยานยนต์ (H.S.8703) ออสเตรเลียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 3,422.712 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.66 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 9.12 มูลค่า 312.305 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.42
เป็นผลมาจากแนวโน้มการส่งออกสินค้ายานยนต์ คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพราะความต้องการใช้รถยนต์จากทั่วโลกยังมีสูงนอกจากนี้ การทำ FTA กับประเทศออสเตรเลียส่งผลให้การส่งออกรถยนต์ไปตลาดออสเตรเลียขยายตัวเป็นอย่างมากในปี 2550 และคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2551
4.) น้ำมันดิบ (H.S.2709) ออสเตรเลียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 3,795.863 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.79 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 11 สัดส่วนร้อยละ 1.43 มูลค่า 54.131 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.28
5.) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (H.S.8471) ออสเตรเลียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,169.901 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.72 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 5 สัดส่วนร้อยละ 3.58 มูลค่า 41.839 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.55
6.) ส่วนประกอบรถยนต์ (H.S.8708) ออสเตรเลียนำเข้าจากตลาดโลก 535.850 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.10 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 5 สัดส่วนร้อยละ 7.49 มูลค่า 40.139 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.78
เป็นผลมาจากการที่ทั่วโลกมีความต้องการใช้รถยนต์เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ประเทศผู้นำเข้าและผลิตรถยนต์มีการนำเข้าส่วนประกอบรถยนต์ที่เป็น OEM จากประเทศไทยเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกส่วนประกอบรถยนต์ที่เป็น REM (Replacement Epuipment Manufacturer) จะมีการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดอเมริกาและยุโรปที่กลับมานำเข้าสินค้าจากไทยแทนสินค้าจีนที่เกิดปัญหาไม่ส่งมอบสินค้าตามข้อตกลง
7.) ยางรถยนต์ (H.S.4011) ออสเตรเลียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 381.849 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.51 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 5 สัดส่วนร้อยละ 31.90 มูลค่า 26.406 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.90
4.6 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดออสเตรเลีย 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงมี 1 รายการ เช่น
1.) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (H.S.8517) ออสเตรเลียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 905.946 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.58 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 11 สัดส่วนร้อยละ 1.53 มูลค่า 13.849 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 49.16
5. ข้อมูลเพิ่มเติม
1. อุปสงค์สินค้าโภคภัณฑ์หนุนศก.ออสเตรเลียปีนี้ขยายตัวสดใส
ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจเข้าสู่ปีที่ 17 จะยังมีการขยายตัวต่อไปตลอดทั้งปีนี้ จากปัจจัยหนุนด้านความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ที่แข็งแกร่งจากจีนอย่างต่อเนื่องการร่วงลงสู่จุดต่ำสุดทางเศรษฐกิจถือเป็นเรื่องปกติ แต่ออสเตรเลียจะยังคงมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยาวนานตราบใดที่จีนยังมีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
ทั้งนี้ เศรษฐกิจออสเตรเลียได้รับปัจจัยกระตุ้นจากทั้งอุปสงค์ที่แข็งแกร่งของจีน และจากราคาถ่านหินและสินแร่เหล็กที่พุ่งสูงขึ้นในปีนี้ นอกจากนี้ แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐจะฉุดรั้งบรรยากาศการลงทุนทางธุรกิจในออสเตรเลีย ซึ่งเป็นส่วนขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในออสเตรเลียมากถึงครึ่งหนึ่งในปีที่ผ่านมา แต่ก็มีมาตรการต่างๆที่จะช่วยป้องกันภาวการณ์ชะลอตัวได้ รายได้จากการลดภาษีในเดือนก.ค. ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ชนบทและการมีแรงงานอพยพที่เข้ามาเป็นจำนวนมากจะช่วยกระตุ้นการขยายตัวด้านการผลิตให้แข็งแกร่งในปี 2551
อย่างไรก็ตาม รายงานดังกล่าวระบุว่า ออสเตรเลียอาจเริ่มเผชิญความเสี่ยงมากขึ้นในปี 2552 และในปีต่อๆไป หากเศรษฐกิจจีนประสบภาวะชะงักงันขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะฟื้นตัวขึ้นในเร็ววัน ออสเตรเลียมีอัตราการขยายตัวของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่ระดับ 3.9% ในปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่เหนือกว่าแนวโน้มเงินเฟ้อระยะยาวที่ 3-3.25%
ทั้งนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ในเดือนนี้ว่า ตัวเลข GDP ของออสเตรเลียจะขยายตัวที่ระดับ 3.8% ในปีนี้ และจะชะลอตัวลงมาแตะที่ 3.1% ในปี 2552
2. เอฟทีเอ ไทย - ออสเตรเลีย
การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับประเทศคู่ค้า 5 ประเทศในปี 50 ช่วยให้สินค้าไทยในกลุ่มรถยนต์ รถปิกอัพ เครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้ไฟฟ้า เมล็ดพลาสติกและผลไม้ สามารถตีตลาดและเพิ่มมูลค่าการค้าได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินเดียที่นิยมนำเข้าสินค้าจากไทย เพราะมีข้อได้เปรียบด้านภาษี คุณภาพดีโดยมีโรงงานระดับโลกเข้ามาใช้ไทยเป็นฐานผลิต
ที่ผ่านมาไทยได้ทำเอฟทีเอแล้ว 5 ฉบับ คือ ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ ไทย-อินเดีย จำนวน 82 รายการ ไทย-ญี่ปุ่น และอาเซียน-จีน ซึ่งการค้ากับทุกประเทศมีการขยายตัวมากขึ้น และส่วนใหญ่ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า
สำหรับยอดมูลค่าการค้าปี 50 ไทยกับออสเตรเลีย มีมูลค่า 9,525.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.8% กับนิวซีแลนด์ มีมูลค่า 10,281.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 21.4% กับอินเดีย (82 รายการ) มีมูลค่า 451.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 23.9% กับจีนมีมูลค่า 31,062.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขาดดุลการค้า 1,389.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 49 จำนวน 487 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ตลาดออสเตรเลียไทยส่งออกสินค้ามากขึ้น ในกลุ่มรถปิกอัพ เครื่องปรับอากาศ ทูน่ากระป๋อง เครื่องประดับต่าง ๆ ส่วนผลไม้ไทยที่เคยติดมาตรการสุขอนามัยที่เข้มงวด ก็เข้าไปในออสเตรเลียได้แล้ว ได้แก่มังคุด ลิ้นจี่ ลำไย และผลไม้ที่แกะเปลือก เช่น สับปะรด ทุเรียนและส้มโอ ขณะที่นิวซีแลนด์ ที่ส่งออกเพิ่ม ได้แก่ รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้ไฟฟ้า เม็ดพลาส ติก อาหารทะเลกระป๋องและผัก
3. รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEM
การดำเนินงานเพื่อการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนมีการกำกับดูแลโดย รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEM (ASEAN Economic Minister) ซึ่งเป็นรัฐมนตรีที่ประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศมอบหมายให้ทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดทิศทางและวางแนวนโยบาย รวมถึงให้คำแนะนำในการขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และรายงานต่อระดับผู้นำ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนจะมีการประชุมเป็นประจำทุกปี ปีละ 2 ครั้ง ได้แก่การประชุมอย่างเป็นทางการหรือที่เรียกว่า AEM Meeting และการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ หรือที่เรียกว่า AEM Retreat สำหรับประเทศไทย ผู้ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและเป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมทั้งสองดังกล่าว คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน จะหารือกันในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาค รวมถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อติดขัดที่เป็นอุปสรรคต่อการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างกัน ทั้งนี้ในช่วงการประชุมอาจจะมีการจัดพบปะระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับผู้แทนระดับรัฐมนตรีของประเทศคู่เจรจาของอาเซียน เพื่อหารือในประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างกัน
เมื่อวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดประชุม AEM Retreat ที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศไทย โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์) ได้เข้าร่วมประชุมกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนจากประเทศสมาชิกอื่นๆ อีก 9 ประเทศ โดยได้หารือกันเกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนงานการไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint หรือ AEC Blueprint) และพิจารณาร่างความตกลงฉบับใหม่ว่าด้วยการค้าสินค้าสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน และความคืบหน้าในการเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุนของอาเซียน รวมทั้งแนวทางการเจรจากับประเทศและกลุ่มเศรษฐกิจที่อาเซียนจะทำข้อตกลงทางการค้าเสรีด้วย เช่น กลุ่มเศรษฐกิจออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และอินเดีย เป็นต้น
การประชุมครั้งต่อไป จะเป็นการประชุมอย่างเป็นทางการ AEM Meeting ระหว่างวันที่ 25-29 สิงหาคม 2551 โดยสิงคโปร์จะเป็นเจ้าภาพจัดที่ประเทศสิงคโปร์ และภายหลังจากนั้น หากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดให้สัตยาบันการมีผลใช้บังคับของกฎบัตรอาเซียน (ซึ่งเป็นกรอบพื้นฐานทางกฎหมายรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน) ได้แล้วเสร็จภายในปีนี้ อาเซียนก็จะเริ่มใช้ระบบประธานเดียว (Single Chairmanship) คือ การกำหนดให้ประเทศสมาชิกประเทศหนึ่งเป็นประธานสำหรับการประชุมในระดับตั้งแต่ผู้นำลงไปจนถึงระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส โดยในส่วนของการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ไทยจะรับตำแหน่งประธาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 เป็นเวลา 1 ปี จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะแสดงบทบาทในการเป็นผู้นำสำหรับการผลักดันการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้เป็นไปตามแผนงานการไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558
ที่มา: http://www.depthai.go.th