สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศของเกาหลีใต้ ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) สรุปจากสถิติ World Trade Atlas

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 18, 2008 16:08 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. มูลค่าการค้า
1.1 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของเกาหลีใต้-โลก
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มี.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 166,747.51 204,952.35 22.91
การนำเข้า 82,065.08 105,447.95 28.49
การส่งออก 84,682.43 99,504.40 17.50
ดุลการค้า 2,617.35 -5,943.55 -327.08
1.2 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของเกาหลีใต้-ไทย
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มี.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 2,062.68 2,340.54 13.47
การนำเข้า 925.79 960.68 3.77
การส่งออก 1,136.89 1,379.86 21.37
ดุลการค้า 211.10 419.17 98.57
2. การนำเข้า
2.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่เกาหลีใต้นำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 105,447.95 100.00 28.49
1. จีน 17,958.05 17.03 27.40
2. ญี่ปุ่น 15,393.01 14.60 13.81
3. สหรัฐฯ 9,340.41 8.86 8.95
4. ซาอุดิอารเบีย 7,156.36 6.79 60.80
5. สหรัฐฯเอมิเรต 4,611.21 4.37 77.94
24. ไทย 960.68 0.91 3.77
อื่น ๆ 50,028.23 47.44 31.99
2.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เกาหลีใต้นำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 105,447.95 100.00 28.49
1. แผงวงจรไฟฟ้า 6,660.68 6.32 7.32
2. ผลิตภัณฑ์แผ่นรีด 2,774.38 2.63 63.49
3. ถ่านหิน 1,975.62 1.87 42.15
4. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 1,223.38 1.16 38.23
5. ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปทำด้วยเหล็ก 1,069.11 1.01 80.59
อื่น ๆ 91,744.79 87.00 28.68
2.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เกาหลีใต้นำเข้าจากไทยปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย 960.68 100.00 3.77
1. แผงวงจรไฟฟ้า 134.38 13.99 -18.98
2. ยางธรรมชาติ 94.31 9.82 1.68
3. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 79.95 8.32 38.69
4. มันสำปะหลัง 63.93 6.65 -7.37
5. แผ่นชิ้นไม้อัด 34.80 3.62 388.50
อื่น ๆ 553.30 57.59 -23.04
3. การส่งออก
3.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่เกาหลีใต้ส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 99,504.40 100.00 17.50
1. จีน 22,057.97 22.17 20.75
2. สหรัฐฯ 11,078.89 11.13 -2.73
3. ญี่ปุ่น 7,089.35 7.12 13.51
4. ฮ่องกง 4,365.10 4.39 0.88
5. สิงคโปร์ 3,984.70 4.00 50.71
14.ไทย 1,379.86 1.39 21.37
อื่น ๆ 49,548.55 49.80 21.82
3.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เกาหลีใต้ส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 99,504.40 100.00 17.50
1. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 8,425.32 8.47 34.04
2. รถยนต์และยานยนต์ 8,106.46 8.15 4.55
3. แผงวงจรไฟฟ้า 6,780.11 6.81 -2.60
4. เรือโดยสาร 6,530.23 6.56 6.43
5. เลเซอร์ 5,633.93 5.66 45.85
อื่น ๆ 64,028.36 64.35 19.27
3.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เกาหลีใต้ส่งออกไปไทยปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกไปไทย 1,379.86 100.00 21.37
1. ส่วนประกอบรถยนต์ 83.20 6.03 684.56
2. เหล็กแผ่นชุบ 67.18 4.87 20.67
3. แผงวงจรไฟฟ้า 54.66 3.96 -29.26
4. ส่วนประกอบเครื่องรับวิทยุ 43.52 3.15 13.88
5. ปุ๋ยเคมี 42.64 3.09 72.13
อื่น ๆ 1,088.65 78.90 4.51
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้านำเข้าสำคัญของเกาหลีใต้ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์แผ่นรีด ถ่านหิน เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปทำด้วยเหล็ก
4.2 สินค้าส่งออกสำคัญของเกาหลีใต้ ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า รถยนต์และยานยนต์ แผงวงจรไฟฟ้า เรือโดยสาร และเลเซอร์
4.3 แหล่งผลิตสำคัญที่เกาหลีใต้นำเข้า ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ซาอุดิอารเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรต ปัจจุบันเกาหลีใต้นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 24 สัดส่วนร้อย 0.91 และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 14 ของเกาหลีใต้สัดส่วนร้อยละ 1.39
4.4 สินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปตลาดเกาหลีใต้ได้แก่
- แผงวงจรไฟฟ้า (HS. 8542) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 6,660.675 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.32 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 9 สัดส่วนร้อยละ 2.02 มูลค่า 134.384 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.98 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สิงคโปร์และใต้หวัน
- ยางธรรมชาติ (HS. 4001) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 227.636 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.26 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 41.43 มูลค่า 94.314 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.68 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงคือ อินโดนีเซียและมาเลเซีย
- เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (HS. 8517) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,223.378 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.23 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วน ร้อยละ 6.54 มูลค่า 79.952 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.70 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ จีนและสหรัฐ
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (HS. 8471) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,045.756 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.70 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 6.11 มูลค่า 63.930 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.37 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ จีนและสิงคโปร์
- มันสำปะหลัง (HS. 0714) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 43.592 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 297.35 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 79.83 มูลค่า 34.801 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 388.51 ส่วนคู่แข่งสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ อินโดนีเซียและเวียดนาม
4.5 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเกาหลีใต้ 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 20 มีรวม 10 รายการ เช่น
1.) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (H.S.817) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,223.378 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.23 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 6.54 มูลค่า 79.952 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.70
2.) มันสำปะหลัง (H.S.0714) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 43.592 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 297.35 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 79.83 มูลค่า 34.801 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 388.51
ปัจจุบันไทยเป็นผู้นำการส่งออกมันสำปะหลัง โดยครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 1 คิดเป็นมูลค่ารวมกว่าร้อยละ 90 ของการค้ามันสำปะหลังโลก ทั้งนี้เพราะประเทศไทยมีความพร้อมและศักยภาพส่งออกสูง เนื่องจากมีเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย มีโรงงานมันอัดเม็ด โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังกว่า 90 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ทำให้ไทยผลิตสินค้าได้หลากหลาย มีปริมาณมาก คุณภาพดีตรงตามความต้องการของตลาดส่วนผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่ไทยส่งออก ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปมันเส้น มันอัดเม็ด แป้งมันสำปะหลัง ทั้งแป้งดิบ แป้งแปรรูป และยังมีผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังอื่นๆ ด้วย โดยตลาดส่งออกสำคัญคือ สหภาพยุโรป จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก กว่า 120 ประเทศ คาดว่าแนวโน้มปริมาณการส่งออกจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ
3.) เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ (H.S.8525) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 203.244 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.96 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 11.29 มูลค่า 22.936 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 108.55
4.) หม้อแปลงไฟฟ้า (H.S.8504) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 607.378 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.89 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 5 สัดส่วนร้อยละ 2.79 มูลค่า 16.940 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 443.97
5.) ส่วนประกอบรถยนต์ (H.S.8708) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลก 891.888 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.38 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 12 สัดส่วนร้อยละ 0.92 มูลค่า 8.203 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 242.69
การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ในปี 2551 คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ให้กับโรงงานประกอบรถยนต์หรือ OEM จะขยายตัวได้ดี เนื่องจากการผลิตของไทยมีคุณภาพสูง กว่าประเทศคู่แข่งหลักอย่าง เวียดนาม จีน ทำให้ได้รับการยอมรับจากลูกค้าอีกทั้งความต้องการของตลาดต่างประเทศยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
6.) ผลิตภัณฑ์แผ่นรีด (H.S.7219) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 445.127 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.31 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 9 สัดส่วนร้อยละ 1.80 มูลค่า 8.013 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 108.47
4.6 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเกาหลีใต้ 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงมี 5 รายการ เช่น
1.) แผงวงจรไฟฟ้า (H.S.8542) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 6,660.675 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.32 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 9 สัดส่วนร้อยละ 2.02 มูลค่า 134.384 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.98
2.) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (H.S.8471) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,045.756 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.70 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 6.11 มูลค่า 63.930 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.37
3.) กระดาษคาร์บอน (H.S.8416) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 28.698 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 26.98 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อย 74.74 มูลค่า 21.448 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.32
4.) เครื่องสูบลม (H.S.8414) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 482.047 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.69 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 7 สัดส่วนร้อย 3.79 มูลค่า 18.269 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.04
5.) กุ้งแช่เย็น แช่แข็ง (H.S.0306) เกาหลีใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 115.253 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 10.51 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 13.57 มูลค่า 15.640 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 30.25
การส่งออกกุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง ในช่วงเดือน มค.-มีค. ของปี 2551 มีแนวโน้มการส่งออกลดลงต่อเนื่องเป็นผลมาจากปัจจัยสำคัญได้แก่ ต้นทุนการผลิตมีราคาสูงขึ้น
5. ข้อมูลเพิ่มเติม
1.) เอฟทีเอ อาเซียน-เกาหลี
การประชุมคณะเจรจาการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี ครั้งที่ 22 ณ สาธารณรัฐเกาหลี ได้ข้อยุติในเรื่องการลงนามพิธีสารเข้าร่วมความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้าและความตกลงว่าด้วยการค้าบริการอาเซียน-เกาหลีของไทยโดยกำหนดให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียนและเกาหลีร่วมลงนามในพิธีสารทั้ง 2 ฉบับกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-เกาหลีในเดือน ส.ค. 2551 ที่สิงคโปร์ และคาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ได้ปลายปี 2551
ทั้งนี้ สินค้าไทยที่ได้ลดหรือยกเว้นภาษีเป็น 0% ในปี 2553 ตามข้อตกลงนี้ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารทะเลแปรรูป เครื่องปรับอากาศ ขณะที่สินค้านำเข้าจากเกาหลี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าวัตถุดิบ เช่น สินแร่ เม็ดพลาสติก ปุ๋ยเคมี จะทำให้ต้นทุนในการผลิตภายในประเทศลดลง
ส่วนการเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยการลงทุนยังไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากทั้ง 2 ฝ่ายยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องการขยายผลประโยชน์ที่อาเซียนให้แก่ประเทศคู่เจรจาอื่นในอนาคตให้แก่เกาหลีโดยอัตโนมัติ (automatic MFN) และการให้ความคุ้มครองการลงทุนก่อนเข้ามาจัดตั้งสำนักงานในประเทศ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายจะได้หารือนอกรอบเพิ่มเติมเพื่อให้บรรลุผลภายในสิ้นปีนี้
2.) เกาหลีใต้กำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตทรัพยากร
เกาหลีใต้เผชิญปัญหาร้ายแรงในเรื่องการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อและการชะลอตัวของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเศรษฐกิจเกาหลีใต้ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ในเอเชียกำลังจะเข้าสู่ช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดในรอบ 10 ปีท่ามกลาง "วิกฤติทรัพยากร"ขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันดิบในตลาดระหว่างประเทศพุ่งขึ้น 2 เท่าในช่วง 1 ปี รวมไปถึงภาวะราคาธัญพืชกับวัตถุดิบก็ดีดตัวขึ้นอย่างมากเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ เศรษฐกิจของเกาหลีใต้จึงเผชิญกับความยากลำบากอย่างมาก โดยราคาเพิ่มสูงขึ้น และเศรษฐกิจค่อยๆชะลอตัวลง
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ