1. ภาพรวม
เยอรมนีเป็นประเทศหนึ่ง ที่มีชื่อเสียงในด้านการผลิตสินค้าเครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์และเวชภัณฑ์ที่สำคัญในลำดับต้นๆ อย่างไรก็ตาม สินค้าของขวัญ ของชำร่วยและของแต่งบ้านทำจากวัสดุชนิดต่างๆ ก็เป็นสินค้าอีกประเภทที่มีการผลิตในประเทศเป็นมูลค่าสูงมาก โดยเฉลี่ยปีละ 5,100 ล้านยูโร (ประมาณ 249,900 ล้านบาท) โดยเป็นสินค้าทำจากกระดาษมีส่วนแบ่งร้อยละ 58 ทำจากพลาสติกร้อยละ 24 จากแก้วและคริสตัลร้อยละ 9 กระเบื้องร้อยละ 5 ทำด้วยโลหะ และไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 2,600 ล้านเหรียญสหรัฐ แหล่งนำเข้าอื่นๆ นอกเหนือจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดโดยรวมประมาณร้อยละ 65 ที่สำคัญๆ ได้แก่ จีน สวิส และเวียตนาม มีส่วน
แบ่งตลาดร้อยละ 28, 3 และ 3 ตามลำดับ สินค้าจากประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.83 ในด้านการส่งออก นั้น มีการส่งออกเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 3,286 ล้านเหรียญสหรัฐโดยส่งออกมากไปยัง ฝรั่งเศส ออสเตรีย และสหราชอาณาจักร คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 13.2, 11.1 และ 8.1 ตามลำดับ
2. การนำเข้า
2.1 ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2548-2550) เยอรมนีนำเข้าสินค้าของขวัญ ของแต่งบ้านประเภทต่างๆ จากต่างประเทศเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 2,593.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนี้
การนำเข้าของขวัญ ของชำร่วยและของแต่งบ้านทำด้วยวัสดุต่างๆ ของเยอรมนีปี 2548 - 2550
Millions of US Dollars % Share % Change
Description 2005 2006 2007 2006 2007 - 07/06 -
--World-- 2,408.4 2,457.0 2,915.7 100.00 100.00 18.67
1 Plasticware 503.4 501.9 587.8 20.43 20.16 17.10
2 Glassware 477.9 467.5 562.4 19.03 19.29 20.30
3 Paperware 298.9 339.9 390.5 13.84 13.39 14.86
4 Candles 308.7 316.6 387.8 12.89 13.30 22.47
5 Ceramicware 250.0 239.0 263.3 9.73 9.03 10.16
6 Woodware 172.5 168.5 217.8 6.86 7.47 29.25
7 Wickerware 136.1 154.9 182.9 6.31 6.28 18.06
8 Metalware 133.4 141.7 177.7 5.77 6.09 25.38
9 Artificial Flowers 127.4 126.8 145.5 5.16 4.99 14.81
ที่มา World Trade Atlas
แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ ของสินค้าทำด้วยพลาสติก ได้แก่ เนเธอแลนด์ ฝรั่งเศส และโปแลนด์ โดยมีส่วนแบ่งตลาดในปี 2550 ร้อยละ 18.4, 12.5 และ 10.4 ตามลำดับ จากไทยมีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 37 เป็นมูลค่า 0.416 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.07 สำหรับ สินค้าทำด้วยแก้ว มีการนำเข้ามากจาก จีน ฝรั่งเศส และโปแลนด์ โดยมีส่วนแบ่งตลาดในปี 2550 ร้อยละ 24.5, 11.8 และ 11.0 ตามลำดับ จากไทยมีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 15 เป็นมูลค่า 4.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.9 สินค้าทำกระดาษ มีการนำเข้ามากจาก เนเธอแลนด์ ออสเตรีย และ อิตาลี มีส่วนแบ่งตลาดในปี 2550 ร้อยละ 19.9, 13.9 และ 10.8 ตามลำดับ จากไทยมีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 18 เป็นมูลค่า 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.4 (รายละเอียดแหล่งนำเข้าสำคัญๆ ในเอกสารแนบ ตารางที่ 1)
2.2 การนำเข้าจากประเทศไทย
1) ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2548 -2550) เยอรมนีนำเข้าสินค้าในกลุ่มนี้จากไทยเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละประมาณ 22.0 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดในเยอรมนีร้อยละ 0.83 ของสินค้ากลุ่มนี้ และในปี 2550 เยอรมนีนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 24.2 ล้านเหรียญสหรัฐเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งมีการนำเข้ามูลค่า 20.38 ล้านเหรียญสหรัฐ การนำเข้าในปี 2550 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7
การนำเข้าสินค้าหัตถกรรมทำด้วยวัสดุต่างๆ จากไทยปี 2548 - 2550
Millions of US Dollars % Share % Change
Description 2005 2006 2007 2006 2007 - 07/06 -
Total 21.482 20.383 24.188 0.83 0.83 18.66
1 Woodware 4.277 5.460 6.751 26.79 27.91 23.63
2 Glassware 2.338 2.344 4.821 11.50 19.93 105.65
3 Ceramicware 6.978 4.609 4.644 22.61 19.20 0.76
4 Metalware 3.019 2.504 3.399 12.28 14.05 35.77
5 Artificial Flowers 1.547 1.809 1.649 8.88 6.82 -8.89
6 Paperware 1.186 1.222 1.585 6.00 6.55 29.69
7 Candles 1.047 1.064 0.594 5.22 2.45 -44.23
8 Plasticware 0.438 0.471 0.416 2.31 1.72 -11.64
9 Wickerware 0.651 0.900 0.330 4.41 1.37 -63.29
ที่มา World Trade Atlas
2) จำแนกตามชนิดของวัสดุ มีการนำเข้าสินค้าของขวัญ ของชำร่วยและของแต่งบ้านจากประเทศไทย ดังนี้
- ผลิตภัณฑ์ทำด้วยไม้ ในระยะ 3 ปี (ปี 2548- 2550) เยอรมนีนำเข้าสินค้าชนิดนี้จากไทยเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 5.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2550 มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 27.9 ของการนำเข้าสินค้าของขวัญ ของชำร่วยทั้งสิ้นจากไทย มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 สินค้าของไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.1 นับเป็นลำดับที่ 6 สินค้าไทยที่นำเข้ามากเป็นพิกัด 4420 10 — ตุ๊กตาไม้แกะสลักแหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ คือ จีน อินโดนีเชีย และเนเธอแลนด์ มีส่วนแบ่ง ตลาดร้อยละ 61.9, 9.7 และ 5.8 ตามลำดับ
- ผลิตภัณฑ์ทำด้วยแก้ว ในระยะ 3 ปี(ปี 2548- 2550) เยอรมนีนำเข้าสินค้าชนิดนี้จากไทยเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 3.2 ล้าน
เหรียญสหรัฐ และในปี 2550 มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 4.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 19.9 ของการนำเข้าเข้าสินค้ากลุ่มนี้ทั้งสิ้นจากไทย มูลค่า
เพิ่มขึ้นร้อยละ 105.6 คิดเป็นส่วนแบ่งในตลาดเยอรมันร้อยละ 0.86 นับเป็นลำดับที่ 15 สินค้าสำคัญจากไทยจะเป็นพิกัด 7013 37 — แก้วอื่นๆ - แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ คือ จีน ฝรั่งเศส และโปแลนด์ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 24.5, 11.8 และ 11.0 ตามลำดับ
- ผลิตภัณฑ์ทำด้วยกระเบื้อง ในระยะ 3 ปี (ปี 2548- 2550) เยอรมนีนำเข้าสินค้าชนิดนี้จากไทยเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 5.4
ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2550 มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 4.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 19.2 ของการนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้จากไทย มูลค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.79 คิดเป็นส่วนแบ่งในตลาดเยอรมนีร้อยละ 1.8 นับเป็นลำดับที่ 7 สินค้าสำคัญจากไทยจะเป็นพิกัด 6913 — ตุ๊กตาต่างๆ - แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ คือ จีน เวียตนาม และเนเธอแลนด์ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 38.4, 15.3 และ 12.7 ตามลำดับ
- ผลิตภัณฑ์ทำด้วยโลหะ ในระยะ 3 ปี (ปี 2548- 2550) เยอรมนีนำเข้าสินค้าชนิดนี้จากไทยเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 3.0 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2550 มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 3.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 14.0 ของการนำเข้าสินค้าของขวัญ ของชำร่วยทั้งสิ้นจากไทย มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.8 คิดเป็นส่วนแบ่งในตลาดเยอรมันร้อยละ 1.9 นับเป็นลำดับที่ 9 สินค้าสำคัญจากไทยจะเป็นพิกัด 8306 29 — ตุ๊กตาต่างๆ - แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ คือ จีน เนเธอแลนด์ และอินเดีย มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 49.2, 10.9 และ 9.5 ตามลำดับ
3. อัตราภาษีนำเข้าและกฏระเบียบ
3.1 ภาษีนำเข้า สินค้าของขวัญ ของชำร่วยและของตกแต่งบ้านทำด้วยวัสดุต่างๆ นี้มีอัตราภาษีนำเข้าปกติระหว่างร้อยละ 0 - 11.0 ในกรณีที่ได้รับสิทธิพิเศษตามโครงการGSP จะมีอัตราเป็น 0 ยกเว้น สินค้าทำจากกระเบื้องมีอัตราร้อยละ 2.5 และสินค้าทำจากแก้วมีอัตราร้อยละ 7.5 (รายละเอียดในเอกสารแนบ ตารางขอบเขตสินค้าและอัตราภาษีนำเข้า)
3.2 กฏระเบียบเกี่ยวกับสินค้า สินค้าของขวัญ ของชำร่วยและของตกแต่งบ้านทำด้วยวัสดุต่างๆ นี้ ในการนำเข้าสู่ตลาดจะต้องเป็นสินค้าที่มีความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ซึ่งแต่ละสินค้าจะมีกฏระเบียบ ข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป ที่สำคัญๆ ได้แก่
1) มาตรฐาน CE เพื่อรับรองโดยทั่วๆ ไปว่าเป็นสินค้าค้าที่มีความปลอดภัยสำหรับตลาดในยุโรป
2) ตรารับรองมาตรฐานสินค้า เช่น eco lable, Fair Trade
3) มีการปนเปื้อนสารอันตรายต่างๆ (Azo) สารเคมี (PCP, ฟอร์มาลิน) และโละหะต่างๆ (นิเกิ้ล แคดเมี่ยม ปรอท ตะกั่ว) ในอัตราที่กำหนดไว้ หรือห้ามมิให้นำมาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า
4) ข้อกำหนด มาตรฐานต่างๆ ในกระบวนการผลิตสินค้า ได้แก่ ระบบ ISO 14001, ISO 9000 การใช้ทรัพยากรแบบประหยัด ไม่กิดมลภาวะ เป็นภาระต่อสิ่งแวดล้อม การถนอมทรัพยากรธรรมชาติ การ recycle ตลอดจนการบรรจุหีบห่อสินค้าที่เหมาะสม
5) กฎ ระเบียบด้านสิทธิบัตร การไม่ลอกเลียนแบบสินค้า
6) การรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้สินค้า (Product safety)
4. การส่งออก
4.1 ในระยะ 3 ปี (2548 — 2550 ) เยอรมนีส่งออกของขวัญ ของชำร่วยและของตกแต่งบ้าน เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 3,286 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2550 มีการส่งออกเป็นเป็นมูลค่า 3,754.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 ประเทศส่งออกสินค้าที่สำคัญๆ ของเยอรมนี ได้แก่ ฝรั่งเศส ออสเตรีย และสหราชอาณาจักร มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 13.2, 11.1 และ 8.1 ตามลำดับ จำแนกตามวัสดุที่ใช้ เยอรมนีส่งออกมาก สินค้าทำจากกระดาษ โดยในปี 2550 มีการส่งออกเป็นมูลค่า 1,604.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 42.7 ของการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 โดยส่งออกไปยัง ฝรั่งเศสออสเตรีย และสหราชอาณาจักร คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 16.2, 11.7 และ 8.5 ตาม
ลำดับ รองลงมาเป็น สินค้าทำจากพลาสติก ในปี 2550 มีการส่งออกเป็นมูลค่า 805.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 21.4 ของการส่งออกทั้งสิ้น มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 ตลาดส่งออกสำคัญๆ ได้แก่ เนเธอแลนด์ ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 14.6, 14.5 และ 13.0 ตามลำดับ สินค้าทำจากแก้ว ในปี 2550 มีการส่งออกเป็นมูลค่า 674.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 18.0 ของการส่งออกสินค้าของขวัญ ของชำร่วย มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 โดยส่งออกมากไปยัง ออสเตรีย สหรัฐฯ และฝรั่งเศส คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 11.0, 10.6 และ 7.7 ตามลำดับ
การส่งออกสินค้าหัตถกรรมทำด้วยวัสดุต่างๆ ของเยอรมนีปี 2548 - 2550
Millions of US Dollars % Share % Change
Description 2005 2006 2007 2006 2007 - 07/06 -
Total 2,866.8 3,237.8 3,754.6 100.00 100.00 15.96
1 Paperware 1,196.7 1,341.7 1,604.7 41.44 42.74 19.60
2 Plasticware 563.7 680.9 805.0 21.03 21.44 18.24
3 Glassware 565.2 614.8 674.8 18.99 17.97 9.76
4 Ceramicware 185.1 206.6 210.4 6.38 5.61 1.88
5 Candles 175.2 184.5 192.2 5.70 5.12 4.20
6 Metalware 76.1 80.4 106.3 2.48 2.83 32.19
7 Woodware 40.5 49.0 64.3 1.51 1.71 31.21
8 Artificial Flowers 33.7 38.1 51.0 1.18 1.36 33.94
9 Wickerware 30.7 41.8 45.7 1.29 1.22 9.24
ที่มา World Trade Atlas
5. ช่องทางการตลาด
5.1 สินค้าของขวัญ ของชำร่วยและของตกแต่งบ้าน มีช่องทางการตลาดจากผู้ผลิตไปจนถึงผู้บริโภค หลากหลายวิธี กล่าวคือ นำเข้าโดยกลุ่มผู้ซื้อ ตัวแทนจำหน่าย ผู้นำเข้า/ค้าส่งเพื่อส่งมอบให้กับร้านค้ารูปแบบต่างๆ เช่น ร้านค้าเครื่องเรือน ร้านค้าของขวัญของชำร่วยโดยเฉพาะ ห้างสรรพสินค้า กิจการ Mail order ตลอดจนการขายตรงในงานแสดงสินค้าต่างๆ
5.2 จำแนกตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต สินค้าของขวัญ ของชำร่วยและของแต่งบ้านมีความหลากหลาย เพื่อการนำเสนอให้กับผู้บริโภคในวัยต่างๆ ที่มีรสนิยมแตกต่างกันไป โดยในเยอรมนีจะมีกลุ่มผู้บริโภคสูงอายุเพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลา 5 — 10 ปีข้างหน้า กล่าวคือ ในขณะที่จำนวนผู้บริโภคในกลุ่มอายุระหว่าง 20 - 64 ปีจะลดลงจาก 12.2 ล้านคนในปี 2548 เหลือ 10.7 ล้านคนในปี 2558 หรือลดลง 1.5 ล้านคน ขณะเดียวกันผู้มีอายุระหว่าง 65 — 80 ปีจะเพิ่มขึ้น 1.4 ล้านคน จากจำนวน 11.7 ในปี 2548 เป็น 13.2 ล้านคนในปี 2558 ด้วยเหตุนี้ ในด้านการผลิตสินค้าจะต้องให้ความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับอายุของผู้บริโภค
คาดการณ์สัดส่วนประชากรเยอรมัน จัดแบ่งตามอายุ
หน่วย = ล้านคน รวมทั้งสิ้น ต่ำกว่า 20 ปี 20-64 ปี เกิน 65 ปี เกิน 80 ปี
ปี 2548 82.4 16.5 12.2 11.7 0.8
ปี 2553 81.9 15.0 11.2 12.5 1.1
ปี 2558 81.1 14.2 10.7 13.2 1.3
ปี 2563 80.1 13.5 10.1 13.9 1.7
ปี 2568 78.8 13.1 9.6 14.8 2.0
ปี 2578 75.4 12.1 8.5 16.5 2.9
6. สรุปและข้อเสนอแนะ
6.1 เยอรมนีเป็นตลาดสินค้าสินค้าของขวัญ ของชำร่วยและของตกแต่งบ้านที่สำคัญอีกตลาดหนึ่ง นอกเหนือจากการผลิตในแต่ละปีที่มีมูลค่ากว่า 5,100 ยูโร แล้ว ยังมีการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 2,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะเดียวกันมีการส่งออกเป็นมูลค่า 3,286 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าที่เยอรมนีผลิตในประเทศได้มากจะเป็นสินค้าทำด้วยกระดาษ มีส่วนแบ่งกว่าร้อยละ 58 รองลงมาเป็นสินค้าทำด้วยพลาสติกมีส่วนแบ่งร้อยละ 24 สำหรับส่วนแบ่งของสินค้านำเข้านั้น จำแนกตามวัสดุที่ใช้มีการนำเข้าสินค้าทำจาก พลาสติก แก้วและกระดาษ ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันคือ ประมาณร้อยละ 20 แหล่งนำเข้าที่สำคัญของเยอรมนี ได้แก่ จีน (ส่วนแบ่งตลาด 27.7 %) เนเธอแลนด์ (ส่วนแบ่งตลาด 15.8 %) โปแลนด์ (ส่วนแบ่งตลาด 8.7 %) สินค้าจากไทยมีส่วนแบ่งตลาด 0.83% ส่วนสินค้าส่งออกประมาณร้อยละ 27 เป็นสินค้าทำด้วยไม้ รองลงมาเป็นสินค้าทำด้วยแก้วและเซรามิกเป็นสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือประมาณร้อยละ 10 ตลาดส่งออกหลักจะเป็นประเทศต่างๆ ในยุโรป ได้แก่ ฝรั่งเศส ออสเตรียและ สหราชอาณาจักร มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 13.2, 11.1 และ 8.1 ตามลำดับ
6.2 ปัจจุบันเยอรมนีนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 22 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 0.8 ของมูลค่าการนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้ทั้งหมด เป็นส่วนแบ่งตลาดที่เล็กน้อยมาก สินค้านำเข้าจากไทยส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ทำด้วยไม้ แก้วและเซรามิก มีส่วนแบ่งใกล้เคียงกันประมาณร้อยละ 20 ของการนำเข้าจากไทย ด้วยความหลากหลายของสินค้ากลุ่มนี้ โอกาสที่จะเพิ่มส่วนแบ่งของสินค้าไทยในตลาดเยอรมันยังคงมีอีกมาก การพัฒนาการผลิตสินค้าให้ตรงตามรสนิยมผู้บริโภค การสร้างมาตรฐานการผลิตโดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้บริโภคและส่งแวดล้อม มิให้มีการปนเปื้อนของสารเคมีอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพ จะสร้างความสามารถในการแข่งขันให้สูงยิ่งขึ้นได้เหล่านี้จะมีส่วนช่วยให้การส่งออกสินค้าของไทยในกลุ่มนี้ขยายตัวเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลจาก: สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน
ที่มา: http://www.depthai.go.th
เยอรมนีเป็นประเทศหนึ่ง ที่มีชื่อเสียงในด้านการผลิตสินค้าเครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์และเวชภัณฑ์ที่สำคัญในลำดับต้นๆ อย่างไรก็ตาม สินค้าของขวัญ ของชำร่วยและของแต่งบ้านทำจากวัสดุชนิดต่างๆ ก็เป็นสินค้าอีกประเภทที่มีการผลิตในประเทศเป็นมูลค่าสูงมาก โดยเฉลี่ยปีละ 5,100 ล้านยูโร (ประมาณ 249,900 ล้านบาท) โดยเป็นสินค้าทำจากกระดาษมีส่วนแบ่งร้อยละ 58 ทำจากพลาสติกร้อยละ 24 จากแก้วและคริสตัลร้อยละ 9 กระเบื้องร้อยละ 5 ทำด้วยโลหะ และไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 2,600 ล้านเหรียญสหรัฐ แหล่งนำเข้าอื่นๆ นอกเหนือจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดโดยรวมประมาณร้อยละ 65 ที่สำคัญๆ ได้แก่ จีน สวิส และเวียตนาม มีส่วน
แบ่งตลาดร้อยละ 28, 3 และ 3 ตามลำดับ สินค้าจากประเทศไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.83 ในด้านการส่งออก นั้น มีการส่งออกเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 3,286 ล้านเหรียญสหรัฐโดยส่งออกมากไปยัง ฝรั่งเศส ออสเตรีย และสหราชอาณาจักร คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 13.2, 11.1 และ 8.1 ตามลำดับ
2. การนำเข้า
2.1 ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2548-2550) เยอรมนีนำเข้าสินค้าของขวัญ ของแต่งบ้านประเภทต่างๆ จากต่างประเทศเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 2,593.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนี้
การนำเข้าของขวัญ ของชำร่วยและของแต่งบ้านทำด้วยวัสดุต่างๆ ของเยอรมนีปี 2548 - 2550
Millions of US Dollars % Share % Change
Description 2005 2006 2007 2006 2007 - 07/06 -
--World-- 2,408.4 2,457.0 2,915.7 100.00 100.00 18.67
1 Plasticware 503.4 501.9 587.8 20.43 20.16 17.10
2 Glassware 477.9 467.5 562.4 19.03 19.29 20.30
3 Paperware 298.9 339.9 390.5 13.84 13.39 14.86
4 Candles 308.7 316.6 387.8 12.89 13.30 22.47
5 Ceramicware 250.0 239.0 263.3 9.73 9.03 10.16
6 Woodware 172.5 168.5 217.8 6.86 7.47 29.25
7 Wickerware 136.1 154.9 182.9 6.31 6.28 18.06
8 Metalware 133.4 141.7 177.7 5.77 6.09 25.38
9 Artificial Flowers 127.4 126.8 145.5 5.16 4.99 14.81
ที่มา World Trade Atlas
แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ ของสินค้าทำด้วยพลาสติก ได้แก่ เนเธอแลนด์ ฝรั่งเศส และโปแลนด์ โดยมีส่วนแบ่งตลาดในปี 2550 ร้อยละ 18.4, 12.5 และ 10.4 ตามลำดับ จากไทยมีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 37 เป็นมูลค่า 0.416 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.07 สำหรับ สินค้าทำด้วยแก้ว มีการนำเข้ามากจาก จีน ฝรั่งเศส และโปแลนด์ โดยมีส่วนแบ่งตลาดในปี 2550 ร้อยละ 24.5, 11.8 และ 11.0 ตามลำดับ จากไทยมีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 15 เป็นมูลค่า 4.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.9 สินค้าทำกระดาษ มีการนำเข้ามากจาก เนเธอแลนด์ ออสเตรีย และ อิตาลี มีส่วนแบ่งตลาดในปี 2550 ร้อยละ 19.9, 13.9 และ 10.8 ตามลำดับ จากไทยมีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 18 เป็นมูลค่า 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.4 (รายละเอียดแหล่งนำเข้าสำคัญๆ ในเอกสารแนบ ตารางที่ 1)
2.2 การนำเข้าจากประเทศไทย
1) ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2548 -2550) เยอรมนีนำเข้าสินค้าในกลุ่มนี้จากไทยเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละประมาณ 22.0 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดในเยอรมนีร้อยละ 0.83 ของสินค้ากลุ่มนี้ และในปี 2550 เยอรมนีนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 24.2 ล้านเหรียญสหรัฐเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งมีการนำเข้ามูลค่า 20.38 ล้านเหรียญสหรัฐ การนำเข้าในปี 2550 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7
การนำเข้าสินค้าหัตถกรรมทำด้วยวัสดุต่างๆ จากไทยปี 2548 - 2550
Millions of US Dollars % Share % Change
Description 2005 2006 2007 2006 2007 - 07/06 -
Total 21.482 20.383 24.188 0.83 0.83 18.66
1 Woodware 4.277 5.460 6.751 26.79 27.91 23.63
2 Glassware 2.338 2.344 4.821 11.50 19.93 105.65
3 Ceramicware 6.978 4.609 4.644 22.61 19.20 0.76
4 Metalware 3.019 2.504 3.399 12.28 14.05 35.77
5 Artificial Flowers 1.547 1.809 1.649 8.88 6.82 -8.89
6 Paperware 1.186 1.222 1.585 6.00 6.55 29.69
7 Candles 1.047 1.064 0.594 5.22 2.45 -44.23
8 Plasticware 0.438 0.471 0.416 2.31 1.72 -11.64
9 Wickerware 0.651 0.900 0.330 4.41 1.37 -63.29
ที่มา World Trade Atlas
2) จำแนกตามชนิดของวัสดุ มีการนำเข้าสินค้าของขวัญ ของชำร่วยและของแต่งบ้านจากประเทศไทย ดังนี้
- ผลิตภัณฑ์ทำด้วยไม้ ในระยะ 3 ปี (ปี 2548- 2550) เยอรมนีนำเข้าสินค้าชนิดนี้จากไทยเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 5.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2550 มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 27.9 ของการนำเข้าสินค้าของขวัญ ของชำร่วยทั้งสิ้นจากไทย มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 สินค้าของไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.1 นับเป็นลำดับที่ 6 สินค้าไทยที่นำเข้ามากเป็นพิกัด 4420 10 — ตุ๊กตาไม้แกะสลักแหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ คือ จีน อินโดนีเชีย และเนเธอแลนด์ มีส่วนแบ่ง ตลาดร้อยละ 61.9, 9.7 และ 5.8 ตามลำดับ
- ผลิตภัณฑ์ทำด้วยแก้ว ในระยะ 3 ปี(ปี 2548- 2550) เยอรมนีนำเข้าสินค้าชนิดนี้จากไทยเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 3.2 ล้าน
เหรียญสหรัฐ และในปี 2550 มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 4.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 19.9 ของการนำเข้าเข้าสินค้ากลุ่มนี้ทั้งสิ้นจากไทย มูลค่า
เพิ่มขึ้นร้อยละ 105.6 คิดเป็นส่วนแบ่งในตลาดเยอรมันร้อยละ 0.86 นับเป็นลำดับที่ 15 สินค้าสำคัญจากไทยจะเป็นพิกัด 7013 37 — แก้วอื่นๆ - แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ คือ จีน ฝรั่งเศส และโปแลนด์ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 24.5, 11.8 และ 11.0 ตามลำดับ
- ผลิตภัณฑ์ทำด้วยกระเบื้อง ในระยะ 3 ปี (ปี 2548- 2550) เยอรมนีนำเข้าสินค้าชนิดนี้จากไทยเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 5.4
ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2550 มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 4.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 19.2 ของการนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้จากไทย มูลค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.79 คิดเป็นส่วนแบ่งในตลาดเยอรมนีร้อยละ 1.8 นับเป็นลำดับที่ 7 สินค้าสำคัญจากไทยจะเป็นพิกัด 6913 — ตุ๊กตาต่างๆ - แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ คือ จีน เวียตนาม และเนเธอแลนด์ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 38.4, 15.3 และ 12.7 ตามลำดับ
- ผลิตภัณฑ์ทำด้วยโลหะ ในระยะ 3 ปี (ปี 2548- 2550) เยอรมนีนำเข้าสินค้าชนิดนี้จากไทยเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 3.0 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2550 มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 3.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 14.0 ของการนำเข้าสินค้าของขวัญ ของชำร่วยทั้งสิ้นจากไทย มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.8 คิดเป็นส่วนแบ่งในตลาดเยอรมันร้อยละ 1.9 นับเป็นลำดับที่ 9 สินค้าสำคัญจากไทยจะเป็นพิกัด 8306 29 — ตุ๊กตาต่างๆ - แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ คือ จีน เนเธอแลนด์ และอินเดีย มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 49.2, 10.9 และ 9.5 ตามลำดับ
3. อัตราภาษีนำเข้าและกฏระเบียบ
3.1 ภาษีนำเข้า สินค้าของขวัญ ของชำร่วยและของตกแต่งบ้านทำด้วยวัสดุต่างๆ นี้มีอัตราภาษีนำเข้าปกติระหว่างร้อยละ 0 - 11.0 ในกรณีที่ได้รับสิทธิพิเศษตามโครงการGSP จะมีอัตราเป็น 0 ยกเว้น สินค้าทำจากกระเบื้องมีอัตราร้อยละ 2.5 และสินค้าทำจากแก้วมีอัตราร้อยละ 7.5 (รายละเอียดในเอกสารแนบ ตารางขอบเขตสินค้าและอัตราภาษีนำเข้า)
3.2 กฏระเบียบเกี่ยวกับสินค้า สินค้าของขวัญ ของชำร่วยและของตกแต่งบ้านทำด้วยวัสดุต่างๆ นี้ ในการนำเข้าสู่ตลาดจะต้องเป็นสินค้าที่มีความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ซึ่งแต่ละสินค้าจะมีกฏระเบียบ ข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป ที่สำคัญๆ ได้แก่
1) มาตรฐาน CE เพื่อรับรองโดยทั่วๆ ไปว่าเป็นสินค้าค้าที่มีความปลอดภัยสำหรับตลาดในยุโรป
2) ตรารับรองมาตรฐานสินค้า เช่น eco lable, Fair Trade
3) มีการปนเปื้อนสารอันตรายต่างๆ (Azo) สารเคมี (PCP, ฟอร์มาลิน) และโละหะต่างๆ (นิเกิ้ล แคดเมี่ยม ปรอท ตะกั่ว) ในอัตราที่กำหนดไว้ หรือห้ามมิให้นำมาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า
4) ข้อกำหนด มาตรฐานต่างๆ ในกระบวนการผลิตสินค้า ได้แก่ ระบบ ISO 14001, ISO 9000 การใช้ทรัพยากรแบบประหยัด ไม่กิดมลภาวะ เป็นภาระต่อสิ่งแวดล้อม การถนอมทรัพยากรธรรมชาติ การ recycle ตลอดจนการบรรจุหีบห่อสินค้าที่เหมาะสม
5) กฎ ระเบียบด้านสิทธิบัตร การไม่ลอกเลียนแบบสินค้า
6) การรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้สินค้า (Product safety)
4. การส่งออก
4.1 ในระยะ 3 ปี (2548 — 2550 ) เยอรมนีส่งออกของขวัญ ของชำร่วยและของตกแต่งบ้าน เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 3,286 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2550 มีการส่งออกเป็นเป็นมูลค่า 3,754.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 ประเทศส่งออกสินค้าที่สำคัญๆ ของเยอรมนี ได้แก่ ฝรั่งเศส ออสเตรีย และสหราชอาณาจักร มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 13.2, 11.1 และ 8.1 ตามลำดับ จำแนกตามวัสดุที่ใช้ เยอรมนีส่งออกมาก สินค้าทำจากกระดาษ โดยในปี 2550 มีการส่งออกเป็นมูลค่า 1,604.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 42.7 ของการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 โดยส่งออกไปยัง ฝรั่งเศสออสเตรีย และสหราชอาณาจักร คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 16.2, 11.7 และ 8.5 ตาม
ลำดับ รองลงมาเป็น สินค้าทำจากพลาสติก ในปี 2550 มีการส่งออกเป็นมูลค่า 805.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 21.4 ของการส่งออกทั้งสิ้น มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 ตลาดส่งออกสำคัญๆ ได้แก่ เนเธอแลนด์ ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 14.6, 14.5 และ 13.0 ตามลำดับ สินค้าทำจากแก้ว ในปี 2550 มีการส่งออกเป็นมูลค่า 674.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 18.0 ของการส่งออกสินค้าของขวัญ ของชำร่วย มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 โดยส่งออกมากไปยัง ออสเตรีย สหรัฐฯ และฝรั่งเศส คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 11.0, 10.6 และ 7.7 ตามลำดับ
การส่งออกสินค้าหัตถกรรมทำด้วยวัสดุต่างๆ ของเยอรมนีปี 2548 - 2550
Millions of US Dollars % Share % Change
Description 2005 2006 2007 2006 2007 - 07/06 -
Total 2,866.8 3,237.8 3,754.6 100.00 100.00 15.96
1 Paperware 1,196.7 1,341.7 1,604.7 41.44 42.74 19.60
2 Plasticware 563.7 680.9 805.0 21.03 21.44 18.24
3 Glassware 565.2 614.8 674.8 18.99 17.97 9.76
4 Ceramicware 185.1 206.6 210.4 6.38 5.61 1.88
5 Candles 175.2 184.5 192.2 5.70 5.12 4.20
6 Metalware 76.1 80.4 106.3 2.48 2.83 32.19
7 Woodware 40.5 49.0 64.3 1.51 1.71 31.21
8 Artificial Flowers 33.7 38.1 51.0 1.18 1.36 33.94
9 Wickerware 30.7 41.8 45.7 1.29 1.22 9.24
ที่มา World Trade Atlas
5. ช่องทางการตลาด
5.1 สินค้าของขวัญ ของชำร่วยและของตกแต่งบ้าน มีช่องทางการตลาดจากผู้ผลิตไปจนถึงผู้บริโภค หลากหลายวิธี กล่าวคือ นำเข้าโดยกลุ่มผู้ซื้อ ตัวแทนจำหน่าย ผู้นำเข้า/ค้าส่งเพื่อส่งมอบให้กับร้านค้ารูปแบบต่างๆ เช่น ร้านค้าเครื่องเรือน ร้านค้าของขวัญของชำร่วยโดยเฉพาะ ห้างสรรพสินค้า กิจการ Mail order ตลอดจนการขายตรงในงานแสดงสินค้าต่างๆ
5.2 จำแนกตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต สินค้าของขวัญ ของชำร่วยและของแต่งบ้านมีความหลากหลาย เพื่อการนำเสนอให้กับผู้บริโภคในวัยต่างๆ ที่มีรสนิยมแตกต่างกันไป โดยในเยอรมนีจะมีกลุ่มผู้บริโภคสูงอายุเพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลา 5 — 10 ปีข้างหน้า กล่าวคือ ในขณะที่จำนวนผู้บริโภคในกลุ่มอายุระหว่าง 20 - 64 ปีจะลดลงจาก 12.2 ล้านคนในปี 2548 เหลือ 10.7 ล้านคนในปี 2558 หรือลดลง 1.5 ล้านคน ขณะเดียวกันผู้มีอายุระหว่าง 65 — 80 ปีจะเพิ่มขึ้น 1.4 ล้านคน จากจำนวน 11.7 ในปี 2548 เป็น 13.2 ล้านคนในปี 2558 ด้วยเหตุนี้ ในด้านการผลิตสินค้าจะต้องให้ความสนใจอย่างมากเกี่ยวกับอายุของผู้บริโภค
คาดการณ์สัดส่วนประชากรเยอรมัน จัดแบ่งตามอายุ
หน่วย = ล้านคน รวมทั้งสิ้น ต่ำกว่า 20 ปี 20-64 ปี เกิน 65 ปี เกิน 80 ปี
ปี 2548 82.4 16.5 12.2 11.7 0.8
ปี 2553 81.9 15.0 11.2 12.5 1.1
ปี 2558 81.1 14.2 10.7 13.2 1.3
ปี 2563 80.1 13.5 10.1 13.9 1.7
ปี 2568 78.8 13.1 9.6 14.8 2.0
ปี 2578 75.4 12.1 8.5 16.5 2.9
6. สรุปและข้อเสนอแนะ
6.1 เยอรมนีเป็นตลาดสินค้าสินค้าของขวัญ ของชำร่วยและของตกแต่งบ้านที่สำคัญอีกตลาดหนึ่ง นอกเหนือจากการผลิตในแต่ละปีที่มีมูลค่ากว่า 5,100 ยูโร แล้ว ยังมีการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 2,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะเดียวกันมีการส่งออกเป็นมูลค่า 3,286 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าที่เยอรมนีผลิตในประเทศได้มากจะเป็นสินค้าทำด้วยกระดาษ มีส่วนแบ่งกว่าร้อยละ 58 รองลงมาเป็นสินค้าทำด้วยพลาสติกมีส่วนแบ่งร้อยละ 24 สำหรับส่วนแบ่งของสินค้านำเข้านั้น จำแนกตามวัสดุที่ใช้มีการนำเข้าสินค้าทำจาก พลาสติก แก้วและกระดาษ ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันคือ ประมาณร้อยละ 20 แหล่งนำเข้าที่สำคัญของเยอรมนี ได้แก่ จีน (ส่วนแบ่งตลาด 27.7 %) เนเธอแลนด์ (ส่วนแบ่งตลาด 15.8 %) โปแลนด์ (ส่วนแบ่งตลาด 8.7 %) สินค้าจากไทยมีส่วนแบ่งตลาด 0.83% ส่วนสินค้าส่งออกประมาณร้อยละ 27 เป็นสินค้าทำด้วยไม้ รองลงมาเป็นสินค้าทำด้วยแก้วและเซรามิกเป็นสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือประมาณร้อยละ 10 ตลาดส่งออกหลักจะเป็นประเทศต่างๆ ในยุโรป ได้แก่ ฝรั่งเศส ออสเตรียและ สหราชอาณาจักร มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 13.2, 11.1 และ 8.1 ตามลำดับ
6.2 ปัจจุบันเยอรมนีนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 22 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 0.8 ของมูลค่าการนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้ทั้งหมด เป็นส่วนแบ่งตลาดที่เล็กน้อยมาก สินค้านำเข้าจากไทยส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ทำด้วยไม้ แก้วและเซรามิก มีส่วนแบ่งใกล้เคียงกันประมาณร้อยละ 20 ของการนำเข้าจากไทย ด้วยความหลากหลายของสินค้ากลุ่มนี้ โอกาสที่จะเพิ่มส่วนแบ่งของสินค้าไทยในตลาดเยอรมันยังคงมีอีกมาก การพัฒนาการผลิตสินค้าให้ตรงตามรสนิยมผู้บริโภค การสร้างมาตรฐานการผลิตโดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้บริโภคและส่งแวดล้อม มิให้มีการปนเปื้อนของสารเคมีอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพ จะสร้างความสามารถในการแข่งขันให้สูงยิ่งขึ้นได้เหล่านี้จะมีส่วนช่วยให้การส่งออกสินค้าของไทยในกลุ่มนี้ขยายตัวเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลจาก: สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน
ที่มา: http://www.depthai.go.th