สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศของเนเธอร์แลนด์ ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.) สรุปจากสถิติ World Trade Atlas

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 7, 2008 14:19 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. มูลค่าการค้า
1.1 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของเนเธอร์แลนด์-โลก
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มี.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 242,320.90 308,912.26 27.48
การนำเข้า 113,732.21 146,286.02 28.62
การส่งออก 128,588.70 162,626.23 26.47
ดุลการค้า 14,856.49 16,340.21 9.99
1.2 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของเนเธอร์แลนด์-ไทย
2550 2551 D/%
(ม.ค.-มี.ค.) ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้ารวม 1,107.90 1,332.69 20.29
การนำเข้า 890.50 977.52 9.77
การส่งออก 217.40 355.18 63.38
ดุลการค้า -673.10 -622.34 -7.54
2. การนำเข้า
2.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 146,286.02 100.00 28.62
1. เยอรมนี 25,307.93 17.30 28.06
2. จีน 13,904.21 9.50 18.66
3.เบลเยียม 13,483.48 9.22 28.33
4. สหรัฐฯ 10,308.41 7.05 18.28
5. สหราชอาณาจักร 9,150.95 6.26 45.26
27. ไทย 977.52 0.67 9.77
อื่น ๆ 73,153.52 50.01 31.01
2.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวม 146,286.02 100.00 28.62
1. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 4,555.46 3.11 -13.39
2. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์/โทรเลข 4,417.96 3.02 23.93
3. เครื่องพิมพ์สำหรับคอมฯ 3,270.63 2.24 27.59
4. รถยนต์และยานยนต์ 2,820.96 1.93 -3.49
5. ยารักษาโรค 2,791.95 1.91 12.34
อื่น ๆ 128,429.07 87.79 23.41
2.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากไทยปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย 977.52 100.00 9.77
1. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 201.17 20.58 -37.70
2. แผงวงจรไฟฟ้า 78.16 8.00 -7.27
3. เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ 72.87 7.45 412.97
4. เครื่องพิมพ์สำหรับคอมฯ 53.83 5.51 85.22
5. เนื้อสัตว์ ส่วนอื่นๆของสัตว์ 47.19 4.83 63.65
อื่น ๆ 524.30 53.64 -9.57
3. การส่งออก
3.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่เนเธอร์แลนด์ส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 162,626.23 100.00 26.47
1. เยอรมนี 40,147.96 24.69 27.23
2. เบลเยียม 24,132.57 14.84 44.74
3. สหราชอาณาจักร 14,406.91 8.86 23.64
4. ฝรั่งเศส 13,371.48 8.22 25.26
5. อิตาลี 8,111.98 4.99 22.96
45. ไทย 355.18 0.22 63.38
อื่น ๆ 62,100.15 38.19 21.24
3.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เนเธอร์แลนด์ส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกรวม 162,626.23 100.00 26.47
1. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 5,528.22 3.40 0.13
2. เครื่องพิมพ์สำหรับคอมฯ 3,897.93 2.40 15.54
3. อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์ 3,648.07 2.24 34.47
4. ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ 2,892.26 1.78 -9.73
5. ยารักษาหรือป้องกันโรค 2,617.74 1.61 -1.48
อื่น ๆ 144,042.02 88.57 22.21
3.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่เนเธอร์แลนด์ส่งออกไปไทยปี 2551 (ม.ค.-มี.ค.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการส่งออกไปไทย 355.18 100.00 63.38
1. แผงวงจรไฟฟ้า 55.48 15.62 24.40
2. ผลิตภัณฑ์ฯทำด้วยเหล็ก 23.46 6.61 262.94
3. เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์/โทรเลข 20.29 5.71 247.28
4. มอเตอร์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า 13.67 3.85 75,866.00
5. เครื่องกังหันไอพ่น 12.05 3.39 5.55
อื่น ๆ 230.22 64.82 42.12
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้านำเข้าสำคัญของเนเธอร์แลนด์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์/โทรเลข เครื่องพิมพ์สำหรับคอมพิวเตอร์ รถยนต์และยานยนต์ ยารักษาโรคและป้องกันโรค
4.2 สินค้าส่งออกสำคัญของเนเธอร์แลนด์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องพิมพ์สำหรับคอมพิวเตอร์ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์/โทรเลข ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ยารักษา-และป้องกันโรค
4.3 แหล่งผลิตสำคัญที่เนเธอร์แลนด์นำเข้า ได้แก่ เยอรมัน จีน เบลเยียม สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ปัจจุบันเนเธอแลนด์นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 27 สัดส่วนร้อยละ 0.67 และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 45 ของเนเธอร์แลนด์ สัดส่วน ร้อยละ 0.22
4.4 สินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปตลาดเนเธอร์แลนด์ ได้แก่
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (HS.8471) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 4,555.455 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.39 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 6 สัดส่วนร้อยละ 4.42 มูลค่า 201.173 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 37.70 ในขณะที่นำเข้าจากจีนอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 47.71 ลดลงร้อยละ 13.86 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สหราชอาณาจักรและสหรัฐ
- แผงวงจรไฟฟ้า (HS.8542) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,402.848 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.47 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 7 สัดส่วนร้อยละ 5.57 มูลค่า 78.157 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.27 ในขณะที่นำเข้าจากมาเลเซียอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 17.45 เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.82 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงคือ สิงคโปร์และญี่ปุ่น
- เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ (HS.8525) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 667.259 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.51 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วน ร้อยละ 10.92 มูลค่า 72.868 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 412.98 ในขณะที่นำเข้าจากญี่ปุ่นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 32.79 เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.25 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ จีนและอินโดนีเซีย
- เครื่องพิมพ์สำหรับคอมพิวเตอร์ (HS. 8443) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 3,270.631 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.59 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 12 สัดส่วนร้อยละ 1.65 มูลค่า 53.825 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.22 ในขณะที่นำเข้าจากจีนอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 23.14 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.64 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ญี่ปุ่นและเยอรมัน
- เนื้อสัตว์ ส่วนอื่นๆ ของสัตว์ (HS.1602) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 181.557 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.57 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 25.99 มูลค่า 47.191 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.66 ในขณะที่นำเข้าจากบราซิลอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 30.57 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.32 ส่วนคู่แข่งสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ เบลเยียมและเยอรมัน
4.5 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเนเธอร์แลนด์ 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 30 มีรวม 12 รายการ เช่น
1.) เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ (HS.8525) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 667.259 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.51 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วน ร้อยละ 10.92 มูลค่า 72.868 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 412.98 2
2.) เครื่องพิมพ์สำหรับคอมพิวเตอร์ (HS.8443) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 3,270.631 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.59 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 12 สัดส่วนร้อยละ 1.65 มูลค่า 53.825 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.22
3.) เนื้อสัตว์ ส่วนอื่นๆ ของสัตว์ (HS.1602) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 181.557 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.57 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 25.99 มูลค่า 47.191 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.66
4.) รถจักรยานยนต์ (H.S. 8711) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 279.012 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.17 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 5.99 มูลค่า 16.700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2,596.74
โดยส่วนใหญ่การส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยเป็นรถที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 200 cc แต่ไม่เกิน 250 cc ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2551 ร้อยละ 52.64 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการส่งออกรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ไปในสหภาพยุโรป เนเธอร์แลนด์ และแคนาดา
ประกอบกับในช่วงปีที่แล้วได้มีการชะลอการส่งออกรถจักรยานยนต์รุ่นเดิม เพื่อพัฒนารถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ให้มีคุณภาสอดคล้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ใหม่ของยุโรป โดยเนเธอร์แลนด์เป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยและมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
5.) ข้าว (H.S.1006) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 57.831 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.92 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 22.93 มูลค่า 13.262 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.84
เป็นผลมาจาก ที่ผ่านมากลุ่มประเทศสหภาพยุโรปจะนำเข้าสินค้าข้าวจากสหรัฐฯ เป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยสาเหตุที่สหรัฐฯมีการผลิตข้าวในรูปแบบของพืช GMO มากขึ้นทำให้สหภาพยุโรปขาดความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์จากสหรัฐฯ สาเหตุนี้ทำให้สหภาพยุโรปหันมานำเข้าผลิตภัณฑ์ข้าวจากกลุ่มประเทศในแถบอาเซียนมากขึ้นโดยเฉพาะจากไทยและเวียดนาม
6.) อัญมณีและเครื่องประดับ (H.S.7113) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 47.586 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.47 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 25.28 มูลค่า 12.029 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.39
7.) ยางรถยนต์ (H.S.4011) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 546.461 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.86 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 14 สัดส่วนร้อยละ 1.79 มูลค่า 9.796 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 224.44
ความต้องการยางธรรมชาติในตลาดโลกยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 4.5 ต่อปี เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยางรถยนต์ทั้งในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และจีน
4.6 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดเนเธอร์แลนด์ 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงมี 5 รายการ เช่น
1.) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (HS.8471) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 4,555.455 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.39 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 6 สัดส่วนร้อยละ 4.42 มูลค่า 201.173 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 37.70
ในขณะที่นำเข้าจากจีนอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 47.71 ลดลงร้อยละ 13.86 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สหราชอาณาจักรและสหรัฐ
2.) แผงวงจรไฟฟ้า (HS.8542) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,402.848 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.47 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 7 สัดส่วนร้อยละ 5.57 มูลค่า 78.157 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.27
ในขณะที่นำเข้าจากมาเลเซียอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 17.45 เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.82 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงคือ สิงคโปร์และญี่ปุ่น
3.) คอนแทคเลนส์และแว่นตา (H.S.9001) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 114.416 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.77 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 14.47 มูลค่า 16.551 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 28.43
ในขณะที่นำเข้าจากสหราชอาณาจักรอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 19.24 ลดลงร้อยละ 11.13 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงคือ ไอร์แลนด์ และเยอรมนี
4.) น้ำผัก ผลไม้ (H.S.2009) เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 297.167 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.70 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 9 สัดส่วนร้อยละ 3.70 มูลค่า 10.987 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.04
ในขณะที่นำเข้าจากบราซิลอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 20.72 เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.40 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงคือ เยอรมนี และจีน
4.7 ข้อมูลเพิ่มเติม
เอฟทีเอ อาเซียน — อียู
ระหว่างการเยือนประเทศไทยของนายคาเรล เดอ กูลช์ รัฐมนตรีต่างประเทศเบลเยียม เพื่อร่วมฉลองความสัมพันธ์ไทย-เบลเยียมครบรอบ 140 ปี ในวันที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา เขาได้สะท้อนภาพทิศทางของเขตการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรป (อาเซียน-อียู เอฟทีเอ) ว่าอาจจะเกิดขึ้นในลักษณะที่กลุ่มประเทศชั้นนำทางเศรษฐกิจของอาเซียนทำความตกลงเปิดเอฟทีเอกับอียูไปก่อน ส่วนประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีเศรษฐกิจล้าหลังก็ค่อยให้ตามเข้าร่วมในภายหลัง เป็นการผ่าทางตันอุปสรรคในการเจรจาที่ทั้งสองฝ่ายกำลังเผชิญอยู่ในเวลานี้
การเปิดเอฟทีเออาเซียน-อียู มีความสำคัญต่อทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างมาก เพราะอาเซียนเป็นกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และมีการส่งออกสินค้าไปตลาดอียูมาก โดยปัจจุบัน อียูที่มีสมาชิกทั้งหมด 27 ประเทศ เป็นผู้นำเข้าสินค้าจากอาเซียนเป็นอันดับ 3 รองจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ขณะเดียวกัน สมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศก็นำเข้าสินค้าจากอียูประมาณ 12% ของปริมาณนำเข้าสินค้าทั้งหมด นอกจากนั้นปริมาณการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) ในอาเซียน ประมาณ 26% ก็มาจากกลุ่มอียู
ก่อนหน้านี้ในปี 2547 อาเซียนและอียูได้จัดทำข้อตกลง ความริเริ่มทางการค้าระหว่างภูมิภาคอาเซียน-อียู (Trans Regional ASEAN-EU Trade Initiatives :TREATI) เพื่อเป็นบันไดไปสู่การเปิดเอฟทีเอเต็มรูปแบบในอนาคต ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายได้สร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาพื้นฐานทางการค้า การลงทุน ความปลอดภัยด้านอาหาร มาตรฐานสุขอนามัยสินค้าอาหาร (SPS) ระบบศุลกากร และอื่นๆ ก่อนที่ทั้งสองฝ่ายจะตกลงเปิดเจรจาเพื่อการจัดทำเอฟทีเอระหว่างกันตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา
อย่างไรก็ตามอุปสรรคสำคัญยังมีอยู่ จากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนโดยเฉพาะกลุ่มซีแอลเอ็มวี (กัมพูชา ลาว เวียดนาม และพม่า) ที่เศรษฐกิจยังไม่เข้มแข็งเท่าสมาชิกก่อตั้งอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ส่งผลให้กลุ่มซีแอลเอ็มวีมีทีท่าลังเลต่อการเปิดเอฟทีเอกับอียู เนื่องจากความไม่พร้อมทางเศรษฐกิจที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ขณะเดียวกับที่สมาชิกอียูบางประเทศ ยังมีความสงสัยในท่าทีของรัฐบาลพม่าในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานภายในประเทศ รวมทั้งความจริงจังที่จะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองไปสู่ประชาธิปไตย
ทั้งสองประเด็นดังกล่าว ได้กลายเป็นตัวถ่วงความคืบหน้าของการเจรจาเปิดเอฟทีเอระหว่างอาเซียน- อียู กระทั่งนายเดอ กูลช์ ยังเชื่อว่าในการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 41 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-24 กรกฎาคมศกนี้ ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งอียูจะส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมด้วยนั้น อาจจะยังไม่มีความคืบหน้ามากนักในเรื่องนี้
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ