สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) สรุปจากสถิติ World Trade Atlas

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 23, 2008 12:11 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. มูลค่าการค้า
1.1 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของญี่ปุ่น-โลก
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มี.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 311,560.06 382,479.19 22.76
การนำเข้า 144,808.10 181,625.90 25.43
การส่งออก 166,751.97 200,853.29 20.45
ดุลการค้า 21,943.87 19,227.40 -12.38
1.2 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของญี่ปุ่น-ไทย
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มี.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 10,248.15 12,346.35 20.47
การนำเข้า 4,370.10 5,092.54 16.53
การส่งออก 5,878.05 7,253.81 23.40
ดุลการค้า 1,507.95 2,161.27 43.33
2. การนำเข้า
2.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่ญี่ปุ่นนำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 181,625.90 100.00 25.43
1. จีน 33,424.50 18.40 12.05
2. สหรัฐฯ 19,253.84 10.60 12.59
3. ซาอุดิอารเบีย 12,963.84 7.14 75.41
4. สหรัฐฯเอมิเรต 11,655.71 6.42 45.29
5. ออสเตเลีย 8,599.16 4.73 17.81
12. ไทย 5,092.54 2.80 16.53
อื่น ๆ 90,636.32 49.90 28.03
2.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ญี่ปุ่นนำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 181,625.90 100.00 25.43
1. น้ำมันดิบ 38,232.28 21.05 70.10
2. ก๊าซปิโตเลียม 13,418.81 7.39 64.98
3. แผงวงจรไฟฟ้า 5,655.66 3.11 6.98
4. น้ำมันสำเร็จรูป 5,566.00 3.06 55.63
5. ถ่านหิน 4,279.05 2.36 23.54
อื่น ๆ 114,474.09 63.03 12.37
2.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ญี่ปุ่นนำเข้าจากไทยปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย 5,092.54 100.00 16.53
1. ยางธรรมชาติ 262.12 5.15 18.63
2. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 196.70 3.86 -12.09
3. น้ำมันสำเร็จรูป 190.52 3.74 58.17
4. ส่วนประกอบรถยนต์ 159.86 3.14 66.40
5. เนื้อสัตว์ 147.09 2.89 22.64
อื่น ๆ 4,136.26 81.22 2.47
3. การส่งออก
3.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่ญี่ปุ่นส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 200,853.29 100 20.45
1. สหรัฐฯ 37,346.56 18.59 5.63
2. จีน 29,587.62 14.73 21.78
3.เกาหลีใต้ 15,440.01 7.69 17.14
4. ใต้หวัน 12,297.60 6.12 20.63
5. ฮ่องกง 10,202.04 5.08 12.77
6.ไทย 7,253.81 3.61 23.4
อื่น ๆ 88,725.65 44.17 28.96
3.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ญี่ปุ่นส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 200,853.29 100.00 20.45
1. รถยนต์และยานยนต์ 31,509.68 15.69 23.35
2. แผงวงจรไฟฟ้า 8,013.45 3.99 -5.11
3. ส่วนประกอบรถยนต์ 7,612.69 3.79 17.62
4. เรือโดยสาร 5,978.35 2.98 49.45
5. เครื่องพิมพ์ 4,593.04 2.29 10.93
อื่น ๆ 143,146.09 71.27 21.16
3.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่ญี่ปุ่นส่งออกไปไทยปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกไปไทย 7,253.81 100.00 23.40
1. ส่วนประกอบรถยนต์ 504.77 6.96 35.98
2. แผงวงจรไฟฟ้า 427.15 5.89 4.63
3. ผลิตภัณฑ์แผ่นรีด 285.59 3.94 12.53
4. ส่วนประกอบเครื่องยนต์ 186.75 2.57 35.76
5. เหล็กแผ่นชุบ 183.01 2.52 24.51
อื่น ๆ 5,666.54 78.12 5.39
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้านำเข้าสำคัญของญี่ปุ่น ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซปิโตเลียม แผงวงจรไฟฟ้า น้ำมันสำเร็จรูป และถ่านหิน
4.2 สินค้าส่งออกสำคัญของญี่ปุ่น ได้แก่ รถยนต์และยานยนต์ แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบรถยนต์ เรือโดยสาร และเครื่องพิมพ์
4.3 แหล่งผลิตสำคัญที่ญี่ปุ่นนำเข้า ได้แก่ จีน สหรัฐฯ ซาอุดิอารเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรต และออสเตเลีย ปัจจุบันญี่ปุ่นนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 12 สัดส่วนร้อย 2.08 และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 6 ของญี่ปุ่นสัดส่วน ร้อยละ 3.61
4.4 สินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น ได้แก่
- ยางธรรมชาติ (HS. 4001) ญี่ปุ่นนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 548.595 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.68 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 47.78 มูลค่า 262.117 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.63 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ อินโดนีเซียและมาเลเซีย
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (HS.8471) ญี่ปุ่นนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 3,799.972 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.21 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 5.18 มูลค่า 196.696 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.09 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงคือ จีนและสหรัฐ
- น้ำมันสำเร็จรูป (HS.2710) ญี่ปุ่นนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 5,565.997 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.63 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 12 สัดส่วนร้อยละ 3.42 มูลค่า 3.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.96 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ เกาหลีใต้และซาอุดิอาราเบีย
- ส่วนประกอบรถยนต์ (HS.8708) ญี่ปุ่นนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,706.255 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.20 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 9.37 มูลค่า 159.857 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.40 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ จีนและสหรัฐ
- เนื้อสัตว์ (HS.1602) ญี่ปุ่นนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 402.514 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.78 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 36.54 มูลค่า 147.088 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.64 ส่วนคู่แข่งสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ จีนและสหรัฐ
4.5 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดญี่ปุ่น 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 20 มีรวม 9 รายการเช่น
1.) น้ำมันสำเร็จรูป (H.S.2710) ญี่ปุ่นนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 5,565.997 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.63 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 12 สัดส่วนร้อยละ 3.42 มูลค่า 190.523 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.96
อย่างไรก็ตามมีการส่งออกน้ำมันจากไทยเพิ่มขึ้น โดยโรงกลั่นน้ำมันแห่งหนึ่งของไทยส่งออกน้ำมันเบนซินจำนวน 3 ลำเรือสำหรับงวดต้นเดือน ม.ค. มากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการส่งออกเพียง 2 ลำเรือ ส่งผลให้อุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคมีปรับเพิ่มขึ้น
2.) ส่วนประกอบรถยนต์ (H.S.8708) ญี่ปุ่นนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,706.255 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.20 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 9.37 มูลค่า 159.857 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.40
ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่น โดยญี่ปุ่นส่งออกไปในภูมิภาคเอเชียและตลาดโลกขณะเดียวกันโตโยต้ามีแผนการวิจัยและพัฒนาเพื่อทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ชั้นสูง ที่ยังไม่มีในไทยและตั้งเป้าว่าภายใน 10 ปี จะยกมาตรฐานการผลิตของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในไทยรวมทั้งวางระบบการจัดการเหล็กที่ใช้ในการผลิตรถยนต์ ซึ่งที่ผ่านมานำเข้าจากญี่ปุ่น ปัจจุบันมีโรงงานเหล็กจากญี่ปุ่น 2 รายใหญ่ ได้แก่ นิปปอน สตีล และเจเอสพี สตีล จะเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตเหล็กต้นน้ำในเมืองไทยด้วย
3.) สารเร่งปฏิกิริยายา (H.S.3815) ญี่ปุ่นนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 330.407 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.18 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 33.03 มูลค่า 109.147 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.75
4.) เครื่องพิมพ์ (H.S.8443) ญี่ปุ่นนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,257.962 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.21 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 8.27 มูลค่า 104.086 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.38
5.) เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ (H.S.8525) ญี่ปุ่นนำเข้าจากตลาดโลก 473.910 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.41 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 17.11 มูลค่า 81.083 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.61
6.) เครื่องยนต์สันดาบ (H.S.8408) ญี่ปุ่นนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 340.406 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.41 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 22.71 มูลค่า 77.316 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.55
7.) เครื่องปรับอากาศ (H.S.8415) ญี่ปุ่นนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 382.489 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.39 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 18.15 มูลค่า 69.433 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.49
4.6 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดญี่ปุ่น 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงมี 6 รายการ เช่น
1.) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (H.S.8471) ญี่ปุ่นนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 3,799.972 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.21 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 5.18 มูลค่า 196.696 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.09
2.) ส่วนประกอบเครื่องรับวิทยุ (H.S.8529) ญี่ปุ่นนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,257.678 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.39 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 9.28 มูลค่า 116.702 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.24
3.) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (H.S.8517) ญี่ปุ่นนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 2,728.688 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.14 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 5 สัดส่วนร้อย 3.72 มูลค่า 101.526 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.06
4.) แผงวงจรไฟฟ้า (H.S.8542) ญี่ปุ่นนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 5,655.663 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.98 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 9 สัดส่วนร้อย 1.64 มูลค่า 92.957 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.44
5.ข้อมูลเพิ่มเติม
1. เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวในไตรมาสแรก หลังภาคการส่งออกโตขึ้น
นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นไตรมาสแรกจะขยายตัวในระดับปานกลางเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน หลังได้รับอุปสงค์จากตลาดใหม่อย่างจีน ส่งผลให้ภาคการส่งออกมีการขยายตัวมากขึ้น
นอกจากนั้นการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง รวมถึงการลงทุนในที่อยู่อาศัยที่คาดว่าจะกระเตื้องขึ้น ยังช่วยหนุนให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัวในระดับที่น่าพอใจด้วย
อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังมีความผันผวนจะทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ประสบความยากลำบากในการตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย
ธนาคารกลางญี่ปุ่นตรึงดอกเบี้ยประเภทระยะสั้นไว้ที่ 0.5% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม มาตลอดตั้งแต่ขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนก.พ.ปีที่แล้ว
ทั้งนี้ ญี่ปุ่นจะเปิดเผยข้อมูลจีดีพีประจำไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ก่อนการเปิดตลาดในวันที่ 16 พ.ค.นี้
โดยคาดการณ์การขยายตัวจีดีพีไตรมาส 4 อยู่ระหว่าง 0.2-0.9% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส และ 0.8-2.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี
2. เอฟทีเออาเซียน -ญี่ปุ่น
เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2551 ไทยได้ลงนามเปิดเสรี (เอฟทีเอ) ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น ทั้งนี้ อาเซียนและญี่ปุ่นตกลงกันที่จะเปิดเผยรายละเอียดความตกลงให้ทราบเป็นการทั่วไป หลังจากลงนามครบทั้ง 10 ประเทศ
จากนั้นแต่ละประเทศสมาชิกจะดำเนินกระบวนการภายในเพื่อแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน โดยประเทศไทยจะต้องนำข้อตกลงดังกล่าวกลับมาเสนอเพื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน
สำหรับ AJCEP เป็นความตกลงระดับภูมิภาคของอาเซียนกับญี่ปุ่น ซึ่งครอบคลุมการค้าสินค้า บริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ไทยเสนอเปิดเสรีตาม ข้อผูกพันในระดับทวิภาคีหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA)
ในส่วนของญี่ปุ่นจะยกเลิกภาษี 90% ของมูลค่าสินค้านำเข้าจากอาเซียนทั้งหมดทันทีที่บังคับใช้ความตกลง และยกเลิกภาษีอีก 6.7% ภายใน 10 ปี
ผลการยกเลิกภาษีในส่วนนี้จะส่งผลให้ไทยได้รับประโยชน์จาก AJCEP อย่างเห็นได้ชัด โดยญี่ปุ่นจะลดภาษีเร็วกว่า JTEPA จำนวน 71 รายการ เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ไม้อัดและไม้แปรรูป เป็นต้น
อีกทั้งไทยจะได้ประโยชน์จากการปรับกฎแหล่งกำเนิดสินค้าให้ยืดหยุ่นกว่า JTEPA รวมทั้งกำหนดให้สามารถสะสมแหล่งกำเนิดสินค้าในอาเซียนและญี่ปุ่นได้ทำให้วัตถุดิบในอาเซียนและญี่ปุ่นถือเป็นวัตถุดิบของไทย จึงเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ผลิตในการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีราคาต่ำ
คาดว่าจะทำให้อาเซียนมีการขยายตัวด้านการส่งออกและการเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับญี่ปุ่น คาดว่าภายในปี 2563 มูลค่าการส่งออกของอาเซียนไปญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นอีก 20,630 ล้านเหรียญสหรัฐ จากปัจจุบันที่มีเฉลี่ยปีละ 81,285 ล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้าเฉลี่ยปีละ 80,496 ล้านเหรียญสหรัฐ
3. การคุ้มครองแรงงาน อีกหนึ่งปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออก
SOLIDARITY CENTER ซึ่งเป็นองค์กรเพื่อแรงงาน สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในอเมริกาได้รายงานสถานการณ์การจ้างแรงงานในอุตสาหกรรมการแปรรูปกุ้งในประเทศไทยและบังกลาเทศว่ามีการใช้แรงงานเด็ก การค้ามนุษย์ และการผิดสัญญาว่าจ้าง รวมถึงภาระหนี้สินของแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศทั้งสอง จุดมุ่งหมายเพื่อแจ้งให้ผู้บริโภคในอเมริกาได้ทราบถึงสภาวะภาคการผลิตของประเทศผู้ผลิตและแปรรูปกุ้งรายใหญ่ของโลก เช่น ไทยและบังกลาเทศ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกกุ้งอันดับหนึ่งในตลาดอเมริกา ด้วยมูลค่าการส่งออกจากไทยในปี 2006 สูงถึง 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และบังกลาเทศ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 9 ที่มีมูลค่าการส่งออก 200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ
บทความดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ THE JAPAN TIMES เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2551 ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก็นับว่าเป็นตลาดกุ้งที่สำคัญของไทยเช่นกัน รายงานกล่าวว่า แรงงานในอุตสาหกรรมแปรรูปกุ้งของไทย ได้รับค่าจ้าง 4.60 ดอลลาร์ต่อวัน (ประมาณ 150 บาท ณ อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์เท่ากับ 32 บาท) โดยต้องทำงานถึงสัปดาห์ละ 6 วัน พบว่ามีการใช้แรงงานเด็กและการขู่บังคับ โดยแรงงานส่วนใหญ่มาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่าง พม่า ลาว และกัมพูชาสำหรับในบังกลาเทศมีการใช้ลูกจ้างชั่วคราวแทนลูกจ้างประจำเพื่อลดต้นทุนในการผลิต และมีการใช้แรงงานเด็กจำนวนมากเช่นกัน
องค์กรดังกล่าวแถลงว่า ไม่มีนโยบายส่งเสริมการคว่ำบาตรประเทศผู้ส่งออก แต่ต้องการให้ธุรกิจอาหารทะเลทั่วโลกและหน่วยงานรัฐได้ตระหนักถึงปัญหาที่เป็นอยู่ ขอให้ช่วยกันบังคับใช้กฎหมายแรงงานโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและสุขภาพของแรงงานขั้นพื้นฐานด้วยรายงานดังกล่าว แน่นอนว่าต้องส่งผลต่อภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมแปรรูปกุ้งของไทย และอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมอื่นๆในประเทศด้วย
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวในระยะยาว ผู้ผลิตควรหันมาใส่ใจนโยบายการจ้างงานมากขึ้นโดยให้ความเป็นธรรมต่อลูกจ้าง ไม่กดขี่และใช้แรงงานอย่างผิดกฎหมาย นอกจากนี้แล้ว การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยสุขภาพของแรงงาน และการดำเนินงานต่างๆ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน เป็นประเด็นที่ประเทศนำเข้าและผู้บริโภคให้ความสำคัญมากขึ้น เช่น การซื้อเครื่องมือเครื่องจักรที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากอันตรายในการทำงาน อาจจะทำให้ได้กำไรผลประกอบการลดน้อยลงในระยะสั้น แต่อย่างน้อยก็ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจในระยะยาว และอาจจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ