1. ความต้องการตลาดภายในประเทศ
มูลค่าตลาดค้าปลีกสินค้าเครื่องประดับ / ของขวัญ และของใช้ตกแต่งบ้านในประเทศแคนาดาคิดเป็นมูลค่าโดยประมาณ 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี และคาดการณ์แนวโน้มเติบโตในอนาคตเนื่องจากปัจจัยด้านอายุของประชากร และรูปแบบวิถิชีวิตที่ใช้เวลาในที่พักอาศัยมากขึ้น
1.1 มูลค่าการนำเข้า
จากสถิติการนำเข้าสินค้าระหว่างปี 2548 - 2550 (เอกสารตามแนบ) ประเทศแคนาดานำเข้าสินค้าประเภทเครื่องประดับ/ของขวัญ และของใช้ตกแต่งบ้านเฉลี่ยร้อยละ 55.66 ของสินค้ากลุ่มดังกล่าวทั้งสิ้น โดยมีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
มูลค่าการนำเข้าล่าสุดในปี 2551 ( ม.ค.- มี.ค.) (คำนวณตามราคา CIF) 613.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.11 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปี 2550
เปรียบเทียบการนำเข้าสินค้าของขวัญ/ หัตถกรรมและสินค้าตกแต่งบ้านระหว่างประเทศไทยและทั่วโลก
ทั่วโลก (ร้อยละ) ประเทศไทย (ร้อยละ)
สินค้าของขวัญ / หัตถกรรม (Gifts & Handcraft) 53.47 11.03
สินค้าตกแต่งบ้าน (Houseware) 46.53 88.97
รวม 100.00 100.00
ในปี 2551 ( ม.ค.- มี.ค.) จากข้อมูลนำเข้าสินค้าเครื่องประดับ / ของขวัญ และของใช้ตกแต่งบ้านของแคนาดา ประเทศไทยถือเป็นผู้ส่งออก (supplier) สำคัญลำดับที่ 8 มีมูลค่าส่งออกมาแคนาดาทั้งสิ้น 8.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยแบ่งเป็นหมวดสินค้าของขวัญ/ หัตถกรรม 0.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 11) และมูลค่าหมวดสินค้าตกแต่งบ้าน 7.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 89)
1.2 คู่แข่งขันที่สำคัญ
ข้อมูลการนำเข้าเดือน มี.ค. 2551 แสดงข้อมูลประเทศที่เป็นผู้ส่งออกหลัก (supplier) สินค้าเครื่องประดับ / ของขวัญ และของใช้ตกแต่งบ้านมายังประเทศแคนาดา 3 อันดับแรก คือ อันดับ 1 ประเทศจีน (มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 54.13) อันดับ 2 ประเทศสหรัฐอเมริกา (มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 25.53) อันดับ 3 ประเทศเม็กซิโก (มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.20) สำหรับประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.31 โดยประเภทของสินค้านำเข้าจากประเทศจีนแบ่งเป็นสินค้าระดับล่างถึงระดับบน(Low End —High End) ทั้งนี้ประเทศจีนวางแผนดึงส่วนแบ่งตลาดจากประเทศสหรัฐฯ ดังนั้นทางผู้ประกอบการจีนจึงต้องเน้นการพัฒนาเรื่องการควบคุมสินค้า (Quality control) และระยะเวลาสำหรับจัดส่งลูกค้าที่แน่นอน สำหรับประเทศสหรัฐฯ เน้นสินค้าระดับกลางถึงระดับบน ส่วนประเทศเม็กซิโกเน้นสินค้าระดับล่างเป็นหลัก
1.3 ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเลือกซื้อสินค้า
เนื่องจากประเทศแคนาดามีภาวะเติบโตทางเศรษฐกิจทิศทางที่ดีในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา จึงส่งผลดีให้ธุรกิจกลุ่มสินค้าเครื่องประดับ/ ของขวัญและของใช้ตกแต่งบ้านไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งผู้บริโภคชาวแคนาดาเลือกซื้อรูปแบบสินค้าเครื่องประดับ / ของขวัญและของใช้ตกแต่งบ้านโดยอิงจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ (lifestyle) และวัฒนธรรมของประชากร โดยปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคสินค้าดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้
- ผลิตภัณฑ์ / บรรจุภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (environment friendly products) ปัจจุบันผู้บริโภคชาวแคนาดาตระหนักความสำคัญและคำนึงถึงบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลาย หรือ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) ได้ (อาทิ ปัจจุบันบริษัทในประเทศญี่ปุ่นกำลังแนะนำผลิตภัณฑ์ จาน ส้อม ช้อมหรือ กล่องที่สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัยแทนการใช้วัสดุประเภทโฟม โดยใช้ธัญพืชประเภทโอ็ตมีลเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต)
- ราคา ปัจจุบันประชากรชาวแคนดาเดินทางซื้อสินค้าที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมากขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าที่ถูกกว่า ดังนั้นผู้ประกอบการค้าปลีกในประเทศจำเป็นต้องลดราคาสินค้าเพื่อป้องกันลูกค้าเดินทางซื้อสินค้านอกประเทศมากขึ้น กล่าวคือผู้ประกอบการต้องจัดหาวิธีการปรับลดกำไรจากการขายสินค้าโดยมองหาแหล่งผลิตที่ต้นทุนต่ำกว่าจากนอกประเทศ
- วิถีชีวิต กลุ่มคู่แต่งงาน ถือเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีสัดส่วนการซื้อสินค้าเครื่องประดับ/ของขวัญและของใช้ตกแต่งบ้านมากที่สุด เพื่อใช้สอยสำหรับตนเอง และได้รับเป็นของขวัญแต่งงาน ซึ่งเจ้าบ่าวสาวจะลงทะเบียนของขวัญ (Bridal Registry) ที่ตนเองสนใจกับทางร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้า จากนั้นญาติหรือเพื่อนๆ จะมอบสินค้านั้นๆให้กับคู่บ่าวสาวเป็นของขวัญ
- การก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น อัตราการก่อสร้างบ้าน / คอนโดมิเนียมในประเทศแคนาดาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าของขวัญและของใช้ตกแต่งบ้านเพื่อตกแต่งที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ปัจจุบันประชากรชาวแคนาดาช่วงอายุ 25-40 ปีเป็นช่วงที่มองหาที่อยู่อาศัยสำหรับตนเองเป็นหลัก ในขณะที่ประชากรวัยสูงอายุมีความต้องการที่อยู่อาศัยขนาดเล็กลง และสนใจสินค้าระดับบนมากขึ้น
- การสื่อสารยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ผู้บริโภคสามารถจับจ่ายได้อย่างมากขึ้นเนื่องจากราคาที่สินค้าที่เหมาะสม ทั้งนี้ผู้บริโภคมีความใส่ใจต่อสินค้า เสื้อผ้า เครื่องประดับ ของใช้ตกแต่งบ้านจากประเทศต่างๆ ซึ่งมีวัฒนธรรมและเอกลัษณ์เฉพาะถิ่นมากขึ้น เนื่องจากปัจจัยดังนี้
1) อัตราผู้ย้ายถิ่นฐานจากชาติอื่นๆมาประเทศแคนาดาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
2) อัตราความสนใจและการเยี่ยมชมงานแสดงสินค้าต่างๆ (fair trade) เพิ่มขึ้น
3) จำนวนประชากรชาวแคนาดาที่เดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น
4) สื่อต่างๆ (media) แสดงถึงวัฒนธรรม ประเพณีจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
2. Supply ในประเทศแคนาดา
2.1 แนวโน้มตลาดสินค้า (Trend)
รายชื่อกลุ่มสินค้าเครื่องประดับ / ของขวัญและของใช้ตกแต่งบ้าน 10 อันดับแรกที่เป็นที่นิยมในประเทศแคนาดา คือ
1) งานสินค้าหัตถกรรมที่ประดิษฐ์จากฝีมือชาวแคนาดา (Canadian Made Product)
2) เครื่องประดับ (Jewelry)
3) สินค้าหัตถกรรม (Handmade)
4) ของใช้ตกแต่งบ้าน (Home decor)
5) งานศิลปะใส่กรอบ ภาพเขียน กระจกสำหรับตกแต่งผนัง (Frame Art Print & Mirror)
6) สินค้าตกแต่ง ประดับต้นคริสต์มาส ( Xmas & Seasonal Decor)
7) ของขวัญ (Gift)
8) เทียนไข เทียนหอม น้ำมันหอมระเหยและอุปกรณ์เครื่องหอมต่างๆ (Candles, Aromatherapy & Home Fragrance)
9) เครื่องใช้สำนักงาน บัตรอวยพร กระดาษและอุปกรณ์สำหรับการเขียน (Stationary , Greet Cards, Paper and writing Instruments)
10) อุปกรณ์ตกแต่งสวน (Garden & Outdoor Accessories)
ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถค้นหาได้จาก http://www.cgta.org/upload/MarketpulseFall2007.pdf
2.2 อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน (Handicraft)
อุปกรณ์ตกแต่งบ้านประเภทงานหัตถกรรมตกแต่ง (Home Decor Handicraft) เป็นกลุ่มสินค้าที่ได้รับความนิยมในประเทศแคนาดาอย่างสูง เนื่องจากความที่ประชากรมีความพิถีพิถันด้านการตกแต่ง เน้นความสะดวกสบายและรสนิยม อาทิเช่น การผสมผสานตกแต่งแบบเรียบง่ายและทางการภายในห้องอาหาร กล่าวคือ การใช้ผ้าปูโต๊ะลวดลายที่สวยงามและจาน ชามรูปแบบเรียบง่าย ประดับด้วยเชิงเทียนหรือเครื่องแก้วโดยมีทั้งรูปแบบไม้และขอบเงินที่หลากหลาย
ประชากรชาวแคนาดาในแต่ละภูมิภาคของประเทศจะการมีเลือกซื้อสินค้ารูปแบบที่แตกต่างกัน โดยประชากรที่มีถิ่นพำนักแถบตะวันตกนิยมสินค้าตกแต่งรูปแบบเรียบง่ายกว่าประชากรที่อาศัยแถบส่วนกลางหรือตะวันออกของประเทศ นอกจากนั้นประชากรชาวแคนาดายังมีแนวโน้มนิยมเฟอร์นิเจอร์ประเภท Outdoor หรือตกแต่งบริเวณสวนนอกบ้านในช่วงฤดูร้อนมากขึ้น
ในลักษณะการตกแต่งห้องน้ำ ผู้บริโภคนิยมในเรื่องของการผ่อนคลาย หรือสปาส่วนตัวมากขึ้น ดังนั้นจึงมีการจัดสัดส่วนพิ้นที่ห้องน้ำที่กว้างขวางและเน้นรสนิยมการตกแต่ง ผู้บริโภคนิยมสินค้าสีโทนอ่อนประกอบกับวัสดุจากธรรมชาติ เช่น หินแกรนิต หินอ่อน หรือหินรูปแบบต่างๆ นอกจากนั้นผู้บริโภคชาวแคนาดายังสรรหาของใช้สำหรับผ่อนคลายส่วนตัวเพิ่มเติมเพื่อเป็นรางวัลให้กับตนเองจากความเหนื่อยล้าจากการทำงานในราคาที่เหมาะสม เช่น เทียน เครื่องหอม แผ่นรองสำหรับโยคะ ดนตรี เป็นต้น
2.3 ของใช้ภายในบ้าน (Houseware)
ภาวะการค้าธุรกิจกลุ่มของใช้ภายในบ้านมีแนวโน้มคงที่ หรือเติบโตเล็กน้อย ผู้บริโภคนิยมสินค้ารูปแบบที่สวยงาม คงทนถาวร สามารถใช้งานได้สะดวก รวดเร็วและศักยภาพสูง ปัจจุบันผู้บริโภคเน้นโทนสีผลิตภัณฑ์ที่อบอุ่น เน้นธรรมชาติ ดังนั้นจะนิยมวัสดุที่ทำจากไม้ธรรมชาติโดยเฉพาะสำหรับเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และอุปกรณ์ประกอบอาหาร โดยคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ต้องคุณภาพดี ปลอดภัย คงทนสำหรับเครื่องล้างจาน (dishwasher safe) และเครื่องไมโครเวฟ (microwavable) อย่างไรก็ดีผลิตภัณฑ์ที่มีความเรียบง่ายจะเป็นที่นิยมว่าเครื่องแก้วลายหรูประเภท formal China
ธุรกิจประเภทของใช้ภายในบ้านจะประสบความสำเร็จอย่างดีนั้น ต้องอาศัยการคิดค้น ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และหากได้รับการโฆษณาจากดารา พ่อครัว / แม่ครัวที่มีชื่อเสียง หรือรายการโทรทัศน์ประเภทการตกแต่งบ้านแล้วนั้น จะส่งเสริมผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น อาทิ ช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการคิดค้นการนำซิลิโคลนซึ่งเป็นวัสดุยางสังเคราะห์ได้รับการตรวจสอบจาก FDA ด้านความปลอดภัยมาผลิตเป็นอุปกรณ์ต่างๆ ข้อดีของวัสดุนี้สามารถทนความร้อน เพิ่มสีสันสวยงามต่างๆ สร้างความนิยมสำหรับอุปกรณ์ประกอบอาหารอย่างยิ่ง อุปกรณ์ที่ผลิตจาก ซิลิโคลน ได้แก่ อุปกรณ์ตีไข่ แปรงสำหรับทาอาหาร ถาดน้ำแข็ง ถ้วย ชาม หรือถาดอบอาหาร เป็นต้น ความนิยมในวัสดุดังกล่าวส่งผลดีกับบริษัท Rubbermaid และ Glad ซึ่งเป็นสองผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมพลาสติกที่คิดค้นการใช้ซิลิโคลนร่วมกับอะลูมิเนียมเพื่อออกแบบและผลิตอุปกรณ์หรือของใช้ภายในบ้านต่างๆ นอกจากผลิตภัณฑ์จากซิลิโคลนแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมอย่างดีอีกประเภทหนึ่ง คือ ผลิตภัณฑ์ประเภทเซรามิค เพื่อการตกแต่งแสดงฐานะที่ดีของผู้อยู่อาศัย
กลุ่มลูกค้าหลักสำหรับตลาดของใช้ภายในบ้าน (Houseware) ได้แก่ กลุ่มคู่แต่งงาน โดยช่วงเดือน พ.ค. — ก.ย. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการจัดงานแต่งงานมากที่สุด และคู่บ่าวสาวจะลงทะเบียนเลือกสินค้าที่ต้องการไว้กับทางร้านค้า หลังจากนั้นญาติหรือแขกต่างๆ จะซื้อเป็นของขวัญสำหรับงานแต่งงาน โดยปัจจุบันนี้สามารถซื้อผ่านทาง online พร้อมบริการจัดส่งโดยตรงอย่างสะดวกสบาย
ประเภทของใช้ในบ้านที่เป็นที่นิยมในแคนาดา อาจแบ่งตามลักษณะการใช้งาน ได้ดังนี้
- อุปกรณ์ประกอบ / อบอาหาร (Cookware & Bakeware) ที่ทำจากสแตนเลสหรืออะลูมิเนียม เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง รองลงมาเป็นประเภทแก้ว , แก้วผสมเซรามิค , เครื่องเคลือบ หรือที่มีส่วนผสมทองแดง และผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ที่ผลิตจากซิลิโคลนที่ได้รับความนิยมอย่างสูง (มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.6) เนื่องจากรูปแบบ สีสันที่สวยงาม พร้อมคุณสมบัติทนความร้อนสูงกว่า 500 องศาเซลเซียส และสามารถทนความเย็นได้ดี ปลอดภัยต่อการใช้เครื่องไมโครเวฟและเครื่องล้างจาน นอกจากนั้นคุณสมบัติของซิลิโคลนยืดหยุ่นได้ดี จึงประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ แต่ข้อเสียของซิลิโคน คือเหมาะสมกับอุปกรณ์ขนาดชิ้นเล็กเท่านั้น
- อุปกรณ์ประเภทสแตนเลส ซึ่งมีความคงทนถาวร สวยงามและดูแลรักษาความสะอาดง่าย เป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่อง หรืออุปกรณ์จำพวกที่มีสารเคลือบสำหรับการอบที่ทนความร้อนสูง เช่นถาดอบขนมคุ้กกี้ แม้ว่าอุปกรณ์จำพวกนี้มีราคาสูง แต่คุณสมบัติที่คงทนของผลิตภัณฑ์จึงทำให้เป็นที่นิยมของประชากรแคนาดา นอกจากนี้อุปกรณ์ประกอบ / อบอาหารที่เป็นนวัตกรรมประเภท fool-proof bakeware ซึ่งรับประกันถึงประสิทธิภาพยอดเยี่ยมของผลิตภัณฑ์กำลังอยู่ในช่วงทดลองตลาดในประเทศแคนาดา
โดยสรุปประชากรชาวแคนาดายินดีที่จะซื้ออุปกรณ์ประกอบ/อบอาหารในราคาที่สูงกว่าทั่วไป หากผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพชั้นดีและสามารถรักษาความสะอาดง่าย
- อุปกรณ์ประกอบอาหาร / เครื่องครัวที่จำหน่ายทั่วไปในประเทศแคนาดานิยมจำหน่ายเป็นชุดๆละ 7-8 ชิ้น ประกอบด้วย หม้อ saucepan พร้อมฝาปิดขนาด 2 ลิตร และ 2.8 ลิตร , Dutch Oven พร้อมฝาปิด ขนาด 5 ลิตร, กะทะ (skillet) ขนาด 24 เซนติเมตร และ หม้อนึ่งขนาด 20 เซนติเมตร
- อุปกรณ์เครื่องแก้ว (Glassware) โดยส่วนมากจำหน่ายเป็นชิ้นแยกเดี่ยวหรือจำหน่ายเป็นชุด หากเป็นชุด 1 ชุด ประกอบด้วยแก้วน้ำ 18 ใบ (ตามขนาดความจุ 33 ml. 30 ml. และ 20 ml. ) ทั้งนี้เครื่องแก้วที่มีสีสันจะใช้เพื่อประดับตกแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศเม็กซิโก นอกจากแก้วน้ำแล้ว ผู้บริโภคบางรายสรรหาเหยือกน้ำ หรือแก้วไวน์ที่มีลวดลายใกล้เคียวกัน ปัจจุบันผู้บริโภคนิยมผลิตภัณฑ์รูปแบบทันสมัย (fashion) มีลวดลาย สีสันสวยงาม เพื่อการบริโภคตามช่วงฤดูกาล (ฤดูร้อน) หรือ เทศกาลต่างๆ หรือใช้ภายนอกสถานที่ (Outdoor) โดยราคาผลิตภัณฑ์เหล่านี้สูงกว่าปกติ
- อุปกรณ์ประเภทอะคริลิค / พลาสติก (Acrylic / Plasticware ) นับเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคนิยมอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ถ้วย ชามเป็นชุด ช้อน/ส้อมสำหรับเสิร์ฟอาหาร ที่คว่ำจาน/ชาม ที่คั้นน้ำผลไม้สด กระชอน ขวดใส่น้ำมันมะกอกและน้ำส้มสายชู ด้ามจับสำหรับที่ขูดชีส และเหยือกน้ำ ทั้งนี้ ช่วงฤดูร้อนผลิตภัณฑ์พลาสติกจะได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคอย่างสูง เช่น แก้วน้ำดื่ม เหยือกน้ำ และถาดเสิร์ฟอาหาร อย่างไรก็ตามอุปกรณ์พลาสติกถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี เนื่องจากคุณสมบัติที่ทนต่อรอยขีดข่วนและสีคงเดิมของผลิตภัณฑ์จากการทำความสะอาดด้วยเครื่องล้างจาน อาทิ ผลิตภัณฑ์เขียงพลาสติก (ทั้งประเภทที่ยืดหยุ่นได้และยืดหยุ่นไม่ได้) ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้นิยมอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคชาวแคนาดาที่ใส่ใจด้านสุขภาพอนามัยตนเอง
อย่างไรก็ดี อุปกรณ์ประเภทอะคริลิคมีราคาสูงกว่าพลาสติก เพราะคุณสมบัติที่สามารถสร้างสรรค์รูปแบบ ลวดลายสีสันสวยงามได้มากกว่าพลาสติกทั่วไป
- อุปกรณ์สำหรับบนโต๊ะอาหาร (Tableware) ผู้บริโภคมักนิยมผสมผสานของรูปแบบ รูปทรง
หรือสีสัน อุปกรณ์ต่างๆ อาทิ การใช้อุปกรณ์รูปทรงสัตว์ ผลไม้ต่างๆ รวมถึงสีโทนร้อน -โทนเย็นเข้าด้วยกันเพื่อเน้นความสดใสบนโต๊ะอาหาร ในทางกลับกัน การเลือกใช้อุปกรณ์ประเภทเครื่องเคลือบ ดินเผาเพื่อเน้นรูปแบบการจัดโต๊ะอาหารแบบทางการ สวยหรู
สำหรับอุปกรณ์บนโต๊ะอาหารที่จำหน่ายทั่วไป 1 ชุดประกอบด้วย ถ้วยซุป/ซีเรียล 4 ใบ, จานสลัด 4 ใบ, จานรับประทานอาหาร 4ใบ และถ้วยชา / กาแฟ 4 ใบ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ต่างๆได้รับการพัฒนาให้ปลอดภัยสำหรับเครื่องล้างจาน เพื่อความสะดวกต่อการดูแลรักษาทำความสะอาด ดังนั้นผู้บริโภคควร สอบถามข้อมูลจากร้านค้าว่าผลิตภัณฑ์ปลอดภัยสำหรับการใช้เครื่องไมโครเวฟหรือเครื่องล้างจานหรือไม่ อย่างไรก็ดี ข้อควรระวังสำหรับการดูแลผลิตภัณฑ์ประเภทโต๊ะอาหารให้คงทน อายุการใช้งานนาน มีดังนี้
- อุณหภูมิ สำหรับอุปกรณ์เครื่องครัวบางชนิด อาทิ เซรามิคแม้ว่าจะมีการรับรอง
“Freezer Safe” แต่ยังไม่สามารถคงทนต่อการสภาพการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว กล่าวคือ หากอุปกรณ์วางอยู่ในตำแหน่งที่มีอุณหภูมิต่ำนานๆ เช่น ตู้แช่แข็ง แล้วนำอุปกรณ์ดังกล่าวมาเข้าเตาอบหรือวางบนเตาประกอบอาหารที่มีความร้อนสูง จะทำให้เซรามิคเกิดรอยแตกร้าวได้
- ผลิตภัณฑ์ที่ตกแต่ง (ฝีมือ) (hand decoration) อุปกรณ์จาน/ชามที่มีการตกแต่งด้วยงาน
ฝีมืออย่างละเอียด มีลวดลายพิถีพิถัน ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะไม่คงทนถาวรต่อเครื่องล้างจาน นอกจากนั้นความร้อนจากเครื่องล้างจานและสารเคมีจากน้ำยาล้างจานสามารถก่อให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ดังกล่าวได้ โดยเฉพาะอุปกรณ์จำพวกเคลือบด้วยทองหรือแพลททินัม ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรล้าง / ทำความสะอาดด้วยมือแทนการใช้เครื่องล้างจาน
- อุปกรณ์ประเภทมีดและช้อน/ส้อม (Knives / Cutlery) อุปกรณ์ประเภทมีดจำหน่ายในประเทศ
แคนาดามีมากกว่า 30 ชนิด แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้ (สไลด์ หั่นหรือสับ) แต่ที่รูปแบบที่เป็นที่นิยมทั่วไป คือ มีดปอกขนาดใบมีดยาว 3-4 นิ้ว มีดสำหรับใช้ทั่วไป (utility knife) ขนาดยาว 6 นิ้วและมีดทำครัว (chef / cook knife) ขนาด 8 นิ้ว โดยใบมีดที่มีผลิตจากสแตนเลสผสมทองแดง (High Carbon Stainless Steel) จะมีคุณภาพสูง คงทน
ผู้บริโภคชาวแคนาดาจะให้ความใส่ใจในเรื่องของคุณภาพของมีดเป็นอย่างยิ่งโดยจะมีการวางแผนการเลือกซื้อมากกว่าการตัดสินใจซื้อมีดที่มีคุณภาพต่ำทันทีทันใด มีดที่ด้ามจับทำจาก polypropylene as opposed to wood เป็นที่นิยม ในขณะที่มีดระดับสูงจะผลิตจากสแตนเลสสตีลทั้งด้ามจับและใบมีดหลอมเป็นชิ้นเดียวกัน มีความกระชับมือในการใช้ และป้องกันการสะสมของแบคทีเรียช่วงรอยต่อของใบมีดและด้ามจับได้ ปัจจุบันมีดที่ด้ามจับทนต่อการล้างด้วยเครื่องล้างจานได้เข้ามาแทนที่มีดที่ด้ามจับไม้ นอกจากนี้ มีดที่จัดชุดพร้อมกับอุปกรณ์ลับมีดในตัวสามารถจำหน่ายครองส่วนแบ่งตลาดประเภทมีดทำครัวได้มากที่สุด
อุปกรณ์ประเภทมีดและช้อน/ส้อม ประเภทสแตนเลสที่จำหน่ายทั่วไปราคาย่อมเยาว์มักจะจัดเป็นชุดมี 20 ชิ้น ประกอบด้วย มีด 4 ชิ้น, ส้อมรับประทานอาหาร 4 ชิ้น ,ช้อนรับประทานอาหาร 4 ชิ้น, ส้อมสำหรับสลัด/ของหวาน 4 ชิ้น และช้อนชา / กาแฟ 4 ชิ้น ในส่วนของอุปกรณ์เสิร์ฟอาหาร เช่น ช้อน/ส้อม หรืออุปกรณ์เสิร์ฟขนมเค้กมักจะจำหน่ายแยกชิ้นเดี่ยวแทนการจำหน่ายเป็นชุด
3. ช่องทางการจัดจำหน่าย (Distribution)
ตลาดหลักสำหรับสินค้าเครื่องประดับ / ของขวัญ และของใช้ตกแต่งบ้านในประเทศแคนาดา คือ
นครโตรอนโต มอนทรีออล และแวนคูเวอร์ ดังนั้นการขนส่งทางทะเลจากประเทศอื่นๆ ไปยังเมืองดังกล่าวเป็นการเหมาะสมต่อการกระจายสินค้าไปยังเมืองต่างๆ ภายในประเทศ อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการควรมีตัวแทนสินค้าในเมืองต่างๆ เพื่อครอบคลุมผู้บริโภคอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ดีหากผู้ประกอบการต้องการตั้งตัวแทนการค้าแต่เพียงผู้เดียว ( Sole representation ) ควรจัดตั้งที่เมืองโตรอนโตเป็นเนื่องจากเป็นเมืองศูนย์รวมการค้าของประเทศแคนาดา
ลักษณะช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องประดับ / ของขวัญ และของใช้ตกแต่งบ้านโดยส่วนใหญ่จะเริ่มจากผู้ผลิตสินค้าส่งสินค้าไปยังตัวแทนจัดส่งเพื่อดำเนินการจัดส่งสินค้าไปยังผู้นำเข้าหรือร้านค้าปลีกโดยตรงยังประเทศปลายทาง หากยังเป็นผู้ค้าปลีกรายเล็กๆ สามารถรวมตัวกันหลายราย หรือร่วมกับ Central Buying Group เพื่อรวบรวมยอดสั่งซื้อในปริมาณมากและส่วนลดสินค้าสำหรับการนำเข้าโดยตรง
ผู้ส่งออกต่างชาติ ----------> ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ / Central Buying Group
จากรูปแบบข้างต้นเป็นการจัดจำหน่ายสินค้าโดยตรงจากผู้ผลิตถึงผู้ค้าปลีกโดยตรง อย่างไรก็ดี มีผู้ค้าส่งเข้ามาเพิ่มบทบาทเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าอีกทางหนึ่ง ดังนั้นรูปแบบการจัดจำหน่ายสินค้าจะเริ่มจากผู้ผลิตสินค้าส่งไปยังผู้นำเข้าหรือตัวแทนจำหน่าย ( Importer / Agency ) เพื่อที่จะจำหน่ายต่อร้านค้าส่งหรือร้านค้าปลีก แสดงได้ดังนี้
ผู้ส่งออกต่างชาติ ----------> ผู้นำเข้าหรือตัวแทนจำหน่าย ----------> ร้านค้าส่งหรือร้านค้าปลีก
4. ระบบจัดการสำหรับการขนส่งสินค้า (Logistic)
ระบบการขนส่งสินค้านำเข้าประเทศแคนาดานั้นโดยมากผ่านระบบเดินเรือทางทะเล สามารถรองรับตู้ขนส่งสินค้า (container) ขนาด 20-40 ฟุตได้ จากนั้นระบบขนส่งภายในประเทศแคนาดาจะดำเนินใช้วิธีทางรถบรรทุกและรถไฟ ทั้งนี้เอกสารที่จำเป็นสำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์จะขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าแต่ละชนิด ตัวอย่างเอกสารที่จำเป็นต่อการจัดส่ง ได้แก่ หนังสือรับรองการออกสินค้า ใบสำแดงแสดงรายการสิ่งของนำเข้า เอกสารรับรองสินค้าได้รับการรมควันซึ่งปราศจากแมลง เป็นต้น
5. กฎ ระเบียบการค้าต่างๆ
5.1 ข้อบังคับสำหรับการออกเครื่องหมายจากประเทศผู้ผลิตและหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin)
สินค้าผลิตนอกประเทศแคนาดาต้องมีประทับตราสินค้า “Made in (ชื่อประเทศ)” รายละเอียดเพิ่มเติม ค้นหาได้จาก http://www.cbsa-asfc.gc.ca/E/pub/cm/d11-3-3/d11-3-3-eng.html และผู้ส่งออกต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) จากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และจัดส่งเอกสารแก่ผู้นำเข้าปลายทางก่อนการนำส่งสินค้า
นอกจากนั้นสินค้านำเข้ามายังแคนาดาจากประเทศไทยจะได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีที่เรียกว่า Generally preferred tariff (GPT) ซึ่งเป็นอัตราภาษีที่ตำกว่าการนำเข้าจากประเทศที่พัฒนาแล้ว
5.2 ข้อบังคับด้านบรรจุภัณฑ์และการติดฉลากสินค้า
สินค้าที่จำหน่ายในประเทศแคนาดาจะต้องติดฉลากสินค้าบนผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคสามารถอ่านออกได้อย่างชัดเจน โดยมีข้อกำหนดด้านฉลากผลิตภัณฑ์ ดังนี้
- ชื่อ / ยี่ห้อผลิตภัณฑ์
- ปริมาณของผลิตภัณฑ์ (น้ำหนัก หรือ ปริมาณความจุ)
- ชื่อผู้จัดจำหน่ายสินค้า และที่อยู่
- ชื่อประเทศผู้ผลิตสินค้าที่มีข้อความ “Made in (ชื่อประเทศ) ” “Produced in (ชื่อประเทศ) ”ทั้งนี้ มณฑล Quebec มีข้อกำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการติดฉลากผลิตภัณฑ์และข้อมูลต่างๆ เป็นภาษาฝรั่งเศสบนผลิตภัณฑ์ทุกชนิดด้วย
5.3 ข้อบังคับด้านความปลอดภัย
ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในประเทศแคนาดาเน้นคุณภาพสูงและความคงทนถาวร เพื่อสามารถจัดส่งลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์ประเภทภายนอกสถานที่ (outdoor) ควรคำนึงถึงความคงทนต่ออุณหภูมิและสภาพอากาศแวดล้อม หรือ ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กต้องได้รับการรับองมาตรฐานความปลอดภัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ในประเทศแคนาดามี 3 หน่วยงานหลัก คือ
1. Canadian General Standards Board (CGSB) : เว็บไซต์
www.pwgsc.gc.ca/cgsb/home/index-e.html
2. Canadian Standard Association (CSA) : เว็บไซต์www.csa.ca/default.asp?language=english
3. Hazardous Products Act: เว็บไซต์Http://laws.justice.gc.ca/en/notice/index.html?redirect=%2Fen%2FH-3%2F
5.4 การสำแดงวัสดุสำหรับโครงไม้รองบรรทุกสินค้า (pallet) และหีบห่อสินค้า
ทางรัฐบาลประเทศแคนาดา วางกฎระเบียบสำหรับวัสดุที่ใช้บรรจุหีบห่อ โครงไม้รองบรรทุกสินค้า สินค้าที่ทำจากไม้ หรือ มีส่วนผสมของฟางหรือหญ้าแห้ง ต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคจำพวกสัตว์ แมลงต่างๆด้วยความร้อน การรมควันที่ต้องปราศจากแมลงหรือการใช้สารเคมีประเภทสารกันบูด เพื่อกำจัดแมลงต่างๆอย่างสิ้นเชิง ก่อนสินค้าส่งมายังประเทศแคนาดา โดยบรรจุภัณฑ์ประเภทลังไม้ต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานด้านกักกันพืชจากประเทศต้นทางยืนยันการผ่านการฆ่าเชื้อต่างๆ ก่อนการจัดส่ง
5.5 ภาษีศุลกากร
ประเทศไทยไม่มีข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศแคนาดา แต่ด้วยตามข้อตกลง WTO ว่าด้วยประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Developing Country) จึงมีข้อบังคับใช้อัตราภาษีที่ต่ำกว่าทั่วไปซึ่งเรียกว่า Generally preferred tariff (GPT) โดยอัตราภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าเครื่องประดับ / ของขวัญ และของใช้ตกแต่งบ้านคือร้อยละ 0 -10
5.6 ข้อตกลงการค้าภายใต้เขตการค้าเสรี (FTA) และระหว่างประเทศ
ประเทศไทยไม่มีข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศแคนาดาโดยตรง แต่ทางประเทศแคนดามีข้อตกลงการค้าว่าด้วยประเทศแคนาดาและกลุ่มประเทศอาเซียน (Canada-ASEAN Free trade Agreement)
6. ข้อแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ/ส่งออกไทย
- ผู้ประกอบการไทยควรจัดทำเว็บไซต์ที่สวยงาม แสดงข้อมูลรายละเอียดสินค้า พร้อมข้อมูล
การติดต่อที่ชัดเจน ซึ่งทำให้ผู้นำเข้าจากต่างประเทศสามารถค้นหาได้สะดวก และผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญในการตอบข้อสนเทศทางการค้าหรือติดต่อกลับลูกค้าภายในวันเดียวกันกับที่สอบถามข้อมูล เพื่อแสดงศักยภาพของผู้ประกอบการ
- ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าในประเทศแคนาดา ผู้ประกอบการไทยควรติดต่อผ่านผู้นำเข้าหรือตัวแทนจำหน่าย แทนการติดต่อโดยตรงกับร้านค้าปลีก เนื่องจากมีขั้นตอนการติดต่อกระทำที่ง่ายกว่า หรือหากผู้ประกอบการต้องการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆกับตลาด ทางตัวแทนจำหน่ายจะมีข้อมูลแนวโน้มตลาดของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถแนะนำผู้ประกอบการไทยถึงรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมในตลาดแคนาดา ทั้งนี้นครโตรอนโต ซึ่งป็นตลาดขนาดใหญ่ของแคนาดา จะเป็นตัวชี้วัดศักยภาพตลาดโดยรวมของประเทศได้
- ผู้ประกอบการไทยควรติดตามสถานการณ์การค้า แนวโน้มผลิตภัณฑ์สินค้าเครื่องประดับ / ของขวัญ และของใช้ตกแต่งบ้านในแคนาดา เพื่อทราบลักษณะ รูปแบบ สีสันผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมของตลาด ผู้ประกอบการสามารถติดตามข้อมูลได้ตามสื่อ สิ่งพิมพ์หรือนิตยสาร อาทิ
o Gift & Table ware
1450 Don Mills Rd., Don Mills, ON M3B 2X7
Tel: (416) 445-6641 Fax: (416) 442-2277
Website : www.gifts-and-tablewares.com
Email: bbishop@gifts-and-tablewares.com
o Canadian Home Style Magazine
Lorell Communication Inc.
777 Bay St., Suite 500, Toronto, ON M5W 1A7
Fax: (905) 338-5623 Email: info@homestylemag.ca
Website : www.homestylemag.ca
- ผู้ประกอบการไทยควรเข้าร่วมงานแสดงสินค้าต่างๆ ทำให้สามารถพบปะผู้นำเข้าชาวแคนาดา และควรมีการเยี่ยมเยียนผู้ประกอบการชาวแคนาดาเป็นบางครั้ง ผู้ประกอบการไทยควรมีตัวอย่างสินค้าและราคาสินค้าในการหารือทางธุรกิจทุกครั้ง
ทั้งนี้ ประเทศแคนาดามีงานแสดงสินค้าเครื่องประดับ/ของขวัญ และของใช้ตกแต่งบ้านต่างๆ โดยสามารถสอบถามข้อมูลได้จากสมาคมที่เกี่ยวข้อง อาทิ
o Canadian Gift & Tableware Association
42 Voyager Court South, Toronto, ON M9W 5MT
Tel: (416) 679-0170 หรือ (800) 611-6100 Fax: (416) 679-0175
Website: www.cgta.org Email: info@cgta.org
o Canadian Craft & Hobby Association
24-1410 40th Ave., NE, Calgary , AB T2E 6L1
Tel: (403) 291-0559 Fax: (403) 291-0675
Website: www.cdncraft.org Email: ccha@cadivision.com
- ข้อแนะนำสำหรับผู้ประกอบการไทยเพื่อแก้ปัญหาบ่อยครั้งสำหรับการดำเนินธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการชาวแคนาดาและผู้ประกอบการไทย (รวมทั้งผู้ประกอบการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
1) ผู้ประกอบการควรตอบข้อซักถาม หรือติดต่อกลับลูกค้าทันทีทันใด แม้ว่าทางผู้ประกอบการจะไม่มีผลิตภัณฑ์ตามที่ลูกค้าต้องการ หรือไม่สนใจในการค้านั้น ผู้ประกอบการไม่คววรละเลยการติดต่อกลับลูกค้าอย่างทันที
2) ผู้ประกอบการควรดำเนินการจัดส่งสินค้าให้สอดคล้องกับตัวอย่างผลิตภัณฑ์ และตรงกับวันนัดหมายจัดส่ง หากเกิดการล่าช้าประการใด ผู้ประกอบการควรแจ้งให้ลูกค้าทราบอย่างเร่งด่วน
3) ผู้ประกอบควรติดตั้งเครื่องโทรสาร (FAX) เปิดตลอดเวลา (โดยเฉพาะกลางคืน) เนื่องด้วยช่วงเวลาที่แตกต่างระหว่างประเทศไทยเร็วกว่าประเทศแคนาดา 14-15 ชั่วโมง ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการทั้งสองฝ่ายขาดการติดต่อธุรกิจได้
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th
มูลค่าตลาดค้าปลีกสินค้าเครื่องประดับ / ของขวัญ และของใช้ตกแต่งบ้านในประเทศแคนาดาคิดเป็นมูลค่าโดยประมาณ 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี และคาดการณ์แนวโน้มเติบโตในอนาคตเนื่องจากปัจจัยด้านอายุของประชากร และรูปแบบวิถิชีวิตที่ใช้เวลาในที่พักอาศัยมากขึ้น
1.1 มูลค่าการนำเข้า
จากสถิติการนำเข้าสินค้าระหว่างปี 2548 - 2550 (เอกสารตามแนบ) ประเทศแคนาดานำเข้าสินค้าประเภทเครื่องประดับ/ของขวัญ และของใช้ตกแต่งบ้านเฉลี่ยร้อยละ 55.66 ของสินค้ากลุ่มดังกล่าวทั้งสิ้น โดยมีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
มูลค่าการนำเข้าล่าสุดในปี 2551 ( ม.ค.- มี.ค.) (คำนวณตามราคา CIF) 613.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.11 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปี 2550
เปรียบเทียบการนำเข้าสินค้าของขวัญ/ หัตถกรรมและสินค้าตกแต่งบ้านระหว่างประเทศไทยและทั่วโลก
ทั่วโลก (ร้อยละ) ประเทศไทย (ร้อยละ)
สินค้าของขวัญ / หัตถกรรม (Gifts & Handcraft) 53.47 11.03
สินค้าตกแต่งบ้าน (Houseware) 46.53 88.97
รวม 100.00 100.00
ในปี 2551 ( ม.ค.- มี.ค.) จากข้อมูลนำเข้าสินค้าเครื่องประดับ / ของขวัญ และของใช้ตกแต่งบ้านของแคนาดา ประเทศไทยถือเป็นผู้ส่งออก (supplier) สำคัญลำดับที่ 8 มีมูลค่าส่งออกมาแคนาดาทั้งสิ้น 8.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยแบ่งเป็นหมวดสินค้าของขวัญ/ หัตถกรรม 0.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 11) และมูลค่าหมวดสินค้าตกแต่งบ้าน 7.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 89)
1.2 คู่แข่งขันที่สำคัญ
ข้อมูลการนำเข้าเดือน มี.ค. 2551 แสดงข้อมูลประเทศที่เป็นผู้ส่งออกหลัก (supplier) สินค้าเครื่องประดับ / ของขวัญ และของใช้ตกแต่งบ้านมายังประเทศแคนาดา 3 อันดับแรก คือ อันดับ 1 ประเทศจีน (มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 54.13) อันดับ 2 ประเทศสหรัฐอเมริกา (มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 25.53) อันดับ 3 ประเทศเม็กซิโก (มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.20) สำหรับประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.31 โดยประเภทของสินค้านำเข้าจากประเทศจีนแบ่งเป็นสินค้าระดับล่างถึงระดับบน(Low End —High End) ทั้งนี้ประเทศจีนวางแผนดึงส่วนแบ่งตลาดจากประเทศสหรัฐฯ ดังนั้นทางผู้ประกอบการจีนจึงต้องเน้นการพัฒนาเรื่องการควบคุมสินค้า (Quality control) และระยะเวลาสำหรับจัดส่งลูกค้าที่แน่นอน สำหรับประเทศสหรัฐฯ เน้นสินค้าระดับกลางถึงระดับบน ส่วนประเทศเม็กซิโกเน้นสินค้าระดับล่างเป็นหลัก
1.3 ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเลือกซื้อสินค้า
เนื่องจากประเทศแคนาดามีภาวะเติบโตทางเศรษฐกิจทิศทางที่ดีในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา จึงส่งผลดีให้ธุรกิจกลุ่มสินค้าเครื่องประดับ/ ของขวัญและของใช้ตกแต่งบ้านไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งผู้บริโภคชาวแคนาดาเลือกซื้อรูปแบบสินค้าเครื่องประดับ / ของขวัญและของใช้ตกแต่งบ้านโดยอิงจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ (lifestyle) และวัฒนธรรมของประชากร โดยปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคสินค้าดังกล่าว มีรายละเอียดดังนี้
- ผลิตภัณฑ์ / บรรจุภัณฑ์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (environment friendly products) ปัจจุบันผู้บริโภคชาวแคนาดาตระหนักความสำคัญและคำนึงถึงบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลาย หรือ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle) ได้ (อาทิ ปัจจุบันบริษัทในประเทศญี่ปุ่นกำลังแนะนำผลิตภัณฑ์ จาน ส้อม ช้อมหรือ กล่องที่สามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัยแทนการใช้วัสดุประเภทโฟม โดยใช้ธัญพืชประเภทโอ็ตมีลเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต)
- ราคา ปัจจุบันประชากรชาวแคนดาเดินทางซื้อสินค้าที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมากขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าที่ถูกกว่า ดังนั้นผู้ประกอบการค้าปลีกในประเทศจำเป็นต้องลดราคาสินค้าเพื่อป้องกันลูกค้าเดินทางซื้อสินค้านอกประเทศมากขึ้น กล่าวคือผู้ประกอบการต้องจัดหาวิธีการปรับลดกำไรจากการขายสินค้าโดยมองหาแหล่งผลิตที่ต้นทุนต่ำกว่าจากนอกประเทศ
- วิถีชีวิต กลุ่มคู่แต่งงาน ถือเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีสัดส่วนการซื้อสินค้าเครื่องประดับ/ของขวัญและของใช้ตกแต่งบ้านมากที่สุด เพื่อใช้สอยสำหรับตนเอง และได้รับเป็นของขวัญแต่งงาน ซึ่งเจ้าบ่าวสาวจะลงทะเบียนของขวัญ (Bridal Registry) ที่ตนเองสนใจกับทางร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้า จากนั้นญาติหรือเพื่อนๆ จะมอบสินค้านั้นๆให้กับคู่บ่าวสาวเป็นของขวัญ
- การก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น อัตราการก่อสร้างบ้าน / คอนโดมิเนียมในประเทศแคนาดาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าของขวัญและของใช้ตกแต่งบ้านเพื่อตกแต่งที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ปัจจุบันประชากรชาวแคนาดาช่วงอายุ 25-40 ปีเป็นช่วงที่มองหาที่อยู่อาศัยสำหรับตนเองเป็นหลัก ในขณะที่ประชากรวัยสูงอายุมีความต้องการที่อยู่อาศัยขนาดเล็กลง และสนใจสินค้าระดับบนมากขึ้น
- การสื่อสารยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ผู้บริโภคสามารถจับจ่ายได้อย่างมากขึ้นเนื่องจากราคาที่สินค้าที่เหมาะสม ทั้งนี้ผู้บริโภคมีความใส่ใจต่อสินค้า เสื้อผ้า เครื่องประดับ ของใช้ตกแต่งบ้านจากประเทศต่างๆ ซึ่งมีวัฒนธรรมและเอกลัษณ์เฉพาะถิ่นมากขึ้น เนื่องจากปัจจัยดังนี้
1) อัตราผู้ย้ายถิ่นฐานจากชาติอื่นๆมาประเทศแคนาดาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
2) อัตราความสนใจและการเยี่ยมชมงานแสดงสินค้าต่างๆ (fair trade) เพิ่มขึ้น
3) จำนวนประชากรชาวแคนาดาที่เดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น
4) สื่อต่างๆ (media) แสดงถึงวัฒนธรรม ประเพณีจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
2. Supply ในประเทศแคนาดา
2.1 แนวโน้มตลาดสินค้า (Trend)
รายชื่อกลุ่มสินค้าเครื่องประดับ / ของขวัญและของใช้ตกแต่งบ้าน 10 อันดับแรกที่เป็นที่นิยมในประเทศแคนาดา คือ
1) งานสินค้าหัตถกรรมที่ประดิษฐ์จากฝีมือชาวแคนาดา (Canadian Made Product)
2) เครื่องประดับ (Jewelry)
3) สินค้าหัตถกรรม (Handmade)
4) ของใช้ตกแต่งบ้าน (Home decor)
5) งานศิลปะใส่กรอบ ภาพเขียน กระจกสำหรับตกแต่งผนัง (Frame Art Print & Mirror)
6) สินค้าตกแต่ง ประดับต้นคริสต์มาส ( Xmas & Seasonal Decor)
7) ของขวัญ (Gift)
8) เทียนไข เทียนหอม น้ำมันหอมระเหยและอุปกรณ์เครื่องหอมต่างๆ (Candles, Aromatherapy & Home Fragrance)
9) เครื่องใช้สำนักงาน บัตรอวยพร กระดาษและอุปกรณ์สำหรับการเขียน (Stationary , Greet Cards, Paper and writing Instruments)
10) อุปกรณ์ตกแต่งสวน (Garden & Outdoor Accessories)
ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถค้นหาได้จาก http://www.cgta.org/upload/MarketpulseFall2007.pdf
2.2 อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน (Handicraft)
อุปกรณ์ตกแต่งบ้านประเภทงานหัตถกรรมตกแต่ง (Home Decor Handicraft) เป็นกลุ่มสินค้าที่ได้รับความนิยมในประเทศแคนาดาอย่างสูง เนื่องจากความที่ประชากรมีความพิถีพิถันด้านการตกแต่ง เน้นความสะดวกสบายและรสนิยม อาทิเช่น การผสมผสานตกแต่งแบบเรียบง่ายและทางการภายในห้องอาหาร กล่าวคือ การใช้ผ้าปูโต๊ะลวดลายที่สวยงามและจาน ชามรูปแบบเรียบง่าย ประดับด้วยเชิงเทียนหรือเครื่องแก้วโดยมีทั้งรูปแบบไม้และขอบเงินที่หลากหลาย
ประชากรชาวแคนาดาในแต่ละภูมิภาคของประเทศจะการมีเลือกซื้อสินค้ารูปแบบที่แตกต่างกัน โดยประชากรที่มีถิ่นพำนักแถบตะวันตกนิยมสินค้าตกแต่งรูปแบบเรียบง่ายกว่าประชากรที่อาศัยแถบส่วนกลางหรือตะวันออกของประเทศ นอกจากนั้นประชากรชาวแคนาดายังมีแนวโน้มนิยมเฟอร์นิเจอร์ประเภท Outdoor หรือตกแต่งบริเวณสวนนอกบ้านในช่วงฤดูร้อนมากขึ้น
ในลักษณะการตกแต่งห้องน้ำ ผู้บริโภคนิยมในเรื่องของการผ่อนคลาย หรือสปาส่วนตัวมากขึ้น ดังนั้นจึงมีการจัดสัดส่วนพิ้นที่ห้องน้ำที่กว้างขวางและเน้นรสนิยมการตกแต่ง ผู้บริโภคนิยมสินค้าสีโทนอ่อนประกอบกับวัสดุจากธรรมชาติ เช่น หินแกรนิต หินอ่อน หรือหินรูปแบบต่างๆ นอกจากนั้นผู้บริโภคชาวแคนาดายังสรรหาของใช้สำหรับผ่อนคลายส่วนตัวเพิ่มเติมเพื่อเป็นรางวัลให้กับตนเองจากความเหนื่อยล้าจากการทำงานในราคาที่เหมาะสม เช่น เทียน เครื่องหอม แผ่นรองสำหรับโยคะ ดนตรี เป็นต้น
2.3 ของใช้ภายในบ้าน (Houseware)
ภาวะการค้าธุรกิจกลุ่มของใช้ภายในบ้านมีแนวโน้มคงที่ หรือเติบโตเล็กน้อย ผู้บริโภคนิยมสินค้ารูปแบบที่สวยงาม คงทนถาวร สามารถใช้งานได้สะดวก รวดเร็วและศักยภาพสูง ปัจจุบันผู้บริโภคเน้นโทนสีผลิตภัณฑ์ที่อบอุ่น เน้นธรรมชาติ ดังนั้นจะนิยมวัสดุที่ทำจากไม้ธรรมชาติโดยเฉพาะสำหรับเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร และอุปกรณ์ประกอบอาหาร โดยคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ต้องคุณภาพดี ปลอดภัย คงทนสำหรับเครื่องล้างจาน (dishwasher safe) และเครื่องไมโครเวฟ (microwavable) อย่างไรก็ดีผลิตภัณฑ์ที่มีความเรียบง่ายจะเป็นที่นิยมว่าเครื่องแก้วลายหรูประเภท formal China
ธุรกิจประเภทของใช้ภายในบ้านจะประสบความสำเร็จอย่างดีนั้น ต้องอาศัยการคิดค้น ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และหากได้รับการโฆษณาจากดารา พ่อครัว / แม่ครัวที่มีชื่อเสียง หรือรายการโทรทัศน์ประเภทการตกแต่งบ้านแล้วนั้น จะส่งเสริมผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายยิ่งขึ้น อาทิ ช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการคิดค้นการนำซิลิโคลนซึ่งเป็นวัสดุยางสังเคราะห์ได้รับการตรวจสอบจาก FDA ด้านความปลอดภัยมาผลิตเป็นอุปกรณ์ต่างๆ ข้อดีของวัสดุนี้สามารถทนความร้อน เพิ่มสีสันสวยงามต่างๆ สร้างความนิยมสำหรับอุปกรณ์ประกอบอาหารอย่างยิ่ง อุปกรณ์ที่ผลิตจาก ซิลิโคลน ได้แก่ อุปกรณ์ตีไข่ แปรงสำหรับทาอาหาร ถาดน้ำแข็ง ถ้วย ชาม หรือถาดอบอาหาร เป็นต้น ความนิยมในวัสดุดังกล่าวส่งผลดีกับบริษัท Rubbermaid และ Glad ซึ่งเป็นสองผู้นำทางด้านอุตสาหกรรมพลาสติกที่คิดค้นการใช้ซิลิโคลนร่วมกับอะลูมิเนียมเพื่อออกแบบและผลิตอุปกรณ์หรือของใช้ภายในบ้านต่างๆ นอกจากผลิตภัณฑ์จากซิลิโคลนแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมอย่างดีอีกประเภทหนึ่ง คือ ผลิตภัณฑ์ประเภทเซรามิค เพื่อการตกแต่งแสดงฐานะที่ดีของผู้อยู่อาศัย
กลุ่มลูกค้าหลักสำหรับตลาดของใช้ภายในบ้าน (Houseware) ได้แก่ กลุ่มคู่แต่งงาน โดยช่วงเดือน พ.ค. — ก.ย. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการจัดงานแต่งงานมากที่สุด และคู่บ่าวสาวจะลงทะเบียนเลือกสินค้าที่ต้องการไว้กับทางร้านค้า หลังจากนั้นญาติหรือแขกต่างๆ จะซื้อเป็นของขวัญสำหรับงานแต่งงาน โดยปัจจุบันนี้สามารถซื้อผ่านทาง online พร้อมบริการจัดส่งโดยตรงอย่างสะดวกสบาย
ประเภทของใช้ในบ้านที่เป็นที่นิยมในแคนาดา อาจแบ่งตามลักษณะการใช้งาน ได้ดังนี้
- อุปกรณ์ประกอบ / อบอาหาร (Cookware & Bakeware) ที่ทำจากสแตนเลสหรืออะลูมิเนียม เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง รองลงมาเป็นประเภทแก้ว , แก้วผสมเซรามิค , เครื่องเคลือบ หรือที่มีส่วนผสมทองแดง และผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ที่ผลิตจากซิลิโคลนที่ได้รับความนิยมอย่างสูง (มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.6) เนื่องจากรูปแบบ สีสันที่สวยงาม พร้อมคุณสมบัติทนความร้อนสูงกว่า 500 องศาเซลเซียส และสามารถทนความเย็นได้ดี ปลอดภัยต่อการใช้เครื่องไมโครเวฟและเครื่องล้างจาน นอกจากนั้นคุณสมบัติของซิลิโคลนยืดหยุ่นได้ดี จึงประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ แต่ข้อเสียของซิลิโคน คือเหมาะสมกับอุปกรณ์ขนาดชิ้นเล็กเท่านั้น
- อุปกรณ์ประเภทสแตนเลส ซึ่งมีความคงทนถาวร สวยงามและดูแลรักษาความสะอาดง่าย เป็นที่นิยมอย่างต่อเนื่อง หรืออุปกรณ์จำพวกที่มีสารเคลือบสำหรับการอบที่ทนความร้อนสูง เช่นถาดอบขนมคุ้กกี้ แม้ว่าอุปกรณ์จำพวกนี้มีราคาสูง แต่คุณสมบัติที่คงทนของผลิตภัณฑ์จึงทำให้เป็นที่นิยมของประชากรแคนาดา นอกจากนี้อุปกรณ์ประกอบ / อบอาหารที่เป็นนวัตกรรมประเภท fool-proof bakeware ซึ่งรับประกันถึงประสิทธิภาพยอดเยี่ยมของผลิตภัณฑ์กำลังอยู่ในช่วงทดลองตลาดในประเทศแคนาดา
โดยสรุปประชากรชาวแคนาดายินดีที่จะซื้ออุปกรณ์ประกอบ/อบอาหารในราคาที่สูงกว่าทั่วไป หากผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพชั้นดีและสามารถรักษาความสะอาดง่าย
- อุปกรณ์ประกอบอาหาร / เครื่องครัวที่จำหน่ายทั่วไปในประเทศแคนาดานิยมจำหน่ายเป็นชุดๆละ 7-8 ชิ้น ประกอบด้วย หม้อ saucepan พร้อมฝาปิดขนาด 2 ลิตร และ 2.8 ลิตร , Dutch Oven พร้อมฝาปิด ขนาด 5 ลิตร, กะทะ (skillet) ขนาด 24 เซนติเมตร และ หม้อนึ่งขนาด 20 เซนติเมตร
- อุปกรณ์เครื่องแก้ว (Glassware) โดยส่วนมากจำหน่ายเป็นชิ้นแยกเดี่ยวหรือจำหน่ายเป็นชุด หากเป็นชุด 1 ชุด ประกอบด้วยแก้วน้ำ 18 ใบ (ตามขนาดความจุ 33 ml. 30 ml. และ 20 ml. ) ทั้งนี้เครื่องแก้วที่มีสีสันจะใช้เพื่อประดับตกแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศเม็กซิโก นอกจากแก้วน้ำแล้ว ผู้บริโภคบางรายสรรหาเหยือกน้ำ หรือแก้วไวน์ที่มีลวดลายใกล้เคียวกัน ปัจจุบันผู้บริโภคนิยมผลิตภัณฑ์รูปแบบทันสมัย (fashion) มีลวดลาย สีสันสวยงาม เพื่อการบริโภคตามช่วงฤดูกาล (ฤดูร้อน) หรือ เทศกาลต่างๆ หรือใช้ภายนอกสถานที่ (Outdoor) โดยราคาผลิตภัณฑ์เหล่านี้สูงกว่าปกติ
- อุปกรณ์ประเภทอะคริลิค / พลาสติก (Acrylic / Plasticware ) นับเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคนิยมอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ถ้วย ชามเป็นชุด ช้อน/ส้อมสำหรับเสิร์ฟอาหาร ที่คว่ำจาน/ชาม ที่คั้นน้ำผลไม้สด กระชอน ขวดใส่น้ำมันมะกอกและน้ำส้มสายชู ด้ามจับสำหรับที่ขูดชีส และเหยือกน้ำ ทั้งนี้ ช่วงฤดูร้อนผลิตภัณฑ์พลาสติกจะได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคอย่างสูง เช่น แก้วน้ำดื่ม เหยือกน้ำ และถาดเสิร์ฟอาหาร อย่างไรก็ตามอุปกรณ์พลาสติกถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี เนื่องจากคุณสมบัติที่ทนต่อรอยขีดข่วนและสีคงเดิมของผลิตภัณฑ์จากการทำความสะอาดด้วยเครื่องล้างจาน อาทิ ผลิตภัณฑ์เขียงพลาสติก (ทั้งประเภทที่ยืดหยุ่นได้และยืดหยุ่นไม่ได้) ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้นิยมอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคชาวแคนาดาที่ใส่ใจด้านสุขภาพอนามัยตนเอง
อย่างไรก็ดี อุปกรณ์ประเภทอะคริลิคมีราคาสูงกว่าพลาสติก เพราะคุณสมบัติที่สามารถสร้างสรรค์รูปแบบ ลวดลายสีสันสวยงามได้มากกว่าพลาสติกทั่วไป
- อุปกรณ์สำหรับบนโต๊ะอาหาร (Tableware) ผู้บริโภคมักนิยมผสมผสานของรูปแบบ รูปทรง
หรือสีสัน อุปกรณ์ต่างๆ อาทิ การใช้อุปกรณ์รูปทรงสัตว์ ผลไม้ต่างๆ รวมถึงสีโทนร้อน -โทนเย็นเข้าด้วยกันเพื่อเน้นความสดใสบนโต๊ะอาหาร ในทางกลับกัน การเลือกใช้อุปกรณ์ประเภทเครื่องเคลือบ ดินเผาเพื่อเน้นรูปแบบการจัดโต๊ะอาหารแบบทางการ สวยหรู
สำหรับอุปกรณ์บนโต๊ะอาหารที่จำหน่ายทั่วไป 1 ชุดประกอบด้วย ถ้วยซุป/ซีเรียล 4 ใบ, จานสลัด 4 ใบ, จานรับประทานอาหาร 4ใบ และถ้วยชา / กาแฟ 4 ใบ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ต่างๆได้รับการพัฒนาให้ปลอดภัยสำหรับเครื่องล้างจาน เพื่อความสะดวกต่อการดูแลรักษาทำความสะอาด ดังนั้นผู้บริโภคควร สอบถามข้อมูลจากร้านค้าว่าผลิตภัณฑ์ปลอดภัยสำหรับการใช้เครื่องไมโครเวฟหรือเครื่องล้างจานหรือไม่ อย่างไรก็ดี ข้อควรระวังสำหรับการดูแลผลิตภัณฑ์ประเภทโต๊ะอาหารให้คงทน อายุการใช้งานนาน มีดังนี้
- อุณหภูมิ สำหรับอุปกรณ์เครื่องครัวบางชนิด อาทิ เซรามิคแม้ว่าจะมีการรับรอง
“Freezer Safe” แต่ยังไม่สามารถคงทนต่อการสภาพการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว กล่าวคือ หากอุปกรณ์วางอยู่ในตำแหน่งที่มีอุณหภูมิต่ำนานๆ เช่น ตู้แช่แข็ง แล้วนำอุปกรณ์ดังกล่าวมาเข้าเตาอบหรือวางบนเตาประกอบอาหารที่มีความร้อนสูง จะทำให้เซรามิคเกิดรอยแตกร้าวได้
- ผลิตภัณฑ์ที่ตกแต่ง (ฝีมือ) (hand decoration) อุปกรณ์จาน/ชามที่มีการตกแต่งด้วยงาน
ฝีมืออย่างละเอียด มีลวดลายพิถีพิถัน ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะไม่คงทนถาวรต่อเครื่องล้างจาน นอกจากนั้นความร้อนจากเครื่องล้างจานและสารเคมีจากน้ำยาล้างจานสามารถก่อให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ดังกล่าวได้ โดยเฉพาะอุปกรณ์จำพวกเคลือบด้วยทองหรือแพลททินัม ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรล้าง / ทำความสะอาดด้วยมือแทนการใช้เครื่องล้างจาน
- อุปกรณ์ประเภทมีดและช้อน/ส้อม (Knives / Cutlery) อุปกรณ์ประเภทมีดจำหน่ายในประเทศ
แคนาดามีมากกว่า 30 ชนิด แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้ (สไลด์ หั่นหรือสับ) แต่ที่รูปแบบที่เป็นที่นิยมทั่วไป คือ มีดปอกขนาดใบมีดยาว 3-4 นิ้ว มีดสำหรับใช้ทั่วไป (utility knife) ขนาดยาว 6 นิ้วและมีดทำครัว (chef / cook knife) ขนาด 8 นิ้ว โดยใบมีดที่มีผลิตจากสแตนเลสผสมทองแดง (High Carbon Stainless Steel) จะมีคุณภาพสูง คงทน
ผู้บริโภคชาวแคนาดาจะให้ความใส่ใจในเรื่องของคุณภาพของมีดเป็นอย่างยิ่งโดยจะมีการวางแผนการเลือกซื้อมากกว่าการตัดสินใจซื้อมีดที่มีคุณภาพต่ำทันทีทันใด มีดที่ด้ามจับทำจาก polypropylene as opposed to wood เป็นที่นิยม ในขณะที่มีดระดับสูงจะผลิตจากสแตนเลสสตีลทั้งด้ามจับและใบมีดหลอมเป็นชิ้นเดียวกัน มีความกระชับมือในการใช้ และป้องกันการสะสมของแบคทีเรียช่วงรอยต่อของใบมีดและด้ามจับได้ ปัจจุบันมีดที่ด้ามจับทนต่อการล้างด้วยเครื่องล้างจานได้เข้ามาแทนที่มีดที่ด้ามจับไม้ นอกจากนี้ มีดที่จัดชุดพร้อมกับอุปกรณ์ลับมีดในตัวสามารถจำหน่ายครองส่วนแบ่งตลาดประเภทมีดทำครัวได้มากที่สุด
อุปกรณ์ประเภทมีดและช้อน/ส้อม ประเภทสแตนเลสที่จำหน่ายทั่วไปราคาย่อมเยาว์มักจะจัดเป็นชุดมี 20 ชิ้น ประกอบด้วย มีด 4 ชิ้น, ส้อมรับประทานอาหาร 4 ชิ้น ,ช้อนรับประทานอาหาร 4 ชิ้น, ส้อมสำหรับสลัด/ของหวาน 4 ชิ้น และช้อนชา / กาแฟ 4 ชิ้น ในส่วนของอุปกรณ์เสิร์ฟอาหาร เช่น ช้อน/ส้อม หรืออุปกรณ์เสิร์ฟขนมเค้กมักจะจำหน่ายแยกชิ้นเดี่ยวแทนการจำหน่ายเป็นชุด
3. ช่องทางการจัดจำหน่าย (Distribution)
ตลาดหลักสำหรับสินค้าเครื่องประดับ / ของขวัญ และของใช้ตกแต่งบ้านในประเทศแคนาดา คือ
นครโตรอนโต มอนทรีออล และแวนคูเวอร์ ดังนั้นการขนส่งทางทะเลจากประเทศอื่นๆ ไปยังเมืองดังกล่าวเป็นการเหมาะสมต่อการกระจายสินค้าไปยังเมืองต่างๆ ภายในประเทศ อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการควรมีตัวแทนสินค้าในเมืองต่างๆ เพื่อครอบคลุมผู้บริโภคอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ดีหากผู้ประกอบการต้องการตั้งตัวแทนการค้าแต่เพียงผู้เดียว ( Sole representation ) ควรจัดตั้งที่เมืองโตรอนโตเป็นเนื่องจากเป็นเมืองศูนย์รวมการค้าของประเทศแคนาดา
ลักษณะช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องประดับ / ของขวัญ และของใช้ตกแต่งบ้านโดยส่วนใหญ่จะเริ่มจากผู้ผลิตสินค้าส่งสินค้าไปยังตัวแทนจัดส่งเพื่อดำเนินการจัดส่งสินค้าไปยังผู้นำเข้าหรือร้านค้าปลีกโดยตรงยังประเทศปลายทาง หากยังเป็นผู้ค้าปลีกรายเล็กๆ สามารถรวมตัวกันหลายราย หรือร่วมกับ Central Buying Group เพื่อรวบรวมยอดสั่งซื้อในปริมาณมากและส่วนลดสินค้าสำหรับการนำเข้าโดยตรง
ผู้ส่งออกต่างชาติ ----------> ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ / Central Buying Group
จากรูปแบบข้างต้นเป็นการจัดจำหน่ายสินค้าโดยตรงจากผู้ผลิตถึงผู้ค้าปลีกโดยตรง อย่างไรก็ดี มีผู้ค้าส่งเข้ามาเพิ่มบทบาทเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าอีกทางหนึ่ง ดังนั้นรูปแบบการจัดจำหน่ายสินค้าจะเริ่มจากผู้ผลิตสินค้าส่งไปยังผู้นำเข้าหรือตัวแทนจำหน่าย ( Importer / Agency ) เพื่อที่จะจำหน่ายต่อร้านค้าส่งหรือร้านค้าปลีก แสดงได้ดังนี้
ผู้ส่งออกต่างชาติ ----------> ผู้นำเข้าหรือตัวแทนจำหน่าย ----------> ร้านค้าส่งหรือร้านค้าปลีก
4. ระบบจัดการสำหรับการขนส่งสินค้า (Logistic)
ระบบการขนส่งสินค้านำเข้าประเทศแคนาดานั้นโดยมากผ่านระบบเดินเรือทางทะเล สามารถรองรับตู้ขนส่งสินค้า (container) ขนาด 20-40 ฟุตได้ จากนั้นระบบขนส่งภายในประเทศแคนาดาจะดำเนินใช้วิธีทางรถบรรทุกและรถไฟ ทั้งนี้เอกสารที่จำเป็นสำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์จะขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าแต่ละชนิด ตัวอย่างเอกสารที่จำเป็นต่อการจัดส่ง ได้แก่ หนังสือรับรองการออกสินค้า ใบสำแดงแสดงรายการสิ่งของนำเข้า เอกสารรับรองสินค้าได้รับการรมควันซึ่งปราศจากแมลง เป็นต้น
5. กฎ ระเบียบการค้าต่างๆ
5.1 ข้อบังคับสำหรับการออกเครื่องหมายจากประเทศผู้ผลิตและหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin)
สินค้าผลิตนอกประเทศแคนาดาต้องมีประทับตราสินค้า “Made in (ชื่อประเทศ)” รายละเอียดเพิ่มเติม ค้นหาได้จาก http://www.cbsa-asfc.gc.ca/E/pub/cm/d11-3-3/d11-3-3-eng.html และผู้ส่งออกต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) จากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และจัดส่งเอกสารแก่ผู้นำเข้าปลายทางก่อนการนำส่งสินค้า
นอกจากนั้นสินค้านำเข้ามายังแคนาดาจากประเทศไทยจะได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีที่เรียกว่า Generally preferred tariff (GPT) ซึ่งเป็นอัตราภาษีที่ตำกว่าการนำเข้าจากประเทศที่พัฒนาแล้ว
5.2 ข้อบังคับด้านบรรจุภัณฑ์และการติดฉลากสินค้า
สินค้าที่จำหน่ายในประเทศแคนาดาจะต้องติดฉลากสินค้าบนผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคสามารถอ่านออกได้อย่างชัดเจน โดยมีข้อกำหนดด้านฉลากผลิตภัณฑ์ ดังนี้
- ชื่อ / ยี่ห้อผลิตภัณฑ์
- ปริมาณของผลิตภัณฑ์ (น้ำหนัก หรือ ปริมาณความจุ)
- ชื่อผู้จัดจำหน่ายสินค้า และที่อยู่
- ชื่อประเทศผู้ผลิตสินค้าที่มีข้อความ “Made in (ชื่อประเทศ) ” “Produced in (ชื่อประเทศ) ”ทั้งนี้ มณฑล Quebec มีข้อกำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการติดฉลากผลิตภัณฑ์และข้อมูลต่างๆ เป็นภาษาฝรั่งเศสบนผลิตภัณฑ์ทุกชนิดด้วย
5.3 ข้อบังคับด้านความปลอดภัย
ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในประเทศแคนาดาเน้นคุณภาพสูงและความคงทนถาวร เพื่อสามารถจัดส่งลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์ประเภทภายนอกสถานที่ (outdoor) ควรคำนึงถึงความคงทนต่ออุณหภูมิและสภาพอากาศแวดล้อม หรือ ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กต้องได้รับการรับองมาตรฐานความปลอดภัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ในประเทศแคนาดามี 3 หน่วยงานหลัก คือ
1. Canadian General Standards Board (CGSB) : เว็บไซต์
www.pwgsc.gc.ca/cgsb/home/index-e.html
2. Canadian Standard Association (CSA) : เว็บไซต์www.csa.ca/default.asp?language=english
3. Hazardous Products Act: เว็บไซต์Http://laws.justice.gc.ca/en/notice/index.html?redirect=%2Fen%2FH-3%2F
5.4 การสำแดงวัสดุสำหรับโครงไม้รองบรรทุกสินค้า (pallet) และหีบห่อสินค้า
ทางรัฐบาลประเทศแคนาดา วางกฎระเบียบสำหรับวัสดุที่ใช้บรรจุหีบห่อ โครงไม้รองบรรทุกสินค้า สินค้าที่ทำจากไม้ หรือ มีส่วนผสมของฟางหรือหญ้าแห้ง ต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคจำพวกสัตว์ แมลงต่างๆด้วยความร้อน การรมควันที่ต้องปราศจากแมลงหรือการใช้สารเคมีประเภทสารกันบูด เพื่อกำจัดแมลงต่างๆอย่างสิ้นเชิง ก่อนสินค้าส่งมายังประเทศแคนาดา โดยบรรจุภัณฑ์ประเภทลังไม้ต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานด้านกักกันพืชจากประเทศต้นทางยืนยันการผ่านการฆ่าเชื้อต่างๆ ก่อนการจัดส่ง
5.5 ภาษีศุลกากร
ประเทศไทยไม่มีข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศแคนาดา แต่ด้วยตามข้อตกลง WTO ว่าด้วยประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Developing Country) จึงมีข้อบังคับใช้อัตราภาษีที่ต่ำกว่าทั่วไปซึ่งเรียกว่า Generally preferred tariff (GPT) โดยอัตราภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าเครื่องประดับ / ของขวัญ และของใช้ตกแต่งบ้านคือร้อยละ 0 -10
5.6 ข้อตกลงการค้าภายใต้เขตการค้าเสรี (FTA) และระหว่างประเทศ
ประเทศไทยไม่มีข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศแคนาดาโดยตรง แต่ทางประเทศแคนดามีข้อตกลงการค้าว่าด้วยประเทศแคนาดาและกลุ่มประเทศอาเซียน (Canada-ASEAN Free trade Agreement)
6. ข้อแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ/ส่งออกไทย
- ผู้ประกอบการไทยควรจัดทำเว็บไซต์ที่สวยงาม แสดงข้อมูลรายละเอียดสินค้า พร้อมข้อมูล
การติดต่อที่ชัดเจน ซึ่งทำให้ผู้นำเข้าจากต่างประเทศสามารถค้นหาได้สะดวก และผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญในการตอบข้อสนเทศทางการค้าหรือติดต่อกลับลูกค้าภายในวันเดียวกันกับที่สอบถามข้อมูล เพื่อแสดงศักยภาพของผู้ประกอบการ
- ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าในประเทศแคนาดา ผู้ประกอบการไทยควรติดต่อผ่านผู้นำเข้าหรือตัวแทนจำหน่าย แทนการติดต่อโดยตรงกับร้านค้าปลีก เนื่องจากมีขั้นตอนการติดต่อกระทำที่ง่ายกว่า หรือหากผู้ประกอบการต้องการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆกับตลาด ทางตัวแทนจำหน่ายจะมีข้อมูลแนวโน้มตลาดของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถแนะนำผู้ประกอบการไทยถึงรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมในตลาดแคนาดา ทั้งนี้นครโตรอนโต ซึ่งป็นตลาดขนาดใหญ่ของแคนาดา จะเป็นตัวชี้วัดศักยภาพตลาดโดยรวมของประเทศได้
- ผู้ประกอบการไทยควรติดตามสถานการณ์การค้า แนวโน้มผลิตภัณฑ์สินค้าเครื่องประดับ / ของขวัญ และของใช้ตกแต่งบ้านในแคนาดา เพื่อทราบลักษณะ รูปแบบ สีสันผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่นิยมของตลาด ผู้ประกอบการสามารถติดตามข้อมูลได้ตามสื่อ สิ่งพิมพ์หรือนิตยสาร อาทิ
o Gift & Table ware
1450 Don Mills Rd., Don Mills, ON M3B 2X7
Tel: (416) 445-6641 Fax: (416) 442-2277
Website : www.gifts-and-tablewares.com
Email: bbishop@gifts-and-tablewares.com
o Canadian Home Style Magazine
Lorell Communication Inc.
777 Bay St., Suite 500, Toronto, ON M5W 1A7
Fax: (905) 338-5623 Email: info@homestylemag.ca
Website : www.homestylemag.ca
- ผู้ประกอบการไทยควรเข้าร่วมงานแสดงสินค้าต่างๆ ทำให้สามารถพบปะผู้นำเข้าชาวแคนาดา และควรมีการเยี่ยมเยียนผู้ประกอบการชาวแคนาดาเป็นบางครั้ง ผู้ประกอบการไทยควรมีตัวอย่างสินค้าและราคาสินค้าในการหารือทางธุรกิจทุกครั้ง
ทั้งนี้ ประเทศแคนาดามีงานแสดงสินค้าเครื่องประดับ/ของขวัญ และของใช้ตกแต่งบ้านต่างๆ โดยสามารถสอบถามข้อมูลได้จากสมาคมที่เกี่ยวข้อง อาทิ
o Canadian Gift & Tableware Association
42 Voyager Court South, Toronto, ON M9W 5MT
Tel: (416) 679-0170 หรือ (800) 611-6100 Fax: (416) 679-0175
Website: www.cgta.org Email: info@cgta.org
o Canadian Craft & Hobby Association
24-1410 40th Ave., NE, Calgary , AB T2E 6L1
Tel: (403) 291-0559 Fax: (403) 291-0675
Website: www.cdncraft.org Email: ccha@cadivision.com
- ข้อแนะนำสำหรับผู้ประกอบการไทยเพื่อแก้ปัญหาบ่อยครั้งสำหรับการดำเนินธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการชาวแคนาดาและผู้ประกอบการไทย (รวมทั้งผู้ประกอบการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
1) ผู้ประกอบการควรตอบข้อซักถาม หรือติดต่อกลับลูกค้าทันทีทันใด แม้ว่าทางผู้ประกอบการจะไม่มีผลิตภัณฑ์ตามที่ลูกค้าต้องการ หรือไม่สนใจในการค้านั้น ผู้ประกอบการไม่คววรละเลยการติดต่อกลับลูกค้าอย่างทันที
2) ผู้ประกอบการควรดำเนินการจัดส่งสินค้าให้สอดคล้องกับตัวอย่างผลิตภัณฑ์ และตรงกับวันนัดหมายจัดส่ง หากเกิดการล่าช้าประการใด ผู้ประกอบการควรแจ้งให้ลูกค้าทราบอย่างเร่งด่วน
3) ผู้ประกอบควรติดตั้งเครื่องโทรสาร (FAX) เปิดตลอดเวลา (โดยเฉพาะกลางคืน) เนื่องด้วยช่วงเวลาที่แตกต่างระหว่างประเทศไทยเร็วกว่าประเทศแคนาดา 14-15 ชั่วโมง ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการทั้งสองฝ่ายขาดการติดต่อธุรกิจได้
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์
ที่มา: http://www.depthai.go.th