สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) สรุปจากสถิติ World Trade Atlas

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 26, 2008 17:25 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. มูลค่าการค้า
1.1 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของสหรัฐฯ-โลก
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มี.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 721,875.80 819,994.93 13.59
การนำเข้า 450,957.82 502,600.15 11.45
การส่งออก 270,917.98 317,394.78 17.16
ดุลการค้า -180,039.84 -185,205.38 2.87
1.2 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของสหรัฐฯ-ไทย
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มี.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 7,243.77 7,882.74 8.82
การนำเข้า 5,389.77 5,730.30 6.32
การส่งออก 1,854.00 2,152.45 16.10
ดุลการค้า -3,535.78 -3,577.85 1.19
2. การนำเข้า
2.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่สหรัฐฯนำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 502,600.15 100.00 11.45
1. แคนาดา 83,244.06 16.56 10.97
2. จีน 72,728.24 14.47 1.82
3. แม็กซิโก 52,428.63 10.43 7.55
4. ญี่ปุ่น 37,388.42 7.44 3.44
5. เยอรมนี 24,115.09 4.80 9.02
18. ไทย 5,730.30 1.14 6.32
อื่น ๆ 226,965.43 45.16 18.14
2.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่สหรัฐฯนำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 502,600.15 100 11.45
1. น้ำมันดิบ 79,655.68 15.85 65.49
2. รถยนต์และยานยนต์ 34,074.52 6.78 3.63
3. น้ำมันสำเร็จรูป 20,132.43 4.01 37.62
4. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 13,809.95 2.75 1.30
5. เครื่องอุปกรณไฟฟ้า 13,635.40 2.71 17.41
อื่น ๆ 341,292.18 67.91 3.40
2.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่สหรัฐฯนำเข้าจากไทยปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย 5,730.30 100.00 6.32
1. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 887.88 15.49 21.19
2. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 491.05 8.57 12.45
3. แผงวงจรไฟฟ้า 260.74 4.55 5.63
4. อัญมณี 191.88 3.35 -16.29
5. เครื่องรับโทรทัศน์ 137.10 2.39 -1.63
อื่น ๆ 3,761.65 65.64 -16.00
3. การส่งออก
3.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่สหรัฐฯส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 317,394.78 100.00 17.16
1. แคนาดา 64,445.71 20.30 11.92
2. แม็กซิโก 35,815.96 11.28 10.63
3. จีน 17,982.89 5.67 24.24
4. ญี่ปุ่น 16,429.33 5.18 5.75
5. สหราชอาณาจักร 14,204.36 4.48 9.95
29.ไทย 2,152.45 0.68 16.10
อื่น ๆ 166,364.09 52.42 22.17
3.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่สหรัฐฯส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 317,394.78 100.00 17.16
1. เครื่องบิน 13,456.01 4.24 16.18
2. อุปกรณ์การบิน 11,757.03 3.70 27.98
3. น้ำมันสำเร็จรูป 11,003.65 3.47 118.27
4. แผงวงจรไฟฟ้า 10,854.41 3.42 5.49
5. ส่วนประกอบรถยนต์ 8,158.85 2.57 -6.25
อื่น ๆ 262,164.83 82.60 15.94
3.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่สหรัฐฯส่งออกมาไทยปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกไปไทย 2,152.45 100.00 16.10
1. แผงวงจรไฟฟ้า 260.04 12.08 -0.12
2. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 176.08 8.18 1.50
3. เศษเหล็ก 103.51 4.81 161.87
4. ฝ้าย 80.03 3.72 82.87
5. ไดโอดทรานซิสเตอร์ 68.66 3.19 -16.14
อื่น ๆ 1,464.13 68.02 -8.60
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้านำเข้าสำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ น้ำมันดิบ รถยนต์และยานยนต์ น้ำมันสำเร็จรูป คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ และเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า
4.2 สินค้าส่งออกสำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ เครื่องบิน อุปกรณ์การบิน น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า และส่วนประกอบอุปกรณ์รถยนต์
4.3 แหล่งผลิตสำคัญที่สหรัฐฯนำเข้า ได้แก่ แคนาดา จีน แม็กซิโก ญี่ปุ่น และเยอรมนี ปัจจุบันสหรัฐฯนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 18 สัดส่วนร้อยละ 1.14 และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 29 ของสหรัฐฯ สัดส่วน ร้อยละ 0.68
4.4 สินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ได้แก่
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (HS. 8471) สหรัฐฯนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 13,809.951 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.30 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 6.43 มูลค่า 6.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.19 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือจีนและมาเลเซีย
- เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (HS.8517) สหรัฐฯนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 13,635.398 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.41 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 6 สัดส่วนร้อยละ 3.60 มูลค่า 491.048 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.45 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงคือ จีนและแม็กซิโก
- แผงวงจรไฟฟ้า (HS.8542) สหรัฐฯนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 5,161.222 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.84 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 8 สัดส่วน ร้อยละ 5.05 มูลค่า 260.742 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.63 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ใต้หวันและมาเลเซีย
- อัญมณี (HS.7113) สหรัฐฯนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,579.549 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.81 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 12.15 มูลค่า 191.880 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 16.29 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ อินเดียและจีน
- เครื่องรับโทรทัศน์ (HS.8528) สหรัฐฯนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 8,673.958 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.42 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 5 สัดส่วนร้อยละ 1.58 มูลค่า 137.103 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.63 ส่วนคู่แข่งสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ แม็กซิโกและจีน
4.5 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสหรัฐฯ 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 20 มีรวม 6 รายการ เช่น
1.) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (H.S.8471) สหรัฐฯนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 13,809.951 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.30 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 6.43 มูลค่า 887.875 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.19
2.) ปลาสำเร็จรูป ปลากระป๋อง (H.S.1604) สหรัฐฯนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 294.505 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.37 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 32.45 มูลค่า 95.561 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.07
ข้อสังเกตุในปี 2550 (มค.-ธค.) ปลาสำเร็จรูป ปลากระป๋อง สหรัฐฯนำเข้าจากไทยลดลงร้อยละ 0.50 ในขณะที่ปี 2551 (มค.-มีค.) สหรัฐฯนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.07
3.) น้ำมันดิบ (H.S.2709) สหรัฐฯนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 79,655.680 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.49 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 27 สัดส่วนร้อยละ 0.12 มูลค่า 94.872 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.44
อย่างไรก็ตาม มีการส่งออกน้ำมันจากไทยเพิ่มขึ้น โดยโรงกลั่นน้ำมันแห่งหนึ่งของไทยส่งออกน้ำมันเบนซิน มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการส่งออกส่งผลให้อุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคมีปรับเพิ่มขึ้น
4.) เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ (H.S.8525) สหรัฐฯนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 2,755.323 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 17.61 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 7 สัดส่วนร้อยละ 3.44 มูลค่า 94.740 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.70
5.) ยางรถยนต์ (H.S.4011) สหรัฐฯนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 2,299.286 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 8.56 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 5 สัดส่วนร้อยละ 3.95 มูลค่า 90.916 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.60
6.) ข้าว (H.S.8704) สหรัฐฯนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 128.676 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.91 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 58.75 มูลค่า75.594 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.27
วิกฤติการณ์อาหารจะเกิดขึ้นต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 1-2 ปี โดยโลกยังอยู่ในภาวะขาดแคลนอาหาร และความต้องการอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น การที่โลกกำลังอยู่ในภาวะวิกฤติอาหาร ถือเป็นโอกาสของไทยในฐานะที่มีศักยภาพในการผลิตอาหารของโลก จะได้ประโยชน์จากราคาอาหารที่สูงขึ้น เช่น ข้าวเพราะความต้องการของโลกเพิ่มขึ้นสูงมาก ซึ่งคาดกันว่าการส่งออกข้าวในไตรมาสแรกจะส่งออกได้มากกว่าไตรมาสที่ 2
4.6 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสหรัฐฯ 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงมี 10 รายการ เช่น
1.) อัญมณี (H.S.7113) สหรัฐฯนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,579.549 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.81 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 12.15 มูลค่า 191.880 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 16.29
2.) เครื่องรับโทรทัศน์ (H.S.8528) สหรัฐฯนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 8,673.958 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.42 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 5 สัดส่วนร้อยละ 1.58 มูลค่า 137.103 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.63
3.) กุ้งแช่เย็น แช่แข็ง (H.S.0306) สหรัฐฯนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 979.586 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.12 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 13.35 มูลค่า 130.790 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 16.45
4.) ถังบรรจุภาชนะอัดลม (H.S.1605) สหรัฐฯนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 365.825 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 15.17 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 35.03 มูลค่า 128.147 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.73
5.) เครื่องพิมพ์สำหรับคอมพิวเตอร์ (H.S.8443) สหรัฐฯนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 5,145.973 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.55 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 8 สัดส่วนร้อยละ 1.67 มูลค่า 85.722 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 23.92
5. ข้อมูลเพิ่มเติม
1. เศรษฐกิจสหรัฐ
MAPI ระบุในรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจประจำไตรมาสว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัว 1.3 % ในปีนี้ ก่อนที่จะกระเตื้องขึ้นมาที่ 1.9 % ในปีหน้า โดยตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจในปีนี้เป็นการปรับลดลงจาก 2.5 % ที่คาดไว้ในเดือนก.พ.
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสหรัฐ ซึ่งเป็นมาตรวัด กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม ขยายตัว 0.6 % ในไตรมาส 4 ปี 2007 และไตรมาส 1 ปี 2008 ขณะที่จีดีพีของทั้งปี 2002 ขยายตัว 2.2 % "ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีนี้ดูเหมือนว่าจะไม่รุนแรง แต่จะยืดเยื้อนานกว่าปกติ" และคาดว่าจีดีพีจะขยายตัว 1.3 % ในปีนี้ ซึ่งเท่ากับที่เคยคาดไว้ในเดือน ก.พ.และพ.ย.
เศรษฐกิจจะได้ปัจจัยหนุนบางส่วนจากการลดอัตรา ดอกเบี้ยลงอย่างมากของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และมาตรการคืนเงินภาษีให้แก่ ชาวอเมริกันหลายล้านคนตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1.52 แสนล้านดอลลาร์ของ รัฐบาล แต่ประสิทธิผลของมาตรการดังกล่าวจะจางหายไปภายในปลายปีนี้และต้นปีหน้า
"มีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวต่ำกว่ามาตรฐานเป็นเวลานาน แทนที่ จะมีการปรับเปลี่ยนแบบกระจุกตัว"การผลิตในภาคการผลิตจะชะลอตัวลงจากระดับที่ต่ำอยู่แล้ว ที่ 1.7 % ในปี 2007 มาที่ 0.4 % ในปีนี้ แต่ก็จะฟื้นตัวขึ้นอย่างมากสู่ระดับ 3.1 % ในปีหน้า
ภาคการส่งออกจะช่วยชดเชยภาวะชะลอตัวของภาคการผลิต โดยการส่งออก จะขยายตัว 8.3 % ในปีนี้ และ 9.7 % ในปีหน้า ขณะที่คาดว่าการนำเข้าจะทรงตัว ในปีนี้ และจะเพิ่มขึ้นเพียง 1.6 % ในปีหน้า การลดลงอย่างมากของค่าเงินดอลลาร์จะมีความสำคัญ เนื่องจากทำให้ ผู้ผลิตสหรัฐสามารถอิงเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของประเทศอื่นเพื่อบรรเทาภาวะตกต่ำ
2. สหรัฐ ยื่นอุทธรณ์คำตัดสิน WTO กรณีเก็บเงินประกันเอดีกุ้งไทย,อินเดีย
สหรัฐได้ยื่นอุทธรณ์คำตัดสินของ WTO ที่ประฌามมาตรการของสหรัฐที่ต่อต้านกุ้งนำเข้าราคาถูกจากอินเดียและไทยทั้งนี้ คณะกรรมการของ WTO ได้มีคำตัดสินเมื่อวันที่ 29 ก.พ.ว่า ข้อกำหนดของสหรัฐที่บังคับให้อินเดียและไทยวางเงินค้ำประกันเพื่อเป็นค่าภาษีต่อต้านการทุ่มตลาด (AD)ทั้งหมดจากการนำเข้ากุ้งนั้นเป็นการละเมิดกฎการค้า
สหรัฐกำลังยื่นเรื่องขอให้องค์กรอุทธรณ์ของ WTO ทบทวนคำตัดสินที่ว่าข้อกำหนดเรื่องเงินค้ำประกันใน 2 คดีดังกล่าวเป็นเรื่อง "ไม่สมเหตุสมผล" ในปี 2004 กรมศุลกากรสหรัฐได้เริ่มกำหนดให้ผู้ส่งออกที่เข้าข่ายเสียภาษี AD ต้องวางเงินค้ำประกันที่ครอบคลุมค่าภาษีทั้งหมด ถ้าหากมีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระเกิดขึ้นซึ่งอินเดียและไทยก็โต้แย้งว่า ข้อบังคับดังกล่าวเป็นการเพิ่มภาระทางการเงินต่อผู้ส่งออกที่ต้องจ่ายภาษี AD
การเคลื่อนไหวของสหรัฐเกิดขึ้นหลังการอุทธรณ์ของอินเดียและไทยเมื่อวันที่ 17 เม.ย. ซึ่งค้านคำตัดสินของคณะกรรมการด้วย รัฐบาลไทยและอินเดียเคยเรียกร้องให้คณะกรรมการตัดสินว่า ประเทศที่ใช้มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาดไม่มีสิทธิเรียกร้องขอหลักประกันเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากภาษีศุลกากรต่อต้านการทุ่มตลาด
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกอาหารมากเป็นอันดับ 8 ของโลก และเป็นผู้ขายกุ้งรายใหญ่ให้แก่สหรัฐ
คดีนี้กระทบผู้ส่งออกอาหารทะเลของไทย อย่างเช่น บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่นโปรดักส์ จำกัด(มหาชน) หรือ TUF, บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPFและบมจ.ซีเฟรชอินดัสตรี (CFRESH) โดยกุ้งส่งออกของไทยได้รับการวางขายตามห้างค้าปลีกของสหรัฐ อย่างเช่นห้างของบริษัทวอล-มาร์ท สโตร์ส
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ