1. มูลค่าการค้า
1.1 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของแอฟริกาใต้-โลก
2550 2551 D/%
(ม.ค.-เม.ย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 44,706.66 54,444.01 21.78
การนำเข้า 23,829.30 29,520.32 23.88
การส่งออก 20,877.36 24,923.69 19.38
ดุลการค้า -2,951.94 -4,596.63 55.72
1.2 มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของแอฟริกาใต้-ไทย
2550 2551 D/%
(ม.ค.-เม.ย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 514.47 655.82 27.47
การนำเข้า 392.17 540.03 37.71
การส่งออก 122.31 115.79 -5.33
ดุลการค้า -269.86 -424.24 57.21
2. การนำเข้า
2.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่แอฟริกาใต้นำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.- เม.ย.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 29,520.32 44.74 23.88
1. เยอรมนี 3,575.89 12.11 20.71
2. จีน 3,124.90 10.59 34.11
3. สหรัฐฯ 2,328.27 7.89 32.10
4. ซาอุดิอารเบีย 1,918.67 6.50 142.28
5. ญี่ปุ่น 1,688.94 5.72 3.82
13. ไทย 540.03 1.83 37.71
อื่น ๆ 32.00 0.11 -99.77
2.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่แอฟริกาใต้นำเข้าจากโลก ปี 2551 (ม.ค.-เม.ย.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 29,520.32 100.00 23.88
1. รถยนต์และยานยนต์ 1,122.44 3.80 -14.37
2. เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ 885.73 3.00 24.45
3. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 542.20 1.84 4.84
4. เครื่องจักรกลที่ใช้ในการก่อสร้าง 467.05 1.58 32.04
5. รถบรรทุกเล็ก 461.93 1.56 16.42
อื่น ๆ 26,040.97 88.21 18.57
2.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่แอฟริกาใต้นำเข้าจากไทยปี 2551 (ม.ค.-เม.ย.)
มูลค่า : สัดส่วน% %เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวมจากไทย 540.03 100.00 37.71
1. ข้าว 97.02 17.96 188.74
2. ปลาสำเร็จรูป ปลากระป๋อง 37.09 6.87 309.45
3. เครื่องรับโทรทัศน์/เครื่องถอดภาพ 23.62 4.37 1,210.82
4. ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ 19.02 3.52 15.28
5. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 15.37 2.85 36.77
อื่น ๆ 347.91 64.42 2.91
3. การส่งออก
3.1 ประเทศสำคัญ 5 อันดับแรกที่แอฟริกาใต้ส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-เม.ย.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกรวม 24,923.69 100.00 19.38
1. สหรัฐฯ 2,817.78 11.31 33.38
2. ญี่ปุ่น 2,203.13 8.84 0.58
3. เยอรมนี 2,143.39 8.60 34.16
4. สหราชอาณาจักร 1,712.41 6.87 12.77
5. จีน 1,505.70 6.04 5.74
36. ไทย 115.79 0.46 -5.33
อื่น ๆ 14,425.50 57.88 21.10
3.2 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่แอฟริกาใต้ส่งออกไปโลกปี 2551 (ม.ค.-เม.ย.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกรวม 24,923.69 100.00 19.38
1. แพลทินัม 3,282.84 13.17 17.51
2. สารเจือเหล็ก 1,947.13 7.81 93.90
3. ทองคำ 1,509.65 6.06 -5.55
4. รถยนต์และยานยนต์ 1,397.69 5.61 80.81
5. ถ่านหิน 1,301.90 5.22 20.58
อื่น ๆ 15,484.48 62.13 -0.97
3.3 สินค้าสำคัญ 5 อันดับแรกที่แอฟริกาใต้ส่งออกไปไทยปี 2551 (ม.ค.-เม.ย.)
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกไปไทย 115.79 100.00 -5.33
1. อลูมิเนียมที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป 26.42 22.81 89.84
2. ผลิตภัณฑ์แผ่นรีดเหล็กไม่เป็นสนิม 21.64 18.69 -58.29
3. เยื่อไม้เคมี 16.60 14.34 22.52
4. อะคลิลิคและไฮโดรคาร์บอน 9.50 8.20 120.14
5. สารเจือเหล็ก 3.82 3.30 1,299.27
อื่น ๆ 37.82 32.66 -73.39
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้านำเข้าสำคัญของแอฟริกาใต้ ได้แก่ รถยนต์และยานยนต์ เครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องจักรกลที่ใช้ในการก่อสร้าง รถบรรทุกเล็ก
4.2 สินค้าส่งออกสำคัญของแอฟริกาใต้ ได้แก่ แพลทินัม สารเจือเหล็ก ทองคำ รถยนต์และยานยนต์ ถ่านหิน
4.3 แหล่งผลิตสำคัญที่แอฟริกาใต้นำเข้า ได้แก่ เยอรมนี จีน สหรัฐฯ ซาอุดิอารเบีย และญี่ปุ่น ปัจจุบันแอฟริกาใต้นำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 13 สัดส่วนร้อยละ 1.83 และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 36 ของแอฟริกาใต้ สัดส่วนร้อยละ 0.46
4.4 สินค้าไทยที่มีศักยภาพส่งออกไปตลาดแอฟริกาใต้ ได้แก่
- ข้าว (HS.1006) แอฟริกาใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 134.778 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.62 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 71.98 มูลค่า 97.016 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 188.74 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ อินเดีย และจีน
- ปลาสำเร็จรูป ปลากระป๋อง (HS.1604) แอฟริกาใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 46.006 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 208.88 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 80.62 มูลค่า 37.092 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 309.46 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สหรัฐฯ และเปรู
- เครื่องรับโทรทัศน์ /เครื่องถอดภาพ (HS.8528) แอฟริกาใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 138.086 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.92 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 17.11 มูลค่า 23.621 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,211.10 ในขณะที่นำเข้าจากจีนอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 51.45 เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.29 ส่วนคู่แข่งสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ มาเลเซีย และญี่ปุ่น
- ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (HS.8708) แอฟริกาใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 423.303 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.18 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 6 สัดส่วนร้อยละ 4.49 มูลค่า 19.017 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.27 ในขณะที่นำเข้าจากเยอรมนีอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 38.19 เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.81 ส่วนคู่แข่งสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ
- คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (HS.8471) แอฟริกาใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 542.198 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.84 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 8 สัดส่วนร้อยละ 2.84 มูลค่า 15.374 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.78 ในขณะที่นำเข้าจากจีนอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 45.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.89 ส่วนคู่แข่งขันสำคัญที่มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่มขึ้นสูง คือ สหรัฐฯและไอร์แลนด์
4.5 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดแอฟริกาใต้ 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 30 มีรวม 16 รายการ เช่น
1. ข้าว (HS. 1006) แอฟริกาใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 134.778 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.62 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 71.98 มูลค่า 97.016 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 188.74
ปัจจุบันข้าวเป็นสินค้าส่งออกสำคัญอันดับ 1 ที่ไทยค้าขายกับภูมิภาคนี้ โดยในแต่ละปี ประเทศในทวีปแอฟริกาจำนวนกว่า 25 ประเทศจากทั้งหมด 53 ประเทศ นำเข้าข้าวจากไทยมากน้อยแตกต่างกันไปตามขนาดเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประชาชนในแต่ละประเทศ เนื่องจากมีข้อจำกัดในการเพาะปลูกข้าว เพราะขาดแคลนแหล่งน้ำทั้งนี้ ในปี 2550 ไทยส่งออกข้าวไปทวีปแอฟริกาเป็นมูลค่า 42,450 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 38% เทียบกับปี 2549 หรือเป็นสัดส่วนสูงถึง 36% ของมูลค่าส่งออกข้าวทั้งหมดของไทย โดยประเทศที่เป็นตลาดส่งออกข้าวรายใหญ่สุดของไทย คือ เบนิน รองลงมา คือ โกตดิวัวร์ แอฟริกาใต้ เซเนกัล กานาและไนจีเรีย ตามลำดับ ข้าวที่นิยมนำเข้าจากไทยกันมาก คือ ข้าวนึ่ง (เป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวมุสลิม)และปลายข้าว
2. ปลาสำเร็จรูป ปลากระป๋อง (HS. 1604) แอฟริกาใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 46.006 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 208.88 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 80.62 มูลค่า 37.092 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 309.46
ตลาดแอฟริกาใต้เป็นอีกหนึ่งตลาดส่งออกสินค้าประมงของไทยที่น่าสนใจและมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งสินค้าที่แอฟริกาใต้มีการนำเข้าจากไทยมากที่สุด คือ ปลาทูน่ากระป๋อง โดยสัดส่วนการนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทยมากถึง 80% ของการนำเข้าทั้งหมด
3. เครื่องรับโทรทัศน์ /เครื่องถอดภาพ (HS. 8528) แอฟริกาใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 138.086 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.92 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 17.11 มูลค่า 23.621 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,211.10
4. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (HS. 8471) แอฟริกาใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 542.198 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.84 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 8 สัดส่วนร้อยละ 2.84 มูลค่า 15.374 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.78
5. เครื่องซักผ้า/อบผ้า (HS.8450) แอฟริกาใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 24.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 34.19 มูลค่า 8.460 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.42
6. เครื่องปรับอากาศ (HS.8415) แอฟริกาใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 48.855 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.79 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 3 สัดส่วนร้อยละ 9.00 มูลค่า 4.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 88.77
7. รถบรรทุกเล็ก (HS.8704) แอฟริกาใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 461.930 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.42 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 20 สัดส่วนร้อยละ 0.50 มูลค่า 2.301 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7,511.16
4.6 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดแอฟริกาใต้ 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลง มี 2 รายการ เช่น
1. ตู้เย็น เครื่องคอมเพรสเซอร์ (HS.8418) แอฟริกาใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 88.483 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.11 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 6 สัดส่วนร้อยละ 6.19 มูลค่า 5.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.56
2. เม็ดพลาสติก ชนิดเมทิลีน (HS.3901) แอฟริกาใต้นำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 121.385 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.24 นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 12 สัดส่วนร้อยละ 3.32 มูลค่า 4.033 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.21
4.7 ข้อมูลเพิ่มเติม
1. เงินเฟ้อป่วนแอฟริกาใต้
ภาวะเงินเฟ้อกลายมาเป็นปัญหาสำคัญของนานาประเทศในขณะนี้ หลังจากราคาอาหารและพลังงานพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว และแอฟริกาใต้ก็เป็นประเทศหนึ่งที่ได้เห็นอัตราเงินเฟ้อดีดตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว อัตราเงินเฟ้อของแอฟริกาใต้เมื่อเดือนพ.ค. ที่มีแนวโน้มพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี เพิ่มแรงกดดันแก่ธนาคารกลาง ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 3 ในปีนี้
การเติบโตของราคาผู้บริโภคขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 3% ไปอยู่ที่เป้าหมาย 6% ตั้งแต่เดือนเม.ย.ปีที่แล้ว และกระตุ้นให้ธนาคารกลางแอฟริกาใต้ ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานถึง 6 ครั้งในปีที่แล้ว จนมาอยู่ที่ระดับ 12% ธนาคารกลางคาดว่า ตัวเลขเงินเฟ้อจะพุ่งทะลุเป้าหมายที่วางไว้ในช่วง 2 ปีข้างหน้า เนื่องจากราคาน้ำมันสูงเป็นประวัติการณ์และค่าไฟที่ทะยานขึ้น 27.5% ในปีนี้
ตัวเลขเงินเฟ้อจนถึงขณะนี้อยู่สูงเกินเป้ามาก จนธนาคารกลางอาจต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง เพื่อรักษาระดับความน่าเชื่อถือของธนาคารเอง การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ถือเป็นอันตรายใหญ่หลวง ธนาคารกลางจะต้องดำเนินการอย่างดีที่สุด เพื่อแก้ปัญหาและทำให้ประเทศไม่ต้องเข้าสู่วงจรของการขึ้นค่าจ้างครั้งใหญ่
นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจะยิ่งเพิ่มแรงกดดันอัตราแก่ปัญหาเงินเฟ้อ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ต้นทุนสินค้าที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ต้นทุนเหมืองและโรงงานในแอฟริกาใต้เพิ่มขึ้น 12.4% ในเดือนพ.ค.
2. แอฟริกาลดการตรวจสอบสินค้านำเข้าจากไทย
กรมประมงและ South African Bureau of Standards (SABS) แห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ยังได้มีการลงนามความตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล กฎ ระเบียบของทั้งสองประเทศ รวมทั้งแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพ ความปลอดภัยของสินค้าสัตว์น้ำที่ส่งออกจากไทย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการแลกเปลี่ยนมาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ อีกทั้งมีการแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ตรวจสอบในการฝึกอบรมระบบ การตรวจสอบรับรองของทั้งสองประเทศด้วย ทำให้ SABS เชื่อมั่นในระบบการตรวจสอบรับรองสินค้าสัตว์น้ำของไทยมากยิ่งขึ้น
รองอธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้กรมประมงได้เจรจากับแอฟริกาใต้ ให้ลดการตรวจสอบนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำของไทย ซึ่งในเบื้องต้น SABS ยินดีลดการสุ่มตรวจจากเดิมที่มีการตรวจทุกรุ่นของสินค้าลงเหลือเพียงร้อยละ 20 ของจำนวนชิพเมนต์ที่นำเข้าทั้งหมด อีกทั้งสินค้าที่ถูกสุ่มตรวจจะไม่ถูกกักกัน ณ ด่านนำเข้า หากผลการดำเนินการในเบื้องต้นเป็นที่น่าพอใจ SABS จะพิจารณาลดการตรวจสอบลงในอัตราที่ต่ำกว่าร้อยละ 20 ด้วย ทั้งนี้ โครงการลดการตรวจสอบฯ จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายน 2551
3. ส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถสดใส+ ตลาดใหม่ 3 กลุ่มมีศักยภาพทั้งโอเชียเนีย ตะวันออกกลางและแอฟริกาใต้
ประธานกลุ่มพันธมิตรผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ และ ชิ้นส่วนยานยนต์ไทยที่ผ่านมามีแนวโน้มและเติบโตต่อเนื่อง ทั้งจากการใช้ประเทศไทยเป็นฐานการส่งออกของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ ยอดส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ประเภทตลาดทดแทน(REM) นั้นขยายตัวเพิ่มมากขึ้น โดยตลาดใหม่ที่สำคัญที่น่าสนใจก็คือ ตลาดโอเชียเนีย (ประเทศในกลุ่มออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) ตะวันออกกลางและแอฟริกาใต้
สำหรับตลาดทั้งสามแหล่งนั้นถือว่ามีแนวโน้มเติบโตที่ดี แต่อย่างไรก็ตามความต้องการชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ทดแทนนั้นก็แตกต่างกันไป ดังนั้นการเข้าตลาดจึงต้องศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร โดยจากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าการส่งออกสินค้ายานยนต์ไปตลาดโอเชียเนียนั้นต้องมีคุณภาพระดับสูง เนื่องจากมีข้อกำหนดด้านคุณภาพไว้จากรัฐบาล แต่อย่างไรก็ตามตลาดดังกล่าว โดยเฉพาะออสเตรเลียและนิวซีแลนด์นั้นได้เปิดเขตการค้าเสรีกับประเทศไทย ทำให้มีข้อได้เปรียบด้านอัตราภาษี
ตลาดแอฟริกาใต้และตะวันออกกลางนั้นต้องการชิ้นส่วนรถยนต์ที่ราคาต่ำ เนื่องจากมีสินค้าจากจีนเข้าไปตีตลาด จนทำให้สินค้าราคาถูกได้รับความนิยม แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าในระยะใกล้ 2-3 ปีข้างหน้าความต้องการสินค้าคุณภาพจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น เนื่องจากสินค้าจีนตอนนี้ได้รับความนิยมน้อยลง หลังจากผู้บริโภคเจอปัญหาต่างๆจากการซื้อสินค้าจีน
สำหรับนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยส่งเสริมการลงทุนรถยนต์ประหยัดพลังงาน (Eco car) ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จำนวน 6 โครงการ มูลค่า 6.8 หมื่นล้านบาท จะส่งผลให้เกิดการลงทุนในกลุ่มผลิตอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศมูลค่ากว่า 1.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2556 ซึ่งอุตสาหกรรมชิ้นส่วน อะไหล่ยานยนต์ และอุปกรณ์ตกแต่ง จะมีบทบาทสำคัญต่อภาพรวมการส่งออกของประเทศ โดยคาดว่าจะมีมูลค่า 8,628 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีนี้ หรือประมาณ 3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากการส่งออกปีที่แล้ว 22% ทั้งนี้ สำหรับยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ซึ่งเป็นหัวใจของอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์นั้น ภาครัฐได้ให้เงินสนับสนุนจำนวน 1.6 พันล้าน สำหรับผู้ประกอบการประมาณ 3,500 ราย โดยกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ การพัฒนาเทคโนโลยี บุคลากร และการรวมกลุ่ม Cluster
กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งพัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน เทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้มาตรฐาน ควบคู่ไปกับการเร่งดำเนินการในนโยบายการพัฒนาบุคลากรให้มีขีดความสามารถจนเป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้น ประกอบกับรัฐบาลควรสนับสนุนในการพัฒนาระบบ "โลจิสติกส์" ของประเทศให้มีความทันสมัย เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย
ที่มา: http://www.depthai.go.th