สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศของมาเลเซีย ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) สรุปจากสถิติ World Trade Atlas

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 3, 2008 13:36 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. มูลค่าการค้า
1.1 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของมาเลเซีย-โลก
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มี.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 72,975.46 85,859.01 17.65
การนำเข้า 33,476.97 38,771.67 15.82
การส่งออก 39,498.49 47,087.34 19.21
ดุลการค้า 6,021.51 8,315.68 38.10
1.2 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของมาเลเซีย-ไทย
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มี.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 4,005.72 4,525.63 12.98
การนำเข้า 1,840.89 2,116.78 14.99
การส่งออก 2,164.83 2,408.85 11.27
ดุลการค้า 323.94 292.07 -9.84
2. การนำเข้า
2.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่มาเลเซียนำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 38,771.67 100.00 15.82
1. จีน 5,038.49 13.00 25.36
2. ญี่ปุ่น 4,685.13 12.08 9.57
3. สิงคโปร์ 4,569.45 11.79 15.92
4. สหรัฐฯ 4,070.46 10.50 6.64
5. ไทย 2,116.78 5.46 14.99
6. ไต้หวัน 2,055.23 5.30 -7.72
อื่น ๆ 16,236.14 41.88 21.58
2.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่มาเลเซียนำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 38,771.67 100.00 15.82
1. แผงวงจรไฟฟ้า 7,358.59 18.98 -3.30
2. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 2,008.14 5.18 29.20
3. คอมพิวเตอร์ละอุปกรณ์ 736.50 1.90 7.75
4. ไดโอดทรานซิสเตอร์ฯ 594.20 1.53 6.22
5. แผงวงจรพิมพ์ 538.69 1.39 7.73
อื่น ๆ 27,535.54 71.02 7.23
2.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่มาเลเซียนำเข้าจากไทยปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย 2,116.78 100.00 14.99
1. ยางธรรมชาติ 164.95 7.79 48.14
2. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ฯ 135.34 6.39 4.50
3. แผงวงจรไฟฟ้า 126.07 5.96 -25.87
4. ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ 97.79 4.62 5.10
5. รถยนต์ยานยนต์ 91.53 4.32 60.52
อื่น ๆ 1,501.09 70.91 -2.46
3. การส่งออก
3.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่มาเลเซียส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 47,087.34 100.00 19.21
1. สิงคโปร์ 7,231.97 15.36 26.21
2. สหรัฐฯ 6,067.25 12.89 -10.58
3. ญี่ปุ่น 4,815.30 10.23 35.62
4. จีน 3,905.60 8.29 22.01
5. ไทย 2,408.85 5.12 11.27
6. เกาหลีใต้ 2,193.44 4.66 18.79
อื่น ๆ 20,464.93 43.46 26.17
3.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่มาเลเซียส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 47,087.34 100.00 19.21
1. แผงวงจรไฟฟ้า 4,331.32 9.20 -20.14
2. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 3,881.27 8.24 7.24
3. น้ำมันปาลม์ 3,024.68 6.42 127.8
4. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 2,675.81 5.68 4.52
5. น้ำมันสำเร็จรูป 2,174.40 4.62 121.72
อื่น ๆ 30,999.88 65.83 -5.56
3.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่มาเลเซียส่งออกไปไทยปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกไปไทย 2,408.85 100.00 11.27
1. น้ำมันดิบ 363.75 15.10 120.13
2. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 333.35 13.84 -3.27
3. แผงวงจรไฟฟ้า 126.28 5.24 19.30
4. เทปแม่เหล็กสำหรับคอมพิวเตอร์ 117.51 4.88 11.75
5. แผงวงจรพิมพ์ 92.90 3.86 26.35
อื่น ๆ 1,375.07 57.08 -33.24
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้านำเข้าสำคัญของมาเลเซีย ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ไดโอดทรานซิสเตอร์ แผงวงจรพิมพ์
4.2 สินค้าส่งออกสำคัญของมาเลเซีย ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ น้ำมันปาล์ม ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ น้ำมันสำเร็จรูป
4.3 แหล่งผลิตสำคัญที่มาเลเซียนำเข้า ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหรัฐฯ และไต้หวัน ปัจจุบันมาเลเซียนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 5 สัดส่วนร้อยละ 5.46 และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 5 ของมาเลเซีย สัดส่วนร้อยละ 5.12
4.4 สินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปตลาดมาเลเซีย ได้แก่
- ยางธรรมชาติ (HS.4001) มาเลเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 255.737 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 73.03 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 64.50 มูลค่า 164.953 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.14 ส่วนคู่แข่งสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ อินโดนีเซีย และพม่า
- ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ (HS.8473) มาเลเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 2,008.138 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.20 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 5 สัดส่วนร้อยละ 6.74 มูลค่า 135.337 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.50 ในขณะที่นำเข้าจากจีนอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 42.31 เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.45 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ เกาหลีใต้ และสิงคโปร์
- แผงวงจรไฟฟ้า (HS.8542) มาเลเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 7,358.590 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.30 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 12 สัดส่วนร้อยละ 1.71 มูลค่า 126.071 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 25.87 ในขณะที่นำเข้าจากสหรัฐฯ อันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 23.61 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.17 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและ มูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ไต้หวันและญี่ปุ่น
- ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (HS.8708) มาเลเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 256.515ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.66 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 38.12 มูลค่า 97.793 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.10 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย
- รถยนต์ยานยนต์ (HS.8703) มาเลเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 416.262 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.16 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 21.99 มูลค่า 91.533 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.52 ในขณะที่นำเข้าจากญี่ปุ่นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 46.52 เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.53 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ เยอรมนี และเกาหลีใต้
4.5 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดมาเลเซีย 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 20 มีรวม 15 รายการ เช่น
1.) ยางธรรมชาติ (HS.4001) มาเลเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 255.737 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 73.03 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 64.50 มูลค่า 164.953 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.14
ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติมากที่สุดของโลก มีสัดส่วนการผลิตเป็นร้อยละ 34.0 ของผลผลิตยางของโลก และส่งออกร้อยละ 47.0 ของการส่งออกยางโลก อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 90.0 ส่งออกในรูปของวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป ทำให้ต้องพึ่งพาตลาดส่งออกเป็นสำคัญ ในขณะที่มาเลเซียนำเข้ายางธรรมชาติจากไทยเป็นอันดับ 1
2.) ข้าว (HS.1006) มาเลเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 95.078 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.19 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 78.27 มูลค่า 74.418 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.87
ปัจจุบันมาเลเซียต้องนำเข้าข้าวมากกว่า 1 ใน 5 ของปริมาณความต้องการข้าวในประเทศ ซึ่งราคาข้าวแพงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากความต้องการข้าวไม่สมดุลกับกำลังการผลิตทั่วโลก
ก่อนหน้านี้รัฐบาลมาเลเซียประกาศเมื่อเดือนเมษายน 2551 ว่าจะใช้พื้นที่จำนวนมากในซาราวักปลูกข้าว เพื่อทำให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้มากกว่าเดิม และมาเลเซียตั้งเป้าจะลดการนำเข้าข้าวจากเกือบ 27% เหลือ 14% ของความต้องการบริโภคทั้งหมดภายในปี 2553
3.) ข้าวโพดทำพันธ์ (HS.1005) มาเลเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 181.445 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.35 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 28.74 มูลค่า 52.142 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,245.06
4.) น้ำมันมะพร้าว/น้ำมันปาล์ม (HS.1513) มาเลเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 189.567 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 186.20 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 12.99 มูลค่า 24.622 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 108.47
5.) รถยนต์ยานยนต์ (HS.8703) มาเลเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 416.262 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.16 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 21.99 มูลค่า 91.533 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.52
6.) รถบรรทุกเล็ก (HS.8704) มาเลเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 112.267 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.12 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 26.84 มูลค่า 30.135 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.87
7.) ยางยานยนต์ (HS.4011) มาเลเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 66.922 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.42 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 43.95 มูลค่า 29.415 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.34
เป็นผลมาจากปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์เติบโตอย่างรวมเร็วทั่วทั้งภูมิภาคเอเซีย เนื่องจาการขยายตัวทางอุตสาหกรรมดังกล่าวในโลกตะวันตกกำลังถึงจุดอิ่มตัว และประเทศในกลุ่มอาเซียนอีกหลายประเทศได้กลายเป็นตลาดสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย ซึ่งกำลังเป็นศูนย์กลางการผลิตสำหรับบริษัทต่างชาติ เนื่องจากเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) มีส่วนทำให้ภาษีการส่งออกต่ำ ขณะเดียวกันมาเลเซียเป็นตลาดหลักตลาดหนึ่งของการส่งออกยานยนต์ของไทย แนวโน้มการส่งออกสินค้ายานยนต์ในปี 2551 คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะความต้องการใช้รถยนต์จากทั่วโลกยังมีสูง
4.6 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดมาเลเซีย 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราลดลงมี 4 รายการ เช่น
1.) แผงวงจรไฟฟ้า (HS.8542) มาเลเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 7,358.590 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.30 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 12 สัดส่วนร้อยละ 1.71 มูลค่า 126.071 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 25.87
ในขณะที่นำเข้าจากสหรัฐฯ อันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 23.61 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.17 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและ มูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ไต้หวันและญี่ปุ่น
2.) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (HS.8471) มาเลเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 736.503 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.75 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 11.08 มูลค่า 81.593 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.45
ในขณะที่นำเข้าจากจีน อันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 38.43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.56 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและ มูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สหรัฐฯ และสิงคโปร์
3.) ไดโอดทรานซิสเตอร์ (HS.8541) มาเลเซียนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 594.197 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.22 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 10 สัดส่วนร้อยละ 3.17 มูลค่า 18.824 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 19.69
ในขณะที่นำเข้าจากญี่ปุ่น อันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 29.84 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.73 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและ มูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ เยอรมนี และจีน
5. ข้อมูลเพิ่มเติม
มาเลเซียระงับการส่งออกอาหารทะเลไปยังสหภาพยุโรป
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข Datuk Liow Tiong Lai ให้สัมภาษณ์ว่า ได้ระงับการส่งออกสินค้าอาหารทะเลไปสหภาพยุโรป ของผู้ส่งออก 46 รายจากจำนวนทั้งสิ้น 70 ราย ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2551 เนื่องจากเมื่อวันที่ 8 - 18 เมษายน 2551 สหภาพยุโรป ได้ดำเนินการสุ่มตรวจสอบมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหารทะเลของมาเลเซียจำนวน 9 ราย ผลปรากฏว่า มีเพียง 3 เท่านั้น ที่ผ่านมาตรฐานของสหภาพยุโรป การระงับการส่งออกอาหารทะเลของมาเลเซียส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารทะเล ขาดทุนประมาณ 1.35 พันล้านริงกิต ซึ่งหากมาเลเซียยังต้องการส่งออกอาหารทะเลไปยังสหภาพยุโรปจำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของสหภาพยุโรป คือ เรือประมงต้องมีตู้แช่เย็นและมีระบบการรักษาความสะอาดที่เหมาะสม
หน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับสาธารณสุขของมาเลเซียได้ทำการตรวจสอบบริษัทส่งออกอาหารทะเลจำนวน 70 ราย ปรากฏว่ามีเพียง 20 กว่ารายที่ผ่านเกณฑ์และมีสิทธิส่งออกอาหารไปยังประเทศสหภาพยุโรป ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จะต้องปรับปรุงเกี่ยวกับด้านความสะอาดของเรือและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพื่อที่จะได้รับการอนุมัติจากสหภาพยุโรป ก่อนที่จะสามารถทำการส่งออกอาหารทะเลไปยัง สหภาพยุโรปอีกครั้ง ซึ่งอาจต้องใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ และใช้เวลาประมาณ 3 เดือนในการที่จะให้บริษัทส่งออกอาหารทะเล 46 รายให้กลับมาส่งออกได้อีกครั้ง
การตรวจสอบจะดำเนินการ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกดำเนินการโดยกรมการประมง (Fish Department) และกระทรวงสาธารณสุขของมาเลเซีย เพื่อตรวจสอบว่าแต่ละบริษัทได้ผ่านเกณฑ์ Food and Veterinary (FVO) Inspection Mission 2008 หลังจากนั้น การตรวจสอบครั้งที่สอง จะดำเนินการโดย European Commission’s Directorate — General for Health and Consumer Protection
อาหารแช่แข็งที่มาเลเซียส่งออกไปสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่ คือกุ้งและปลาหมึก จากสถานการณ์ ที่มาเลเซียระงับการส่งออกอาหารทะเลนี้ นายกสมาคมอุตสาหกรรมกุ้งของมาเลเซีย (Malaysia Shrimp Industry Association Chairman ) นาย Syed Omar Syed Jaafar ให้ข้อมูลว่า อุตสาหกรรมกุ้ง ขาดทุนประมาณ 35 ล้านริงกิต ในช่วงเวลา 6 สัปดาห์ ที่มีการตรวจสอบ นอกจากนี้ กุ้งกุลาดำ (Tiger prawn) และ กุ้งขาว (White prawn) มีราคาถูกลง เนื่องจากผู้ผลิตนำกุ้งไปจำหน่ายในตลาดเป็นจำนวนมากขึ้น
ซึ่งสมาคม มีความคิดเห็นว่า รัฐบาลควรกำหนดเพดานราคาของกุ้งและควรจะรับซื้อกุ้งจากเกษตรกรรวมทั้งอนุญาตให้ผู้ประกอบการสัตว์น้ำสามารถหยุดชำระหนี้ให้กับธนาคารเป็นการชั่วคราว ในส่วนของนายกสมาคมผู้ผลิตอาหารแช่แข็งของมาเลเซีย (Malaysian Frozen Foods Processor Association Chairman) นาย Ch’ng Chin Hooi ให้ความเห็นว่า การระงับการส่งออกอาหารทะเลเป็นระยะเวลา 3 เดือน ส่งผลต่ออุตสาหกรรมอาหารทะเลอย่างมาก สมาชิกสมาคม 26 รายขาดทุนประมาณ 1 พันล้านริงกิต เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวลูกค้าในประเทศยุโรปจะมีการสั่งซื้ออาหารทะเลเพื่อใช้ในเทศกาลคริสต์มาส
ในการแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข Datuk Liow Tiong Lai และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร Datuk Mustapa Mohamed ได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงเกษตรฯ ดำเนินการจัดเตรียมรายงานเสนอ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า เกี่ยวกับแนวทางในการติดตามการตรวจสอบตลอดจนมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลสามารถให้ความช่วยเหลือได้ต่อไป
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ