1. สต๊อคข้าว
คนเยอรมันนิยมการบริโภคขนมปังและมันฝรั่งเป็นอาหารหลัก โดยเฉลี่ยเป็นปริมาณ 85 และ
70 กก./คน/ปี ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณการบริโภคข้าวเป็นปริมาณ 3 กิโลกรัม/คน/ปี ผู้ที่บริโภคข้าวส่วน
ใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติและคนเอเชียที่อาศัยอยู่ในเยอรมนี ซึ่งจะหาซื้อจากร้านค้าของชำชาวเอเชียเป็นหลัก
ร้านค้าเหล่านี้จะมีการสต๊อคสินค้าที่จำหน่ายภายในร้านค้าของตนเองจำนวนหนึ่ง รวมทั้งข้าวด้วย โดยจะทำการ
สั่งซื้อสินค้าจากผู้ส่งออกเป็นประจำ สำหรับข้าวจะมีการสั่งต่อครั้ง เป็นปริมาณระหว่าง 100—500 ตัน เพื่อการ
จำหน่ายปลีกในร้านของตนเอง และขายส่งให้กับร้านค้าขนาดเล็กที่ตั้งกระจายอยู่ทั่วประเทศ
ในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา จากการที่สหภาพยุโรปมีภาษีนำเข้าข้าวจากประเทศที่สาม (ที่มิใช่ประเทศ
สมาชิก EU) ในอัตราที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการนำเข้าข้าวจากประเทศไทย ได้ทำให้ราคาขายปลีก
ข้าวของไทยลดต่ำลงมาโดยตลอด แต่เนื่องด้วยในปัจจุบันที่สถานการณ์ราคาส่งออกของข้าวไทยปรับตัวสูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง จึงทำให้ราคาข้าวจำหน่ายปลีกในตลาดเยอรมนีปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 25-30
อย่างไรก็ตามภาวะราคาขายปลีกที่สูงขึ้นนี้ ตลาดยังคงรองรับได้ หากแต่อุปสรรคที่เกิดขึ้น ยังคงเป็นเพียงความ
ล่าช้าในการส่งมอบสินค้าข้าวให้แก่ผู้นำเข้าในตลาดเยอรมนีเท่านั้น
2. ข้าวจากคู่แข่งของไทย
โดยเฉลี่ยเยอรมนีนำเข้าข้าวเป็นปริมาณปีละ 320,000 ตัน แหล่งนำเข้าหลักจะเป็นประเทศที่
เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป มีส่วนแบ่งตลาดทั้งสิ้นกว่าร้อยละ 70 ที่สำคัญๆ ได้แก่ อิตาลี เนเธอแลนด์ และเบลเยี่ยม
มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 33, 17 และ 10 ตามลำดับ ข้าวจากประเทศเหล่านี้เป็นข้าวสารขาวเมล็ดกลมหรือ
เมล็ดสั้นเป็นสำคัญ ส่วนข้าวที่นำเข้าจากไทยจะเป็นข้าวหอมมะลิ 100 % และข้าวหัก มีส่วนแบ่งตลาดโดยเฉลี่ย
ประมาณร้อยละ 12 สำหรับข้าวจากอินเดียจะเป็นข้าวบาสมาตีเป็นส่วนใหญ่ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 7 ส่วนข้าว
จากเวียดนามปัจจุบันยังมีส่วนแบ่งตลาดที่เล็กน้อย มีการนำเข้าประมาณปีละ 300 — 500 ตัน
3. ข้าวที่เยอรมนีนำเข้าจากแหล่งต่างๆ นั้นนอกเหนือจากการบริโภคในประเทศแล้ว จะมีการส่งออกต่อไปยัง
ประเทศอื่นๆในยุโรป โดยเฉลี่ยเป็นปริมาณปีละ 60,000 ตัน ไปยังประเทศเดนมาร์ค สวีเดนและโปแลนด์
คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 25, 15 และ 12 ตามลำดับ
แหล่งนำเข้าข้าวของเยอรมนีในปี 2547 — 2551 (ม.ค.-ก.พ.)
ล้านเหรียญสหรัฐ % ส่วนตลาด %เพิ่ม/ลด
ลำดับ ประเทศ 2547 2548 2549 2550 2551 2550 2551 51:50
ม.ค.-ก.พ. ม.ค.-ก.พ. ม.ค.-ก.พ. ม.ค.-ก.พ.
1 อิตาลี 73.9 67.1 68.5 81.9 15.9 35.40 28.30 15.25
2 อินเดีย 11.6 13.4 14.6 17.8 10.3 9.90 18.20 165.62
3 เนเธอแลนด์ 27.0 25.2 29.6 42.4 8.2 13.01 14.57 61.72
4 ไทย 9.4 9.7 12.6 30.6 6.5 13.65 11.58 22.45
5 เบลเยี่ยม 21.5 20.8 20.1 24.2 4.5 5.50 7.94 108.20
6 อูรูไกวย 1.2 0.9 2.9 11.5 4.0 3.73 7.12 175.68
7 ฝรั่งเศส 6.5 5.2 4.8 4.8 1.4 1.17 2.55 214.93
8 ปากีสถาน 4.0 5.1 3.8 7.2 1.2 3.41 2.11 -10.75
9 อียิปต์ 0.0 0.0 0.0 1.5 1.1 0.38 1.96 653.06
10 กรีก 3.9 3.0 1.5 2.6 0.8 1.41 1.39 41.43
11 สหราชอาณาจักร 4.0 4.5 4.4 4.2 0.7 1.77 1.29 5.11
12 สเปน 13.2 12.0 19.1 12.2 0.4 5.90 0.79 -80.60
13 เดนมาร์ค 0.3 0.6 1.2 0.3 0.4 0.15 0.67 568.43
14 สหรัฐฯ 19.9 16.6 18.6 5.6 0.3 2.24 0.59 62.22
15 เวียตนาม 0.1 0.1 0.1 0.1 0.2 0.04 0.35 1,095.13
รวม 15 ประเทศ 196.5 184.3 202.2 246.9 56.1 97.70 99.40 --
อื่นๆ 1.6 0.7 2.4 3.5 0.4 2.30 0.60 --
นำเข้าทั้งสิ้น 198.1 185.0 204.6 250.4 56.2 100.00 100.00 44.35
ที่มา : Eurostat
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน
มิถุนายน 2551
ที่มา: http://www.depthai.go.th
คนเยอรมันนิยมการบริโภคขนมปังและมันฝรั่งเป็นอาหารหลัก โดยเฉลี่ยเป็นปริมาณ 85 และ
70 กก./คน/ปี ตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณการบริโภคข้าวเป็นปริมาณ 3 กิโลกรัม/คน/ปี ผู้ที่บริโภคข้าวส่วน
ใหญ่จะเป็นชาวต่างชาติและคนเอเชียที่อาศัยอยู่ในเยอรมนี ซึ่งจะหาซื้อจากร้านค้าของชำชาวเอเชียเป็นหลัก
ร้านค้าเหล่านี้จะมีการสต๊อคสินค้าที่จำหน่ายภายในร้านค้าของตนเองจำนวนหนึ่ง รวมทั้งข้าวด้วย โดยจะทำการ
สั่งซื้อสินค้าจากผู้ส่งออกเป็นประจำ สำหรับข้าวจะมีการสั่งต่อครั้ง เป็นปริมาณระหว่าง 100—500 ตัน เพื่อการ
จำหน่ายปลีกในร้านของตนเอง และขายส่งให้กับร้านค้าขนาดเล็กที่ตั้งกระจายอยู่ทั่วประเทศ
ในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา จากการที่สหภาพยุโรปมีภาษีนำเข้าข้าวจากประเทศที่สาม (ที่มิใช่ประเทศ
สมาชิก EU) ในอัตราที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการนำเข้าข้าวจากประเทศไทย ได้ทำให้ราคาขายปลีก
ข้าวของไทยลดต่ำลงมาโดยตลอด แต่เนื่องด้วยในปัจจุบันที่สถานการณ์ราคาส่งออกของข้าวไทยปรับตัวสูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง จึงทำให้ราคาข้าวจำหน่ายปลีกในตลาดเยอรมนีปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 25-30
อย่างไรก็ตามภาวะราคาขายปลีกที่สูงขึ้นนี้ ตลาดยังคงรองรับได้ หากแต่อุปสรรคที่เกิดขึ้น ยังคงเป็นเพียงความ
ล่าช้าในการส่งมอบสินค้าข้าวให้แก่ผู้นำเข้าในตลาดเยอรมนีเท่านั้น
2. ข้าวจากคู่แข่งของไทย
โดยเฉลี่ยเยอรมนีนำเข้าข้าวเป็นปริมาณปีละ 320,000 ตัน แหล่งนำเข้าหลักจะเป็นประเทศที่
เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป มีส่วนแบ่งตลาดทั้งสิ้นกว่าร้อยละ 70 ที่สำคัญๆ ได้แก่ อิตาลี เนเธอแลนด์ และเบลเยี่ยม
มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 33, 17 และ 10 ตามลำดับ ข้าวจากประเทศเหล่านี้เป็นข้าวสารขาวเมล็ดกลมหรือ
เมล็ดสั้นเป็นสำคัญ ส่วนข้าวที่นำเข้าจากไทยจะเป็นข้าวหอมมะลิ 100 % และข้าวหัก มีส่วนแบ่งตลาดโดยเฉลี่ย
ประมาณร้อยละ 12 สำหรับข้าวจากอินเดียจะเป็นข้าวบาสมาตีเป็นส่วนใหญ่ มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 7 ส่วนข้าว
จากเวียดนามปัจจุบันยังมีส่วนแบ่งตลาดที่เล็กน้อย มีการนำเข้าประมาณปีละ 300 — 500 ตัน
3. ข้าวที่เยอรมนีนำเข้าจากแหล่งต่างๆ นั้นนอกเหนือจากการบริโภคในประเทศแล้ว จะมีการส่งออกต่อไปยัง
ประเทศอื่นๆในยุโรป โดยเฉลี่ยเป็นปริมาณปีละ 60,000 ตัน ไปยังประเทศเดนมาร์ค สวีเดนและโปแลนด์
คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 25, 15 และ 12 ตามลำดับ
แหล่งนำเข้าข้าวของเยอรมนีในปี 2547 — 2551 (ม.ค.-ก.พ.)
ล้านเหรียญสหรัฐ % ส่วนตลาด %เพิ่ม/ลด
ลำดับ ประเทศ 2547 2548 2549 2550 2551 2550 2551 51:50
ม.ค.-ก.พ. ม.ค.-ก.พ. ม.ค.-ก.พ. ม.ค.-ก.พ.
1 อิตาลี 73.9 67.1 68.5 81.9 15.9 35.40 28.30 15.25
2 อินเดีย 11.6 13.4 14.6 17.8 10.3 9.90 18.20 165.62
3 เนเธอแลนด์ 27.0 25.2 29.6 42.4 8.2 13.01 14.57 61.72
4 ไทย 9.4 9.7 12.6 30.6 6.5 13.65 11.58 22.45
5 เบลเยี่ยม 21.5 20.8 20.1 24.2 4.5 5.50 7.94 108.20
6 อูรูไกวย 1.2 0.9 2.9 11.5 4.0 3.73 7.12 175.68
7 ฝรั่งเศส 6.5 5.2 4.8 4.8 1.4 1.17 2.55 214.93
8 ปากีสถาน 4.0 5.1 3.8 7.2 1.2 3.41 2.11 -10.75
9 อียิปต์ 0.0 0.0 0.0 1.5 1.1 0.38 1.96 653.06
10 กรีก 3.9 3.0 1.5 2.6 0.8 1.41 1.39 41.43
11 สหราชอาณาจักร 4.0 4.5 4.4 4.2 0.7 1.77 1.29 5.11
12 สเปน 13.2 12.0 19.1 12.2 0.4 5.90 0.79 -80.60
13 เดนมาร์ค 0.3 0.6 1.2 0.3 0.4 0.15 0.67 568.43
14 สหรัฐฯ 19.9 16.6 18.6 5.6 0.3 2.24 0.59 62.22
15 เวียตนาม 0.1 0.1 0.1 0.1 0.2 0.04 0.35 1,095.13
รวม 15 ประเทศ 196.5 184.3 202.2 246.9 56.1 97.70 99.40 --
อื่นๆ 1.6 0.7 2.4 3.5 0.4 2.30 0.60 --
นำเข้าทั้งสิ้น 198.1 185.0 204.6 250.4 56.2 100.00 100.00 44.35
ที่มา : Eurostat
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน
มิถุนายน 2551
ที่มา: http://www.depthai.go.th