สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักร ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) สรุปจากสถิติ World Trade Atlas

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 25, 2008 11:29 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. มูลค่าการค้า
1.1 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของสหราชอาณาจักร-โลก
2250 2551 D/%
(ม.ค.-มี.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 256,096.05 286,677.84 11.94
การนำเข้า 151,613.29 171,581.29 13.17
การส่งออก 104,482.76 115,096.55 10.16
ดุลการค้า -47,130.53 -56,484.73 19.85
1.2 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของสหราชอาณาจักร-ไทย
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มี.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 1,224.25 1,373.42 12.18
การนำเข้า 938.99 1,050.93 11.92
การส่งออก 285.26 322.49 13.05
ดุลการค้า -653.73 -728.44 11.43
2. การนำเข้า
2.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่สหราชอาณาจักรนำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า: สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 171,581.29 100.00 13.17
1. เยอรมนี 21,988.14 12.81 -1.04
2. สหรัฐฯ 14,842.82 8.65 5.87
3. เนเธอร์แลนด์ 12,596.69 7.34 19.03
4. ฝรั่งเศส 11,452.61 6.67 3.49
5. จีน 11,101.85 6.47 5.91
31. ไทย 1,050.93 0.61 11.92
อื่น ๆ 98,548.26 57.44 19.74
2.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่สหราชอาณาจักรนำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 171,581.29 100.00 13.17
1. ทองคำ 11,851.51 6.91 211.79
2. รถยนต์และยานยนตร์ 11,851.35 6.91 3.85
3. ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ 4,100.75 2.39 -20.47
4. ยารักษาหรือป้องกันโรค 4,047.59 2.36 11.26
5. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 3,811.55 2.22 -6.33
อื่น ๆ 135,918.54 79.22 -7.13
2.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่สหราชอาณาจักรนำเข้าจากไทยปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย 1,050.93 100.00 11.92
1. เนื้อสัตว์ ส่วนอื่นๆของสัตว์ 110.87 10.55 41.03
2. รถบรรทุกเล็ก 86.38 8.22 -7.24
3. อัญมณีเครื่องประดับฯ 44.68 4.25 -9.95
4. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 44.04 4.19 15.49
5. เครื่องกังหันไอพ่น 42.90 4.08 4,168.86
อื่น ๆ 722.06 68.71 -61.50
3. การส่งออก
3.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่สหราชอาณาจักรส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 115,096.55 100.00 10.16
1. สหรัฐฯ 15,168.97 13.18 3.87
2. เยอรมนี 13,371.25 11.62 12.12
3. ฝรั่งเศส 9,100.11 7.91 -3.25
4. ไอร์แลนด์ 9,026.72 7.84 6.32
5. เนเธอร์แลนด์ 8,915.88 7.75 30.52
42. ไทย 322.49 0.28 13.05
อื่น ๆ 59,191.14 51.43 11.81
3.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่สหราชอาณาจักรส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 115,096.55 100.00 10.16
1. รถยนต์และยานยนต์ 7,957.85 6.91 22.61
2. ยารักษาหรือป้องกันโรค 6,312.42 5.48 7.60
3. เครื่องกังหันไอพ่น 3,447.97 3.00 -13.27
4. ส่วนประกอบของอากาศยานฯ 2,936.95 2.55 7.87
5. เพชร 2,223.17 1.93 -1.44
อื่น ๆ 92,218.19 80.12 -2.83
3.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่สหราชอาณาจักรส่งออกไปไทยปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกไปไทย 322.49 100.00 13.05
1. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 27.23 8.44 40.02
2. เศษอลูมิเนียม 21.58 6.69 358.61
3. สุรา วิสกี้ รัม ฯ 20.80 6.45 -3.04
4. ยารักษาหรือป้องกันโรค 14.37 4.46 -8.24
5. เครื่องยนต์/อากาศยานฯ 13.83 4.29 430.42
อื่น ๆ 224.68 69.67 -2.65
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้านำเข้าสำคัญของสหราชอาณาจักร ได้แก่ ทองคำ รถยนต์และยานยนต์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ยารักษาหรือป้องกันโรค คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
4.2 สินค้าส่งออกสำคัญของสหราชอาณาจักร ได้แก่ รถยนต์และยานยนต์ ยารักษาหรือป้องกันโรค เครื่องกังหันไอพ่น ส่วนประกอบของอากาศยาน ยานอวกาศและอุปกรณ์การบิน เพชร
4.3 แหล่งผลิตสำคัญที่สหราชอาณาจักรนำเข้า ได้แก่ เยอรมนี สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และจีน ปัจจุบันสหราชอาณาจักรนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 31 สัดส่วนร้อยละ 0.61 และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 42 ของสหราชอาณาจักร สัดส่วนร้อยละ 0.28
4.4 สินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปตลาดสหราชอาณาจักร ได้แก่
- เนื้อสัตว์และส่วนอื่นๆ ของสัตว์ (HS.1602) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 455.085 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.28 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 24.36 มูลค่า 110.871 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.03 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ไอร์แลนด์ และบราซิล
- รถบรรทุกเล็ก (รถแวนและรถปิกอัพ) (HS.8704) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,806.301 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.41 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 8 สัดส่วนร้อยละ 4.78 มูลค่า 86.378 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.24 ในขณะที่นำเข้าจากเยอรมนีอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 22.79 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.78 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สเปนและเนเธอร์แลนด์
- อัญมณีและเครื่องประดับและส่วนประกอบที่เป็นของแท้ (HS.7113) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 692.677 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 34.56 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 7 สัดส่วนร้อยละ 6.45 มูลค่า 44.677 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.95 ในขณะที่นำเข้าจากฝรั่งเศสอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 17.43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.64 ส่วนคู่แข่งสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สหรัฐฯ และสวิสเซอร์แลนด์
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (HS.8471) สหราชอาราจักรนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 3,811.545 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.33 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 15 สัดส่วนร้อยละ 1.16 มูลค่า 44.037 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่นำเข้าจากเนเธอร์แลนด์อันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 19.66 ลดลงร้อยละ 5.77 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ไอร์แลนด์ และจีน
- เครื่องกังหันพ่นไอน้ำฯ (HS.8411) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 2,618.091 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.23 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 11 สัดส่วนร้อยละ 1.64 มูลค่า 42.902 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4,169.34 ในขณะที่นำเข้าจากสหรัฐฯอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 47.15 เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.43 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ เยอรมนี และฝรั่งเศส
4.5 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสหราชอาณาจักร 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 25 มีรวม 9 รายการ เช่น
1.) เนื้อสัตว์และส่วนอื่นๆ ของสัตว์ (HS.1602) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 455.085 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.28 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 24.36 มูลค่า 110.871 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.03
2.) เครื่องกังหันพ่นไอน้ำฯ (HS. 8411) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 2,618.091 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.23 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 11 สัดส่วนร้อยละ 1.64 มูลค่า 42.902 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4,169.34
3.)รถยนต์ยานยนต์ (HS.8703) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 11,851.350 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.85 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 22 สัดส่วนร้อยละ 0.15 มูลค่า 17.656 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 365.57
4.) รถจักรยาน (HS.8712) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 73.302 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.11 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 13.95 มูลค่า 10.226 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.44
การที่สินค้ากลุ่มยานพาหนะ และอุปกรณ์การขนส่งที่เกี่ยวข้องของไทยได้คืนจีเอสพีจากอียู ตั้งแต่ 1 มกราคม 2552-31 ธันวาคม 2554 จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกสินค้าในกลุ่มนี้ของไทยไปอียูในระยะต่อไปอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกรถปิกอัพซึ่งเป็นสินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปอียูที่จะเสียภาษีในอัตราที่ต่ำลง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาอียูเป็นตลาดส่งออกรถปิกอัพที่สำคัญของไทยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 17% ของการส่งออกในภาพรวม โดยเป็นการส่งออกของหลายค่าย อาทิ มิตซูบิชิ อีซูซุ และโตโยต้า เป็นต้น
5.) เฟอร์นิเจอร์ในครัว/เตียงนอน (HS.9403) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,364.552 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.74 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 23 สัดส่วนร้อยละ 0.82 มูลค่า 11.223 เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.63
จากราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวส่งผลให้มีจำนวนการสร้างบ้านใหม่เพิ่มมากขึ้น ชาวอังกฤษจึงใช้จ่ายเงินในการตกแต่งและซื้อเฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้นทุกปี ประกอบกับในปัจจุบันผู้บริโภคได้รับข่าวสารด้านการออกแบบและการตกแต่งบ้านทั้งจากการรับชมรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยและการจัดตกแต่งบ้านซึ่งเป็นรายการที่ได้รับความนิยมสูง และความตื่นตัวของการออกแบบตกแต่งภายใน จนหันมาใช้จ่ายเพื่อตกแต่งบ้านตามแฟชั่นและความชอบของตนมากขึ้นกว่าความจำเป็นพื้นฐาน ส่งผลให้มีการเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ในบ้านบ่อยขึ้น
6.) กุ้ง ปู แช่เย็นฯ (HS. 0306) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 86.667 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ11.44 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 10.75 มูลค่า 9.317 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 131.51
เป็นผลมาจากปู มีการขยายฐานลูกค้ามากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ มีการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้เป็นที่ดึงดูดมากขึ้น และไทยมีมาตรฐานที่ดีมากขึ้นกว่าที่ผ่านมาทำให้สหภาพยุโรปมีการนำเข้าจากไทยมากขึ้นเนื่องจากสหภาพยุโรปมีมาตรการในเรื่องของอาหารค่อนข้างเข้มงวดกว่ากลุ่มประเทศอื่นๆ สำหรับกุ้งไทยได้รับสิทธิ GSP จากสหภาพยุโรป และมีการตรวจเข้มเกี่ยวกับสารตกค้าง โดยไทยสามารถผ่านเกณฑ์ของมาตรการที่เข้มงวดในเรื่องนี้แล้ว
4.6 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสหราชอาณาจักร 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงมี 6 รายการ เช่น
1.) รถบรรทุกเล็ก (รถแวนและรถปิกอัพ) (HS.8704) สหราชอาณาจักร นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 8 สัดส่วนร้อยละ 4.78 มูลค่า 86.378 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.24
ในขณะที่นำเข้าจากเยอรมนีอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 22.79 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.78 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่า
2.) อัญมณีและเครื่องประดับและส่วนประกอบที่เป็นของแท้ (HS.7113) สหราชอาณาจักร นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 7 สัดส่วนร้อยละ 6.45 มูลค่า 44.677 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.95
ในขณะที่นำเข้าจากฝรั่งเศสอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 17.43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.64 ส่วนคู่แข่งสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สหรัฐฯ และสวิสเซอร์แลนด์
3.) รองเท้าที่มีพื้นด้านนอกทำด้วยยาง/พลาสติก (HS.6403) สหราชอาณาจักรนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 13 สัดส่วนร้อยละ 1.50 มูลค่า 12.394 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 28.99
ในขณะที่นำเข้าจากอิตาลีอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 15.52 ลดลงร้อยละ 3.92 ส่วนคู่แข่งสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ จีน และเวียดนาม
4.7 ข้อมูลเพิ่มเติม
รายงานความตื่นตัวด้านสิ่งแลดล้อมของสหราชอาณาจักรประเด็นการตรวจสอบปริมาณการปล่อย สารเรือนกระจก (Carbon Foot Print)
สหราชอาณาจักรเป็นประเทศหลักในสหภาพยุโรปที่มีความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมในระดับสูง และมีบทบาทสำคัญในการกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ทั้งภายในประเทศและในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยประเด็นสิ่งแวดล้อมที่กำลังได้รับความสนใจอย่างสูง คือสภาวะการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ (Climate Change) หรือโลกร้อน อันเป็นผลมาจากการปล่อยสารเรือนกระจก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิในโลกสูงขึ้น และเกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในทุกภูมิภาคของโลก
ขณะนี้ภาครัฐของสหราชอาณาจักรกำลังดำเนินการออกกฏหมายและระเบียบออกบังคับใช้เพื่อลดปริมาณการปล่อยสารเรือนกระจกลง ขณะที่ภาคเอกชนได้ดำเนินการโดยความสมัครใจอย่างกว้างขวางดังจะเห็นได้จากการร่วมกันกำหนดมาตรฐานในการวัดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และสารที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกในส่วนที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เรียกว่า Carbon Footprint การติดตราสัญลักษณ์ (Label) บนผลิตภัณฑ์เพื่อรณรงค์การลดการปล่อยสารฯ ตลอดจนการเตรียมกำหนดแนวทางปฎิบัติในการควบคุมการปล่อยควันเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม การเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มจากรถยนต์ที่ปล่อยสารคาร์บอนไดออกไซด์ระดับสูง จนปัจจุบันได้ขยายความสนใจไปยังการประกอบธุรกิจการค้าตั้งแต่ขั้นตอนการสรรหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่งไปจนถึงผู้บริโภค
กฎระเบียบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- สหประชาชาติได้กำหนดกรอบการดำเนินงานภายใต้โครงการความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม (United Nations Framework Convention on Climate Change UNFCCC) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 170 ประเทศ (จนถึงเดือนธันวาคม 2550 สหรัฐอเมริกายังไม่ได้เข้าร่วม) ได้ร่วมกันออก Kyoto Protocol เมื่อปี 1997 กำหนดให้ประเทศผู้เข้าร่วมกำหนดนโยบายและแนวทางปฎิบัติในการลดการปล่อยสารที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก
- สหภาพยุโรปซึ่งมีสัดส่วนการปล่อยสารเรือนกระจกร้อยละ 22 จากทั้งหมดในโลก ได้กำหนดเป้าหมายในการลดปริมาณการปล่อยสารฯภายใต้นโยบายด้านพลังงานของตนลงให้ได้ร้อยละ 20 ภายในปี 2020 โดยได้กำหนดหนดอุตสาหกรรมนำร่อง 6 อุตสาหกรรม คือ พลังงาน เหล็กและเหล็กกล้า ปูนซีเมนต์ กระจก อิฐที่ใช้ในการก่อสร้าง และกระดาษ
- สหราชอาณาจักรนับเป็นประเทศที่กำหนดเป้าหมายการลดปริมาณการปล่อยสารฯลงสูงที่สุดในสหภาพยุโรป โดยได้กำหนดจะลดปริมาณการปล่อยสารฯลงถึงร้อยละ 60 ภายในปี 2050 และสูงถึงร้อยละ 26 ภายในปี 2020 นอกจากนี้สหราชอาณาจักรยังอยู่ในระหว่างการออกกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ 2550 (Climate Change Bill 2007) ซึ่งหากผ่านการพิจารณาจะถือเป็นประเทศแรกในโลกที่มีกฏหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศออกใช้
- หน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในประเด็นสิ่งแวดล้อมของสหราชอาณาจักร Department for Environment, Food and Rural Affaires (DEFRA) และ Department for Business, Enterprise and Regulatory Reform (BERR) ซึ่งสองหน่วยงานได้ร่วมกันจัดตั้งองค์กรอิสระ ได้แก่ Carbon Trust มีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้หน่วยงานราชการและภาคธุรกิจลดการปล่อยสารเรือนกระจกลงอย่างเป็นระบบโดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ นอกจากนี้ Carbon Trust ยังได้ออกตราสัญลักษณ์ (Label) Carbon Trust ซึ่งแสดงปริมาณการปล่อยสารเรือนกระจกสำหรับแสดงบนผลิตภัณฑ์ต่างๆซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดี โดยธุรกิจหลายรายได้เริ่มนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ของตนแล้ว
ความเห็นเพิ่มเติมของสำนักงานฯ
แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายหรือระเบียบบังคับใช้ในประเด็นการควบคุมการปล่อยสารเรือนกระจกอย่างเป็นทางการ แต่ภาครัฐและภาคเอกชนของสหราชอาณาจักรต่างออกมามีบทบาทโดยความสมัครใจในการรณรงค์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะติดตามความคืบหน้าในประเด็นความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมนี้ ซึ่งเป็นที่คาดหมายว่าจะส่งผลถึงการประกอบธุรกิจการค้าทั้งระบบในอนาคตอันใกล้
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ