ตลาดรถยนต์ในเยอรมนีในปี 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 10, 2008 14:59 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. การผลิต 
การผลิตรถยนต์เป็นอุตสาหกรรมแขนงหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของ เยอรมนีอย่างยิ่ง ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2548 — 2550) มีการผลิตเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 237,240 ล้านยูโร และในปี 2550 มีมูลค่าการผลิตรวม 253,298.6 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ปัจจุบันอุตสาหกรรมแขนงนี้มีจำนวนคนงานทั้งสิ้นประมาณ 732,000 คน เป็นคนงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรถยนต์และส่วนประกอบโดยตรงประมาณ 400,000 คน และในอุตสาหกรรมข้างเคียงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โรงงานผลิตอาหลั่ย ชิ้นส่วน อุปกรณ์ ส่วนประกอบ ระบบอิเลคทรอนิคส์ต่างๆ ตลอดจนอู่ซ่อม อีกประมาณ 300,000 คน
มูลค่าการผลิตรถยนต์ อาหลั่ยและส่วนประกอบของเยอรมัน
ระหัส รายการสินค้า ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 +/- % จำนวนกิจการ
ล้านยูโร ล้านยูโร ล้านยูโร ปี 2550 ปี 2550
3410 ยานพาหนะและเครื่องยนต์ 151,889.80 157,550.90 171,035.10 8.56 100.00
3420 ตัวถัง กะบะ และรถพ่วง 7,248.00 8,391.60 10,274.70 22.44 399.00
3430 อุปกรณ์ ส่วนประกอบต่างๆ 64,419.10 67,556.00 71,134.10 5.30 891.00
3499 การติดตั้ง ประกอบ เพิ่มมูลค่า 734.80 631.80 854.80 35.28 28.00
รวม 224,291.70 234,130.20 253,298.60 8.19 1,317.00
ในปัจจุบันนี้ รถยนต์นั่งที่ใช้สัญจรไปมาตามท้องถนนมีจำนวนประมาณ 41 ล้านคัน และรถบรรทุกอีกประมาณ 2.3 ล้านคัน สำหรับการจดทะเบียนรถยนต์นั่งใหม่ นั้น ในปี 2550 ที่ผ่านมาได้มีการจดทะเบียนรถใหม่ลดลงร้อยละ 9.2 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 3.148 ล้านคัน โดยจำแนกตามยี่ห้อผู้ผลิตได้ ดังนี้
การแจ้งจดทะเบียนรถใหม่ในเยอรมนีปี 2550
ปี 2549 ปี 2550 ยี่ห้อ ปี 2549 ปี 2550 +/- % ส่วนตลาด
รวมทั้งสิ้น 3,466,276 3,148,163 -9.18 100
1 1 VW 689,116 608,820 -11.65 19.34
2 2 Mercedes 342,768 327,742 -4.38 10.41
3 3 Opel 334,479 285,267 -14.71 9.06
4 4 BMW, Mini 297,457 284,889 -4.23 9.05
5 5 Audi 262,356 249,305 -4.97 7.92
6 6 Ford 243,845 213,873 -12.29 6.79
7 7 Renault, Dacia 155,808 140,281 -9.97 4.46
8 8 Toyota, Lexus 147,995 132,535 -10.45 4.21
9 9 Skoda 118,523 118,682 0.13 3.77
10 10 Peugeot 111,151 93,394 -15.98 2.97
12 11 Fiat 78,072 73,799 -5.47 2.34
11 12 Citroen 83,469 73,244 -12.25 2.33
13 13 Mazda 77,051 65,651 -14.8 2.09
14 14 Seat 60,975 52,888 -13.26 1.68
16 15 Hyundai 52,405 47,523 -9.32 1.51
17 16 Honda 48,588 41,729 -14.12 1.33
15 17 Nissan 55,231 41,575 -24.73 1.32
18 18 Kia 46,184 40,381 -12.56 1.28
21 19 Suzuki 32,237 36,372 12.83 1.16
19 20 Volvo 37,057 33,485 -9.64 1.06
22 21 Smart 30,286 31,974 5.57 1.02
20 22 Mitsubishi 33,760 31,449 -6.85 1.00
23 23 Chevrolet 23,132 25,245 9.13 0.80
24 24 Chrysler, Jeep, Dodge 18,070 18,658 3.25 0.59
25 25 Porsche 17,480 17,663 1.05 0.56
27 26 Daihatsu 13,120 13,533 3.15 0.43
26 27 Alfa Romeo 15,182 11,568 -23.8 0.37
28 28 Subaru 11,053 8,518 -22.93 0.27
29 29 Land Rover 6,923 8,178 18.13 0.26
30 30 Saab 5,277 4,167 -21.03 0.13
31 31 Jaguar 4,223 3,720 -11.91 0.12
33 32 Lancia 2,626 2,555 -2.7 0.08
35 33 Lada 1,583 1,952 23.31 0.06
34 34 General Motors 2,187 1,816 -16.96 0.06
32 35 Ssangyong 2,814 1,165 -58.6 0.04
อื่นๆ 3,793 4,567 20.41 0.15
ที่มา: สำนักทะเบียนเยอรมนี เมืองเฟลนส์บวร์ก
เหตุที่มีการจดทะเบียนลดน้อยลงเนื่องจากมีการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 3 ทำให้มีการซื้อรถใหม่เพิ่มมากขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2549 ในภาพรวมจึงทำให้รถใหม่ที่ซื้อในปี 2550 มีน้อยลงมาก
2. การนำเข้า
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2548 — 2550) เยอรมนีนำเข้ารถยนต์ ชิ้นส่วนและส่วนประกอบเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 95,702 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2550 มีการนำเข้าทั้งสิ้นเป็นมูลค่า 107,869.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.7 (รายละเอียดในตารางที่ 1) แหล่งนำเข้าสำคัญๆ ได้แก่
2.1 ฝรั่งเศส มีการนำเข้าในปี 2550 เป็นมูลค่า 12,479.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 11.6 สินค้าที่นำเข้ามากจากฝรั่งเศสได้แก่ พิกัด 8708 ชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3,361 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 รองลงมาเป็นพิกัด 8703 23 รถเก๋งขนาดเครื่องยนต์ เกิน 1500 ซีซี มีการนำเข้าในปี 2550 เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,082 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.4
2.2 เบลเยี่ยม มีการนำเข้าในปี 2550 เป็นมูลค่า 10,027.8 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 9.3 สินค้าที่นำเข้ามากจากเบลเยี่ยม ได้แก่ พิกัด 8703 32 รถเก๋งขนาดเครื่องยนต์ 1500 — 2500 ซีซี มีการนำเข้าเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3,775 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 รองลงมาเป็นพิกัด 8703 23 รถเก๋งขนาดเครื่องยนต์เกิน 1500 ซีซี มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 2,568.9 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 17.7
2.3 ออสเตรีย นำเข้าเป็นมูลค่า 9,583 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 8.9 สินค้าที่นำเข้ามากจากออสเตรีย ได้แก่ พิกัด 8708 ชิ้นส่วนรถยนต์ มีการนำเข้าในปี 2550 เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,336 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5 รองลงมาเป็นพิกัด 8408 แม่ปั๊มท์ หัวฉีด นำเข้าเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,049 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.9
2.4 จำแนกตามพิกัด สินค้าที่เยอรมนีนำเข้ามากที่สุด คือ พิกัด 8708 ส่วนประกอบเครื่องยนต์ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2548 — 2550) มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 23,279 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2550 นำเข้าเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 26,647.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 31.7 ของการนำเข้าสินค้ารายการนี้ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 รองลงมาเป็นรถเก๋งเครื่องดีเซลขนาด 1500 - 2500 ซีซี (พิกัด H.S. 8703 32) มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 11,922.1 ในปี 2550 นำเข้าเป็นมูลค่า 13,697.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 16.3 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 รองลงมาเป็นรถเก๋งเครื่องเบนซินขนาดเกิน 1500 ซีซี (พิกัด H.S. 8703 23) มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 12,281 ในปี 2550 นำเข้าเป็นมูลค่า 12,317 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 2.6
3. การส่งออก
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2548 — 2550) เยอรมนีส่งออกรถยนต์ ชิ้นส่วนและส่วนประกอบเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 217,824 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2550 มีการส่งออกทั้งสิ้นเป็นมูลค่า 250,879.8 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 (รายละเอียดใน ตารางที่ 2) ตลาดส่งออกที่สำคัญๆ ของเยอรมนี ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ในปี 2550 มีการส่งออกเป็นมูลค่า 31,727.0 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 12.6 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 รองลงมาส่งออกมากไปยังสหราชอาณาจักร เป็นมูลค่า 27,998.3 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 11.2 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 และ ฝรั่งเศสมูลค่า 20,683.9 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 8.2 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 (รายละเอียดใน ตารางที่ 2)
จำแนกตามพิกัด สินค้าที่เยอรมนีส่งออกมากที่สุด เป็นรถเก๋งเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1500 - 2500 ซีซี (พิกัด H.S. 8703 32) ในปี 2550 ส่งออกเป็นมูลค่า 43,221 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 17.2 ของการส่งออกสินค้ารายการนี้ มูลค่าเพิ่มร้อยละ 42.8 รองลงมาเป็นพิกัด 8708 ส่วนประกอบเครื่องยนต์ มีการส่งเป็นมูลค่า 42,989.3 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 17.1 และ รถเก๋ง ขนาดเครื่องยนต์ 1500 - 3000 ซีซี (พิกัด 8703 23) มีการออกในปี 2550 เป็นมูลค่า 39,129.4 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 6.1 คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 15.6
จากตัวเลขของกรมศุลกากรไทย ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมานี้ (2548 — 2550) ไทยส่งออกสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบไปเยอรมนีเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 111.3 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) ไทยส่งออกเป็นมูลค่า 26.1 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 27.1 สินค้าที่ไทยส่งออกไปเยอรมนีมาก ได้แก่ รถปิ๊กอัพ เครื่องยนต์ดีเซล (พิกัด 8704 21) มีการส่งออกเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 91.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) ส่งออกเป็นมูลค่า 17.7 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 34.7 รองลงมาเป็น ชิ้นส่วนและส่วนประกอบ (พิกัด 8708) มีการส่งออกเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 10.1 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) มีการส่งออกเป็นมูลค่า 4.8 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 (รายละเอียดใน ตารางที่ 3)
5. การนำเข้าของไทยจากเยอรมนี
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมานี้ (2548 — 2550) ไทยนำเข้ารถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบจากเยอรมนีเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 248.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) นำเข้าเป็นมูลค่า 71.1 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.2 สินค้าที่ไทยนำเข้ามากจากเยอรมนี ได้แก่ ชิ้นส่วนและส่วนประกอบ (พิกัด 8708) มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 158.7 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) นำเข้าเป็นมูลค่า 44.7 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 74.7 รองลงมาเป็น รถยนต์เครื่องเบนซินขนาดเกิน 1500 ซีซี (พิกัด 8703 23) มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 30.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) นำเข้าเป็นมูลค่า 8.1 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 (รายละเอียดใน ตารางที่ 4)
6. อัตราภาษีนำเข้า
สินค้าอุปกรณ์ อาหลั่ยและส่วนประกอบของรถยนต์ที่นำเข้าเยอรมนีจะเสียภาษีนำเข้าในอัตราระหว่างร้อยละ 2.7 — 4.5 ส่วนรถยนต์สำเร็จรูปมีอัตราภาษีร้อยละ 10 เมื่อขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 2500 ซีซี รถที่มีเครื่องขนาดเกิน 2500 ซีซี จะมีอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 22
นอกจากนี้จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีกน้อยละ 19
7. สรุป
7.1 รถยนต์ยังคงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันของชาวเยอรมัน และถึงแม้ว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ ได้มีการออกกฏระเบียบและมาตรการต่างๆ ที่เพิ่มความเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับมลภาวะ สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้มีการเพิ่มอัตราภาษี เบี้ยประกันภัย ค่าธรรมเนียมต่างๆ อย่างไรก็ตามมิได้มีผลกระทบทำให้จำนวนรถยนต์ลดน้อยลงแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามจำนวนรถยนต์กลับเพิ่มสูงขึ้น ถึงแม้ว่า ในปี 2550 ที่ผ่านมานี้ ในเยอรมนีจะมีการจดทะเบียนรถใหม่เป็นจำนวน 3.148 ล้านคัน ลดลงจากปี 2549 ร้อยละ 9.2 ก็ตาม แต่จำนวนรถที่สัญจรบนท้องถนนยังมีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนกว่า 55 ล้านคัน เทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เฉพาะรถยนต์นั่ง ณ วันที่ 1 มกราคม 2551 มีจำนวน 41.183 ล้านคัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับปี 2550 ที่มีจำนวน 41.019 ล้านคัน
7.2 ประเทศคู่ค้าส่วนใหญ่ของเยอรมันเป็นประเทศต่างๆ ในยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น และสืบเนื่องจากการที่เยอรมนีได้ย้ายฐานการผลิต เข้าไปลงทุนในประเทศยุโรปตะวันออกเพิ่มมากขึ้นตามลำดับในช่วง 4-5 ปีที่ผ่ามมานี้ ทำให้ประเทศเหล่านี้เริ่มมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ที่สำคัญๆ ได้แก่ ฮังการี โปแลนด์ และเช็ค เป็นต้น และหลังจากที่ประเทศเหล่านี้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปแล้ว ทำให้มีการนำเข้ารถยนต์ ชิ้นส่วนและส่วนประกอบของรถยนต์เป็นมูลค่าที่เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
7.3 ปัจจุบันสินค้าของไทยที่ส่งออกไปเยอรมนี กว่าร้อยละ 80 เป็นรถแวนและรถปิ๊กอัพ ซึ่งเป็นผลผลิตของบริษัทต่างชาติที่เข้าไปตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย นโยบายการส่งออกจะเป็นไปตามที่บริษัทแม่กำหนดไว้ ซึ่งมีแนวโน้มในปี 2551 จะการส่งออกเพิ่มมากขึ้น สำหรับชิ้นส่วน และส่วนประกอบ ซึ่งสินค้าของไทยมีคุณภาพปานกลาง ที่สำคัญ ได้แก่ ส่วนประกอบโคมไฟ และที่ปัดน้ำฝน เป็นต้น จะเป็นไปในทำนองเดียวกัน และสืบเนื่องจากความหลากหลายของรถยนต์ที่มีใช้ในเยอรมนี อาจกล่าวโดยรวมได้ว่า การขยายตัวเพิ่มมากขึ้นของสินค้าไทยในตลาดเยอรมนียังมีความเป็นไปได้สูง โอกาสของผู้ส่งออกไทยสำหรับการขยายการส่งออกสินค้าเหล่านี้ไปยังตลาดเยอรมันยังมีอยู่อีกมาก การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานและพยายามรักษาระดับราคาให้เหมาะสม จะช่วยทำให้สินค้าของไทยเป็นที่สนใจและมีการนำเข้าเพิ่มมากขึ้นต่อไป
ข้อมูลจาก: สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศฯ ณ กรุงเบอร์ลิน
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ