ภาวะตลาดสินค้าพืชผักสดในไต้หวัน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 11, 2008 11:47 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาวะตลาดทั่วไป
ไต้หวันเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความก้าวหน้าในด้านการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ไต้หวันสามารถผลิตผัก
และผลไม้ได้เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม จากการที่ไต้หวันหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคทำให้
ความสำคัญของสินค้าเกษตรในไต้หวันค่อยๆ ลดลง โดยส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก จาก
สถิติของสภาเกษตรไต้หวัน (Council of Agricultural) พื้นที่เพาะปลูกพืชผักของไต้หวันมากที่สุดในปี 2529
ด้วยพื้นที่กว่า 240,000 เฮกตราร์ ซึ่งลดเหลือเพียง 157,183 เฮกตราร์ในปี 2549 (1 เฮกตราร์เท่ากับ 10,000 ตรม.)
ให้ผลผลิตรวม 2.88 ล้านเมตริกตัน คิดเป็นมูลค่าตลาดโดยรวมประมาณ 36,700 ล้านเหรียญไต้หวัน (1 เหรียญไต้หวัน
เท่ากับประมาณ 1.03 บาท) รายละเอียดเพิ่มเติมปรากฏตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 สถิติการปลูกพืชผักที่สำคัญของไต้หวันในปี 2549
ประเภท พื้นที่เพาะปลูก (ha) ผลผลิต (Kg.) / ha ผลผลิต (m.t.)
Total 157,183 18,309 2,877,990
Bamboo Shoot 27,949 11,382 313,356
Garlic Bulbs 5,379 8,151 43,843
Scallion 4,715 21,773 102,577
Chinese Cabbage 3,960 33,606 132,830
Radishes 3,392 34,785 116,416
Cucumbers 2,791 18,985 52,946
Onion 1,013 47,429 48,050
Asparagus 875 8,066 4,413
Source: Taiwan Agricultural Yearbook 2006
2. การส่งออก
ในปี 2550 ที่ผ่านมาไต้หวันส่งออกสินค้าพืชผัก (HS-Code: 07) รวมทั้งสิ้นคิดเป็นมูลค่า 60.62 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.06 จากปี 2549 คิดเป็นปริมาณ 42,335.02 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 14.30 โดย
ไต้หวันส่งออกไปยังญี่ปุ่นมากที่สุดด้วยมูลค่า 47.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ลดลงร้อยละ 16.64) ปริมาณ 29,382.48 ตัน
(ลดลงร้อยละ 20.54) รองลงมาได้แก่สหรัฐฯ (มูลค่า 4,573.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 ปริมาณ
3,395.02 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.12)
โดยสินค้าพืชผักส่วนใหญ่ที่ไต้หวันส่งออกได้แก่ถั่วแระ (มูลค่า 37.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ
11.72 ปริมาณ 22,593.62 เมตริกตัน ลดลงร้อยละ 9.35)
3. การนำเข้า
ในปี 2550 ไต้หวันนำเข้าสินค้าพืชผักมูลค่ารวม 156.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.48 จากปี
2549 โดยแหล่งนำเข้าสำคัญของไต้หวันได้แก่ สหรัฐฯ (มูลค่า 37.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.10) จีน
แผ่นดินใหญ่ (มูลค่า 31.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.97) ไทย (มูลค่า 24.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.49) ญี่ปุ่น (มูลค่า 13.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.26) และเวียตนาม (มูลค่า 12.62
ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.83)
สำหรับสินค้าผักสดสำคัญที่ไต้หวันนำเข้าจากต่างประเทศปรากฏดังนี้
3.1 Cauliflowers & Broccoli (Hs-Code: 070410)
มูลค่านำเข้ารวมในปี 2550 เท่ากับ 11.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.56จากปีก่อนหน้า โดย
ไต้หวันนำเข้าจากสหรัฐฯ มากที่สุดคิดเป็นมูลค่า 11.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.25 รองลงมาได้แก่เวียตนาม
ด้วยมูลค่า 108.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ไม่สามารถวัดอัตราเติบโตได้เนื่องจากไม่มีการนำเข้าในปีก่อนหน้า) ออสเตรเลีย
(มูลค่า 0.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 46.88) ไทย (มูลค่า 0.013 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 15.4)
3.2 Asparagus (Hs-Code: 070920)
มูลค่านำเข้ารวมในปี 2550 เท่ากับ 11.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.11 จากปี 2549 โดย
ไต้หวันนำเข้าจากไทยมากที่สุดคิดเป็นมูลค่า 10.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.16 ถัดมาได้แก่สหรัฐฯ (มูลค่า
0.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 15.26) และออสเตรเลีย (มูลค่า 0.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 33.89)
ตามลำดับ
3.3 Other Cabbages Etc. (Hs-Code: 070490)
มูลค่านำเข้ารวมในปี 2550 เท่ากับ 10.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.37 จากปี 2549 โดย
ไต้หวันนำเข้าจากเวียตนามมากที่สุดคิดเป็นมูลค่า 5.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.35 ถัดมาได้แก่อินโดนีเซีย
(มูลค่า 3.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 118.51) ญี่ปุ่น (มูลค่า 0.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 868.33)
และเกาหลีใต้ (มูลค่า 0.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.29)
3.4 Onion (Hs-Code: 070310)
มูลค่านำเข้ารวมในปี 2550 เท่ากับ 10.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.08จากปีก่อนหน้า โดย
เป็นการนำเข้าจากสหรัฐฯ มากที่สุดคิดเป็นมูลค่า 6.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.84 ถัดมาได้แก่ นิวซีแลนด์
(มูลค่า 1.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.38) เวียตนาม (มูลค่า 0.69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
46.48) ญี่ปุ่น (มูลค่า 0.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,142.53) และอินโดนีเซีย (มูลค่า 0.43 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.33)
3.5 Garlic (Hs-Code: 070320)
มูลค่านำเข้ารวมในปี 2550 เท่ากับ 5.07 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.57จากปีก่อนหน้า โดย
เป็นการนำเข้าจากอาร์เจนติน่ามากที่สุดคิดเป็นมูลค่า 4.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.75 ถัดมาได้แก่
มาเลเซีย(มูลค่า 0.059 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.48) สหรัฐฯ (มูลค่า 0.039 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง
ร้อยละ 82.88) และเวียตนาม (มูลค่า 0.024 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไม่มีการนำเข้าจากปีก่อนหน้า)
4. การนำเข้าจากประเทศไทย
สินค้าผักสดที่ไต้หวันนำเข้าจากไทยมากที่สุดในปี 2550 ได้แก่ Asparagus (Hs-Code: 070920) ด้วย
มูลค่า 10.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.20 จากปีก่อนหน้า คิดเป็นปริมาณ 26,472.66 เมตริกตัน เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 207.11 โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้มูลค่าการนำเข้าลดลงในขณะที่ปริมาณการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นคือราคาสินค้าที่ถูกลง
โดยราคานำเข้าเฉลี่ยในปี 2550 เท่ากับประมาณ 0.4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อกิโลกรัม ลดลงร้อยละ 73.15 รองลงมาได้แก่
Other fresh vegetables (Hs-Code: 070990) มูลค่า 1.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.64 คิดเป็น
ปริมาณ 994.85 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 รายละเอียดเพิ่มเติมตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 : สถิติการนำเข้าสินค้าผักสดชนิดต่างๆ ของไต้หวันจากไทย
Unit: MT / US$ Million
ประเภท HS-Code 2548 2549 +/-(%) 2550 +/-(%)
ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า
1. หน่อไม้ฝรั่ง 70920 8502.87 12.44 8619.95 12.84 1.38 3.22 26472.66 10.50 207.11 -18.20
2. ผักสดอื่นๆ 70990 1610.47 1.83 971.55 1.39 -39.67 -24.00 994.85 1.45 2.40 3.64
3. ถั่วลันเตา 70810 1679.00 1.22 2277.05 1.64 35.62 34.40 1287.33 1.00 -43.50 -38.66
4. เห็ดหูหนู 71232 381.39 0.49 416.03 0.57 9.08 16.30 590.28 0.82 41.88 44.22
5. ผักกาดแก้ว 70511 0.00 0.00 0.00 0.00 - - 167.60 0.21 - -
6. กระหล่ำชนิดอื่น 70490 423.64 0.18 1325.45 0.37 200.13 105.55 708.44 0.16 -46.55 -56.97
ที่มา: กรมศุลกากรไต้หวัน
4.1 ระเบียบการนำเข้า
อัตราภาษีนำเข้า (HS-Code: 07) ร้อยละ 0-30 (สินค้ากระเทียมสดเรียกเก็บในอัตรา 27 เหรียญ
ไต้หวันต่อกิโลกรัม) โดยต้องแนบหนังสือรับรองสุขอนามัยพืช (Phytosanitary Certificate) หนังสือรับรองแหล่ง
กำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) และห้ามการนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่จากจีนแผ่นดินใหญ่
สำหรับในส่วนของระเบียบการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไต้หวันนั้น ระบุไว้ว่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม
2552 เป็นต้นไป สินค้านำเข้าที่ระบุว่าเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ ต้องผ่านการรับรองตราสินค้าอินทรีย์ของประเทศต้นทาง
โดยสภาเกษตรไต้หวันก่อน จึงจะอนุญาตใช้ตราสินค้าอินทรีย์ได้ ซึ่งในชั้นนี้ สภาเกษตรกำลังอยู่ระหว่างการตรวจรับรอง
ตราสินค้าอินทรีย์ของประเทศต่างๆ และหากฝ่ายไทยมีความประสงค์จะขอให้ไต้หวันรับรอง สามารถยื่นขอได้ทันที
5. ช่องทางการจำหน่าย
ไต้หวันมีตลาดค้าส่งสำคัญสำหรับสินค้าพืชผักทั่วประเทศ 6 แห่งคือตลาดไทเป 1 และ 2 (ภาคเหนือ)
ตลาดซีหลัวเมืองยวินหลินและตลาดซีหูเมืองจางฮว่า(ภาคกลาง) ตลาดเมืองเกาสงและตลาดเมืองผิงตง (ภาคใต้)
ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ทั้งที่ผลิตจากในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศจะถูกนำมาประมูลในตลาดค้าส่งก่อนจะเปลี่ยนมือ
มาสู่ผู้ค้าปลีกต่อไป โดยจากสถิติการประมูลสินค้าในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2551 ที่ผ่านมาในตลาดค้าส่งทั้ง 6 แห่ง
ปรากฏตามตารางที่ 2 และสถิติการประมูลขายสินค้าพืชผักรายสำคัญในตลาดค้าส่งของไต้หวันปรากฏตามตารางที่ 3
ตารางที่ 2 สถิติการประมูลสินค้าของตลาดค้าส่งพืชผักที่สำคัญของไต้หวันในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2551
ตลาด ปริมาณสินค้า มูลค่าซื้อขาย เพิ่ม/ลด (%)* ราคาเฉลี่ย
เมตริกตัน สัดส่วน Million NT$ สัดส่วน ปริมาณ มูลค่า NT/Kg
1. ไทเป 1 60,283.20 32.29% 1,067.01 39.82% 5.16 1.16 17.7
2. ซีหลัว 48,316.35 25.88% 618.45 16.75% 6.32 3.10 12.8
3. ไทเป 2 18,763.23 10.05% 298.34 9.70% 12.77 11.37 15.9
4. ซีหู 11,914.84 6.38% 126.30 16.92% 1.20 -25.51 10.6
5. เกาสง 11,581.97 6.20% 209.63 16.81% 9.94 1.01 18.1
6. ผิงตง 10,428.03 5.59% 153.29 5.59% 2.95 0.89 14.7
อื่นๆ 25,406.52 13.61% 271.38 9.89% 3.24 -4.29 10.7
รวม 176,460.82 100% 2,744.40 100% 5.80 0.34 14.7
* เที่ยบกับช่วงเดียวกันของปี 2550
ที่มา : Agriculture and Food Agency, Council of Agricultural, R.O.C. (Taiwan)
ตารางที่ 3 สถิติการประมูลสินค้าของตลาดค้าส่งพืชผักที่สำคัญของไต้หวันในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2551
สินค้า ปริมาณ (Kg.) ราคา (NT$/Kg) เพิ่ม/ลด (%)
2551* 2550* 2551* 2550* ปริมาณ ราคา
Cucumber (S) 2,279,413 2,892,630 31.7 18.3 -21.20 73.34
Cucumber (L) 2,281,838 2,918,713 15.3 14.2 -21.82 7.77
Celery 3,629,767 3,123,490 17.7 22.2 16.21 -20.41
Head Lettuce 4,475,929 5,213,244 14.4 11.9 -14.14 21.13
Asparagus 364,728 225,105 74.5 93.3 62.03 -20.17
Onion 3,159,880 2,719,481 14.5 16.2 16.19 -11.04
Garlic 3,460,424 3,096,395 44.6 42.3 11.76 5.32
Pea 2,149,686 1,720,309 37.0 54.3 24.96 -31.79
ที่มา : Agriculture and Food Agency, Council of Agricultural, R.O.C. (Taiwan)
* ข้อมูลเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
6. การตลาด
เนื่องจากการเพาะปลูกในไต้หวันส่วนใหญ่เพื่อการบริโภคภายในประเทศ ดังนั้นการนำเข้าส่วนใหญ่จะ
เป็นในช่วงที่สินค้าภายในประเทศไม่พอเพียง เช่นนอกฤดูการผลิตและ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกลางฤดูร้อน-ต้น
ฤดูใบไม้ร่วง (กรกฎาคม-กันยายน) ของทุกปีที่มีพายุไต้ฝุ่นพัดผ่านเกาะไต้หวัน และมักจะสร้างความเสียหายให้แก่
เรือกสวนไร่นาเป็นอย่างมาก ทำให้มีการนำเข้าสินค้าเข้ามาเป็นจำนวนมาก เช่นในปี 2550 ที่ผ่านมา พายุไต้ฝุ่น
โครซาพัดกระหน่ำเกาะไต้หวันในช่วงวันที่ 5-7 ตุลาคม 2550 ส่งผลให้ผลิตผลด้านการเกษตรทั่วเกาะไต้หวันได้รับ
ความเสียหาย จนราคาผักชีพุ่งสูงขึ้นถึงประมาณกิโลกรัมละ 600 เหรียญไต้หวันทำให้ต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ
มาทดแทน
อย่างไรก็ดี ในส่วนของสินค้าจากไทยนั้น ด้วยปัญหาด้านการตรวจกักกันโรคพืชและสารตกค้างทำให้ยัง
คงไม่สามารถนำเข้าสินค้าพืชผักหลายชนิดเช่น มะเขือ พริก ถั่วฝักยาว และผักชีจากไทยได้ ซึ่งหน่วยตรวจกักกันโรคพืช
และสัตว์ของไต้หวันค่อนข้างจะเข้มงวดในการตรวจกักกันโรคเป็นอย่างมาก ผู้ส่งออกไทยจึงควรให้ความระมัดระวังใน
การ Process เพื่อบรรจุ นอกจากนี้การใช้ยาฆ่าแมลงในปริมาณมากเกินไปก็อาจสร้างปัญหาในการนำเข้าได้ เพราะ
จะไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติจนกลายเป็นสารตกค้าง โดยรายชื่อสินค้าพืชผักจากไทยที่ประสบปัญหามาตรการ
ทางภาษีและไม่ใช่ภาษีปรากฏดังแนบ
6.1 สินค้ากระเทียมสด
ในช่วงประมาณกลางเดือนมีนาคม-เมษายนของทุกปีจะเป็นช่วงที่ไต้หวันมีผลผลิตมากที่สุด ส่งให้ระดับราคา
ต่ำที่สุดในรอบปี แต่ทั้งนี้สินค้าจากไทยมีปัญหาในด้านการรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ซึ่งก่อนหน้ามีผู้ประกอบการหลายราย
ลักลอบส่งออกกระเทียมที่ปลูกในประเทศจีนจากไทยมาไต้หวัน ทำให้ศุลกากรไต้หวันมักจะเข้าใจว่ากระเทียมพันธุ์จีนที่
ส่งออกจากไทยเป็นสินค้าจีน ผู้ส่งออกที่ประสงค์จะส่งสินค้าเข้าตลาดไต้หวันต้องให้ความระมัดระวังในการเลือกซื้อสินค้า
โดยนอกจากหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าแล้วอาจต้องมีหลักฐานอื่นเพิ่มเติม เช่น ภาพถ่ายไร่กระเทียมที่ปลูก วิธีการ
มัดหรือบรรจุกระเทียมที่ไม่เหมือนกระเทียมจีน และอื่นๆ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ศุลกากรไต้หวันว่าเป็นกระเทียมที่มี
แหล่งกำเนิดในประเทศไทยจริง
6.2 สินค้าหอมหัวใหญ่
ในส่วนของสินค้าหอมหัวใหญ่ ช่วงที่ผลผลิตในไต้หวันมากจะได้แก่ช่วง 4 เดือนแรกของปี (มกราคม-เมษายน)
โดยขนาดหัวหอมที่ซื้อขายในตลาดไต้หวันนั้น โดยเฉลี่ยจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 ซม. ขึ้นไป สำหรับในส่วนของ
การนำเข้า เนื่องจากในปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากเกินความต้องการในประเทศและทำการ
จำหน่ายสินค้าในราคาถูกมายังไต้หวันทำให้การนำเข้าจากญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 1,142.53 (ราคาประมาณ 5.5
เหรียญสหรัฐฯ ต่อ 20 กก.)
6.3 สินค้าหน่อไม้ฝรั่ง
ไทยถือเป็นแหล่งนำเข้าอันดับหนึ่งของไต้หวันด้วยสัดส่วนร้อยละ 57.92 โดยในปีที่ผ่านมาราคาสินค้าลดลง
ค่อนข้างมาก เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจในไต้หวันที่มีปัญหาเงินเฟ้อ ทำให้ผู้บริโภคลดการซื้อหน่อไม้ฝรั่งที่ไม่ใช่พืชผัก
จำเป็นในชีวิตประจำวัน จึงต้องทำการปรับราคาลง สำหรับในปีนี้ ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงค่อนข้างชะลอตัว จึงอาจ
ส่งผลให้การนำเข้าในช่วงครึ่งปีแรกยังคงทรงตัว โดยหากภาวะเศรษฐกิจคึกคักมากขึ้นภายหลังจากที่รัฐบาลใหม่เข้ารับ
ตำแหน่งในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม อาจส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น
7. ข้อเสนอแนะ
การที่ไต้หวันยังคงห้ามการนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่จากจีน ทำให้ผู้ส่งออกไทยสามารถทำตลาดไต้หวันได้ง่าย
กว่าประเทศอื่น แต่ทั้งนี้ปัจจัยด้านราคาก็ยังคงมีความสำคัญ ดังนั้น ผู้ส่งออกควรหันมาพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์
ของตน และควรร่วมมือกันในการให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าเกรดดีคุณภาพสูง มากกว่าการผลิตสินค้าคุณภาพต่ำราคา
ถูกจำนวนมากๆ เพราะสามารถขายได้ราคาดีกว่า และถือเป็นการควบคุมปริมาณสินค้าไปในตัว และจากการที่แนวคิด
เกี่ยวกับการรับประทานเพื่อสุขภาพ (Wellness) รวมไปจนถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ
ผู้ประกอบการจึงควรให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตที่เป็น Eco Friendly หรือการทำเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น
เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถถือเป็นจุดขายในตลาดประเทศพัฒนาแล้วได้เป็นอย่างดี
8. รายชื่อผู้นำเข้า
รายชื่อผู้นำเข้าสินค้าพืชผักที่สำคัญและผู้จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์รายสำคัญปรากฏตามเอกสารแนบ
9. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- Bureau of Animal and Plant Health Inspections and Quarantines (BAPHIQ)
http://www.baphiq.gov.tw
- Council of Agriculture (COA) http://www.coa.gov.tw
- Board of Foreign Trade (BOFT) http://www.trade.gov.tw
- Department of Health (DOH) http://www.doh.gov.tw
9. แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
- Taipei Agricultural Products Marketing Co.,Ltd. http://www.tapmc.com.tw
- Taiwan External Trade Development Council (TAITRA) http://www.taiwantrade.com.tw
10. งานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้อง
- Taipei International Food Show 2008 http://www.taipeifood.com.tw June 18-21, 2008
- Asia Organic & LOHAS Expo 2008 http://www.lohas-city.com/ Oct 24-26, 2008
ข้อมูลจาก : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศฯ
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ