สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์ ปี 2551( ม.ค.-มี.ค.) สรุปจากสถิติ World Trade Atlas

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 12, 2008 10:52 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. มูลค่าการค้า
1.1 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของสิงคโปร์-โลก
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มี.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 128,605.10 162,408.93 26.28
การนำเข้า 59,106.47 78,094.83 32.13
การส่งออก 69,498.63 84,314.10 21.32
ดุลการค้า 10,392.16 6,219.28 -40.15
1.2 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของสิงคโปร์-ไทย
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มี.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 4,890.10 5,878.76 20.22
การนำเข้า 1,930.83 2,555.26 32.34
การส่งออก 2,959.27 3,323.50 12.31
ดุลการค้า 1,028.44 768.24 -25.30
2. การนำเข้า
2.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่สิงคโปร์นำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 78,094.83 100 32.13
1. มาเลเซีย 9,819.36 12.57 26.42
2. สหรัฐฯ 9,428.61 12.07 18.60
3. จีน 8,122.72 10.40 9.35
4. ญี่ปุ่น 6,274.23 8.03 27.99
5. เกาหลีใต้ 4,446.50 5.69 59.91
9. ไทย 2,555.85 3.27 32.37
อื่น ๆ 37,447.55 47.95 42.13
2.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่สิงคโปร์นำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 78,094.83 100.00 32.13
1. แผงวงจรไฟฟ้า 11,994.91 15.36 8.27
2. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 2,825.19 3.62 3,019.52
3. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 2,388.15 3.06 0.38
4. เครื่องบิน 1,511.34 1.94 76.94
5. เรือโดยสาร 1,393.10 1.78 276.69
อื่น ๆ 57,982.13 74.25 30.78
2.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่สิงคโปร์นำเข้าจากไทยปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย 2,555.58 100.00 32.36
1. แผงวงจรไฟฟ้า 310.72 12.16 32.26
2. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 214.66 8.40 26,303.69
3. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 118.55 4.64 80.55
4. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 78.60 3.08 -27.28
5. ไดโอดทรานซิสเตอร์ 53.41 2.09 100.27
อื่น ๆ 1,779.64 69.64 18.94
3. การส่งออก
3.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่สิงคโปร์ส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 84,314.10 100.00 21.32
1. มาเลเซีย 9,902.30 11.74 13.88
2. ฮ่องกง 8,760.77 10.39 27.75
3. อินโดนีเซีย 8,417.94 9.98 25.92
4. จีน 7,522.35 8.92 7.65
5. สหรัฐฯ 6,613.35 7.84 -3.84
8. ไทย 3,323.50 3.94 12.31
อื่น ๆ 39,773.90 47.17 30.68
3.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่สิงคโปร์ส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 84,314.10 100.00 21.32
1. แผงวงจรไฟฟ้า 16,756.28 19.87 10.67
2. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 3,752.14 4.45 4,662.69
3. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 2,704.33 3.21 5.79
4. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 2,557.85 3.03 2.87
5. เครื่องพิมพ์ 1,957.79 2.32 -63.06
อื่น ๆ 56,585.72 67.11 28.79
3.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่สิงคโปร์ส่งออกไปไทยปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกไปไทย 3,323.50 100.00 12.31
1. แผงวงจรไฟฟ้า 529.76 15.94 14.77
2. เทปแม่เหล็ก 265.32 7.98 32.38
3. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 164.17 4.94 14,865.36
4. เครื่องพิมพ์ 132.50 3.99 -59.32
5. ไดโอดทรานซิสเตอร์ 111.08 3.34 19.69
อื่น ๆ 2,120.68 63.81 -6.93
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้านำเข้าสำคัญของสิงคโปร์ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องบิน และเรือโดยสาร
4.2 สินค้าส่งออกสำคัญของสิงคโปร์ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า และเครื่องพิมพ์
4.3 แหล่งผลิตสำคัญที่สิงคโปร์นำเข้า ได้แก่ มาเลเซีย สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ปัจจุบันสิงคโปร์นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 9 สัดส่วนร้อย 3.27 และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 8 ของสิงคโปร์สัดส่วน ร้อยละ 3.94
4.4 สินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปตลาดสิงคโปร์ ได้แก่
- น้ำมันสำเร็จรูป (HS.2710) สิงคโปร์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 11,100.490 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 96.06 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 7.13 มูลค่า 790.901 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.64 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ มาเลเซียและอินเดีย
- แผงวงจรไฟฟ้า (HS.8542) สิงคโปร์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 11,994.909 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.27 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 8 สัดส่วนร้อยละ 2.59 มูลค่า 310.720 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.26 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ใต้หวันและมาเลเซีย
- ส่วนประกอบและคอมพิวเตอร์ (HS.8473) สิงคโปร์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 2,825.189 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3,019.53 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 5 สัดส่วนร้อยละ 7.60 มูลค่า 214.662 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26,293.84 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงคือ มาเลเซียและจีน
- เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (HS.8517) สิงคโปร์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 2,388.153 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.38 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วน ร้อยละ 4.96 มูลค่า 118.553 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.55 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ จีนและมาเลเซีย
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (HS.8471) สิงคโปร์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,289.707 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.10 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 5 สัดส่วนร้อยละ 6.09 มูลค่า 78.600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 27.28 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ จีนและมาเลเซีย
- ไดโอดทรานซิสเตอร์ (HS.8541) สิงคโปร์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,352.811 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.31 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 6 สัดส่วนร้อยละ 3.95 มูลค่า 3.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.27 ส่วนคู่แข่งสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ มาเลเซียและจีน
4.5 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสิงคโปร์ 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 20 มีรวม 12 รายการ เช่น
1.) น้ำมันสำเร็จรูป (H.S.2710) สิงคโปร์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 11,100.490 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 96.06 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 7.13 มูลค่า 790.901 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.64
2.) แผงวงจรไฟฟ้า (H.S.8542) สิงคโปร์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 11,994.909 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.27 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 8 สัดส่วนร้อยละ 2.59 มูลค่า 310.720 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.26
3.) ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ (H.S.8473) สิงคโปร์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 2,825.189 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 3,019.53 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 5 สัดส่วนร้อยละ 7.60 มูลค่า 214.662 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26,293.84
4.) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า (H.S.8517) สิงคโปร์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 2,388.153 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.38 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 4.96 มูลค่า 118.553 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.55
5.) ไดโอดทรานซิสเตอร์ (H.S.8541) สิงคโปร์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,352.811 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.31 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 4.96 มูลค่า 118.553 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.55
6.) เครื่องซักแห้ง (H.S.8415) สิงคโปร์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 127.016 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.33 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 32.37 มูลค่า 41.116 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2
7.) ส่วนประกอบเครื่องรับวิทยุ (H.S.8529) สิงคโปร์นำเข้าจากตลาดโลก1,925.729 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.72 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 6 สัดส่วนร้อยละ 3.95 มูลค่า 53.407 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 100.27
เป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีการขยายการลงทุน Hard Kisk Drive ในไทย จึงทำให้การส่งออกของ HDD เพิ่มขึ้นการส่งออกในปีนี้คาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายร้อยละ 10-12 คู่แข่งขันสำคัญ ได้แก่ สิงคโปร์ จีน เกาหลีใต้ ซึ่งเป็นทั้งตลาดส่งออกและคู่แข่งในการผลิตและการส่งออก HDD และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อื่น เช่น แผงวงจรไฟฟ้า และเซมิคอนดักเตอร์ เป็นต้น
8.) รถยนต์และยานยนต์ (H.S. 8703) สิงคโปร์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 492.231 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.60 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 9.42 มูลค่า 46.387 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.69
4.6 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสิงคโปร์ 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงมี 7 รายการ เช่น
1.) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (H.S.8471) สิงคโปร์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,289.707 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.10 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 5 สัดส่วนร้อยละ 6.09 มูลค่า 78.600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 27.28
2.) มอเตอร์ไฟฟ้า (H.S.8501) สิงคโปร์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 249.509 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.83 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อย 11.53 มูลค่า 28.763 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.61
3.) เครื่องพิมพ์ (H.S.8443) สิงคโปร์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 738.898 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 77.46 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 8 สัดส่วนร้อยละ 2.23 มูลค่า 16.462 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 91.63
4.) เครื่องรับวิทยุ (H.S.8527) สิงคโปร์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 74.900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.92 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อย 20.31 มูลค่า 15.215 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.08
5. ข้อมูลเพิ่มเติม
5.1. เศรษฐกิจสิงคโปร์
เมื่อเดือนเมษายน 2551 อัตราเงินเฟ้อของสิงคโปร์ทะยานแตะระดับสูงสุดในรอบ 26 ปี ที่ 7.5% อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันและอาหารที่สูงขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลต้องปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสำหรับทั้งปีเป็น 5-6% จากเดิมที่ 4.5-5.5% อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง ซึ่งทำให้สภาพเศรษฐกิจที่ซบเซาอยู่แล้วยิ่งแย่ลงไปอีก
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของสิงคโปร์มีการขยายตัว 6.7% ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะมีการขยายตัว 7.2%
รัฐบาลสิงคโปร์ยังคงคาดการณ์การขยายตัวจีดีพีปีนี้ไว้ที่ 4-6% แต่ตัวเลขดังกล่าวก็ยังน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของ 4 ปีที่ผ่านมาที่ 8.1%
ในขณะเดียวกัน รัฐบาลสิงคโปร์ได้ปรับลดคาดการณ์การส่งออกสำหรับทั้งปีเหลือ 2-4% จากเดิมที่ 4-6% หลังยอดส่งออกแทบไม่กระเตื้องขึ้นเลยในไตรมาสแรก หลังอุปสงค์จากสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น เกิดการชะลอตัวลง
เศรษฐกิจที่ขยายตัวน้อยเกินคาด รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่ขยายตัวมากเกินไป แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะไม่สดใสเหมือนช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาแล้ว
5.2 ไทยเนื้อหอม พักสินค้าฟรีโซน หวังแซงสิงคโปร์
บริษัท ไทยสมเด็จ เซอร์วิส ผู้ประกอบการด้านการขนส่งสินค้าแบบ ครบวงจร กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการสินค้าทั้งในและต่างประเทศได้เลือกการ พักสินค้า ในเขตฟรีโซน (คลังสินค้าเขตปลอดภาษี) ในประเทศไทยแทนที่สิงคโปร์มากขึ้น หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศ ให้ประเทศไทยมีพื้นที่ดังกล่าวในปีที่ผ่านมา อีกทั้งไทยยังมีสถานที่ตั้งด้านภูมิศาสตร์ ดีกว่าประเทศสิงคโปร์
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีอัตรา ค่าบริการถูกกว่าสิงคโปร์เฉลี่ย 10% ทำให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องการให้ภาครัฐเร่งเข้ามาส่งเสริม โดยมีมาตรการ ที่ชัดเจน และสิทธิประโยชน์ที่จูงใจ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเลือกใช้ฟรีโซน ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางขนส่งสินค้าในเขตฟรีโซน แทนที่สิงคโปร์ ได้ในอนาคต
“ประเทศไทยเปิดให้บริการไม่นาน แต่กลับได้รับความนิยมมากกว่า เพราะถ้ามาพักสินค้าที่ไทยจะประหยัดเวลาการขนส่งได้กว่าครึ่ง เทียบจากการใช้พื้นที่ในสิงคโปร์นาน 8-9 วัน”
ทั้งนี้ บริษัทได้ใช้งบรวม 10 ล้านบาท เปิดพื้นที่ฟรีโซนเฟสแรก บนเนื้อที่ 2,640 ตารางเมตร ที่ จ.ฉะเชิงเทรา และอยู่ระหว่างการขยายเนื้อที่เฟส 2 อีก 1,800 ตารางเมตร เพื่อรองรับการบริการที่จะเติบโตขึ้นในอนาคต โดยปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนลูกค้า คนไทย 60% และต่างชาติ 40% ซึ่งบริหารจัดการภายใต้โลจิสติกส์ เซอร์วิส โพรไวเดอร์ ที่มีบริการการขนส่งสินค้าอย่างครบวงจร
5.3 เส้นทาง ข้อตกลงการค้าเสรี
ในรอบทศวรรษที่ผ่านมาสังคมเศรษฐกิจโลกหันมาใช้ยุทธศาสตร์การทำข้อตกลงการค้าเสรีทั้ง ระดับภูมิภาคีและทวิภาคีเป็นกลไกหลักในการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน ปรากฏการณ์ข้างต้นเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากมายทั้งในวงวิชาการและระดับการดำเนินนโยบาย
สิงคโปร์เป็นประเทศแถวหน้าสุดของการทำข้อตกลงการค้าเสรี ด้วยการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีทั้งแบบทวิภาคีและภูมิภาคีไปแล้วทั้งสิ้น 13 ข้อตกลงและอยู่ระหว่างการเจรจาอีก 10 ข้อตกลง ด้วยปริมาณข้างต้น ทำให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่ทำข้อตกลงการค้าเสรีมากที่สุดในเอเชียบูรพา เศรษฐกิจที่ผ่านมาของสิงคโปร์ได้ การใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบมองออกไปข้างนอก ซึ่งดำเนินอย่าง ต่อเนื่องตั้งแต่ทศวรรษ 2500 ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างเศรษฐกิจของสิงคโปร์อย่างมีนัยสำคัญ การค้าระหว่างประเทศกลายเป็นภาคที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสิงคโปร์อย่างยิ่งยวด
ในปี 2548 สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีขนาดการค้าใหญ่เป็นอันดับ 15 ของโลก ด้วยมูลค่าการค้ากว่า 430 พันล้านดอลลาร์อเมริกัน หรือคิดเป็น 367.96% ของ GDP นับเป็นอัตราการเปิดประเทศ (degree of openness) ที่สูงที่สุดในโลก การเปิดประเทศอย่างกว้างขวางเช่นนี้ ทำให้การเจริญเติบโตของสิงคโปร์ขึ้นอยู่กับระบบเศรษฐกิจโลกเป็นสำคัญ
เมื่อเกิดวิกฤตการณ์การเงิน 2540 สิงคโปร์เป็นประเทศเดียวที่สามารถฝ่ามรสุมทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี แม้จะต้องเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยใน ปี 2541(-1.5%) แต่ก็ฟื้นคืน อีกครั้งใน ปี 2542 และ 2543 ด้วยอัตราการเจริญเติบโต 7.2% และ 10.1% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่กลางปี 2543 สิงคโปร์ต้องเผชิญกับความยุ่งยากทางเศรษฐกิจอันเป็นผลสืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ในตลาดแนสแดคของอเมริกาเริ่มแตกสลาย บทสรุปครั้งนั้น คือ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ของสิงคโปร์หดตัว 2.4%
ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐที่ยังผลมาสู่เศรษฐกิจสิงคโปร์เป็นการเผยจุดอ่อน สำคัญของสิงคโปร์ ในขณะเดียวกันการเติบใหญ่ทางเศรษฐกิจของจีนก็บั่นทอนความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ ในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของสิงคโปร์
สิงคโปร์จำเป็นจะต้องปรับโครงสร้างการผลิตจากระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบบริการ
การปรับโครงสร้างการผลิตเป็นยุทธศาสตร์ที่ต้องใช้เวลานาน ในขณะที่ปัญหาเฉพาะหน้าที่สิงคโปร์ต้องเผชิญอยู่ คือ การขยายตลาดส่งออก นับตั้งแต่ทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา สิงคโปร์มิอาจหวังพึ่งพิงตลาดภายในภูมิภาคอาเซียนได้อีกต่อไป วิกฤตการณ์การเงินของเอเชียใน ปี 2540 ส่งผลให้เกิดการแตกตัวของการ ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและการเงินของประเทศในกลุ่มอาเซียน
ในขณะที่สิงคโปร์ต้องการที่จะเดินหน้าเพื่อเปิดเสรีมากขึ้น ประเทศอื่นๆ กลับใช้นโยบายกึ่งป้องกันตนเอง ซึ่งส่งผลต่อช่องว่างของปัจจัยเชิงสถาบันและนโยบายการค้าระหว่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยเหตุนี้การค้าเสรีภายในภูมิภาคจึงมิอาจไปไกลกว่าอาฟต้าได้ อย่างน้อยก็ในระยะเวลาอันใกล้นี้
ขณะเดียวกัน สิงคโปร์ยังเห็นว่าการจัดระเบียบการค้าเสรีโดย WTO ใช้เวลายาวนานเกินไป ผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกันระหว่างสมาชิก WTO และการต่อต้านขององค์กรพัฒนาเอกชนทั่วโลกมิอาจแก้ปัญหาได้ในเร็ววัน ความเห็นข้างต้นได้รับการ พิสูจน์ว่าถูกจากภาวะชะงักงันของการเจรจาการค้าแบบพหุภาคีหลังจากความล้มเหลวในการประชุมระดับรัฐมนตรีของ WTO ที่เมืองแคนคูนในปี 2546
ด้วยเหตุนี้ การทำข้อตกลงการค้าเสรี ในลักษณะทวิภาคีและภูมิภาคีจึงเป็นหนทางเดียวที่เหลืออยู่ของสิงคโปร์ในกระบวนการเปิดเสรีทางการค้า ยุทธวิธีเช่นนี้ไม่เพียงทำให้การขยายตลาดของสิงคโปร์สามารถดำเนินต่อไปได้เท่านั้น แต่เป็นการเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับสิงคโปร์โดยตรง จากที่ไม่สู้มีมากนักในการเจรจาแบบ พหุภาคี
ไม่เพียงแต่การเปลี่ยนแปลงยุทธวิธีทางการค้าระหว่างประเทศเพื่อเอาตัวรอดเท่านั้น การปรับเปลี่ยนมาใช้การทำข้อตกลงการค้าเสรีเป็นนโยบายหลักในการดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศของมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่เป็นคู่ค้าสำคัญอย่าง สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ก็สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าของสิงคโปร์เป็นอย่างดี
ยุทธวิธีการทำข้อตกลงการค้าเสรีไม่ได้ขัดกับยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการผลิตไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบบริการ ตรงกันข้ามกลับช่วยส่งเสริมและเกื้อหนุนกระบวนการดังกล่าวให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ