1. การผลิตและการจำหน่าย
1.1 มูลค่าการผลิต
การผลิตสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเคยเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญมากแขนงหนึ่ง อยู่ใน
อันดับต้นๆ ของอุตสาหกรรมการผลิตของสหพันธ์ฯ จำนวนคนงานที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมแขนงนี้มีประมาณ
170,000 คน ในกว่า 1,400 โรงงาน ทำการผลิตสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ
กว่า 22,000 ล้านยูโร (ประมาณ 1.089 ล้านล้านบาท) ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งทอโดยเฉพาะสินค้าประเภท
High-Tech เช่น ผ้าผืนที่มีคุณสมบัติพิเศษ กันน้ำ ทนทานต่อสารเคมี และอื่นๆ เป็นต้น ส่วนเสื้อผ้าสำเร็จรูป
มีมูลค่าการผลิตประมาณ 2,300 ล้านยูโร (ประมาณ 113,850 ล้านบาท) เนื่องจากภายในประเทศมีภาระ
ค่าจ้างแรงงานสูง จึงมีการย้ายฐานการผลิตโดยเฉพาะสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป ไปตั้งอยู่ในประเทศแถบเอเชีย
และยุโรปตะวันออก และมีการผลิตตามสั่งเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ทำให้การผลิตภายในประเทศมีมูลค่าลดน้อยลง
มาโดยตลอด สำหรับปี 2550 ที่ผ่านมานี้การผลิตสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีมูลค่าทั้งสิ้น 12,881.4 ล้านยูโร
(ประมาณ 637,629 ล้านบาท) เฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีมูลค่า 1,653.5 ล้านยูโร (ประมาณ 81,848 ล้านบาท)
ลดลงจากปี 2549 ร้อยละ 9.5 จำนวนโรงงานผู้ผลิตสิ่งทอลดลงร้อยละ 5.45 เหลือ 919 กิจการและโรงงาน
เสื้อผ้าสำเร็จรูป 9.9 เหลือ 273 กิจการตามลำดับ ในด้านคนงานของอุตสาหกรรมแขนงนี้นั้น ในช่วงปลาย
ปี 2550 มีจำนวน 103,277 หรือลดลงร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้
Garments Production in Germany
Million Euro Companies +/- (%)
Code Title 2005 2006 2007 2006 2007 Value Co.
17 Textile 10,906.80 10,994.00 11,209.70 972 919 1.96 -5.45
18 Garments 2,053.20 1,826.90 1,653.50 303 273 -9.49 -9.90
1810 Leather clothes 14.40 15.90 19.6 9 11 23.70 22.22
1821 Workwear 90.90 98.40 100.3 37 35 1.98 -5.41
1822 Other Outerwear 1,171.20 924.30 913.1 131 116 -1.21 -11.45
1823 Underwear 526.40 529.90 465.4 116 98 -12.18 -15.52
1824 Other wearing & accessories 213.20 232.10 230.3 91 82 -0.78 -9.89
1830 Article of Fur 14.30 12.10 7.4 10 7 -39.13 -30
1899 Other 22.90 14.20 17.4 5 5 22.11 0.0
17-18 Textile + Garments 12,959.90 12,820.90 12,863.20 1,275 1,192 0.33 -6.51
ที่มา: สนง.สถิติแห่งชาติ เยอรมนี
1.2 มูลค่าการจำหน่าย
ในปี 2549 การค้าปลีกสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีมูลค่าทั้งสิ้น 57,190 ล้านยูโร (ประมาณ 2.831
ล้านล้านบาท) โดยเป็นเสื้อผ้าสตรีมูลค่า 26,050 ล้านยูโร (ประมาณ 1.289 ล้านล้านบาท) เสื้อผ้าบุรุษมูลค่า
13,950 ล้านยูโร (ประมาณ 690,525 ล้านบาท) เสื้อผ้าเด็กมูลค่า 2,660 ล้านยูโร (ประมาณ 131,670
ล้านบาท) และเคหะสิ่งทอเป็นมูลค่า 8,130 ล้านยูโร (ประมาณ 402,435 ล้านบาท)
สำหรับปี 2550 ตลอดทั้งปี คาดว่ามูลค่าของการค้าปลีกเสื้อสำเร็จรูปจะใกล้เคียงกับปี 2549 ที่
ผ่านมา โดยมีแนวโน้มเสื้อผ้าบุรุษจะมีการจำหน่ายเป็นมูลค่าที่เพิ่มมากขึ้น
มูลค่าการจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปในปี 2546 - 2549
ล้านยูโร
ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549 +/- %
เสื้อผ้าสตรี 26,050 25,160 25,500 26,050 2.2
เสื้อผ้าบุรุษ 13,800 13,790 14,130 13,950 -1.3
เสื้อผ้าเด็ก 2,660 2,615 2,640 2,660 0.8
สิ่งทออื่นๆ 6,970 5,530 6,390 6,400 0.2
เคหะสิ่งทอ 8,480 8,180 8,100 8,130 0.4
รวม 57,960 55,275 56,760 57,190 0.8
ที่มา: สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอเยอรมัน
Top 10 ผู้ค้าปลีกสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปปี 2549
ล้านยูโร ขยายตัว %
1 Arcandor AG (KarstadtQuelle) 4,207 -4,9
2 Otto GmbH & Co. KG 3,548* --
3 Metro Group 3,074* --
4 C&A, Duesseldorf 2,810 +4,0
5 Hennes&Mauritz, Hamburg 2,175 +2,6
6 Peek&Cloppenburg, Duesseldorf 1,496* +3,0
7 Tengelmann Gruppe 1,274* +2,4
8 Tchibo Holding AG (Maxingvest AG) 1,077* --
9 Aldi Inc. 1,050* -4,1
10 Schwarz-Gruppe 1,010* -4,3
ที่มา: Textil Wirtschaft
* ประมาณ
2. การนำเข้า
2.1 มูลค่าการนำเข้า
ในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา (2548 — 2550) เยอรมนีนำเข้าสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นมูลค่า
โดยเฉลี่ยปีละ 23,758 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 5,151.5
ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 15.9 แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ใน
ระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา (2548 — 2550) มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 4,978.0 หรือร้อยละ 20.1
ของการนำเข้าทั้งสิ้น และในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) นำเข้าเป็นมูลค่า 1,355.7 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่า
เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 26.3 รองลงมาเป็น ตุรกี มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดย
เฉลี่ยปีละ 3,163.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 13.3 ของการนำเข้ารวม สำหรับปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.)
มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 680.0 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 13.2
จาก บังคลาเทศ มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 1,555.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี2551 (ม.ค.-ก.พ.)
มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 335.0 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 6.5
สำหรับไทยมีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 31 เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 168.2 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่ง
ตลาดร้อยละ 0.71 และในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 35.3 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่า
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.69 นับเป็นอันดับที่ 27
สถิติการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเยอรมนีปี 2547 — 2551 (ม.ค. — ก.พ.)
Millions of US Dollars % Share % Change
Rank Country 2004 2005 2006 2007 2007 2008 2007 2008 - 08/07 -
Jan-Feb Jan-Feb Jan-Feb Jan-Feb Jan-Feb
1 China 2,660.10 4,231.40 4,613.70 6,088.80 1,130.50 1,355.70 25.44 26.32 19.92
2 Turkey 3,203.10 2,986.20 3,030.90 3,472.50 630.3 681.0 14.18 13.22 8.04
3 Bangladesh 1,323.10 1,252.80 1,677.50 1,737.10 270.6 335.4 6.09 6.51 23.93
4 Netherlands 1,051.80 1,118.50 1,243.70 1,321.60 192.3 234.4 4.33 4.55 21.90
5 Italy 1,362.50 1,254.90 1,182.20 1,117.80 179.2 221.4 4.03 4.30 23.61
6 India 515.20 625.20 826.20 884.50 151.30 215.60 3.40 4.19 42.55
7 Poland 699.40 615 573.3 592.5 90.4 158.1 2.04 3.07 74.80
8 Romania 1,164.90 1,096.00 1,078.00 808.7 157.6 139.5 3.55 2.71 -11.50
9 Denmark 385.80 418.3 528.2 557.3 88.1 107.1 1.98 2.08 21.61
10 Indonesia 448.50 427.9 490.2 490.7 77.2 101.7 1.74 1.97 31.69
27 Thailand 182.90 148.6 186.5 169.4 33.6 35.4 0.76 0.69 5.24
Other 8,699.70 7,622.60 8,264.20 8,541.70 1,442.90 1,566.30 32.47 30.40 8.55
Total of import 21,697.00 21,797.40 23,694.40 25,782.80 4,443.90 5,151.50 100.00 100.00 15.92
ที่มา Eurostat, World Trade Atlas
2.2 จำแนกตามชนิดของเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีการนำเข้าสินค้าแต่ละชนิดที่สำคัญๆ ดังนี้
2.2.1 เสื้อผ้าสำเร็จรูปทำด้วยผ้าฝ้าย ในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) เยอรมนีนำเข้า
เป็นมูลค่า 3,132.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 16.1 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด
ร้อยละ 60.8 ของการนำเข้าสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งสิ้น แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน มีการนำเข้าใน
ปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) เป็นมูลค่า 692.4 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 คิดเป็นส่วนแบ่ง
ตลาดร้อยละ 22.1 รองลงมาเป็น ตุรกี มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 491.7 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 4.9 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 15.7 จากบังคลาเทศ มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 295.7 ล้านเหรียญ
สหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 9.4 จากไทยมีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 33
เป็นมูลค่า 16.7 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.53
2.2.2 เสื้อผ้าสำเร็จรูปทำด้วยใยสังเคราะห์ฝ้าย ในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) เยอรมนี
นำเข้าเป็นมูลค่า 1,124.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 12.5 คิดเป็นส่วนแบ่ง
ตลาดร้อยละ 21.8 ของการนำเข้าสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งสิ้น แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน มีการนำเข้า
ในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) เป็นมูลค่า 360.1 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 คิดเป็นส่วนแบ่ง
ตลาดร้อยละ 32.0 รองลงมาเป็น ตุรกี มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 86.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ
13.7 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 7.7 จาก เนเธอแลนด์ มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 55.2 ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.8 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.9 จาก ไทย มีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 22 เป็น
มูลค่า 13.5 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 6.7 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.2
3. การส่งออก
3.1 มูลค่าการส่งออก
ในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา (2548 — 2550) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป
เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 12,139 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) มีการส่งออกเป็นมูลค่า
2,878.3 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 31.9 สินค้าส่งออกที่สำคัญ ๆ ได้แก่
3.1.1 เสื้อผ้าสำเร็จรูปทำด้วยผ้าฝ้าย ในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) เยอรมนีส่งออกเป็น
มูลค่า 1,614.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 28.6 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ
54.7 ของการส่งออกสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งสิ้น ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ออสเตรีย มีการส่งออกเป็นมูลค่า
255.4 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.9 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 15.8 รองลงมาเป็นเนเธอแลนด์
มีการส่งออกเป็นมูลค่า 224.0 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.5 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 13.9
และ ฝรั่งเศส มูลค่า 177.2 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.6 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 11.0
3.1.2 เสื้อผ้าสำเร็จรูปทำด้วยใยสังเคราะห์ฝ้าย ในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) เยอรมนี
ส่งออกเป็นมูลค่า 645.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 37.1 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด
ร้อยละ 21.9 ของการส่งออกสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งสิ้น ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ออสเตรีย มีการส่งออกเป็น
มูลค่า 108.8 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.6 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 16.9 รองลงมาเป็น
เนเธอแลนด์ มีการส่งออกเป็นมูลค่า 82.2 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.1 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด
ร้อยละ 12.7 สวิสเซอร์แลนด์ มีการส่งออกเป็นมูลค่า 72.7 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.1 คิด
เป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 11.3
4. การนำเข้าจากไทย
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2548 - 2550) เยอรมนีนำเข้าสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากไทยคิดเป็น
มูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 168.1 ล้านเหรียญสหรัฐและในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 35.3 ล้าน
เหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 5.2เทียบกับปริมาณการตลาดทั้งหมดของสินค้าประเภทนี้
ในเยอรมนี สินค้าของไทยยังมีส่วนแบ่งตลาดที่น้อยมาก ประมาณร้อยละ 0.69 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้นของเยอรมนี
สินค้ารายการสำคัญที่เยอรมนีนำเข้ามากจากไทย ได้แก่ เสื้อผ้าทำด้วยฝ้าย มีการนำเข้าในระยะ 3 ปี (2548 -
2550) คิดเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 72.8 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) มีการนำเข้าเป็น
มูลค่า 16.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 47.2 ของการนำเข้าจากไทย มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะ
เดียวกันร้อยละ 16.7 รองลงมาเป็นเสื้อผ้าทำด้วยใยสังเคราะห์ มีการนำเข้าในระยะ 3 ปี (2548 — 2550)
เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 69.4 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 13.5
ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 38.2 ของการนำเข้าจากไทย มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 6.7
สถิติการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเยอรมนีจากไทยปี 2547 — 2551 (ม.ค. — ก.พ.)
Millions of US Dollars % Share %+/-
H.S. 2004 2005 2006 2007 2007 2008 2007 2008 -08/07-
Jan-Feb Jan-Feb Jan-Feb Jan-Feb Jan-Feb
180 Ready made Garments 182.94 148.63 186.46 169.37 33.59 35.35 0.76 0.69 5.24
180a Garments Cotton 95.93 66.89 84.06 67.35 14.3 16.7 42.56 47.23 16.77
180b Garments man-made fibres 69.69 62.83 73.03 72.39 14.49 13.52 43.12 38.24 -6.69
180c Garments Silk 2.54 2.71 2.77 3.28 0.25 0.39 0.74 1.11 57.55
180d Garments Wool 2.69 2.09 1.17 0.45 0.04 0.01 0.13 0.04 -65.10
180e Garments Other 10.28 12.34 23.19 23.92 4.06 4.31 12.08 12.18 6.10
180f Garments Baby 1.96 1.85 2.27 1.99 0.46 0.43 1.37 1.21 -6.83
6110 30 Sweaters, Pullovers Etc, Knit Etc, Manmade Fibers 35.71 29.06 39.19 33.09 6.93 6.15 20.62 17.39 -11.24
6105 10 Men'S Or Boys' Shirts Of Cotton, Knitted Or Croche 9.56 10.96 12.43 14.06 3.06 4.76 9.11 13.46 55.42
611020 Sweaters, Pullovers Etc, Knit Etc, Cotton 29.26 19.19 20.96 16.29 3.39 4.53 10.1 12.8 33.44
610910 T-Shirts, Singlets, Tank Tops Etc, Knit Etc Cotton 19.19 9.72 14.26 10.75 2.11 2.92 6.27 8.25 38.48
610990 T-Shirts, Singlets Etc, Knit Etc, Textiles Nesoi 5.31 7.61 15.34 15.23 2.54 2.91 7.55 8.24 14.84
620342 Men'S Or Boys' Trousers Etc, Not Knit, Cotton 6.02 8.12 10.80 7.07 1.45 1.36 4.33 3.84 -6.50
610822 Women'S/Girls' Briefs & Panties Manmade Fiber, Kt 6.96 8.19 6.63 5.53 0.56 1.24 1.66 3.51 122.70
620463 Women'S Or Girls' Trousers Etc Not Knit, Syn Fiber 5.96 4.39 3.62 4.54 1.01 1.21 3 3.42 20.11
6210 Garments, Of Felt Etc, Or Fabric Impregnated Etc 3.38 2.71 4.30 6.54 1.15 1.12 3.42 3.16 -2.78
610463 W/G Trouser Overall Breeches Shorts Syn Fib, Knit 1.81 2.90 2.78 5.98 0.72 1.1 2.13 3.11 53.83
620343 Men'S Or Boys' Trousers Etc, Not Knit, Synth Fiber 1.70 1.60 2.20 2.50 0.59 0.63 1.75 1.78 7.20
611241 Women'S Or Girls' Swimwear Synthetic Fibers, Knit 3.64 2.48 3.20 5.36 1.29 0.5 3.84 1.41 -61.51
ที่มา Eurostat, World Trade Atlas
5. ช่องทางการตลาด
เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่เยอรมนีนำเข้าจากต่างประเทศ อาจจำแนกได้ 4 ช่องทาง ดังนี้
(1) นำเข้าโดยผู้นำเข้าสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยเฉพาะ เพื่อส่งมอบให้แก่ร้านค้าปลีก
ผู้ค้าส่งรายใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้า กิจการ Mail-Order และร้านค้าประเภท Hyper Market
เป็นต้น นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งอาจทำการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศยุโรปอื่นที่ใกล้เคียง อาทิ โปแลนด์
ออสเตรีย และรัสเซีย เป็นต้น
(2) นำเข้าโดยเอเย่นต์/บริษัทตัวแทนของร้านค้าขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า และกิจการ
ประเภท Mail Order เพื่อจำหน่ายในร้านค้าที่เป็นสาขาของตนเอง และอีกส่วนหนึ่งส่งมอบให้แก่ร้านค้า
ปลีกและผู้ค้าส่งรายใหญ่
(3) การนำเข้าโดยโรงงานผู้ผลิต โดยเป็น Order ที่โรงงานผู้ผลิตในเยอรมนีสั่งให้บริษัท
ผู้ผลิตในต่างประเทศทำการผลิตให้
(4) การนำเข้าโดยผู้ค้าปลีกรายย่อยต่างๆ เพื่อจำหน่ายในร้านค้าของตนเอง
5. กฏระเบียบ ข้อจำกัดทางการค้า
5.1 ข้อกำหนดพื้นฐานเกี่ยวกับสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะเป็นไปในด้านความปลอดภัย
ของผู้บริโภค ได้แก่ ข้อกำหนดการใช้สารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การฟอก การย้อมสี เป็นต้น จะต้อง
เป็นสารที่สากลยอมรับและไม่เกิดอันตรายกับผู้บริโภค เยอรมนีมี กฎ ระเบียบข้อจำกัดต่างๆที่รัดกุม เข้มงวดมาก
และมักจะเป็นผู้นำที่ค้นพบว่า สารเคมีที่อนุญาตให้ใช้กันได้ทั่วไป มีส่วนทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ และมี
การสั่งห้ามมิให้นำมาใช้ อย่างไรก็ตาม จากการที่เยอรมนีเป็นประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป การใช้กฏเกณฑ์
ใดๆ จะต้องผ่านการยอมรับของคณะกรรมการสหภาพยุโรปก่อนจึงจะมีผลใช้บังคับได้
5.2 ข้อกำหนดอีกประการหนึ่ง คือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โดยพยายาม
ไม่ใช้หรือลดปริมาณการใช้สารเคมี สารสังเคราะห์ต่างๆ ในแต่ละขบวนการต่างๆ ของการผลิต เป็นต้น
วิธีการนี้ นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์และปกป้องสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีผลในด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคอีกด้วย
เช่น ลดการเป็นโรคภูมิแพ้ โรคผิวหนัง ได้ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันได้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
6. ภาษีนำเข้า/โควต้า
อัตราภาษีนำเข้าสินค้าสิ่งทอ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มของเยอรมัน เป็นอัตราภาษีเดียวกันกับที่ใช้ภายใน
สหภาพยุโรป ดังนี้
1. สินค้าประเภทเส้นด้าย รวมทั้งวัตถุดิบเพื่อการผลิตเป็นสินค้า
สำเร็จรูปจะมีอัตราระหว่างร้อยละ 0 - 7.0
2. ผ้าผืนโดยทั่วไปประมาณร้อยละ 8 อัตราสูงสุดร้อยละ 10.0
3. เสื้อผ้าสำเร็จรูปประมาณร้อยละ 4 — 12
4. ส่วนประกอบอื่นๆ ถุงมือ ถุงเท้าประมาณร้อยละ 6
อัตราภาษีนำเข้าดังกล่าวข้างต้นเป็นอัตราภาษีปกติ ปัจจุบันมีการลดอัตราภาษีให้กับสินค้าที่นำเข้า
จากกลุ่มประเทศต่างๆ แตกต่างกันไป ดังนี้
1. ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และบางประเทศในยุโรปกลางไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า
2. ประเทศต่างๆ ในอัฟริกาและอเมริกาใต้ และบางประเทศในยุโรปกลาง และยุโรปตะวันออก
เสียภาษีนำเข้าร้อยละ 0 - 15 ของอัตราปกติ
3. ประเทศอุตสาหกรรมเสียภาษีในอัตราปกติ
การที่จะได้รับสิทธิพิเศษเพื่อเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่ต่ำกว่าปกติ นั้น จะต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิด
(Certificate of Origin) Form A รับรองว่าเป็นสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศนั้นๆ โดยหน่วยงานใน
แต่ละประเทศตามที่ได้ระบุไว้ในข้อตกลงสิ่งทอเป็นผู้ออกหนังสือรับรองดังกล่าว นอกจากนี้สำหรับ บางประเทศ
ยังคงมีการจำกัดปริมาณการนำเข้าโดยกำหนดเป็นโควต้านำเข้าตามข้อตกลงพิเศษ เช่น กับประเทศจีน สำหรับ
สินค้าจากไทยอนุญาตให้นำเข้าได้โดยเสรี และจะเสียภาษีนำเข้าในอัตราระหว่างร้อยละ 0 — 12.0 ตามแต่พิกัด
ของสินค้าที่นำเข้า
7. สรุปและข้อคิดเห็นเสนอแนะ
7.1 ตลาดสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเยอรมนี มีความจำเป็นต้องอาศัยการนำเข้าสินค้าจากต่าง
ประเทศเป็นหลัก เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ โดยจะมีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ
23,758 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 5,151.5 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 15.9 โดยจะมีสินค้าจากจีนเข้าสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้นมาโดยตลอดในระยะ
3 — 4 ปีที่ผ่านมา สำหรับสินค้าของไทยยังคงเป็นที่ต้องการของตลาด มีการนำเข้าในช่วง 2 เดือนแรกปี 2551
เป็นมูลค่า 35.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2
7.2 สืบเนื่องจากตลาดเสื้อผ้าในเยอรมนีถึงจุดอิ่มตัวมีสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ที่สำคัญๆ ได้แก่
จีนและตุรกี จึงมีการแข่งขันด้านราคาที่มีความรุนแรง เพิ่มมากขึ้นทำให้ในเยอรมนีมีการคำนึงถึงราคาของสินค้า
เป็นปัจจัยหลักในการจับจ่ายซื้อสินค้า รูปแบบ สีสรรเป็นที่นิยมรองลงมา คุณภาพของสินค้าและสินค้าแฟชั่น
เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง นอกจากนี้ สินค้าประเภทเกษตรอินทรีย์ ที่ในขบวนการผลิตไม่ใช้สารเคมี ใดๆ เป็นที่นิยมของ
ผู้บริโภคกลุ่มน้อย เนื่องจากในปัจจุบันยังมีราคาแพง แต่มีแนวโน้มส่วนแบ่งตลาดเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
7.3 สืบเนื่องจากเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่นำเข้าโดยทั่วไปมีราคาต่ำกว่าการผลิตในประเทศ เยอรมนี
จึงให้ความสำคัญในด้านการคิดค้น ผลิตสินค้าหรือวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสิ่งทอประเภท High-Tech มากขึ้น ได้แก่
เส้นด้าย หรือผ้าผืน ตลอดจนเสื้อผ้าที่มีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
7.4 สินค้าแบรนด์เนมใหม่ๆ ได้รับความสนใจพอๆ กันกับสินค้าที่มียี่ห้อเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ราคา
คุณภาพ รูปแบบของสินค้าเป็นปัจจัยหลักของการซื้อของผู้บริโภค การผลิตสินค้าคุณภาพดี มีราคาเหมาะสม และถึง
แม้ว่าจะเป็นสินค้าใหม่ในตลาดก็ตาม ตลาดยังคงให้ความสนใจอยู่
ข้อมูลจาก: ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศฯ ณ กรุงเบอร์ลิน
ที่มา: http://www.depthai.go.th
1.1 มูลค่าการผลิต
การผลิตสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเคยเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญมากแขนงหนึ่ง อยู่ใน
อันดับต้นๆ ของอุตสาหกรรมการผลิตของสหพันธ์ฯ จำนวนคนงานที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมแขนงนี้มีประมาณ
170,000 คน ในกว่า 1,400 โรงงาน ทำการผลิตสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ
กว่า 22,000 ล้านยูโร (ประมาณ 1.089 ล้านล้านบาท) ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งทอโดยเฉพาะสินค้าประเภท
High-Tech เช่น ผ้าผืนที่มีคุณสมบัติพิเศษ กันน้ำ ทนทานต่อสารเคมี และอื่นๆ เป็นต้น ส่วนเสื้อผ้าสำเร็จรูป
มีมูลค่าการผลิตประมาณ 2,300 ล้านยูโร (ประมาณ 113,850 ล้านบาท) เนื่องจากภายในประเทศมีภาระ
ค่าจ้างแรงงานสูง จึงมีการย้ายฐานการผลิตโดยเฉพาะสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป ไปตั้งอยู่ในประเทศแถบเอเชีย
และยุโรปตะวันออก และมีการผลิตตามสั่งเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ทำให้การผลิตภายในประเทศมีมูลค่าลดน้อยลง
มาโดยตลอด สำหรับปี 2550 ที่ผ่านมานี้การผลิตสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีมูลค่าทั้งสิ้น 12,881.4 ล้านยูโร
(ประมาณ 637,629 ล้านบาท) เฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีมูลค่า 1,653.5 ล้านยูโร (ประมาณ 81,848 ล้านบาท)
ลดลงจากปี 2549 ร้อยละ 9.5 จำนวนโรงงานผู้ผลิตสิ่งทอลดลงร้อยละ 5.45 เหลือ 919 กิจการและโรงงาน
เสื้อผ้าสำเร็จรูป 9.9 เหลือ 273 กิจการตามลำดับ ในด้านคนงานของอุตสาหกรรมแขนงนี้นั้น ในช่วงปลาย
ปี 2550 มีจำนวน 103,277 หรือลดลงร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้
Garments Production in Germany
Million Euro Companies +/- (%)
Code Title 2005 2006 2007 2006 2007 Value Co.
17 Textile 10,906.80 10,994.00 11,209.70 972 919 1.96 -5.45
18 Garments 2,053.20 1,826.90 1,653.50 303 273 -9.49 -9.90
1810 Leather clothes 14.40 15.90 19.6 9 11 23.70 22.22
1821 Workwear 90.90 98.40 100.3 37 35 1.98 -5.41
1822 Other Outerwear 1,171.20 924.30 913.1 131 116 -1.21 -11.45
1823 Underwear 526.40 529.90 465.4 116 98 -12.18 -15.52
1824 Other wearing & accessories 213.20 232.10 230.3 91 82 -0.78 -9.89
1830 Article of Fur 14.30 12.10 7.4 10 7 -39.13 -30
1899 Other 22.90 14.20 17.4 5 5 22.11 0.0
17-18 Textile + Garments 12,959.90 12,820.90 12,863.20 1,275 1,192 0.33 -6.51
ที่มา: สนง.สถิติแห่งชาติ เยอรมนี
1.2 มูลค่าการจำหน่าย
ในปี 2549 การค้าปลีกสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีมูลค่าทั้งสิ้น 57,190 ล้านยูโร (ประมาณ 2.831
ล้านล้านบาท) โดยเป็นเสื้อผ้าสตรีมูลค่า 26,050 ล้านยูโร (ประมาณ 1.289 ล้านล้านบาท) เสื้อผ้าบุรุษมูลค่า
13,950 ล้านยูโร (ประมาณ 690,525 ล้านบาท) เสื้อผ้าเด็กมูลค่า 2,660 ล้านยูโร (ประมาณ 131,670
ล้านบาท) และเคหะสิ่งทอเป็นมูลค่า 8,130 ล้านยูโร (ประมาณ 402,435 ล้านบาท)
สำหรับปี 2550 ตลอดทั้งปี คาดว่ามูลค่าของการค้าปลีกเสื้อสำเร็จรูปจะใกล้เคียงกับปี 2549 ที่
ผ่านมา โดยมีแนวโน้มเสื้อผ้าบุรุษจะมีการจำหน่ายเป็นมูลค่าที่เพิ่มมากขึ้น
มูลค่าการจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปในปี 2546 - 2549
ล้านยูโร
ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549 +/- %
เสื้อผ้าสตรี 26,050 25,160 25,500 26,050 2.2
เสื้อผ้าบุรุษ 13,800 13,790 14,130 13,950 -1.3
เสื้อผ้าเด็ก 2,660 2,615 2,640 2,660 0.8
สิ่งทออื่นๆ 6,970 5,530 6,390 6,400 0.2
เคหะสิ่งทอ 8,480 8,180 8,100 8,130 0.4
รวม 57,960 55,275 56,760 57,190 0.8
ที่มา: สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอเยอรมัน
Top 10 ผู้ค้าปลีกสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปปี 2549
ล้านยูโร ขยายตัว %
1 Arcandor AG (KarstadtQuelle) 4,207 -4,9
2 Otto GmbH & Co. KG 3,548* --
3 Metro Group 3,074* --
4 C&A, Duesseldorf 2,810 +4,0
5 Hennes&Mauritz, Hamburg 2,175 +2,6
6 Peek&Cloppenburg, Duesseldorf 1,496* +3,0
7 Tengelmann Gruppe 1,274* +2,4
8 Tchibo Holding AG (Maxingvest AG) 1,077* --
9 Aldi Inc. 1,050* -4,1
10 Schwarz-Gruppe 1,010* -4,3
ที่มา: Textil Wirtschaft
* ประมาณ
2. การนำเข้า
2.1 มูลค่าการนำเข้า
ในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา (2548 — 2550) เยอรมนีนำเข้าสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นมูลค่า
โดยเฉลี่ยปีละ 23,758 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 5,151.5
ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 15.9 แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ใน
ระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา (2548 — 2550) มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 4,978.0 หรือร้อยละ 20.1
ของการนำเข้าทั้งสิ้น และในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) นำเข้าเป็นมูลค่า 1,355.7 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่า
เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 26.3 รองลงมาเป็น ตุรกี มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดย
เฉลี่ยปีละ 3,163.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 13.3 ของการนำเข้ารวม สำหรับปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.)
มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 680.0 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 13.2
จาก บังคลาเทศ มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 1,555.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี2551 (ม.ค.-ก.พ.)
มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 335.0 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 6.5
สำหรับไทยมีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 31 เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 168.2 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่ง
ตลาดร้อยละ 0.71 และในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 35.3 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่า
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.69 นับเป็นอันดับที่ 27
สถิติการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเยอรมนีปี 2547 — 2551 (ม.ค. — ก.พ.)
Millions of US Dollars % Share % Change
Rank Country 2004 2005 2006 2007 2007 2008 2007 2008 - 08/07 -
Jan-Feb Jan-Feb Jan-Feb Jan-Feb Jan-Feb
1 China 2,660.10 4,231.40 4,613.70 6,088.80 1,130.50 1,355.70 25.44 26.32 19.92
2 Turkey 3,203.10 2,986.20 3,030.90 3,472.50 630.3 681.0 14.18 13.22 8.04
3 Bangladesh 1,323.10 1,252.80 1,677.50 1,737.10 270.6 335.4 6.09 6.51 23.93
4 Netherlands 1,051.80 1,118.50 1,243.70 1,321.60 192.3 234.4 4.33 4.55 21.90
5 Italy 1,362.50 1,254.90 1,182.20 1,117.80 179.2 221.4 4.03 4.30 23.61
6 India 515.20 625.20 826.20 884.50 151.30 215.60 3.40 4.19 42.55
7 Poland 699.40 615 573.3 592.5 90.4 158.1 2.04 3.07 74.80
8 Romania 1,164.90 1,096.00 1,078.00 808.7 157.6 139.5 3.55 2.71 -11.50
9 Denmark 385.80 418.3 528.2 557.3 88.1 107.1 1.98 2.08 21.61
10 Indonesia 448.50 427.9 490.2 490.7 77.2 101.7 1.74 1.97 31.69
27 Thailand 182.90 148.6 186.5 169.4 33.6 35.4 0.76 0.69 5.24
Other 8,699.70 7,622.60 8,264.20 8,541.70 1,442.90 1,566.30 32.47 30.40 8.55
Total of import 21,697.00 21,797.40 23,694.40 25,782.80 4,443.90 5,151.50 100.00 100.00 15.92
ที่มา Eurostat, World Trade Atlas
2.2 จำแนกตามชนิดของเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีการนำเข้าสินค้าแต่ละชนิดที่สำคัญๆ ดังนี้
2.2.1 เสื้อผ้าสำเร็จรูปทำด้วยผ้าฝ้าย ในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) เยอรมนีนำเข้า
เป็นมูลค่า 3,132.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 16.1 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด
ร้อยละ 60.8 ของการนำเข้าสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งสิ้น แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน มีการนำเข้าใน
ปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) เป็นมูลค่า 692.4 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 คิดเป็นส่วนแบ่ง
ตลาดร้อยละ 22.1 รองลงมาเป็น ตุรกี มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 491.7 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 4.9 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 15.7 จากบังคลาเทศ มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 295.7 ล้านเหรียญ
สหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 9.4 จากไทยมีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 33
เป็นมูลค่า 16.7 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.53
2.2.2 เสื้อผ้าสำเร็จรูปทำด้วยใยสังเคราะห์ฝ้าย ในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) เยอรมนี
นำเข้าเป็นมูลค่า 1,124.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 12.5 คิดเป็นส่วนแบ่ง
ตลาดร้อยละ 21.8 ของการนำเข้าสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งสิ้น แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน มีการนำเข้า
ในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) เป็นมูลค่า 360.1 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 คิดเป็นส่วนแบ่ง
ตลาดร้อยละ 32.0 รองลงมาเป็น ตุรกี มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 86.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ
13.7 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 7.7 จาก เนเธอแลนด์ มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 55.2 ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.8 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.9 จาก ไทย มีการนำเข้าเป็นอันดับที่ 22 เป็น
มูลค่า 13.5 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 6.7 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.2
3. การส่งออก
3.1 มูลค่าการส่งออก
ในระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา (2548 — 2550) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป
เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 12,139 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) มีการส่งออกเป็นมูลค่า
2,878.3 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 31.9 สินค้าส่งออกที่สำคัญ ๆ ได้แก่
3.1.1 เสื้อผ้าสำเร็จรูปทำด้วยผ้าฝ้าย ในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) เยอรมนีส่งออกเป็น
มูลค่า 1,614.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 28.6 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ
54.7 ของการส่งออกสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งสิ้น ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ออสเตรีย มีการส่งออกเป็นมูลค่า
255.4 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.9 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 15.8 รองลงมาเป็นเนเธอแลนด์
มีการส่งออกเป็นมูลค่า 224.0 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.5 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 13.9
และ ฝรั่งเศส มูลค่า 177.2 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.6 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 11.0
3.1.2 เสื้อผ้าสำเร็จรูปทำด้วยใยสังเคราะห์ฝ้าย ในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) เยอรมนี
ส่งออกเป็นมูลค่า 645.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 37.1 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด
ร้อยละ 21.9 ของการส่งออกสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งสิ้น ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ออสเตรีย มีการส่งออกเป็น
มูลค่า 108.8 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.6 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 16.9 รองลงมาเป็น
เนเธอแลนด์ มีการส่งออกเป็นมูลค่า 82.2 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.1 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด
ร้อยละ 12.7 สวิสเซอร์แลนด์ มีการส่งออกเป็นมูลค่า 72.7 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.1 คิด
เป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 11.3
4. การนำเข้าจากไทย
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2548 - 2550) เยอรมนีนำเข้าสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากไทยคิดเป็น
มูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 168.1 ล้านเหรียญสหรัฐและในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 35.3 ล้าน
เหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 5.2เทียบกับปริมาณการตลาดทั้งหมดของสินค้าประเภทนี้
ในเยอรมนี สินค้าของไทยยังมีส่วนแบ่งตลาดที่น้อยมาก ประมาณร้อยละ 0.69 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้นของเยอรมนี
สินค้ารายการสำคัญที่เยอรมนีนำเข้ามากจากไทย ได้แก่ เสื้อผ้าทำด้วยฝ้าย มีการนำเข้าในระยะ 3 ปี (2548 -
2550) คิดเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 72.8 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) มีการนำเข้าเป็น
มูลค่า 16.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 47.2 ของการนำเข้าจากไทย มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะ
เดียวกันร้อยละ 16.7 รองลงมาเป็นเสื้อผ้าทำด้วยใยสังเคราะห์ มีการนำเข้าในระยะ 3 ปี (2548 — 2550)
เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 69.4 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 13.5
ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 38.2 ของการนำเข้าจากไทย มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 6.7
สถิติการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเยอรมนีจากไทยปี 2547 — 2551 (ม.ค. — ก.พ.)
Millions of US Dollars % Share %+/-
H.S. 2004 2005 2006 2007 2007 2008 2007 2008 -08/07-
Jan-Feb Jan-Feb Jan-Feb Jan-Feb Jan-Feb
180 Ready made Garments 182.94 148.63 186.46 169.37 33.59 35.35 0.76 0.69 5.24
180a Garments Cotton 95.93 66.89 84.06 67.35 14.3 16.7 42.56 47.23 16.77
180b Garments man-made fibres 69.69 62.83 73.03 72.39 14.49 13.52 43.12 38.24 -6.69
180c Garments Silk 2.54 2.71 2.77 3.28 0.25 0.39 0.74 1.11 57.55
180d Garments Wool 2.69 2.09 1.17 0.45 0.04 0.01 0.13 0.04 -65.10
180e Garments Other 10.28 12.34 23.19 23.92 4.06 4.31 12.08 12.18 6.10
180f Garments Baby 1.96 1.85 2.27 1.99 0.46 0.43 1.37 1.21 -6.83
6110 30 Sweaters, Pullovers Etc, Knit Etc, Manmade Fibers 35.71 29.06 39.19 33.09 6.93 6.15 20.62 17.39 -11.24
6105 10 Men'S Or Boys' Shirts Of Cotton, Knitted Or Croche 9.56 10.96 12.43 14.06 3.06 4.76 9.11 13.46 55.42
611020 Sweaters, Pullovers Etc, Knit Etc, Cotton 29.26 19.19 20.96 16.29 3.39 4.53 10.1 12.8 33.44
610910 T-Shirts, Singlets, Tank Tops Etc, Knit Etc Cotton 19.19 9.72 14.26 10.75 2.11 2.92 6.27 8.25 38.48
610990 T-Shirts, Singlets Etc, Knit Etc, Textiles Nesoi 5.31 7.61 15.34 15.23 2.54 2.91 7.55 8.24 14.84
620342 Men'S Or Boys' Trousers Etc, Not Knit, Cotton 6.02 8.12 10.80 7.07 1.45 1.36 4.33 3.84 -6.50
610822 Women'S/Girls' Briefs & Panties Manmade Fiber, Kt 6.96 8.19 6.63 5.53 0.56 1.24 1.66 3.51 122.70
620463 Women'S Or Girls' Trousers Etc Not Knit, Syn Fiber 5.96 4.39 3.62 4.54 1.01 1.21 3 3.42 20.11
6210 Garments, Of Felt Etc, Or Fabric Impregnated Etc 3.38 2.71 4.30 6.54 1.15 1.12 3.42 3.16 -2.78
610463 W/G Trouser Overall Breeches Shorts Syn Fib, Knit 1.81 2.90 2.78 5.98 0.72 1.1 2.13 3.11 53.83
620343 Men'S Or Boys' Trousers Etc, Not Knit, Synth Fiber 1.70 1.60 2.20 2.50 0.59 0.63 1.75 1.78 7.20
611241 Women'S Or Girls' Swimwear Synthetic Fibers, Knit 3.64 2.48 3.20 5.36 1.29 0.5 3.84 1.41 -61.51
ที่มา Eurostat, World Trade Atlas
5. ช่องทางการตลาด
เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่เยอรมนีนำเข้าจากต่างประเทศ อาจจำแนกได้ 4 ช่องทาง ดังนี้
(1) นำเข้าโดยผู้นำเข้าสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปโดยเฉพาะ เพื่อส่งมอบให้แก่ร้านค้าปลีก
ผู้ค้าส่งรายใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้า กิจการ Mail-Order และร้านค้าประเภท Hyper Market
เป็นต้น นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งอาจทำการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศยุโรปอื่นที่ใกล้เคียง อาทิ โปแลนด์
ออสเตรีย และรัสเซีย เป็นต้น
(2) นำเข้าโดยเอเย่นต์/บริษัทตัวแทนของร้านค้าขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า และกิจการ
ประเภท Mail Order เพื่อจำหน่ายในร้านค้าที่เป็นสาขาของตนเอง และอีกส่วนหนึ่งส่งมอบให้แก่ร้านค้า
ปลีกและผู้ค้าส่งรายใหญ่
(3) การนำเข้าโดยโรงงานผู้ผลิต โดยเป็น Order ที่โรงงานผู้ผลิตในเยอรมนีสั่งให้บริษัท
ผู้ผลิตในต่างประเทศทำการผลิตให้
(4) การนำเข้าโดยผู้ค้าปลีกรายย่อยต่างๆ เพื่อจำหน่ายในร้านค้าของตนเอง
5. กฏระเบียบ ข้อจำกัดทางการค้า
5.1 ข้อกำหนดพื้นฐานเกี่ยวกับสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะเป็นไปในด้านความปลอดภัย
ของผู้บริโภค ได้แก่ ข้อกำหนดการใช้สารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การฟอก การย้อมสี เป็นต้น จะต้อง
เป็นสารที่สากลยอมรับและไม่เกิดอันตรายกับผู้บริโภค เยอรมนีมี กฎ ระเบียบข้อจำกัดต่างๆที่รัดกุม เข้มงวดมาก
และมักจะเป็นผู้นำที่ค้นพบว่า สารเคมีที่อนุญาตให้ใช้กันได้ทั่วไป มีส่วนทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ และมี
การสั่งห้ามมิให้นำมาใช้ อย่างไรก็ตาม จากการที่เยอรมนีเป็นประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป การใช้กฏเกณฑ์
ใดๆ จะต้องผ่านการยอมรับของคณะกรรมการสหภาพยุโรปก่อนจึงจะมีผลใช้บังคับได้
5.2 ข้อกำหนดอีกประการหนึ่ง คือ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โดยพยายาม
ไม่ใช้หรือลดปริมาณการใช้สารเคมี สารสังเคราะห์ต่างๆ ในแต่ละขบวนการต่างๆ ของการผลิต เป็นต้น
วิธีการนี้ นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์และปกป้องสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีผลในด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคอีกด้วย
เช่น ลดการเป็นโรคภูมิแพ้ โรคผิวหนัง ได้ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันได้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
6. ภาษีนำเข้า/โควต้า
อัตราภาษีนำเข้าสินค้าสิ่งทอ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มของเยอรมัน เป็นอัตราภาษีเดียวกันกับที่ใช้ภายใน
สหภาพยุโรป ดังนี้
1. สินค้าประเภทเส้นด้าย รวมทั้งวัตถุดิบเพื่อการผลิตเป็นสินค้า
สำเร็จรูปจะมีอัตราระหว่างร้อยละ 0 - 7.0
2. ผ้าผืนโดยทั่วไปประมาณร้อยละ 8 อัตราสูงสุดร้อยละ 10.0
3. เสื้อผ้าสำเร็จรูปประมาณร้อยละ 4 — 12
4. ส่วนประกอบอื่นๆ ถุงมือ ถุงเท้าประมาณร้อยละ 6
อัตราภาษีนำเข้าดังกล่าวข้างต้นเป็นอัตราภาษีปกติ ปัจจุบันมีการลดอัตราภาษีให้กับสินค้าที่นำเข้า
จากกลุ่มประเทศต่างๆ แตกต่างกันไป ดังนี้
1. ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และบางประเทศในยุโรปกลางไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า
2. ประเทศต่างๆ ในอัฟริกาและอเมริกาใต้ และบางประเทศในยุโรปกลาง และยุโรปตะวันออก
เสียภาษีนำเข้าร้อยละ 0 - 15 ของอัตราปกติ
3. ประเทศอุตสาหกรรมเสียภาษีในอัตราปกติ
การที่จะได้รับสิทธิพิเศษเพื่อเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่ต่ำกว่าปกติ นั้น จะต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิด
(Certificate of Origin) Form A รับรองว่าเป็นสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศนั้นๆ โดยหน่วยงานใน
แต่ละประเทศตามที่ได้ระบุไว้ในข้อตกลงสิ่งทอเป็นผู้ออกหนังสือรับรองดังกล่าว นอกจากนี้สำหรับ บางประเทศ
ยังคงมีการจำกัดปริมาณการนำเข้าโดยกำหนดเป็นโควต้านำเข้าตามข้อตกลงพิเศษ เช่น กับประเทศจีน สำหรับ
สินค้าจากไทยอนุญาตให้นำเข้าได้โดยเสรี และจะเสียภาษีนำเข้าในอัตราระหว่างร้อยละ 0 — 12.0 ตามแต่พิกัด
ของสินค้าที่นำเข้า
7. สรุปและข้อคิดเห็นเสนอแนะ
7.1 ตลาดสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเยอรมนี มีความจำเป็นต้องอาศัยการนำเข้าสินค้าจากต่าง
ประเทศเป็นหลัก เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ โดยจะมีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ
23,758 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-ก.พ.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 5,151.5 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 15.9 โดยจะมีสินค้าจากจีนเข้าสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้นมาโดยตลอดในระยะ
3 — 4 ปีที่ผ่านมา สำหรับสินค้าของไทยยังคงเป็นที่ต้องการของตลาด มีการนำเข้าในช่วง 2 เดือนแรกปี 2551
เป็นมูลค่า 35.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2
7.2 สืบเนื่องจากตลาดเสื้อผ้าในเยอรมนีถึงจุดอิ่มตัวมีสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ที่สำคัญๆ ได้แก่
จีนและตุรกี จึงมีการแข่งขันด้านราคาที่มีความรุนแรง เพิ่มมากขึ้นทำให้ในเยอรมนีมีการคำนึงถึงราคาของสินค้า
เป็นปัจจัยหลักในการจับจ่ายซื้อสินค้า รูปแบบ สีสรรเป็นที่นิยมรองลงมา คุณภาพของสินค้าและสินค้าแฟชั่น
เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง นอกจากนี้ สินค้าประเภทเกษตรอินทรีย์ ที่ในขบวนการผลิตไม่ใช้สารเคมี ใดๆ เป็นที่นิยมของ
ผู้บริโภคกลุ่มน้อย เนื่องจากในปัจจุบันยังมีราคาแพง แต่มีแนวโน้มส่วนแบ่งตลาดเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
7.3 สืบเนื่องจากเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่นำเข้าโดยทั่วไปมีราคาต่ำกว่าการผลิตในประเทศ เยอรมนี
จึงให้ความสำคัญในด้านการคิดค้น ผลิตสินค้าหรือวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสิ่งทอประเภท High-Tech มากขึ้น ได้แก่
เส้นด้าย หรือผ้าผืน ตลอดจนเสื้อผ้าที่มีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
7.4 สินค้าแบรนด์เนมใหม่ๆ ได้รับความสนใจพอๆ กันกับสินค้าที่มียี่ห้อเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ราคา
คุณภาพ รูปแบบของสินค้าเป็นปัจจัยหลักของการซื้อของผู้บริโภค การผลิตสินค้าคุณภาพดี มีราคาเหมาะสม และถึง
แม้ว่าจะเป็นสินค้าใหม่ในตลาดก็ตาม ตลาดยังคงให้ความสนใจอยู่
ข้อมูลจาก: ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศฯ ณ กรุงเบอร์ลิน
ที่มา: http://www.depthai.go.th