การผลิตและการค้าผลไม้ในเวียดนาม

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 9, 2008 17:31 —กรมส่งเสริมการส่งออก

การผลิต
อุตสาหกรรมผักและผลไม้แปรรูปของเวียดนามยังค่อนข้างล้าหลังไทย เนื่องจากโรงงานยังไม่มีอุปกรณ์ที่ทันสมัย
เพื่อผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานสูง และเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย จึงมีปัญหาด้านการปรับปรุงและควบคุมคุณภาพ
จากข้อมูลในปี 2548 เวียดนามมีพื้นที่ปลูกผลไม้ประมาณ 766,900 เฮกตาร์ โดยมีผลผลิตเกือบ 6.5 ล้าน
เมตริกตัน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นกล้วย 1.4 ล้านตัน พื้นที่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ( Mekong River Delta )
ทางตอนล่างของประเทศเป็นแหล่งปลูกผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดโดยมีพื้นที่ 262,000 เฮกตาร์ หรือประมาณ 35.0% ของพื้นที่ปลูก
ผลไม้ทั้งหมด และมีผลผลิตมากที่สุด คือ 2.93 ล้านเมตริตัน หรือคิดเป็น 45.0% ของผลผลิตผลไม้ทั้งหมดของประเทศ
เวียดนามสามารถปลูกผลไม้ได้มากกว่า 30 ชนิด โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
- ผลไม้เมืองร้อน เช่น กล้วย มะม่วง และสับปะรด เป็นต้น
- ผลไม้กึ่งเมืองร้อน เช่น ส้ม ส้มแมนดาริน ลิ้นจี่ และลำไย เป็นต้น
- ผลไม้เมืองหนาว เช่น ลูกพลับ และแพร์ เป็นต้น
ปัจจุบัน ลิ้นจี่ ลำไย และเงาะ ได้มีการพัฒนาอย่างมาก โดยมีพื้นที่ปลูกถึง 26% ส่วนกล้วย มีพื้นที่ปลูกประมาณ
19% ของพื้นที่ปลูกผลไม้ทั้งหมด นอกจากนี้เวียดนามยังได้กำหนดพื้นที่ปลูกผลไม้ที่เข้มข้น ( concentrated fruit free areas )
รัฐจะให้การดูแลเป็นพิเศษเพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น มีเขตพื้นที่ที่สำคัญ ดังนี้
ชนิดของผลไม้ เขต / จังหวัด ขนาดพื้นที่ ผลผลิต หมายเหตุ
(เฮคตาร์) ( เมตริกตัน/ปี )
ลิ้นจี่พันธุ์ทิ่ว ( Thieu) จว.บัคแยง (Bac Giang) 35,100 120,100
จว.หายเยือง (Hai Duong) 14,100 36,400
เงาะ จว.ด่องไน ( Dong Nai) 11,400 พื้นที่ปลูกอยู่ทางตอนใต้ถึง 40% ของพื้นที่ปลูกทั้งหมด
จว.เบ๊นแตร ( Ben Tre) 4,200 ( 14,200 เฮกตาร์ ) และได้ผลผลิต 61.54% (100,000 ตัน)
แก้วมังกร จว.บิ่นถุน ( Binh Thuan) 5,000 90,000 พันธ์ blue dragon สามารถทำรายได้จากการส่งออกได้มากที่สุด
จว.เตียงแยง ( Tien Giang) 2,000
ส้มคิง (King Orange) เขต Mekong Delta 200,000
- จว.วินห์ลอม ( Vinh Long) (47,000)
- จว.เบ๊นแตร ( Ben Tre) (45,000)
- จว.เตียงแยง( Tien Giang) (42,000)
- จว. ห่าแยง( Ha Giang) อยู่ทางภาคเหนือ 20,000
มะม่วง จว.เตียงแยง ( Tien Giang) 1,600 10,100 ส่วนมากปลูกตามฝั่งแม่น้ำเตียง ( Tien )
จว.ด่องทับ ( Dong Thap) 4,300 มีพื้นที่ 4,440 เฮคตาร์ ได้ผลผลิต 22,600 ตัน/ปี
ส้มโอ จว.วินห์ลอม ( Vinh Long) 4,500 31,300 มีหลายพันธุ์ตั้งชื่อตามถิ่นที่ปลูกพันธ์ที่มีชื่อ คือ Nam Roi
จว.หัวแยง ( Hau Giang) 1,300 ซึ่งมีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 9,200 เฮคตาร์
มังคุด เขต Mekong Delta 4,900 4,500
- จว.เบ๊นแตร ( Ben Tre) (4,200)
สับปะรด จว.เตียงแยง ( Tien Giang) 3,700 เป็นผลไม้ที่ได้รับการสนันสนุนจากรัฐให้มีการพัฒนา
จว.เกียนแยง ( Kien Giang) 3,300 มี 2 พันธุ์ที่มีชื่อ คือ Queen และ Cayenne
จว. แง๊อาน ( Nghe An) 3,100 ( เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง นำไปทำผลไม้กระป๋อง )
จว. นินบิน ( Ninh Binh) 3,000
จว.กวางนัม ( Quang Nam) 2,700
การส่งออก
ไตรมาสแรกของปี 2008 เวียดนามมีรายได้จากการส่งออกผักและผลไม้ 76 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 28% กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของเวียดนาม ( MoTI ) คาดว่าการส่งออกผัก
และผลไม้ทั้งปีจะมีมูลค่าสูงถึง 350 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 17% และรายได้ดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 700
และ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2010 และ 2015 ตามลำดับ
เวียดนามส่งออกผักและผลไม้ไปยัง 50 ประเทศทั่วโลก ลูกค้าสำคัญ คือ จีน ( สั่งซื้อถึง 60 % ของ
รายได้จากการส่งออกผักผลไม้ที่เวียดนามได้รับ) ญี่ปุ่น ไต้หวัน รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา ส่วนลูกค้ารายใหม่ที่สำคัญ คือ
ไทย ฮ่องกง สิงคโปร์ และประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรป
การนำเข้า
เมื่อเดือนพฤษภาคม 2551 เวียดนามนำเข้าผลไม้ประมาณ 2.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการ
นำเข้าผลไม้เมืองร้อนถึง 2.2 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนั้นเป็นการนำเข้าถั่ว
ผลไม้ที่เวียดนามนำเข้ามากที่สุดในช่วงนี้ คือ มังคุด มูลค่า 0.803 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้า
จากไทย ( มากกว่า 1,400 เมตริกตัน ) ราคาเฉลี่ยตันละ 546.4 เหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ ยังมีนำเข้าองุ่น แอปเปิล
ส้ม และมะม่วง จากจีน ไทยและออสเตรเลีย
การนำเข้าผลไม้ของเวียดนาม ปี 2551 ( เดือนเมษายน — พฤษภาคม)
หน่วย : เหรียญสหรัฐ
ผลไม้ 9 - 8 เม.ย. 2551 7 - 16 พ.ค. 2551 หมายเหตุ
มังคุด 803,254 - องุ่น : นำเข้าจากออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง เปรู และชิลี
องุ่น 261,095 454,223
แอปเปิ้ล 214,839 196,733 - แอปเปิ้ล : ส่วนใหญ่นำเข้าจาก จีน และสหรัฐฯ
ส้มแมนดาริน 172,756 - ส้ม : ส่วนใหญ่นำเข้าจาก จีน
ส้ม 141,426
มะม่วง 120,185
แพร์ 116,529
กล้วย 70,830
ขนุน 15,694
การค้าผลไม้ระหว่างไทยและเวียดนาม
ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ( 2548 — 2550) มูลค่าการค้า( ส่งออกและนำเข้า) ผลไม้ระหว่างไทยและเวียดนาม
มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 9.4 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 18.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2550
หรือเพิ่มขึ้นเกือบหนึ่งเท่าตัว ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าผลไม้กับเวียดนามมาโดยตลอด โดยไทยส่งออกเฉลี่ยปีละ 2.6 ล้าน
เหรียญสหรัฐ ขณะที่มีมูลค่านำเข้าเฉลี่ยปีละ 10.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลไม้สำคัญที่ไทยนำเข้าจากเวียดนาม ได้แก่ เมล็ด
มะม่วงหิมพานต์ และแก้วมังกร ส่วนผลไม้ที่ไทยส่งออกไปเวียดนามมาก ได้แก่ มะขามแห้ง / สด ลำไย และมังคุด
สำหรับในระยะ 4 เดือนแรก ( ม.ค. — เม.ย.) ของปี 2551 ไทยนำเข้าผลไม้จากเวียดนามปริมาณ
6,200 ตัน มูลค่า 5.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ปริมาณและมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้น 4.5% และ 14.0% ตามลำดับ ไทยนำเข้าผลไม้
จากเวียดนามมากเป็นลำดับที่ 4 รองจาก จีน สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย โดยส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าผลไม้ใน
พิกัด H.S. 08109090 other ( ซึ่งในที่นี้น่าจะเป็นแก้วมังกร) และเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ขณะที่ไทยส่งออกไปเวียดนาม
ปริมาณ 4,075 ตัน มูลค่า 0.92 ล้านเหรียญสหรัฐ ปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น 145.2% และ 22.7% ตามลำดับ โดย
มีผลไม้ที่สำคัญ คือ มะม่วง ส้มเขียวหวาน และมะขาม
เนื่องจากเวียดนามตอนใต้มีเขตแดนติดกับกัมพูชาหลายด่าน และไม่ค่อยเข้มงวดนักทำให้การนำเข้าผลไม้ไทย
มาจำหน่ายในเวียดนามตอนใต้รวมทั้งใน supermarket มักกระทำโดยทางรถยนต์ผ่านชายแดนกัมพูชาเพราะระเบียบพิธี
การศุลการไม่ยุ่งยากมากขั้นตอนเหมือนการนำเข้าโดยตรง และยังเสียภาษีต่ำกว่าเพราะ เป็นการเสียภาษีแบบเหมาจ่าย
และที่สำคัญผู้ค้าส่งในเวียดนามสามารถติดต่อซื้อขายผลไม้ไทยกับ intertrader ที่อยู่ในประเทศไทยได้โดยตรง โดย
intertrader เป็นผู้ดำเนินการตั้งแต่ติดต่อซื้อขายผลไม้จากผู้ขายผลไม้ไทย จนกระทั่งเช่ารถบรรทุกนำผลไม้เข้าไปส่ง
ให้ในเวียดนาม ผู้ค้าส่ง / ผู้นำเข้าในเวียดนามจึงนิยมวิธีการนำเข้าโดยวิธีการดังกล่าว เพราะไม่ยุ่งยากเรื่องการทำ
L/C และขั้นตอนพิธีการศุลกากร
ข้อจำกัดของเวียดนาม
- ปริมาณผลผลิตไม่คงที่ประกอบกับชาวสวนผลไม้เป็นผู้ผลิตรายย่อย ขนาดของพื้นที่ปลูกผลไม้ของแต่ละรายมี
ขนาดเล็ก คือระหว่าง 200-300 ตารางเมตร สำหรับปลูกผักและ 1,000 ตารางเมตรสำหรับการปลูกผลไม้ ทำให้มีปัญหา
ไม่คุ้มทุนหากนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาช่วยจัดระบบการผลิตเพื่อควบคุมคุณภาพและผลผลิตให้คงที่
- สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการเก็บรักษาผลผลิตยังไม่ดีพอ
- การขนส่งล่าช้า
การช่วยเหลือของรัฐบาล
1. กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนาม (MARD ) ได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศ เพื่อหาวิธีการพัฒนาการตลาดผัก ผลไม้ให้มีประสิทธิภาพ และรูปแบบที่ประสบความสำเร็จคือ
ความร่วมมือระหว่าง Metro Cash & Carry (Vietnam) กับหน่วยงานสาขาการเกษตรในนครโฮจิมินห์และจังหวัดต่างๆ
ทางตอนใต้ของเวียดนาม โดยมีการฝึกอบรมชาวสวนผลไม้ให้สามารถเพิ่มผลผลิต ปรับปรุง/เพิ่มความชำนาญในการทำธุรกิจ
และการสร้างโกดังสินค้าที่ได้มาตรฐาน ทั้งนี้ บริษัทจะให้ความช่วยเหลือด้านการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกยัง
ต่างประเทศ
2. MARD จะเน้นการพัฒนาผลไม้ 10 ชนิด เช่น ส้ม ส้มเขียวหวาน ( tangerine) grapefruit สับปะรด
มะม่วง ลำไย และแก้วมังกร เป็นต้น โดยคิดค้นพันธุ์ที่มีคุณภาพดีมาแทนที่พันธุ์ที่มีคุณภาพต่ำ
3. เมื่อเดือนพฤษภาคม 2551 ศูนย์ให้คำปรึกษาและให้การสนับสนุนด้านการเกษตรของนครโฮจิมินห์และศูนย์
ส่งเสริมการนำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนาซึ่งตั้งอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ได้ลงนามร่วมกันในโครงการสนับสนุนการส่งออก
ผักในเวียดนามไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งภายใต้โครงการนี้เกษตรกรในนครโฮจิมินห์และจังหวัดใกล้เคียงจะได้รับความช่วย
เหลือในการพัฒนาด้านการผลิต โดยกำหนดพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 1 ล้านเฮคตาร์ สำหรับการปลูกผักผลไม้ตามโครงการ
จนถึงปี 2553 ซึ่งในจำนวนนี้จะเป็นพื้นที่สำหรับการปลูกผักเพื่อการส่งออก จำนวน 255,000 เฮคตาร์ ทั้งนี้ สหภาพยุโรป
บริโภคผักและผลไม้ปีละ 62 และ 75 ล้านตันตามลำดับ
สคต. นครโฮจิมินห์
Upload Date : 4 มิถุนายน 2551
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ