ตลาดสินค้าผลไม้ในเยอรมนี

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 13, 2008 15:42 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาพรวม
1.1 เยอรมนีเป็นตลาดสินค้าผลไม้ที่ใหญ่และสำคัญแห่งหนึ่งของยุโรป ในแต่ละปีจะทำการนำเข้าผลไม้สดเป็นปริมาณกว่า 5 ล้านตัน และผลไม้แปรรูป (กระป๋อง น้ำผลไม้) อีกประมาณ 2 ล้านตัน เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคภายในประเทศ ที่มีประชากร 82 ล้านคน รวมกับชนกลุ่มน้อยชาติอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในเยอรมัน อาทิ ชาวตุรกี อิตาเลียน ชาวยุโรปตะวันออก ชาวเวียตนาม ชาวไทยและชาวเอเซียอื่นๆ อีกประมาณ 8 ล้านคน เยอรมนีจึงนับเป็นตลาดใหญ่สำหรับสินค้าผลไม้ที่น่าสนใจ
1.2 ในแต่ละในเยอรมนีมีการบริโภคผลไม้สดและแปรรูปเป็นประมาณโดยเฉลี่ยคนละ 125 กิโลกรัมต่อปี โดยมีแนวโน้มความต้องการบริโภคผลไม้สดที่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอดซึ่งในปี 2550 ที่ผ่านมามีการบริโภคผลไม้สดประมาณคนละ 86 กิโลกรัม ในจำนวนนี้เป็นแอปเปิ้ลสดประมาณ 30 กิโลกรัม
Top 10 ผลไม้สดที่นิยมในเยอรมนี
ชนิด ปริมาณการบริโภค/คน/ปี (กิโลกรัม)
1. แอปเปิ้ล 30.7
2. กล้วยหอม 16.9
3. ส้ม Orange 10.0
4. ส้ม clementine 5.9
5. องุ่น 4.8
6. แตงโม 3.5
7. แพร์ 3.4
8. สตอเบอรี่ 3.4
9. เนคทารีน 3.0
10. สับปะรด 2.6
1.3 ผลไม้ที่เข้าสู่ตลาดเยอรมัน อาจจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
1) ผลไม้สด แช่เย็นและแช่แข็ง
2) ผลไม้กระป๋องหรือที่แปรรูปเพื่อการเก็บรักษาไว้เป็นการชั่วคราว
3) น้ำผลไม้
2. การผลิต
2.1 จากรายงานสำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมัน พบว่า มีการเพาะปลูกผลไม้ในประเทศปีละประมาณ 1.5 ล้านตันหรือประมาณ 1 ใน 5 ของปริมาณสินค้าในตลาด ที่สำคัญๆ ได้แก่ แอ๊ปเปิ้ล องุ่น แพร์ เชอรี่ ฯลฯ เป็นต้น ที่เหลือเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ
2.2 ผลไม้ชนิดต่างๆ ที่เยอรมนีเพาะปลูกได้ มีหลากหลายชนิด มีฤดูกาลเก็บเกี่ยวและเข้าสู่ตลาด ดังนี้
1 สตอเบอรี่
2 Blackberries
3 Black currant
4 Red currant
5 Raspberries
6 Gooseberries
7 เชอรี่หวาน
8 เชอรี่ เปรี้ยว
9 พรุน
10 Damask plums
11 Green gage
12 แอปปริคอต
13 Mirabelles
14 แอปเปิ้ล
15 แพร์
3. การนำเข้า
3.1 ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2547-2549) เยอรมนีนำเข้าผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งผลไม้แปรรูปและน้ำผลไม้เป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 7,318 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนี้
สถิติการนำเข้าผลไม้ของเยอรมนีปี 2545 - 2549
หน่วย = ล้านเหรียญ 2545 2546 2547 2548 2549 M'share %
- 005a ผลไม้สด 3,088.3 3,910.6 4,081.5 4,040.9 4,334.1 54.63
- 055b น้ำผลไม้ 846.7 1,182.6 1,094.9 1,128.5 1,369.8 17.26
- 005b ผลไม้แช่แข็ง 336.0 466.5 380.2 368.8 430.7 5.43
- 005c ผลไม้แห้ง 169.6 199.6 237.1 234.2 298.5 3.76
- 055a ผลไม้กระป๋อง แปรรูป 201.7 247.0 273.2 267.3 284.5 3.59
- 055c,d ผลไม้แบบอื่นๆ 599.1 762.2 1,055.0 1,201.3 1,216.7 15.33
รวมทั้งสิ้น 5,241.5 6,768.4 7,121.9 7,241.0 7,934.3 100.00
ที่มา World Trade Atlas
แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ ได้แก่ เนเธอแลนด์ สเปน และอิตาลี โดยมีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 17 , 14 และ 13 ตามลำดับ สำหรับประเทศไทยมีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 45.6 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 11 เดือนแรกปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.) นำเข้าแล้วเป็นมูลค่า 53.7 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.70
3.2 ชนิดของผลไม้ที่นำเข้า
1) ผลไม้สด
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2547-2549) เยอรมนีนำเข้าผลไม้สดเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 4,152 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรก ปี 2550 มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 4,161.4 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ คือ สเปน อิตาลี และเนเธอแลนด์ โดยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 22.8, 17.4 และ 15.9 ตามลำดับ สำหรับประเทศไทยมีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 3.3 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 11 เดือนแรกปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.) นำเข้าแล้วเป็นมูลค่า 4.95 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.6 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.12
ผลไม้สดที่เยอรมนีนำเข้ามากชนิดแรก คือ กล้วยหอม มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 912 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 11 เดือนแรกปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.) นำเข้าแล้วเป็นมูลค่า 950.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 22.8 ของการนำเข้าผลไม้สดทั้งสิ้น มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ ได้แก่ เบลเยี่ยม โคลัมเบีย และ เอควาดอร์ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 35, 21 และ 13 ตามลำดับ รองลงมาเป็น แอปเปิ้ล มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 799 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 11 เดือนแรกปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.) นำเข้าแล้วเป็นมูลค่า 778 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 18.7 ของการนำเข้าผลไม้สดทั้งสิ้น มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ ได้แก่ อิตาลี เนเธอแลนด์ และเบลเยี่ยม มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 41, 26 และ 13 ตามลำดับ ผลส้มต่างๆ มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 883 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 11 เดือนแรกปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.)นำเข้าเป็นมูลค่า 738 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 18.0 ของการนำเข้าผลไม้สดทั้งสิ้น มูล
ค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ ได้แก่ สเปน เนเธอแลนด์ และ อิตาลี มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 66, 15 และ 6 ตามลำดับ
2) ผลไม้แช่เย็น แช่แข็ง
ผลไม้แช่เย็น แช่แข็งที่เยอรมนีนำเข้า ส่วนใหญ่จะเป็นประเภท เบอรรี่ต่างๆ และสตอเบอรี่ โดยในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2547-2549) นำเข้าเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 393 ล้านเหรียญสหรัฐ แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ คือ โปแลนด์ เซิร์บ และเนเธอแลนด์ คิดเป็นมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 27.8, 13.8 และ 7.5 ตามลำดับ สำหรับประเทศไทยมีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 0.341 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 11 เดือนแรกปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.) นำเข้าแล้วเป็นมูลค่า 0.265 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 20.7 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.05
3) ผลไม้แห้ง
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2547-2549) เยอรมนีนำเข้าผลไม้ประเภทนี้ เป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 256 ล้านเหรียญสหรัฐ แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ คือ ตุรกี สหรัฐอเมริกา และเนเธอแลนด์ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 26.0, 13.3 และ 8.4 ตามลำดับ สำหรับประเทศไทยมีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 0.818 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 11 เดือนแรกปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.) นำเข้าแล้วเป็นมูลค่า 0.968 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.4 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.32 ผลไม้แห้งที่มีการนำเข้ามากลำดับแรก คือ ลูกเกดมีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 97.3 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 11 เดือนแรกปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.) นำเข้าแล้วเป็นมูลค่า 103.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 34.5 ของการนำเข้าผลไม้ชนิดนี้ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ คือ ตุรกี สหรัฐอเมริกา และเนเธอแลนด์ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 50, 12 และ 9 ตามลำดับ รองลงมาเป็น ลูกพรุนแห้ง มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 45.6 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 11 เดือนแรกปี2550 (ม.ค.-พ.ย.) นำเข้าแล้วเป็นมูลค่า 58.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 19.6 ของการนำเข้าผลไม้ชนิดนี้ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ คือ สหรัฐอเมริกา ชิลีและเบลเยี่ยม มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 42.4, 17.4 และ 11.2 ตามลำดับ
4) ผลไม้กระป๋อง
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2547-2549) เยอรมนีนำเข้าผลไม้ประเภทนี้ เป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 275 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.) นำเข้าเป็นมูลค่า 283.9 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ คือ เนเธอแลนด์ประเทศไทย และอิตาลี มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 18, 16 และ 14 ตามลำดับ สำหรับประเทศไทยมีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 39.1 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 11 เดือนแรกปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.) นำเข้าแล้วเป็นมูลค่า 45.1 ล้านเหรียญสหรัฐ คิ ดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 15.9 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 ผลไม้กระป๋องที่มีการนำเข้ามากลำดับแรก คือสับปะรด มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 11 เดือน
แรกปี 2550 มีการนำเข้าเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 283.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 30 ของการนำเข้าผลไม้กระป๋องทั้งสิ้น มูลค่าลดลงร้อยละ 4.4 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ คือ ไทย เนเธอแลนด์ และอินโดนิเชีย มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 43, 19 และ 14 ตามลำดับ
5) น้ำผลไม้
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2547-2549) เยอรมนีนำเข้าผลไม้ประเภทนี้ เป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 1,197 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.) นำเข้าเป็นมูลค่า 1,531.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ คือ เนเธอแลนด์ โปแลนด์ และเบลเยี่ยม มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 30.2, 13.5 และ 11.4 ตามลำดับสำหรับประเทศไทยมีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 11 เดือนแรกปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.) นำเข้าแล้วเป็นมูลค่า 1.33 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.09 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 น้ำผลไม้ที่มีการนำเข้ามากลำดับแรกคือ น้ำแอปเปิ้ล มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 379 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 11 เดือนแรกปี 2550 มีการนำเข้าเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 481 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 31.4 ของการนำเข้าน้ำผลไม้ทั้งสิ้น มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.0 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ คือ โปแลนด์ จีน และออสเตรีย มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 29, 23 และ 8 ตามลำดับ น้ำแอปเปิ้ล มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 226.4 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 11 เดือนแรกปี 2550 มีการนำเข้าเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 277.7 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 18.1 ของการนำเข้าน้ำผลไม้ทั้งสิ้น มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ คือ เนเธอแลนด์ เบลเยี่ยม และสวิส มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 37, 28 และ 14 ตามลำดับ
3.3 การนำเข้าจากประเทศไทย
1) ตำแหน่งสถานะของประเทศไทยในการเป็นแหล่งอุปทานสินค้าผลไม้ให้แก่เยอรมนี อยู่ในลำดับที่ 21
2) ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2547 - 2549) เยอรมนีนำเข้าผลไม้ในรูปแบบต่างๆ จากประเทศไทย คิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละประมาณ 45.6 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.10 ของตลาดผลไม้ทั้งหมดของเยอรมนี และในช่วง 11 เดือนแรกปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.) เยอรมนีนำเข้าผลไม้จากประเทศไทยเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 53.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งมีการนำเข้ามูลค่า 45.2 ล้านเหรียญสหรัฐ การนำเข้าในปี 2550 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.8
การนำเข้าผลไม้ของเยอรมนีจากไทย ปี 2545 — 2550 (ม.ค.-พ.ย.)
มูลค่า = ล้านเหรียญสหรัฐ %สัดส่วน %ขยายตัว
รายการ 2545 2546 2547 2548 2549 2549 2550 2549 2550 50:49
มค.-พย. มค.-พย. มค.-พย. มค.-พย. มค.-พย.
055a ผลไม้กระป๋อง 24.35 35.80 40.88 34.40 42.05 38.33 45.06 84.80 84.00 17.54
005a ผลไม้สด 1.90 3.63 2.48 2.98 4.43 4.04 4.95 8.90 9.20 22.56
055b น้ำผลไม้ 0.46 0.8 1.94 1.20 1.32 1.22 1.34 2.70 2.50 9.61
005b ผลไม้แช่แข็ง 0.90 0.66 0.35 0.34 0.34 0.33 0.26 0.70 0.50 -20.71
005c ผลไม้แห้ง 0.63 2.36 0.96 0.71 0.79 0.70 0.97 1.50 1.80 38.42
055c ผลไม้อื่นๆ 0.32 0.49 0.46 0.70 0.58 0.57 1.09 1.30 2.00 -0.94
รวมทั้งสิ้น 28.56 43.74 47.07 40.33 49.51 45.19 53.67 100.00 100.00 18.76
ที่มา World Trade Atlas
3) ผลไม้ของไทยที่เยอรมนีนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นผลไม้กระป๋อง คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 84 ของผลไม้ที่นำเข้าจากไทยทั้งสิ้น โดยจะเป็นสับปะรดกระป๋องเป็นสำคัญ รองลงมาเป็นผลไม้สดต่างๆ ได้แก่ มะม่วง มะละกอ มังคุด ลำไย มะพร้าวอ่อนและเงาะ เป็นต้น มีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 9 สำหรับน้ำผลไม้ที่มีส่วนตลาดประมาณร้อยละ 2.5 จะเป็นน้ำสับปะรดเป็นส่วนใหญ่เช่นกัน
4) จำแนกตามชนิดของผลไม้ต่างๆ มีการนำเข้าจากประเทศไทย ดังนี้
- สับปะรดกระป๋อง (พิกัด 2008 20) ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2547-2549) เยอรมนีนำเข้าสับปะรดกระป๋องจากไทยเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 29.6 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 11 เดือนแรก ปี 2550 มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 36.0 ล้านเหรียญสหรัฐหรือร้อยละ 67.2 ของการนำเข้าผลไม้ทั้งสิ้นจากไทย มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ คือ เนเธอแลนด์ อินโดนีเชีย และเคนยา มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 19, 14 และ 11 ตามลำดับ
- ผลไม้รวมกระป๋อง (พิกัด 2008 92) ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2547-2549) เยอรมนีนำเข้าจากไทย เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 3.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 11 เดือนแรกปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.) นำเข้าแล้วเป็นมูลค่า 3.7 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 6.9 ของการนำเข้าผลไม้จากไทย มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ คือ ออสเตรีย อิตาลี และ กรีก มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 28, 21 และ 18 ตามลำดับ
- ผลไม้สด (พิกัด 0804 50 - มะม่วง มังคุด...) ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา(ปี 2547-2549) เยอรมนีนำเข้าจากไทย เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 1.36 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 11 เดือนแรกปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.) นำเข้าแล้วเป็นมูลค่า 2.05 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 3.8 ของการนำเข้าผลไม้จากไทย มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 แหล่งนำเข้าที่สำคัญๆ คือ เนเธอแลนด์ ฝรั่งเศส และสเปน มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 67, 9 และ 5 ตามลำดับ
4. อัตราภาษี
ผลไม้สดที่นำเข้า มีอัตราภาษีระหว่างร้อยละ 0 - 11.2 ยกเว้นกล้วยตากแห้งมีอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 16.0 อัตราพิเศษตามโครงการ GSP ร้อยละ 12.5 สำหรับลิ้นจี่ ลำไย ขนุนและมะขาม เป็นต้น จัดอยู่ในพิกัด H.S. 0810 90 20 ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า มีอัตราเป็น 0
(รายละเอียดในเอกสารแนบ ตารางขอบเขตสินค้าและอัตราภาษีนำเข้า)
5. การส่งออก
5.1 ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2547-2549) เยอรมนีส่งออกผลไม้รายการต่างๆ ไปยังต่างประเทศเป็นมูลค่าเฉลี่ยปีละ 2,365 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนี้
สถิติการส่งออกผลไม้ของเยอรมนีปี 2547 — 2550 (ม.ค.-พ.ย.)
Millions US Dollar %Share %Change
Describtion 2547 2548 2549 2549 2550 2550 -50/49-
มค.-พย. มค.-พย. มค.-พย. มค.-พย.
รวมผลไม้ทั้งสิ้น 2,151.8 2,313.8 2,631.6 2,381.4 2,695.3 100.00 13.18
055b น้ำผลไม้ 738.8 752.9 841.1 769.1 879.8 32.64 14.40
005a ผลไม้สด 536.8 659.9 800.0 726.5 775.0 28.76 6.68
055a ผลไม้กระป๋อง 191.9 194.1 204.5 186.5 204.2 7.58 9.50
005c ผลไม้แห้ง 107.8 97.8 125.7 110.8 128.5 4.77 16.04
005b ผลไม้แช่แข็ง 55.3 50.5 65.1 60.2 67.5 2.51 12.19
ในช่วง 11 เดือนแรก ปี 2550 เยอรมนีส่งออกผลไม้เป็นมูลค่า 2,695.3 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ตลาดส่งออกหลักจะเป็นประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรปได้แก่ ฝรั่งเศส เนเธอแลนด์ และสหราชอาณาจักร มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 15.4, 12.4 และ 9.4 ตามลำดับ สำหรับประเทศนอกสหภาพยุโรป ได้แก่ โปแลนด์ เช็ก รัสเซีย มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5.4, 2.5 และ 2 ตามลำดับ
5.2 จำแนกตามรายการเยอรมนีส่งออก ดังนี้
- น้ำผลไม้ ในปี 2550 (มค.-พย.) ส่งออกเป็นมูลค่า 879.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 32.6 ของการส่งออกผลไม้ทั้งสิ้น มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ เนเธอแลนด์ ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 18.2, 16.6 และ 15.6 ตามลำดับ น้ำผลไม้ที่ส่งออกส่วนใหญ่จะเป็นน้ำส้มคั้น และน้ำแอปเปิ้ล ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 21 และ 15 ตามลำดับ
- ผลไม้สด มีการส่งออกในช่วง 11 เดือนแรกปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.)เป็นมูลค่า 775 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 28.8 ของการส่งออกทั้งสิ้น มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ผลไม้สำคัญในรายการนี้ ได้แก่ กล้วยหอม และแอปเปิ้ล ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 54 และ 15 ตามลำดับ โดยส่งออกมากไปยัง ออสเตรีย สวีเดน และโปแลนด์ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 14.1, 11.6 และ 11.1 ตามลำดับ
- ผลไม้กระป๋อง มีการส่งออกในช่วง 11 เดือนแรกปี 2550 (ม.ค.-พ.ย.) เป็นมูลค่า 204.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 7.6 ของการส่งออกผลไม้ทั้งสิ้น มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และสเปน มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 27.1, 9.9 และ 9.5 ตามลำดับ
6. ช่องทางการตลาด
6.1 สินค้าผลไม้และผลิตภัณฑ์ มีช่องทางการตลาดที่คล้ายคลึงกับสินค้าอื่น กล่าวคือบริษัทผู้นำเข้าผลไม้โดยเฉพาะ จะเป็นผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่เป็นแหล่งอุปทานสำคัญนำส่งให้แก่กลุ่มลูกค้า ทั้งที่เป็น ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต ผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก ทั้งนี้ ในเยอรมนี ห้างสรรพสินค้าหรือซุปเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่ จะไม่เป็นผู้นำเข้าสินค้าโดยตรง แต่จะนิยมการสั่งสินค้าผ่านบริษัทผู้นำเข้าหรือตัวแทนจำหน่ายสินค้านั้นๆ
6.2 สำหรับช่องทางการนำเข้าสินค้าผลไม้จากประเทศไทย อาจกล่าวได้ว่า รูปแบบช่องทางการตลาด ไม่แตกต่างจากรูปแบบปกติทั่วไปมากนัก อย่างไรก็ตาม กลุ่มลูกค้าหลักสำหรับสินค้าผลไม้และผลิตภัณฑ์ของไทย ส่วนใหญ่ เป็นเจ้าของร้านอาหารภัตตาคารไทยเป็นสำคัญ การนำเข้าจะมีผู้นำเข้าทั้งที่เป็นรายใหญ่และรายย่อย กล่าวคือ ผู้นำเข้ารายใหญ่ จะนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยและจัดส่งให้แก่ร้านค้าของชำ สินค้าเอเซีย ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือผู้ค้าส่งอื่นๆ มีเพียงจำนวนน้อยที่เป็นทั้งผู้นำเข้ารายใหญ่และเป็นผู้ค้าส่ง/ค้าปลีก รวมเบ็ดเสร็จครบวงจร ส่วนผู้นำเข้ารายย่อยบางรายเป็นเจ้าของร้านค้าปลีกของตัวเอง และต้องการนำเข้าโดยตรงจากผู้ผลิตผู้ส่งออกไทย เพื่อลดขั้นตอนต้นทุนและสร้างกำไรเพิ่มให้แก่ตัวเอง เนื่องจากสินค้าผลไม้และผลิตภัณฑ์ เป็นสินค้าที่เสียหายเน่าเร็ว มีส่วนแบ่งกำไรต่ำ ซึ่งปัจจุบัน ร้านค้าสินค้าเอเซียในเยอรมนี มีรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 300 ร้าน นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอาหารเอเชียอีกจำนวนหนึ่งที่นำเข้าโดยบริษัทผู้นำเข้าสินค้าประเภทนี้โดยเฉพาะ เป็นกิจการที่มีสำนักงานฯ อยู่ในประเทศอื่นๆ ที่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ทำการนำเข้ามาส่วนหนึ่งเพื่อใช้ภายในประเทศของตนเอง ที่สำคัญๆ ได้แก่ สหราชอาณาจักร เนเธอแลนด์ อิตาลี และสเปน เป็นต้น อีกส่วนหนึ่งมีการส่งออกต่อไปยังเยอรมนี
7. สรุปความเห็นและข้อเสนอแนะ
7.1 เยอรมนีเป็นตลาดที่สำคัญอีกตลาดหนึ่งสำหรับสินค้าผลไม้และผลิตภัณฑ์ และโดยที่เยอรมนีเป็นประเทศอุตสาหกรรม จึงมีพื้นที่ทำเกษตรที่จำกัด มีผลผลิตไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศปีละเป็นจำนวนมาก การบริโภคผลไม้รูปแบบต่างๆ ของประชากรเยอรมัน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผลไม้ที่ปัจจุบันบริโภคโดยเฉลี่ยคนละ 123 กิโลกรัม/ปี โดยเป็นผลไม้สดประมาณ86 กิโลกรัม นอกจาก กล้วยหอม ที่มีการบริโภคโดยเฉลี่ยคนละ 17 กิโลกรัม/ปี ส่วนใหญ่จะเป็นผลไม้พื้นบ้าน ได้แก่ แอปเปิ้ล (31 กก./คน) หรือที่นำเข้าจากประเทศทางตอนใต้ของยุโรป เช่น ผลส้มต่างๆ (16 กก./คน) ผลไม้เมืองร้อนชนิดอื่นๆ ที่สำคัญๆ ได้แก่ กีวี่ แตงโม เป็นผลไม้ที่สามารถผลิตกันได้แล้วในยุโรป หรือ เป็นผลผลิตจากประเทศที่เป็นอาณานิคมของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป เช่น ฝรั่งเศส และ สเปน ได้แก่ มะพร้าวอ่อน ตลอดจนมะม่วง สำหรับผลไม้และผลิตภัณฑ์จากประเทศไทย มีการนำเข้าเล็กน้อยเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 45 ล้านเหรียญสหรัฐ มีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 0.5 — 0.7 ส่วนใหญ่จะเป็นสับปะรดกระป๋อง และน้ำผลไม้ มีมูลค่าการนำเข้าประมาณ 30 ล้านเหรียญ สำหรับผลไม้สดมีการนำเข้าปีละประมาณ 4 ล้านเหรียญ
7.2 เยอรมนีนำเข้าผลไม้สดและผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละกว่า 7,300 ล้านเหรียญสหรัฐ ในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 90 เป็นผลไม้เมืองหนาว เป็นผลผลิตของประเทศต่างๆ ในยุโรป ในขณะที่ผลไม้จากประเทศไทยที่มีมูลค่านำเข้าปีละ 45 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นพืชผลเขตร้อน ยังไม่เป็นที่รู้จักคุ้นเคยแพร่หลายมากเท่าใด ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเยอรมนีที่มีจำนวนประมาณ 8 ล้านคน และชาวเยอรมันอีกจำนวนเล็กน้อย ซึ่งเป็นผู้ที่คุ้นเคยหรือเคยมาท่องเที่ยวประเทศไทย ตลาดหลักส่วนใหญ่ของผลไม้ไทย จึงเป็นกลุ่มร้านขายของชำชาวเอเชีย ร้านอาหารไทย ชาวไทยและชาวต่างชาติอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในเยอรมนีเป็นสำคัญ แต่ก็มีแนวโน้มการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด ซึ่งเป็นผลจากการที่สำนักงานฯ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับห้างสรรพสินค้าและผู้นำเข้าสำคัญๆ ในเยอรมนีทำให้สินค้าของไทยเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
7.3 หลายๆ ประเทศในอัฟริกาสามารถส่งออกผลไม้ที่คล้ายคลึงกับผลไม้ไทย เช่นมะม่วง มะละกอ ลิ้นจี่ เป็นต้น สินค้าเหล่านี้มีราคาจำหน่ายต่ำกว่าผลไม้จากประเทศไทยมาก เนื่องจากมีปริมาณการผลิตที่สูงมาก สามารถขนส่งทางเรือได้ จึงมีความได้เปรียบมากในด้านค่าขนส่งที่ต่ำกว่าผลไม้ชนิดเดียวกันที่นำเข้าจากแหล่งอื่นๆ สำหรับลำใยและลิ้นจี่ของไทย มีราคาจำหน่ายที่ไม่แพง โดยเฉลี่ยกิโลกรัมละประมาณ 3 ยูโร (ประมาณ 150บาท) ซึ่งใกล้เคียงกับลิ้นจี่ที่นำเข้ามากจากมาดากัสการ์ จึงยังคงมีลู่ทางที่จะขยายและเจาะตลาดในเยอรมันเพิ่มมากขึ้นอีกได้ อย่างไรก็ตาม ฤดูกาลของลำใยไทยที่เข้าสู่ตลาดเป็นช่วง
เดียวกันกับที่ในเยอรมนีมีผลไม้พื้นบ้านหลากหลายชนิดเข้าสู่ตลาดด้วยเช่นกัน จึงทำให้ ไม่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่เป็นชาวเยอรมัน นอกจากนี้ ความสดของผลไม้ไทยยังเป็นข้อจำกัดที่สำคัญมาก เนื่องจากมีอายุการเก็บรักษาให้สด ไม่เน่า เสียง่ายที่สั้นมาก หากสามารถสร้างมาตรฐาน พัฒนาคุณภาพสินค้า ทำให้สามารถเก็บรักษาได้นานยิ่งขึ้นมีการบรรจุหีบห่อที่เหมาะสม มีการควบคุมโรคพืช แมลงและสารพิษตกค้างให้เป็นไปตามหลักสากลและอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการลดต้นทุนด้านค่าขนส่ง เพื่อให้ราคาของผลไม้ไทยมีราคาที่ต่ำลงมาจากในปัจจุบันที่อยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 6—9 ยูโร จะสร้างความสามารถในการแข่งขันให้สูงยิ่งขึ้นได้ เหล่านี้จะมีส่วนช่วยให้การส่งออกผลไม้ไทยขยายตัวเพิ่มมากยิ่งขึ้น
7.4 การพัฒนาผลิตผลไม้ประเภทปลอดสารพิษ ผลไม้เกษตรอินทรีย์ เพื่อการส่งออก จะเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยทำให้การส่งออกผลไม้ของไทยขยายตัวอีกได้
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ