ภาวะตลาดสินค้าคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนในไต้หวัน

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 11, 2008 12:01 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาวะตลาดทั่วไป
ไต้หวันเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างยิ่ง จนทำให้ไต้หวันกลาย
เป็นผู้คิดค้น ผู้ผลิต และผู้ส่งออกสินค้าคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนรายใหญ่ของโลก โดยมีมูลค่าการตลาดในปี 2549
ประมาณ 89,656 ล้านเหรียญสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม จากการที่ Product Life Cycle1 ของสินค้าเหล่านี้อยู่ในช่วงที่ค่อนข้างอิ่มตัวแล้ว
ทำให้ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับภาวะแข่งขันด้านราคาที่ค่อนข้างสูง จนทำให้ Unit Price ของสินค้ามีแนวโน้ม
ลดลง ดังนั้นการลดต้นทุนในการประกอบการจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการย้ายฐานการผลิตจากไต้หวัน
ไปยังประเทศที่ต้นทุนถูกกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนแผ่นดินใหญ่ ตามกลยุทธ์ที่ว่า “ไต้หวันรับออร์เดอร์ ผลิตใน
โรงงานที่อยู่ต่างประเทศ” เนื่องจากผู้ประกอบการไต้หวันส่วนใหญ่มีความคล่องตัวทางการตลาดสูง อันจะเห็นได้
ชัดจากสัดส่วนการผลิตสินค้า ICT ในไต้หวันที่ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 4 ของปริมาณสินค้าทั้งหมด ในขณะที่สัดส่วน
สินค้าที่ผลิตในจีนแผ่นดินใหญ่ เพิ่มเป็นร้อยละ 85.6
โดยนับตั้งแต่ปี 2544 ที่ Mr. Stan Shih ประธานกลุ่มบริษัท ACER ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ยักษ์ใหญ่ของ
ไต้หวันและรายใหญ่ของโลก ได้หยิบยกทฤษฎี Smile Curve2 ของตนมาแนะนำต่อสาธารณชนเป็นต้นมา ถือเป็น
การจุดประกายให้ผู้ประกอบการในไต้หวันหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาและประดิษฐ์คิดค้น รวมไปจนถึงการทำ
Brand Marketing มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ในระยะหลังนี้ ผู้ประกอบการไต้หวันส่วนใหญ่ได้พากันปรับเปลี่ยนตัวเอง
จากการเป็นผู้ผลิต OEMs ที่รับผลิตอย่างเดียวไปสู่การเป็น ODMs ที่เพิ่มการค้นคว้าวิจัยและออกแบบควบคู่ไปด้วย
หรือกลายมาเป็น OBMs ที่ทำแบรนด์ของตัวเองควบคู่กันไป ดังที่เราเห็นผลิตภัณฑ์แบรนด์ไต้หวันออกสู่ตลาดอย่าง
มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสินค้า ICT
ตารางที่ 1 มูลค่าตลาดสินค้าคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และชิ้นส่วนของไต้หวัน
Unit : US$ Million
ปี 2002 2003 2004 2005 2006 2007e 2008f 2009f 2010 f 2011 f
มูลค่า 48,435 57,171 69,664 80,980 89,656 103,682 116,519 131,796 143,807 144,768
เพิ่ม/ลด 13.30% 18.00% 21.90% 16.20% 10.70% 15.60% 12.40% 13.10% 9.10% 8.40%
ที่มา Market Intelligence Center (MIC), Institute for Information Industry (III)
จากการสำรวจมูลค่าตราสินค้าของผู้ประกอบการไต้หวันในปี 2550 โดย Taiwan External
Trade Development Council (TAITRA) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงกำไรของรัฐบาลไต้หวันที่มีหน้าที่ในการ
ส่งเสริมการค้าต่างประเทศ พบว่ามูลค่าตราสินค้าของผู้ประกอบการไต้หวัน 20 อันดับแรกรวมกันคิดเป็นมูลค่า
8,444 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 33 โดยที่ตราสินค้าของไต้หวันที่มีมูลค่ามากกว่า 1,000
ล้านเหรียญสหรัฐฯ มี 4 รายได้แก่
1) ASUS (สินค้าคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน) มูลค่า 1,196 ล้านเหรียญสหรัฐ
2) TRENDMICRO (สินค้าโปรแกรม Anti-Virus) มูลค่า 1,142 ล้านเหรียญสหรัฐ
3) ACER (สินค้าคอมพิวเตอร์) มูลค่า 1,069 ล้านเหรียญสหรัฐ
4) HTC (สินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ PDA Phone) มูลค่า 1,035 ล้านเหรียญสหรัฐ
2. การผลิต
ไต้หวันเป็นผู้ผลิตสินค้า Notebook Computer อันดับหนึ่งของโลก จากสถิติในปี 2549 ไต้หวันผลิตได้
สูงถึง 6,346 เครื่อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.5 จากปีก่อนหน้า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 86 ของปริมาณ Notebook Computer
ที่ผลิตจากทั่วโลก โดยมีมูลค่าการผลิตประมาณ 36,940 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.9 จากปี 2548 ราย
ละเอียดเพิ่มเติมปรากฏดังตารางที่ 2 โดยผู้ผลิตรายสำคัญของไต้หวันได้แก่ Quanta, Compal, Wistron, Inventec,
ASUS, ECS, Foxconn และ Mitac เป็นต้น
ตารางที่ 2 ปริมาณและมูลค่าการผลิต Notebook Computer ของไต้หวัน
Unit : 1,000 pcs./US$ Million
ปี 2001 2002 2003 2004 2005 2006
ปริมาณ 14,161 18,380 25,238 33,406 49,007 63,459
เพิ่ม/ลด 11.40% 29.80% 37.30% 32.40% 46.70% 29.50%
มูลค่า 12,239 13,877 16,809 21,831 30,301 36,940
เพิ่ม/ลด -9.70% 13.40% 21.10% 29.90% 38.70% 21.90%
ที่มา Market Intelligence Center (MIC), Institute for Information Industry (III)
นอกจาก Notebook Computer แล้ว ไต้หวันยังเป็นผู้ผลิต Motherboard3 อันดับหนึ่งของโลกด้วย โดย
ในปี 2549 ไต้หวันสามารถผลิตได้ประมาณ 149 ล้านแผ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากปีก่อนหน้า โดยมีมูลค่าการผลิตประมาณ
7,758 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.1 จากปี 2548 สำหรับผู้ผลิต Motherboard รายสำคัญของไต้หวันได้แก่
ASUS, Foxconn, ECS, Microstar, Gigabyte, Mitac, USI, FIC และ Liteon เป็นต้น
ตารางที่ 3 ปริมาณการผลิต Motherboard ของไต้หวัน
Unit : 1,000 pcs./US$ Million
ปี 2001 2002 2003 2004 2005 2006
ปริมาณ 94,697 101,705 121,640 137,450 146,596 148,846
เพิ่ม/ลด -4.50% 7.40% 19.60% 13.00% 6.70% 1.50%
มูลค่า 7,053 6,912 7,818 7,918 8,091 7,758
เพิ่ม/ลด -0.50% -0.20% 13.10% 1.30% 2.20% -4.10%
ที่มา Market Intelligence Center (MIC), Institute for Information Industry (III)
ในส่วนของ Desktop Computer นั้น ในปี 2549 ไต้หวันสามารถผลิตได้ประมาณ 41 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น
จากปีก่อนหน้าร้อยละ 6.4 โดยมีมูลค่าการผลิตประมาณ 9,276 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.5 จากปี 2548
จากการที่มูลค่าการผลิตลดลงในขณะที่ปริมาณการผลิตเพิ่มสูงขึ้นแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งถึงการแข่งขันด้านราคาในสินค้า
ประเภทนี้ที่มีค่อนข้างสูง สำหรับผู้ผลิตรายสำคัญได้แก่ Foxconn, ASUS, Mitac, Liteon, ECS, FIC, MSI,
Wistron และ USI เป็นต้น
ตารางที่ 4 ปริมาณการผลิต Desktop Computer ของไต้หวัน
Unit : 1,000 pcs./US$ Million
ปี 2001 2002 2003 2004 2005 2006
ปริมาณ 25,405 24,959 29,673 34,651 38,849 41,342
เพิ่ม/ลด -8.20% -1.80% 18.90% 16.80% 12.10% 6.40%
มูลค่า 6,866 6,973 8,307 9,404 10,080 9,276
เพิ่ม/ลด -11.90% 1.60% 19.10% 13.20% 7.20% -3.50%
ที่มา Market Intelligence Center (MIC), Institute for Information Industry (III)
3. การส่งออก
ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2551 ไต้หวันส่งออกสินค้าคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน (HS-Code: 8471)
เป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 694.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.29 จากช่วงเดียวกันของปี 2550 โดยไต้หวัน
ส่งออกไปยังสหรัฐฯ มากที่สุดด้วยมูลค่า 198.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.68) รองลงมาได้แก่ญี่ปุ่น
(มูลค่า 65.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.61) สหราชอาณาจักร (มูลค่า 54.47 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.15) โดยไทยเป็นตลาดส่งออกลำดับที่ 14 ของไต้หวันด้วยมูลค่า 8.72 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 84.64
4. การนำเข้า
ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2551 ไต้หวันนำเข้าสินค้าคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนคิดเป็นมูลค่ารวม 595.67
ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.67 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยแหล่งนำเข้าสำคัญของไต้หวัน 5 อันดับ
แรกได้แก่ จีน (มูลค่า 341.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.24) ไทย (มูลค่า 73.37 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.44) มาเลเซีย (มูลค่า 43.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.28) สิงคโปร์ (มูลค่า
32.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.69) และสหรัฐฯ (มูลค่า 27.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.15)
ตารางที่ 5 สถิติการนำเข้าสินค้า Storage Units (HS-Code: 847170) ของไต้หวัน
Value: US$ Million
No. Country 2006 Ratio 2007 Ratio Growth 2007* Ratio 2008* Ratio Growth
Value (%) Value (%) (%) Value (%) Value (%) (%)
1 China 341.14 31.29 373.09 40.26 9.36 76.68 37.39 90.74 36.37 18.33
2 Thailand 387.84 35.57 254.76 27.49 -34.31 57.91 28.24 71.06 28.48 22.71
3 Malaysia 35.26 3.23 55.1 5.95 56.26 7.46 3.64 24.54 9.84 228.96
4 Philippines 74.13 6.8 43.43 4.69 -41.42 11.95 5.83 16.19 6.49 35.48
5 USA 59.29 5.44 49.15 5.3 -17.11 10.69 5.21 13.8 5.53 29.13
6 Singapore 82.15 7.54 51.97 5.61 -36.74 14.1 6.88 12.19 4.89 -13.52
7 S.Korea 18.65 1.71 14.31 1.54 -23.3 4.54 2.21 4.97 1.99 9.43
8 Japan 22.35 2.05 27.29 2.94 22.07 4.86 2.37 3.99 1.6 -17.85
9 Mexico 4.00 0.37 6.16 0.66 53.85 1.01 0.49 3.22 1.29 217.24
10 Indonesia 26.08 2.39 14.52 1.57 -44.33 3.94 1.92 2.35 0.94 -40.41
Other 39.32 3.61 37.00 3.99 -5.9 11.92 5.81 6.46 2.59 -45.81
Total 1,090.21 926.78 -14.99 205.06 249.51 21.68
Source: Directorate General of Customs, Ministry of Finance, R.O.C.
* Data from Jan to Mar
การนำเข้าจากประเทศไทย
สำหรับสินค้าในประเภทนี้ที่ไต้หวันนำเข้าจากไทยมากที่สุดคือ Storage units (HS-Code: 847170)
โดยผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ของไทยในสินค้าประเภทนี้คือ Seagate และ W.D.ซึ่งในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2551
มีมูลค่านำเข้ารวม 249.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.68 โดยไต้หวันนำเข้าจากจีนมากที่สุดคิดเป็นมูลค่า
90.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.33 รองลงมาได้แก่ไทย (มูลค่า 71.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ
22.71) และมาเลเซีย (มูลค่า 24.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 228.96) รายละเอียดเพิ่มเติมปรากฏ
ตามตารางที่ 5
5. ระเบียบการนำเข้า
อัตราภาษีนำเข้า (HS-Code: 8471) ร้อยละ 0
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ร้อยละ 5
6. การตลาด
เนื่องจากไต้หวันเป็นผู้ส่งออกสินค้า ICT รายใหญ่ของโลก ดังนั้นภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ของสหรัฐฯ จึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการนำเข้าส่งออกสินค้าประเภทนี้ และจากวิกฤตสินเชื่อ Sub-Prime ของ
สหรัฐฯที่ทำให้การบริโภคหดตัวแทบทั่วโลก ส่งผลให้ในช่วงปี 2550 มูลค่าการส่งออกสินค้าคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนของ
ไต้หวันลดลงร้อยละ 19.71 โดยมีมูลค่าส่งออก 2,866.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยที่มูลค่าส่งออกลดลงทั้งในตลาดยุโรป
จีน และญี่ปุ่น และหากพิจารณาเฉพาะการส่งออกสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค (HS-Code: 847130) เพียงรายการ
เดียวมาใช้เป็นดัชนี ก็จะพบว่ามูลค่าส่งออกในปี 2550 ลดลงสูงถึงร้อยละ 47.26 ด้วยมูลค่า 650.11 ล้านเหรียญสหรัฐ
ซึ่งส่งผลให้การนำเข้าชิ้นส่วนที่ต้องใช้ลดลงตามไปด้วย โดยเฉพาะในส่วนของ Hard-Drive ที่นำเข้าจากจีนและไทยเป็น
ส่วนใหญ่ (สัดส่วนนำเข้าร้อยละ 40.26 และ 27.49 ในปี 2550 มูลค่า 373.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 254.76 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ) โดยที่ผลความซบเซาต่อเนื่องมาจนถึงช่วงต้นของไตรมาสแรกในปี 2551 ด้วย จนทำให้ผลประกอบ
การของบริษัทในกลุ่ม ICT ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2551 ออกมาไม่ดีนัก
แต่จากการที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เผชิญกับภาวะถดถอยอย่างรุนแรงนั้น น่า
จะถึงจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ประกอบการที่ค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นในระยะหลัง อีกทั้ง
ช่วง 2 ไตรมาสหลังของปีถือเป็นช่วง High-season ของสินค้าประเภทนี้ จึงคาดการณ์กันว่าตลาดสินค้า ICT ทั่วโลกน่า
จะเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้งในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสแรกของปีหน้า ดังจะเห็นได้จากมูลค่า
การส่งออกสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2551 ของไต้หวัน ที่แม้มูลค่ารวมจะยังลดลงจาก
ปีก่อนหน้าร้อยละ 38.08 ด้วยมูลค่า 99.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หากแต่การส่งออกไปยังสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรที่
กลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.89 และ 39.48 (มูลค่า 30.27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 13.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)ตามลำดับนั้น
น่าจะถือเป็นดัชนี้ที่บ่งชี้การ re-bound ของตลาดสินค้า ICT ได้เป็นอย่างดี เห็นได้ชัดว่ามูลค่าการนำเข้ารวมของสินค้า
Storage Units ของไต้หวันในช่วง 3 เดือนแรกก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.68 (มูลค่า 249.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
โดยที่การนำเข้าจากจีนและไทยก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน (มูลค่า 90.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.33 และมูลค่า
71.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.71 ตามลำดับ) ดังนั้นคาดว่าในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ของปี 2551 ผู้ประกอบ
การไต้หวันจะเพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งจะมีส่วนทำให้มูลค่านำเข้าสินค้าคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนจากไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่อง
8. รายชื่อผู้นำเข้า
รายชื่อผู้นำเข้าสินค้าคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนรายสำคัญปรากฏตามเอกสารแนบ
9. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- Board of Foreign Trade (BOFT) http://www.trade.gov.tw
9. แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
- Taiwan External Trade Development Council (TAITRA) http://www.taiwantrade.com.tw
- Institute for Information Industry (III) http://www.iii.org.tw
- Market Intelligence Center (MIC) http://mic.iii.org.tw
10. งานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้อง
- COMPUTEX Taipei 2008 http://www.taipeitradeshows.com.tw June 03-07, 2008
- Taipei Computer Application Show 2008 http://www.taipeitradeshows.com.tw
Jul 31- Aug 04, 2008
ข้อมูลจาก: สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศฯ
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ