สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศของจีน ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) สรุปจากสถิติ World Trade Atlas

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 21, 2008 13:51 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. มูลค่าการค้า
1.1 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของจีน-โลก
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มี.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 457,770.75 570,514.44 24.63
การนำเข้า 205,631.27 264,543.72 28.65
การส่งออก 252,139.48 305,970.72 21.35
ดุลการค้า 46,508.21 41,427.00 -10.93
1.2 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของจีน-ไทย
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มี.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 7,522.32 9,772.55 29.91
การนำเข้า 4,944.37 6,227.65 25.95
การส่งออก 2,577.94 3,544.90 37.51
ดุลการค้า -2,366.43 -2,682.75 13.37
2. การนำเข้า
2.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่จีนนำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 264,543.72 100.00 28.65
1. ญี่ปุ่น 34,432.05 13.02 16.15
2. เกาหลีใต้ 26,592.07 10.05 14.93
3. ใต้หวัน 25,970.57 9.82 24.35
4. สหรัฐฯ 20,219.46 7.64 26.28
5. จีน 19,873.12 7.51 9.16
11. ไทย 6,227.65 2.35 25.95
อื่น ๆ 131,228.80 49.61 41.41
2.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่จีนนำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 264,543.72 100.00 28.65
1. แผงวงจรไฟฟ้า 30,195.49 11.41 8.43
2. สินแร่ 14,129.65 5.34 99.53
3. เลเซอร์ 12,814.05 4.84 48.82
4. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 5,309.64 2.01 26.63
5. ถั่วเหลือง 4,352.08 1.65 140.71
อื่น ๆ 197,742.81 74.75 26.68
2.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่จีนนำเข้าจากไทยปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย 6,227.65 100.00 25.95
1. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 1,512.12 24.28 43.59
2. แผงวงจรไฟฟ้า 627.15 10.07 10.66
3. ยางธรรมชาติ 562.67 9.04 74.34
4. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 367.75 5.91 33.45
5. ยางผสม 132.47 2.13 49.17
อื่น ๆ 3,025.49 48.58 -19.77
3. การส่งออก
3.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่จีนส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 305,970.72 100.00 21.35
1. สหรัฐฯ 53,456.05 17.47 5.39
2. ฮ่องกง 42,673.17 13.95 9.95
3.ญี่ปุ่น 26,098.56 8.53 12.15
4. เกาหลัใต้ 16,101.27 5.26 33.44
5. เยอรมนี 12,828.16 4.19 23.66
22.ไทย 3,544.90 1.16 37.51
อื่น ๆ 151,268.62 49.44 32.32
3.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่จีนส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 305,970.72 100.00 21.35
1. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 23,491.72 7.68 8.64
2. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 19,690.87 6.44 17.56
3. เครื่องรับโทรทัศน์ 8,702.39 2.84 25.35
4. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 7,990.84 2.61 5.06
5. เลเซอร์ 6,132.60 2.00 54.71
อื่น ๆ 239,962.31 78.43 22.90
3.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่จีนส่งออกไปไทยปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกไปไทย 3,544.90 100.00 37.51
1. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 207.95 5.87 28.23
2. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 165.59 4.67 -8.03
3. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 155.97 4.40 82.36
4. ปุ๋ยเคมี 88.61 2.50 756.01
5. เลเซอร์ 87.54 2.47 121.68
อื่น ๆ 2,839.26 80.09 15.40
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้านำเข้าสำคัญของจีน ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า สินแร่ เลเซอร์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ และถั่วเหลือง
4.2 สินค้าส่งออกสำคัญของจีน ได้แก่ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องรับโทรทัศน์ ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ และเลเซอร์
4.3 แหล่งผลิตสำคัญที่จีนนำเข้า ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ใต้หวัน สหรัฐฯ และจีน ปัจจุบันจีนนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 11 สัดส่วนร้อย 2.35 และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 22 ของจีนสัดส่วน ร้อยละ 1.16
4.4 สินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปตลาดจีน ได้แก่
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (HS. 8471) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 5,309.643 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.63 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 28.48 มูลค่า 1,512.117 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.59 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือจีนและฟิลิปปินส์
- แผงวงจรไฟฟ้า (HS. 8542) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 30,195.493 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.43 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 9 สัดส่วนร้อยละ 2.09 มูลค่า 627.154 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.66 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงคือ ใต้หวันและเกาหลีใต้
- ยางธรรมชาติ (HS. 4001) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,146.455 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.76 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วน ร้อยละ 49.08 มูลค่า 562.670 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.34 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ มาเลเซียและอินโดนีเซีย
- ส่วนประกอบประกอบคอมพิวเตอร์ (HS. 8473) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 3,695.920 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 17.94 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 9.95 มูลค่า 367.751 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.45 ในขณะที่นำเข้าจากจีนอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 40.55 ลดลงร้อยละ6.24 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ จีนและเกาหลีใต้
- น้ำมันดิบ (HS.2709) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 30,018.096 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 90.63 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 17 สัดส่วนร้อยละ 0.84 มูลค่า 252.100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 281.26 ส่วนคู่แข่งสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ แองโกลาและซาอุดิอาราเบีย
4.5 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดจีน 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 20 มีรวม 12 รายการ เช่น
1.) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (H.S.8471) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 5,309.643 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.63 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 28.48 มูลค่า 1,512.117 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.59
2.) ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ (H.S. 8473) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 3,695.920 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 17.94 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 9.95 มูลค่า 367.751 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.45
3.) ส่วนประกอบเครื่องรับวิทยุ (H.S.8529) จีนนำเข้าจากตลาดโลก1,925.729 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.72 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 5 สัดส่วนร้อยละ 5.98 มูลค่า 115.059 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.98
เป็นผลมาจากในปี 2551 การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีการขยายการลงทุน Hard Disk Drive ในไทย ทำให้การส่งออกของ HDD และ IC เพิ่มขึ้นซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 44.97 ของการส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับจีนซึ่งเป็นทั้งตลาดส่งออกและคู่แข่งในการผลิตและส่งออก HDD และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เช่น แผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
4.) ยางธรรมชาติ (HS.4001) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,146.455 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 79.76 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วน ร้อยละ 49.08 มูลค่า 562.670 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.34
5.) ยางผสม (H.S.4005) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 388.188 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.79 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 34.12 มูลค่า 132.465 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.1
เป็นผลมาจาก ตลาดจีนเป็นตลาดส่งออกสินค้ายางพาราที่สำคัญที่สุด ยังคงมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องตลาดส่งออกยางธรรมชาติที่สำคัญของไทย ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา เกาหลี และอียู คาดว่าทิศทางการส่งออกยางพาราของไทยปีนี้ จะมีแนวโน้มที่ดีจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยางรถยนต์ทั้งในจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย โดยมีคู่แข่งสำคัญ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซียและเวียดนาม ปัจจุบันความต้องการใช้ยางธรรมชาติของโลกมีปริมาณ 8 ล้านต้นและมีอัตราการขยายตัวของปริมาณการผลิตและการใช้ยางธรรมชาติเฉลี่ยร้อยละ 4.5 ต่อปีคาดการณ์ว่าการผลิตยางธรรมชาติในปี 2551 จะเพิ่มขึ้นเป็น 9.97 ล้านตัน ปริมาณความต้องการใช้ประมาณ 9.6 ล้านตัน โดยจีนอินเดียและสหรัฐฯยังคงเป็นประเทศที่มีความต้องการใช้ยางมากที่สุด
ปริมาณการใช้ยางภายในประเทศเองก็คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากประเทศผู้ใช้ยางพารารายใหญ่ เช่น จีน มีการย้ายฐานการผลิตมายังไทยมากขึ้น ประกอบกับภาครัฐมีแผนเร่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเพิ่มศักยภาพการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางเพื่อสร้างมูลค่า อาทิ การผลิตยางล้อยานยนต์ยางยืด ถุงมือยาง ยางรัดของ ถุงมือการแพทย์ รองเท้าและอุปกรณ์กีฬา สายพานลำเลียง ผลิตภัณฑ์ฟองน้ำ สื่อการเรียนการสอน เป็นต้น
6.) น้ำมันดิบ (H.S.2709) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 30,018.096 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 90.63 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 17 สัดส่วนร้อยละ 0.84 มูลค่า 252.100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 281.26
7.) ข้าว (H.S.1006) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 98.590 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.32 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 98.71 มูลค่า 97.321 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35
ในขณะที่ปี 2550 (มค.-ธค.) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 217.463 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 24.62 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 1 สัดส่วนร้อยละ 96.24 มูลค่า 209.277 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 24.93
8.) ผลไม้สด (ลำใย ทุเรียน เงาะ มังคุดฯ) (H.S.0810) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 79.741 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.67 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 1 สัดส่วนร้อยละ 64.95 มูลค่า 51.794 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.92
เป็นผลมาจากในช่วงที่ผ่านมามูลค่าการส่งออกผลไม้สด และแห้ง มีอัตราการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในหลาย ๆ ตลาด เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูกาลผลผลิตผลไม้ของทางภาคใต้เช่นมังคุด ทุเรียน ลองกอง และลำใย ของภาคเหนือ ซึ่งตลาดจีนเป็นตลาดหลักสำคัญที่นำเข้าผลไม้จากไทย
9.) สินแร่ (H.S.2601) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 14,129.648 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.53 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 14 สัดส่วนร้อยละ 0.60 มูลค่า 84.223 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 639.86
4.6 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดจีน 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงมี 4 รายการ เช่น
1.) กรดโพลิคาร์บอกซิลิก (H.S.2917) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,688.743 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 17.63 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 6.38 มูลค่า 107.678 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 65.25
2.) มันสำปะหลัง (H.S.0714) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 113.943 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 58.76 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 74.42 มูลค่า 86.421 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 57.96
3.) แผงวงจรพิมพ์ (H.S.8534) จีนนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 2,576.787 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.05 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 5 สัดส่วนร้อย2.52 มูลค่า 65.001 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.89
5.ข้อมูลเพิ่มเติม
1. เศรษฐกิจจีนชะลอผลกระทบต่อส่งออกไทย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าเศรษฐกิจจีนในปี 2551 จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากเศรษฐกิจจีนต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งจากปัจจัยภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยธนาคารโลกคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนในปี 2551 จะชะลอลงเหลือร้อยละ 9.4 (ปรับตัวลดลงร้อยละ 2 จากปี 2550) หลังจากเติบโตเกินร้อยละ 10 ต่อปีติดต่อกันมา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ซึ่งปัจจัยท้าทายสำคัญที่กดดันเศรษฐกิจจีน ได้แก่ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลงจนมีความเป็นไปได้ที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยและภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น โดยตัวเลขเศรษฐกิจจีนในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-กุมภาพันธ์) ส่งสัญญาณชะลอตัวทั้งดัชนีภายนอกประเทศและดัชนีภายในประเทศ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า แม้การชะลอตัวของการส่งออกของจีนอันเป็นผลจากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ จะส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงแต่ภาคเศรษฐกิจภายในประเทศจีนซึ่งมีความสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีนได้แก่ภาคการลงทุน และการบริโภคยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะเผชิญกับปัญหาท้าทายจากภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงในช่วงต้นปีที่ส่งผลต่อผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในช่วงต้นปีก็ตาม
อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้คาดว่าจะมีสัญญาณทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจากเงินเฟ้อของจีนที่คาดว่าจะปรับตัวลดลง เนื่องจากอุปทานสินค้าในหมวดอาหารที่น่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้น และเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นจากในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ที่คาดการณ์ว่าเป็นจุดต่ำสุดแล้ว รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจสหรัฐฯ ด้วย นอกจากนี้ หากพิจารณาพื้นฐานเศรษฐกิจจีนที่ยังคงแข็งแกร่ง รวมถึงการใช้จ่ายของภาครัฐสำหรับโครงการขยายการลงทุนก่อสร้างถนน สนามบิน และโครงสร้างพื้นฐานด้านลอจิสติกส์ เพื่อพัฒนาความแข็งแกร่งของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและกระตุ้นเศรษฐกิจจากภายในประเทศเพื่อลดการพึ่งพาเศรษฐกิจต่างประเทศด้วย ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจจีนน่าจะยังคงขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 9.0-10.0 ในปี 2551 นี้ ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 11.4 ในปี 2550 ที่ผ่านมา
ผลกระทบการส่งออกของไทยไปจีน
สำหรับผลกระทบต่อประเทศไทย ในฐานะที่จีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยโดยการส่งออกของไทยไปจีนมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 3 รองจากตลาดสหรัฐฯ และญี่ปุ่นตามลำดับ การส่งออกของไทยไปจีนในปี 2550 ที่ผ่านมาคิดเป็นสัดส่วนเกือบร้อยละ 10 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย อย่างไรก็ตาม แม้เศรษฐกิจจีนในปี 2551 มีแนวโน้มชะลอตัวลงแต่คาดว่าผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปจีนน่าจะอยู่ในกรอบที่จำกัดเนื่องจากสินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของไทยไปจีนเป็นสินค้าทุน และวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพื่อป้อนตลาดภายในประเทศซึ่งยังคงขยายตัว ในขณะที่ทางการจีนมีนโยบายใช้จ่ายสำหรับโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศทดแทนการส่งออกของจีนที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงในปีนี้จีงคาดว่าการส่งออกของไทยไปจีนโดยรวมในปีนี้จะยังคงเติบโตต่อเนื่องใกล้เคียงกับในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ การส่งออกของไทยไปยังจีนเพื่อผลิตสำหรับการบริโภคภายในจีนนั้นมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของการส่งออกทั้งหมดของไทยไปจีน ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนสำคัญที่ช่วยให้การส่งออกของไทยไปจีนโดยรวมยังคงมีแนวโน้มเติบโตได้
สำหรับสินค้าส่งออกของไทยไปจีนซึ่งเป็นสินค้าขั้นกลางใช้สำหรับผลิตและส่งออกต่อไปยังสหรัฐฯ อาจได้รับผลกระทบทั้งจาก
(1) ปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวหรืออาจเข้าสู่ภาวะถดถอย ทำให้สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากประเทศต่างๆ รวมทั้งจีนชะลอตัวลงด้วย
(2) จากค่าเงินหยวนของจีนที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในปีนี้เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นของจีนและดุลการค้าของจีนที่มีแนวโน้มเกินดุลลดลงในปีนี้ทำให้ทางการจีนอาจดำเนินนโยบายปล่อยให้ค่าเงินหยวนแข็งค่ามากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามแผนที่ทางการจีนต้องการชะลอการเติบโตที่ร้อนแรงของเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา
กล่าวโดยสรุป คาดว่าการส่งออกสินค้าของไทยไปจีนซึ่งจีนใช้เป็นวัตถุดิบ/สินค้าชั้นกลางเพื่อผลิตและส่งออกไปสหรัฐฯ อาจได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯซึ่งสินค้าที่จีนนำเข้าจากไทยในกลุ่มดังกล่าวที่คาดว่าจะชะลอตัวลงได้แก่คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า และเม็ดพลาสติก อย่างไรก็ตามคาดว่าผลกระทบโดยรวมจากการชะลอตัวดังกล่าวอาจมีไม่มากนัก เนื่องจากการส่งออกของไทยไปจีนเพื่อการบริโภคภายในจีนยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและการบริโภคภายในจีนที่ยังคงขยายตัวได้ ส่งผลให้การส่งออกของไทยไปจีนโดยรวมน่าจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าอาจขยายตัวร้อยละ 25.0 ใกล้เคียงกับร้อยละ 26.5 ในปี 2550 ที่ผ่านมา
2. เมื่อจีนปรับตัวสู่ 'Green Products'
ในปี 2551 ผู้ส่งออกจีนที่เน้นส่งออกสินค้าใช้แรงงานถูก มีปัญหาจากต้นทุนวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้น ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อเงินหยวนที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ความต้องการในตลาดต่างประเทศที่ลดลง ยังไม่รวมปัจจัยเงินคืนภาษีที่รัฐมีนโยบายตัดลดลงซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเบา และสิ่งทอปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบค่อนข้างรุนแรงกับผู้ส่งออกรายเล็กของจีน และกลุ่มที่ใช้แรงงงานราคาถูกผลิตสินค้า สถานการณ์ล่าสุดหลายบริษัทเริ่มหยุดรับออร์เดอร์ บางรายหันมารับออร์เดอร์ระยะสั้นๆแทน และหากจีนตัดเงินคืนภาษีลงอีกคาดกันว่าจะส่งผลให้ความได้เปรียบในการแข่งขันของบริษัทเหล่านี้เข้าสู่ภาวะเสี่ยง และต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด
ก่อนหน้านี้จีนประกาศตัดเงินคืนภาษีสินค้าส่งออกบางตัวลงไปแล้วเพื่อลดภาวะเกิดดุลการค้ากับต่างประทเศ แต่นักวิเคราะห์ยังเชื่อว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอาจส่งผลกับการส่งออกของจีนโดยตรและเสี่ยงต่อการนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวได้ จากตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวในอัตรา 10.6% เทียบกับปีที่ผ่านมา 11.9% การค้าเกินดุลไตรมาสแรกที่ 14,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับปีก่อน 46,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ปัญหาใหญ่ของผู้ส่งออกขณะนี้ คือต้องแบกรับต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าที่พุ่งสูงแต่ไม่สามารถปรับราคาขายขึ้นได้เพราะความต้องการในตลาดโลกลดลง นอกจากนี้ผู้ส่งออกยังมีปัญหาขาดสภาพคล่องและต้นทุนเงินกู้ที่สูงขึ้น เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายคุมเข้มเรื่องสินเชื่อ
เช่นเดียวกับผู้ผลิตจีนซึ่งก็หนีไม่พ้นผลกระทบจากต้นทุนที่สูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะต้นทุนที่เป็นผลต่อเนื่องมาจากมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม หลังจากที่รัฐบาลจีนเพิ่มมาตรฐานควบคุมสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่เมื่อปีที่ผ่านมา โดยบริษัทที่ถูกระบุว่าละเมิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมจะถูกห้ามเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่นงานแสดงสินค้าและอื่นๆ
รัฐบาลจีนเริ่มทำแคมเปญพิเศษต่อต้านบริษัทที่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ทำให้บริษัทหรือผู้ที่ละเมิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมเหล่านี้สูญโอกาสในการส่งออกสินค้า และยังถูกขึ้นบัญชีดำ(blacklist)ระงับการปล่อยเงินกู้ นอกจากนี้กระทรวงคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ยังจับมือกับ ธนาคารแห่งชาติจีน และสำนักกำกับดูแลธนาคาร ออกนโยบาย "เงินกู้สีเขียว หรือ Green Loan" เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นแคมเปญห้ามปล่อยกู้ให้กับบริษัทที่ถูกขึ้นบัญชีดำ และผู้ที่ละเมิดกฎหมายสิ่งแวดล้อมขั้นรุนแรงจะถูกลงโทษถึงขึ้นปิดกิจการนาน 3 ปี
ทำให้ผู้ผลิตจีนเริ่มปรับตัวหันมาให้ความสำคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น ไฮเออร์ ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศ ประกาศใช้ "นโยบายสีเขียว หรือ Green Strategy" ด้วยการผลิตสินค้าใหม่กว่า 100 ชนิดที่เน้นปกป้องสิ่งแวดล้อม เช่น ผลิตเครื่องซักผ้าที่ไม่ต้องใช้ผงซักฟอก ซึ่งได้รับความสนใจและมีออร์เดอร์เข้ามาจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตสินค้าอื่นๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน และของเด็กเล่น ต่างก็หันมาผลิตสินค้าที่ใช้วัสดุรีไซเคิลได้ เช่น ไม้ หญ้า รวมไปถึงการปรับกระบวนการทั้งระบบ ตั้งแต่การออกแบบ ผลิตและรีไซเคิล ไปจนถึงการขาย หรือหันมาผลิตสินค้าที่ประหยัดพลังงานและช่วยอนุรักษ์โลกกันชัดเจนมากขึ้น
ซึ่งการปรับตัวของผู้ผลิตจีนครั้งนี้ หมายถึง การพัฒนาและนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าคุณภาพดีตามมาตรฐานโลก แทนในอดีตที่เน้นผลิตสินค้าราคาถูกและคุณภาพต่ำ แม้จะเป็นการปรับตัวตามกระแสโลกที่หันมานิยม Green Products แต่ถ้าจีนปรับเปลี่ยนได้เร็วก็ถือเป็นคู่แข่งไทยที่น่ากลัว
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ