1. สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของเวียดนาม
1.1 เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจของเวียดนามในปี 2551 ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปี 2550 โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2551 อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึง 11% โดยเป็นการเติบโตในสาขาบริการ ( ส่วนใหญ่เป็นบริการด้าน apartment service ) 11.5% สาขาอุตสาหกรรมและก่อสร้าง 10.5% และสาขาเกษตร 4.9%
ภาวะเงินเฟ้อในช่วง 5 เดือนแรก ( ม.ค. — พ.ค. ) ของปี 2551 เพิ่มขึ้นถึง 19.1% ( General Statistics Office : GSO ) โดยเป็นหมวดราคาสินค้าประเภทอาหารถึง 30.7% อาคารและวัสดุก่อสร้าง 19.85 % และการขนส่งและสื่อสาร 12.25% แต่เฉพาะเดือนพฤษภาคม 2551 เพียงเดือนเดียว เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2550 ดัชนีราคาผู้บริโภค ( CPI) สูงถึง 25.2% จาก 21.4% ในเดือนเมษายน ( เอกสารแนบ 1 )
สาเหตุของภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงในเวียดนาม
1. เกิดจากการเก็งกำไร
1.1 เริ่มจากตลาดหุ้น เมื่อปี 2549 ตลาดหุ้นเวียดนามได้ชื่อว่าเจริญเติบโตสูงที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง โดยเติบโตกว่า 146% ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2550 ตลาดหุ้นเวียดนามได้ขยายตัวอีกถึง 47% จากดัชนีที่ต่ำกว่า 300 จุด พุ่งขึ้นไปถึง 1,170 จุด ทั้งนี้ การเล่นหุ้นได้กระจายไปอย่างกว้างขวาง พนักงานบริษัทลาออกมาเล่นหุ้น แม่บ้านที่ไม่รู้เรื่องหุ้นมาก่อน นำบ้านไปจำนองเพื่อกู้เงินจากธนาคารมาซื้อหุ้น จากนั้นก็นำหุ้นที่ได้มาไปเป็นหลักประกันเพื่อกู้เงินออกมาซื้อหุ้นอีก 1 หรือ 2 รอบ จากมูลค่าบ้าน 1 ล้านเหรียญ ก็ก่อหนี้ได้สูงถึง 2 เท่าของมูลค่าทรัพย์สิน สินค้าฟุ่มเฟือย เช่น รถยนต์ขายได้ดีเป็นประวัติการณ์ สูงถึง 100,000 คันในปี 2550 เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาเมื่อรัฐบาลเห็นว่าตลาดหุ้นร้อนแรงเกินไป เกิดการเก็งกำไรอย่างแพร่หลาย เมื่อปลายปี 2550 ธนาคารชาติของเวียดนาม จึงออกระเบียบให้ธนาคารพาณิชย์ควบคุมสินเชื่อที่เกี่ยวกับตลาดหุ้นให้ไม่เกิน 3% ของสินเชื่อทั้งหมด โดยมีเส้นตายก่อนตายก่อนสิ้นปี 2550 เป็นผลให้ตลาดหุ้นเกิดภาวะชงักงันเป็นเวลาหลายเดือน
1.2 การเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทัรพย์ เมื่อเห็นว่าตลาดหุ้นเริ่มตกลงไม่สดใสเหมือนเดิม นักลงทุน (เก็งกำไร) ได้หันเหไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ มีการเก็งกำไรกันอย่างเห็นได้ชัดและอย่างกว้างขวาง ราคาที่ดินและที่อยู่อาศัยพุ่งขึ้นสูงอย่างน่ากลัว รัฐบาลได้พยายามหาทางที่จะควบคุมโดยการใช้มาตรการทางภาษีที่สูงจัดเก็บเมื่อมีการโอนเปลี่ยนมือ ออกกฏเกณฑ์ ห้ามมีการซื้อขายจนกว่าการก่อสร้างรากฐานจะเสร็จเรียบร้อยก่อน ทำให้ต้องมีการคืนเงินจองจำนวนมาก
2. ราคาสินค้าประเภทอาหารโดยเฉพาะข้าวสูงขึ้นอย่างมาก โดยในเดือนพฤษภาคม 2551 อัตรเงินเฟ้อในราคาอาหารสูงถึง 67.84 % สินค้าประเภทอาหารอื่นๆ สูงถึง 35.39 % และสินค้าประเภทอาคารและสิ่งก่อสร้างสูงถึง 22.99% ( เอกสารแนบ 2 ) ทำให้ค่าครองชีพในเวียดนามสูงขึ้นอย่างมากคนงานตามโรงงานต่าง ๆ พยายามเจรจาขอให้นายจ้างปรับค่าแรงและสวัสดิการให้มากขึ้น ในระยะ 4 เดือนแรก ( ม.ค.—เม.ย. ) ของปี 2551 มีการสไตรค์แล้วกว่า 120 ครั้ง ซึ่งยังไม่นับการทำงานให้ช้าลง เพื่อรอผลการเจรจาต่อรอง
3. การหลั่งไหลเข้ามาของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยมีปริมาณเงินที่เข้ามาจดทะเบียนลงทุน จนถึง ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ทั้งหมด 100,403.98 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่เวียดนามยังไม่มีความพร้อมด้านระบบการเงิน infrastructure และยังขาดแรงงานระดับกลางที่มีทักษะ เป็นเหตุให้มีการนำเงินเหรียญสหรัฐไปซื้ทองเพื่อเก็งกำไร และมีการนำเข้าสินค้าประเภททุนเครื่องจักร และน้ำมันจึงเกิดภาวะขาดดุลอย่างต่อเนื่องที่รุนแรง
การดำเนินการของรัฐบาลเวียดนาม
1. ปรับเป้าการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2551จาก 8.5 — 9% เป็น 7%
2. เข้มงวดด้านสินเชื่อและการเงินโดยธนาคารของรัฐ ( State Bank of Vietnam ) ได้ออกมาตรการต่างๆ ที่เข้มงวดเช่น เพิ่มสัดส่วนเงินสำรองของธนาคารเพื่อควบคุมความเสี่ยง บังคับซื้อ Treasury bond เพื่อดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบเศรษฐกิจ ทยอยขยายช่วงอัตราแลกเปลี่ยนเงินด่อง ต่อดอลลาร์สหรัฐ รวม 3 ครั้ง ควบคุมและจำกัดเงินกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยควบคุมทั้งการให้สินเชื่อแก่เจ้าของโครงการ และผู้กู้เพื่อจับจองซื้อ และออกมาตรการให้ธนาคารพาณิชย์ขยายสินเชื่อได้ไม่เกิน 30% ( ที่ผ่านมาสินเชื่อขยายตัวสูงถึง 50% )
3. เข้มงวดการใช้จายของภาครัฐโดยให้ชลอบางโครงการออกไป และให้พิจารณาลดค่าใช้จ่ายในการบริหารของรัฐ รวมทั้งการเดินทางออกนอกประเทศของเจ้าหน้าที่รัฐด้วย
คาดการณ์ภาวะเงินเฟ้อของเวียดนามในอนาคต
- จากราคาน้ำมันที่ยังคงสูงขึ้น ก็ย่อมเป็นไปได้ว่า ภาวะเงินเฟ้อของเวียดนามก็ยังจะคงสูงขึ้น ดังนั้นรัฐบาลเวียดนามอาจจะให้การอุดหนุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงต่อไป
- เนื่องจากเวียดนามเป็น dollarize economy คือใช้ทั้งเงินด่อง ( Vietnam Dong ) และเงิน USD ประมาณ 50% ดังนั้น ในแง่ของค่าเงินที่ลดลงจึงไม่ค่อยเป็นปัญหาต่อเศรษฐกิจโดยรวมเท่าใดนัก แต่อาจมีปัญหาในด้านผู้นำเข้า
- ยังมีนักลงทุนต่างชาติหลายประเทศที่มองว่า inflation คือค่าใช้จ่ายเพื่อการเติบโตและการพัฒนา การขาดดุลของประเทศก็มิใช่สิ่งเลวร้ายเพราะเป็นการนำเข้าเครื่องมือเครื่องจักรและวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกและมีความเชื่อในรัฐบาลเวียดนามว่าจะสามารถออกกฏระเบียบต่างๆ มาใช้บังคับได้อย่างรวดเร็ว จนไม่ทำให้ภาวะเงินเฟ้อเลวร้ายมากเกินไป
- สิ่งที่นักลงทุนต่างชาติกลัวมากกว่าภาวะเงินเฟ้อ คือ rep tape และ การคอร์รัปชั่นของเจ้าหน้าที่
วิกฤติทางการเงินของเวียดนาม
เวียดนามมีปัญหา overheated economy ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2549 และการใช้นโยบายการเงินที่ของธนาคารชาติ ( State Bank of Vietnam : SBV ) ในช่วงที่ผ่านมาทำให้เวียดนามเกิดภาวะเงินเฟ้อและภาวะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างรุนแรง โดยเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2551 ธนาคารชาติของเวียดนามได้ประกาศใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดโดยเพิ่มอัตราดอกเบี้ยประเภทต่าง ๆ คือ
- อัตราดอกเบี้ยกลาง ( prime rate) เป็น 14% (เดิม 12%)
- อัตราดอกเบี้ยส่วนลด (discount rate) เป็น 13% (เดิม 11%)
- อัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ ( refinance rate) เป็น 15% (เดิม 13%)
- ปรับลดอัตราอ้างอิงเงินเวียดนามด่อง (VND) กับเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) สำหรับการกู้ยืมเงินระหว่างธนาคาร 1.96% โดย SBV กำหนดไว้ที่ 16,461 VND/ USD จาก 16,139 VND/ USD เมื่อก่อนหน้านี้ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว นักวิเคราะห์ทางการเงินกล่าวว่าเท่ากับเป็นการลดค่าเงินโดยปริยาย
ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้นโบายดังกล่าว ทำให้เกิดการขาดเงิน USD ในระบบอย่างรุนแรงธนาคารพาณิชย์ในเวียดนามจะขายเงิน USD ให้ลูกค้าในอัตราที่สูงกว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่ปิดประกาศไว้ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ก็ต้องหาซื้อเงิน USD จากแหล่งอื่นในราคาที่สูงกว่าเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2551 SBV จึงประกาศเตือนธนาคารพาณิชย์ให้ปฏิบัติตามกฏหมายโดยสามารถซื้อขายเงินตราต่างประเทศในอัตราแลกเปลี่ยนภายในกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงิน สูงสุด — ต่ำสุด ( currency band) ไม่เกิน 1% จากอัตราทางการในแต่ละวัน แต่การซื้อขายเงินในตลาดมืดก็ยังอยู่ในระดับ 18,000 — 19,000 VND/ USD
ความเห็นของนักลงทุนไทยในเวียดนามต่อภาวะการณ์ดังกล่าว
1. ธุรกิจการเกษตร ( นายสุเวศ วังรุ่งอรุณ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท CP Livestock ประเทศเวียดนาม )
ผลกระทบจากกรณีเงิน VND อ่อนค่าลงและเงิน USD ขาดตลาดทำให้ราคาสินค้า ‘3 f ‘ สูงขึ้นคือ feed food และ fuel ( ต้นทุนอาหารสัตว์ได้เพิ่มขึ้นถึง 30% ) แต่บริษัทได้รับผลกระทบไม่มากนักเพราะ brand ของสินค้าติดตลาดแล้ว จึงสามารถผลักภาระบางส่วนให้ผู้บริโภคได้ แนวทางของบริษัทขณะนี้คือต้อง stock วัตถุดิบไว้ในระยะยาวทำธุรกิจให้ครบวงจรเพื่อหลีกเลี่ยงการพึ่งพาธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งเกินไป ขยายขนาดการผลิตให้ได้จุดคุ้มทุน และขึ้นค่าแรงงานแก่พนักงานให้สอดคล้องกับค่าครองชีพเพื่อป้องกันการประท้วงและเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่พนักงานในการฝ่าฟันภาวะวิกฤตร่วมกันอย่างไรก็ตามภายใต้ภาวะวิกฤตก็ยังมีโอกาส คือผู้ผลิตรายย่อยที่ผลิตสินค้าเหมือนกันซึ่งไม่เข้มแข็งพอจะประกอบการต่อไปได้ จะค่อยๆ หายไปจากตลาดเป็นการลดคู่แข่งขันในตลาด
2. ธุรกิจจำหน่ายสินค้าอุปโภค — บริโภค ( นายมงคล บรรณทรงรุ่งโรจน์ บริษัท Thai Corps )
ค่าเงิน VND ที่อ่อนตัวลงมีผลต่อผู้นำเข้าที่ต้องจ่ายค่าสินค้าในราคาแพงขึ้นถึง 10% แต่ผู้ประกอบการไทยที่เข้ามาตั้งโรงงานผลิตสินค้าในเวียดนามโดยใช้วัตถุดิบส่วนใหญ่ในเวียดนามมักไม่ค่อยได้รับผลกระทบด้านต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ในส่วนของบริษัทเชื่อว่า brand ที่บรษัทได้สร้างสม มานานจะมีความมั่นคงทางการตลาดพอควรจึงยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แม้จะขึ้นราคาจำหน่ายสินค้าเฉลี่ย 30—40% ไปแล้วก็ตามและเชื่อว่าในระยะสั้นผู้บริโภคอาจลดปริมาณซื้อลงบ้าง แต่ในระยะยาวพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าจะกลับมาเช่นเดิม
3. ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูปจากประเทศไทย
ผลกระทบที่ได้รับทันทีคือต้องชำระค่าสินค้าในราคาที่สูงขึ้น เพราะค่าเงิน VND ลดลงนอกจากนี้ การที่เงิน USD ขาดตลาดและถึงกำหนดที่ต้องชำระค่าสินค้าให้บริษัทผู้ผลิต จำเป็นต้องซื้อเงิน USD ในอัตราที่สูงกว่า official rate ( ประมาณ 18,000 — 19,000 VND / USD)
แต่ทั้งนี้ เนื่องจากสินค้าที่นำเข้าเป็น brand ที่ผู้บริโภคในเวียดนามรู้จักและคุ้นเคยดีอยู่แล้วจึงสามารถผลักภาระบางส่วนให้ผู้บริโภคได้ ( โดยการขึ้นราคาสินค้า ) แต่ถ้า brand ใดยังไม่เป็นที่รู้จักย่อมมีผลต่อปริมาณการจำหน่ายที่ลดลง ทั้งนี้นักธุรกิจไทยมองว่าอาจเป็นความต้องการของรัฐบาลเวียดนามที่ตั้งใจจะให้ค่าเงิน VND อ่อนค่าลง เพื่อหาทางช่วยเหลือช่วยเหลือผู้ส่งออกของเวียดนามให้สามารถแข่งขันด้านราคากับผู้ผลิตจากประเทศอื่นในตลาดโลกได้และต้องการชะลอการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพื่อลดปัญหาการขาดดุลการค้า
4. ธุรกิจพลังงาน (นายไพศาล สมบูรณ์กิจชัย ผู้จัดการทั่วไป บริษัท Vietnam LPG จำกัด)
ธุรกิจได้รับผลกระทบบ้างเนื่องจากราคานำเข้าก๊าซ LPG เพิ่มสูงขึ้น ( เวียดนามผลิตก๊าซ LPG ได้ประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณความต้องการ) ส่งผลให้ลูกค้าต้องขอผ่อนผันปรับงวดการชำระเงินช้าลง อนึ่ง ภาวะเงินเฟ้อที่มีปัญหาขณะนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลเวียดนามไม่ต้องการให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นไปมากกว่านี้ จึงจำเป็นต้องให้การอุดหนุนราคาน้ำมันต่อไป ( ปัจจุบันราคาน้ำมันอยู่ที่ 14,500 VND หรือประมาณ 29 บาท/ลิตร) เพราะเวียดนามต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศทั้งหมด สถานการณ์ดังกล่าวจะดีขึ้นในปี 2552 เมื่อโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกของเวียดนามสร้างแล้วเสร็จ และพร้อมให้บริการ
5. ธุรกิจก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ( นาวาตรีปรีชาชัย ช่วยชู ผู้จัดการบริษัท Hicrete (Vietnam))
ธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะเป็นสาขาหนึ่งที่รัฐบาลเวียดนามต้องการควบคุมการให้สินเชื่อ ทำให้ต้องลดการนำเข้าสินค้าวัสดุก่อสร้างจากประเทศไทยเนื่องจากไม่มีเงิน USD มาจ่ายค่าสินค้ารวมไปถึงการกู้เงินธนาคารเพื่อเปิด L/C ซื้อสินค้าก็ประสบปัญหาขณะนี้ ราคาอุปกรณ์ก่อสร้างในเวียดนามปรับราคาขึ้นแล้วกว่า 60% เช่นราคาปูนซีเมนต์ เพิ่มจากถุงละ 50,000 VND เป็น 80,000 VND ภายใน 1 เดือน เป็นต้น และมีการปรับราคาขึ้นทุกวัน (เฉลี่ย 20 %) โดยรัฐบาลยังไม่สามารถควบคุมราคาสินค้าวัสดุก่อสร้างได้ ส่งผลให้ธุรกิจก่อสร้างต้อชะลอตัวลง ปัจจุบันการซื้อขายต้องใช้ระบบเงินสดทั้งหมดและลูกค้าต้องวางเงินมัดจำล่วงหน้าครึ่งหนึ่งเพื่อจองสินค้า
ความเห็นของ สคต.นครโฮจิมินห์
1. ภาวะ demand — led inflation จะกดดันให้รัฐบาลเวียดนามต้องใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดต่อไป โดยคาดว่าธนาคารชาติของเวียดนามหรือ SBV จะเริ่มมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 หรือช่วงต้นไตรมาสที่ 4 ของปี 2551
2.3 ภาวะวิกฤตทางการเงินของเวียดนามจะไม่ทำให้เวียดนามบอบช้ำมากเหมือนไทยในปี 2540 เพราะมีปัจจัยคือ
(1) การไหลเข้าของ FDI ในเวียดนามยังเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ การลงทุนของต่างชาติใน portfolio ก็ยังคงเพิ่มขึ้นและนักลงทุนต่างชาติยังคงมองเวียดนามในแง่บวก ดังนั้นการหาเงินตราต่างประเทศมากลบภาวะการขาดดุลจึงมิได้มาจากการกู้ยืม แต่จะมาจาก FDI inflow, เงินช่วยเหลือในการพัฒนา (ODA : Official Development Assistance )และเงินส่งกลับของพวกเวียดกิ่ว( Vite Kiaus)ที่ยังมีจำนวนมาก
(2) เวียดนามมีหนี้สินภายนอกประเทศสุทธิอยู่ในระดับต่ำ คืออยู่ในระดับ 0.3 พันล้านUSD หรือ 0.4% ของ GDP ณ สิ้นปี 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับภาวะวิกฤตของไทยเมื่อปี 2540 ไทยมีหนี้สินสุทธินอกประเทศถึง 57.2 พันล้านUSD หรือ 30.2% ของ GDP
สคต.โฮจิมินห์
Upload Date : มิถุนายน 2551
ที่มา: http://www.depthai.go.th